กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
คุณ..พุงโตเกินไปหรือไม่
คุณ! พุงโตเกินไปหรือไม่?


โรคอ้วนลงพุง...อันตรายแค่ไหน




โรค อ้วนลงพุง ไม่ใช่แค่ความอ้วนธรรมดา แต่เป็นภาวะอ้วนที่มีไขมันสะสมบริเวณช่วงเอว หรือช่องท้องปริมาณมาก ๆ และก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ ในทางการแพทย์เรียกโรคนี้ว่า Metabolic syndrome ถือเป็นกลุ่มความผิดปกติที่ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ด้วย ดังนั้นภาวะอ้วนลงพุง จึงนับว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้

ไขมันที่พุงอันตรายกว่าไขมันส่วนอื่นของร่างกายอย่างนั้นหรือ?

โดย ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นไขมันตรงส่วนใด หากมีมากเกินไปก็ถือว่าไม่ดีทั้งนั้น แต่ไขมันที่สะสมในช่องท้องหรือบริเวณพุงจะสลายตัวเป็นกรดไขมันอิสระ ส่งผลให้ในกระแสเลือดมีกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยกรดไขมันชนิดนี้จะไปยับยั้งกระบวนการเผาผลาญของกลูโคสที่กล้ามเนื้อ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ความดันโลหิตสูง และอาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตีบและอุดตันได้

พบ ว่าในคนอ้วนลงพุงจะมีระดับฮอร์โมน Adiponectin ในกระแสเลือดลดลง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบในเซลล์ไขมันเท่านั้น ระดับ Adiponectin ในเลือดที่ต่ำจะสัมพันธ์กับภาวะดื้อต่ออินซูลิน และเป็นตัวทำนายการเกิดโรคเบาหวานและโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย นอกจากนี้ เชื่อว่าความอ้วนและภาวะดื้อต่ออินซูลิน ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการสะสมไขมันในเนื้อตับ เพราะกรดไขมันอิสระที่ออกมาจากไขมันบริเวณพุงจะเข้าสู่ตับโดยตรงได้มากกว่า ไขมันบริเวณสะโพก ซึ่งกรดไขมันที่สะสมภายในตับ หากเกิดในช่วงที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากจนเกินที่สารต้านอนุมูลอิสระสามารถ รับมือไหว จะส่งผลให้เกิดการอักเสบของตับตามมาอีกด้วย ดังนั้น คนที่อ้วนลงพุงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคตับมากกว่าคนที่มีไขมันสะสมที่สะโพก

คุณ! พุงโตเกินไปหรือไม่?

รอบ เอวเป็นตัวบ่งชี้ภาวะอ้วนที่ง่ายและชัดเจน โดยไม่ต้องใช้การคำนวณสำหรับคนเอเชีย ในปัจจุบันการวินิจฉัยว่าใครจัดอยู่ในกลุ่มโรคอ้วนลงพุงบ้างจะใช้เกณฑ์ดัง นี้

เส้นรอบเอวของผู้ชายตั้งแต่ 36 นิ้วขึ้นไป และสำหรับผู้หญิงตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป
มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่า 150 มก./ดล.
มีระดับ HDL คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 40 มก./ดล. ในผู้ชาย หรือน้อยกว่า 50 มก./ดล. ในผู้หญิง

ความดันโลหิตมากกว่า130/85มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่
ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารมากกว่า 100 มก./ดล.

ขอบคุณบทความจาก ://www.prachachat.net





Create Date : 21 กรกฎาคม 2555
Last Update : 21 กรกฎาคม 2555 8:15:01 น.
Counter : 3550 Pageviews.

4 comments
  
มีห่วงยางแล้วค่ะ

มันไม่ออกส่วนอื่นเลย

ออกแต่ตรงพุง
โดย: เด็กน้อยตัวแสบ วันที่: 21 กรกฎาคม 2555 เวลา:10:13:29 น.
  
อยากเอาห่วงออกเหมือนแต่ทำยากจริงๆ
โดย: ความรักสีจาง วันที่: 21 กรกฎาคม 2555 เวลา:10:18:24 น.
  
อยากจะร้องไห้จริง ๆ ลดพุง ลดเท่าไร ก็ไม่เคยลดได้เลยค่ะ
เรื่องใหญ่ที่เศร้ามาก
โดย: kimmy (kimmybangkok ) วันที่: 21 กรกฎาคม 2555 เวลา:10:48:58 น.
  
ห่วงยาง ทำให้ดูภูมิฐาน
(เป็นข้ออ้างของตัวเองค่ะ อิอิ)
โดย: โสดในซอย วันที่: 8 ตุลาคม 2555 เวลา:22:26:54 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

pimpagee
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



Smile...Small...Smooth...Smart...

counter
สร้าง Playlist ของคุณได้ที่นี่
New Comments