กรกฏาคม 2551

 
 
2
6
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
29
30
31
 
 
7 กรกฏาคม 2551
All Blog
ภาวะสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)

ภาวะสมองเสื่อมตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไปก็คือ ความจำเสื่อม ขี้หลง ขี้ลืม มีพฤติกรรมแปลกๆ โดยความเป็นจริงแล้วสภาวะเหล่านี้อาจจะเกิด ปัญหาทางสมองเองหรือภาวะของโรคนอกสมองที่ทำให้เกิดมีอาการ ควรไปพบแพทย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ ถูกต้องโดยเฉพาะ ภาวะสมองเสื่อมที่ให้การรักษาได้จริงอยู่ พวกเราก็มีความกลัวเรื่อง Alzheimer ซึ่งเป็นภาวะที่รักษาไม่หายขาด แต่การดูแลผู้ป่วย การเยียวยาที่ถูกต้องและเหมาะสมก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย คุณภาพ

โรคนอกสมองที่อาจจะทำให้มีอาการคล้ายสมองเสื่อม มีดังนี้ ตับและไตวายเรื้อรัง ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ
โรคเอดส์ โรคขาดวิตามินบางประเภทเช่น B12 ภาวะโลหิตจาง พวกดื่มเหล้าจัดๆ หรือติดยาบางประเภท

สำหรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ได้ในสมอง เช่น ติดเชื้อรา วัณโรค โรควัวบ้า อุบัติเหตุที่ศีรษะ โพรงน้ำในสมองขยายตัว เส้นเลือดสมองอักเสบหรือตีบตัน ปัญหาที่ได้ยกตัวอย่างนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราจะต้องแยกโรคออกก่อนที่จะ ให้การวินิจฉัยเป็นโรคสมองเสื่อม แบบ Alzheimer

การวินิจฉัยโรค
เมื่อมีอาการที่ต้องสงสัย ควรจะพบแพทย์เพื่อการทดสอบสภาวะของความจำก่อน หากผลตรวจบ่งไปในทางที่น่าจะเป็นปัญหาสมองเสื่อม แพทย์ก็จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจร่างกายและเลือดทั่วไป เพื่อแยกโรคต่างๆ ภายนอกสมองที่จะมีผลต่อความจำหรือภาวะสมองเสื่อม เมื่อเราแยกโรคทั่วไปออกแล้ว (ส่วนนี้อาจจะแทรกรูปภาพ CT /MRI ไปด้วย) แพทย์ทางระบบอายุรศาสตร์ก็จะทำการตรวจในส่วนของปัญหาในสมอง ซึ่ง เราจะต้องแยกโรคติดเชื้อ เนื้องอก โพรงน้ำไขสันหลังขยายตัว, เส้นเลือดตีบ อกไปจากภาวะสมองเสื่อมหรือฝ่อ การถ่ายภาพสมองโดยเครื่อง CT MRI หรือ PET Scan ก็จะทำให้เราสามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง



กลุ่มอาการในภาวะสมองเสื่อม
1. อาการจากการทำงานของสมองใหญ่โดยรวมเสียไป * บกพร่องในการรับรู้หรือ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น จำคำพูดระหว่างสนทนากันไม่ได้ จึงถามซ้ำออกมา หรือ พูดวกวนเรื่องเก่า วางสิ่งของไม่เป็นที่ แล้วลืมว่าวางไว้ที่ใด โดยลืมของหลายสิ่งมากขึ้น จำเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น รับประทานข้าวเช้าแล้ว ก็บอกว่ายังไม่ได้รับประทาน
* บกพร่องในการประกอบ กิจกรรมที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน เช่น ไม่สามารถต่อโทรศัพท์หรือพูดโทรศัพท์ได้ทั้งที่เคยทำมาก่อน ไม่สามารถซื้อของแล้วทอนเงินได้ถูกต้อง
* บกพร่องในการคิดตัดสิน แก้ปัญหา เช่น ยืนดูน้ำล้นอ่างเฉยๆ เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหาเช่นไร ไม่กล้าตัดสินใจผิดพลาดในหน้าที่การงาน แม้ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ ไม่สามารถทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้
* หลงทาง เช่น เดินออกจากบ้านแล้วหาทางกลับบ้านไม่ถูกหรือในถิ่นที่คุ้นเคยก็จำทางไม่ได้ขับรถหลงทาง
* บกพร่องในการใช้ภาษา ได้แก่ พูดตะกุกตะกัก หรือพูดเพี้ยนไปเพราะนึกชื่อสิ่งของที่จะเรียกไม่ได้ เช่น เรียกเสื้อเป็นแสง เรียกเตียงเป็นตู้หรือเรียกกระเป๋าว่าไอ้นั่นอยู่ตลอด พูดซ้ำๆ ถามซ้ำๆ พูดไม่เป็นประโยค อาจพูดน้อยลง จนถึงเกือบไม่พูดเลย
* บกพร่องในการประกอบ กิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น เคยเปิดโทรทัศน์ได้ก็ไม่สามารถหาวิธีเปิดดูช่องที่ต้องการได้ แต่จะพูดให้คนอื่นมาเปิดให้ดูแทน เคยใช้เตารีดรีดผ้าได้ก็ทำไม่ได้
2. มีการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองบกพร่อง * ไม่อาบน้ำ แต่งตัว ญาติต้องคอยเตือนให้ทำอยู่เสมอ
* กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ ปัสสาวะราด ปัสสาวะในที่ที่ไม่ควรปัสสาวะ
* รับประทานอาหารมูมมาม หกเรี่ยราดทั้งที่เป็นคนเรียบร้อยมาก่อน
* เมื่อลุกนั่งหรือเดินแล้วล้ม ขึ้นลงบันไดเองไม่ได้ หรือมีลักษณะท่าเดินเปลี่ยงแปลง
* เลือกเสื้อผ้า รองเท้า แต่งตัวไม่สมเหตุสมผล เช่น ใส่รองเท้าหนังขึ้นเตียงนอน แต่งชุดนอนเดินออกไปเดินเล่นตามที่สาธารณะ เป็นต้น
* เคยขึ้นรถเมล์หรือแท็กซี่คนเดียวได้ ก็ทำไม่ได้
3.มีพฤติกรรมแปลกๆ และมีบุคคลิกภาพเปลี่ยนแปลง * กลายเป็นเฉยเมย เฉื่อยชา ไม่ประตือรือร้น ซึมเศร้า
* โมโหฉุนเฉียวง่ายเมื่อใครทำอะไรให้ไม่ถูกใจ
* หลีกเลี่ยงการออกไปพบปะเพื่อนฝูงทั้งที่เคยไปมาหาสู่กันเสมอๆ
* เดินไปเดินมาอย่างไร้จุดหมาย
* ทำอะไรซ้ำซาก เช่น รื้อหาสิ่งของ เปิดตู้เปิดลิ้นชักหาของอยู่ตลอดวัน
* อาจมีอาการคล้ายโรคจิต เช่น เห็นภาพหลอน หรือมีความเชื่อ ความคิดหลงผิดจากการคิดไปเองได้เป็นครั้งคราว หรือชั่วขณะหนึ่ง
* มีอาการนอนไม่หลับ หรือ ลุกตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วเดินไปเดินมา แต่ก็มีบางรายมีอาการนอนทั้งวันทั้งคืน

อาการดังกล่าวเหล่านี้อาจเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้

ปัจจัยที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม

1. เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เคยเป็นอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาตมาก่อน
2. เป็นโรคความดันโลหิตสูง
3. เป็นเบาหวาน
4. เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหัวใจเต้นผิดปกติ
5. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือสิ่งเสพติดอื่น
6. มีญาติใกล้ชิดมีภาวะสมองเสื่อมอยู่

การรักษา
โรคที่เป็นสาเหตุเบื้องต้นต้องได้รับการรักษาก่อน เช่น ภาวะติดเชื้อ ตับ ไตวายเรื้อรัง หรือสาเหตุอื่นๆในสมอง ใน ภาวะสมองเสื่อมจากสมองฝ่อหรือโรค Alzheimer การรักษาด้วยยาบางประเภท ความเข้าใจของผู้ดูแล และญาติมิตร เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตด้วยคุณภาพชีวิตที่ปกติที่ สุดเมื่อท่านสงสัยว่า จะมีปัญหาสมองเสื่อม อย่านิ่งนอนใจเพราะปัจจัยหลายๆ อย่าง ที่ทำให้เกิดภาวะอาการเช่นนี้ ซึ่งแก้ไขได้ก่อนที่มันจะสายเกินไป

ที่มา : ผศ.พญ. วรพรรณ เสนาณรงค์ และคุณปิยนุช แจ่มจรัส คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล



Create Date : 07 กรกฎาคม 2551
Last Update : 7 กรกฎาคม 2551 7:41:59 น.
Counter : 1311 Pageviews.

2 comments
  
เข้ามาเก็บความรู้ค่ะ
ยินดีที่รู้จัก
โดย: nathanon วันที่: 7 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:26:09 น.
  
แวะเข้ามาเทียบอาการครับ
อ่านดูแล้ว แล้วว่ายังไม่เสื่อมคร้าบบบ
ขอบคุณครับ
โดย: merf1970 วันที่: 7 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:12:27 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

pimpagee
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



Smile...Small...Smooth...Smart...

counter
สร้าง Playlist ของคุณได้ที่นี่
New Comments