มีนาคม 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาโครโมโซมของทารกในครรภ์
การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาโครโมโซมของทารกในครรภ์คืออะไร?การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาโครโมโซมเป็นกระบวนการนำน้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวของ ทารกในโพรงมดลูกออกมาเพื่อทำการตรวจหาโครโมโซมของทารก โดยวิธีใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านผิวหนังและมดลูกเข้าไปในบริเวณถุงน้ำคร่ำ ซึ่งเข็มที่ผ่านเข้าไปจะไม่ไปถูกตัวทารกหรือสายสะดือของทารก แล้วแพทย์จะใช้กระบอกฉีดยาดูดเอาน้ำคร่ำออกมาประมาณ 15-20 ซีซี ซึ่งเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยเมือเทียบกับปริมาณน้ำคร่ำที่มีอยู่ในครรภ์ (ประมาณ 150-200 ซีซี) ขณะอายุครรภ์ระหว่าง 15-20 สัปดาห์




ทำไมถึงใช้น้ำคร่ำในการตรวจหาโครโมโซมของทารก?ในน้ำคร่ำจะมีเซลล์ของทารกปะปนอยู่ด้วย ซึ่งเซลล์นี้จะหลุดลอกมาจากตัวของทารกกล่องลอยอยู่ในน้ำคร่ำ แพทย์จะทำคัดเอาเซลล์ของทารกไปทำการเพาะเลี้ยงแล้วจึงตรวจหาโคมโมโซมต่อไป โดยที่เซลล์ของทารกนั้นอาจจะได้จากส่วนอื่นอีก เช่น เนื้อรกหรือเลือดจากสายสะดือทารก เป็นต้น

โครโมโซม คืออะไร?
ในเซลล์ของมนุษย์ทุกคนจะมีโครโมโซมซึ่งเป็นสาร ข ทางพันธุกรรมอยู่ภายใน ประกอบด้วยโครโมโซม 23 คู่ (46 แท่ง) โคมโมโซมจะเป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆ ของเซลล์หรืออวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น รูปร่าง หน้าตา สติปัญญาเพศหญิงหรือชาย เป็นต้น ในกรณีที่โครโมโซมผิดปกติเช่น การขาดหายไปของโครโมโซมหรือการเพิ่มขึ้นของโครโมโซม จะทำให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆของร่างกายผิดปกติไปที่พบบ่อยๆคือ การเพิ่มขึ้นของโครโมโซมคู่ที่ 21 ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกรติของร่างกายและสมองที่เรียกว่ากลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome)

ใครควรได้รับการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาโครโมโซมของทารกในครรภ์บ้าง?1. มารดาที่มีอายุครบ 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เมื่อถึงเวลาคลอดบุตร เนื่องจากพบว่ามีโอกาสที่ทารกในครรภ์เกิดภาวะกลุ่มอาการดาวน์สูงกว่ามารดา ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี มีโอกาสเป็นกลุ่มอาการดาวน์ประมาณ 1 ใน 800 คนที่คลอด ในขณะที่มารดาที่อายุ 35 ปีมีโอกาสคลอดทารกที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ ประมาณ 1 ใน 350 คนที่คลอด และถ้ามารดาอายุสูงขึ้นยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะนี้สูงขึ้นด้วยตามลำดับ
2. มารดาที่เคยคลอดทารกที่มีกลุ่มอาการดาวน์หรือมีโครโมโซมผิดปกติรวมทั้งทารก ที่มีความผิดปกติของรูปร่างหรืออวัยวะต่างๆโดยไม่ทราบสาเหตุในครรภ์ก่อน
3. มารดาหรือบิดาที่มีผิดปกติของร่างกายหรืออวัยวะต่างๆที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปยังทารกได้

จะทำการเจาะน้ำคร่ำตรวจเมื่อไหร่?โดยปกติแล้วแพทย์จะทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาโครโมโซมของทารกเมื่ออายุ ครรภ์ประมาณ 15-20 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาระสมในการตรวจและปลอดภัยสำหรับทารก

เกิดอะไรขึ้นบ้างในวันที่ทำการตรวจ?ในวันที่ทำการตรวจท่านและสามีจะต้องมาที่โรงพยาบาลตามเวลานัดหมาย เพื่อรับฟังคำปรึกษาจากแพทย์ที่ทำการตรวจและต้องเซ็นชื่ออนุญาตให้แพทย์ทำ การตรวจแพทย์จะทำการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์เพื่อตรวจดู ลักษณะของทารก จำนวนทารกในครรภ์ รวมทั้ง ตรวจหาตำแหน่งของรกและปริมาณน้ำคร่ำ หลังจากนั้น แพทย์จะทำความสะอาดที่หน้าท้องของท่านในตำแหน่งที่จะเจาะน้ำคร่ำ หลังจากนั้นแพทย์จะทำความสะอาดที่หน้าท้องของท่านในตำแหน่งที่จะเจาะน้ำคร่ำ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อต่อมาแพทย์จะใช้เข็มขนาด เล็กแทงผ่านหน้าท้องและมดลูกเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ ซึ่งคล้ายกับการเจาะเลือดตรวจหรือการฉีดยาเข้าร่างกาย โดยเห็นเข็มที่ใช้แทงได้จากจอภาพอัลตราซาวนด์ตลอดการแทงเข็มเพื่อไม่ให้เข็ม ไปถูกตัวทารกหรือสายสะดือทารก หลังจากนั้นแพทย์จะทำการดูดน้ำคร่ำออกมาประมาณ 15-20 ซีซี เพื่อส่งตรวจต่อไป เมื่อดูดน้ำคร่ำเสร็จแล้วแพทย์จะดึงเข็มออกจาหน้าท้องและตรวจอัลตราซาวนด์ อีกครั้งหนึ่งเพื่อดูว่าทารกยังปกติดีอยู่และให้ท่านดูด้วยว่าทารกยังปกติดี

หลังจากเจาะน้ำคร่ำแล้วท่านควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

ในวันที่เจาะน้ำคร่ำ ท่านควรทำงานบ้านเบาๆได้ ไม่ควรให้เกิดการกระทบกระเทือนที่ท้องน้อยหรือมดลูก ควรงดเดินทางไกล ยกของหนัก มีเพศสัมพันธ์ หรือเดินช๊อบปิ้ง ในวันรุ่งข้นท่านสามารถปฏิบัติตัวได้ตามปกติที่เคยปฏิบัติ

ภาย หลังจากการตรวจถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกทางช่องคลอด น้ำปนเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องน้อยรุนแรง หรือมีไข้ให้รีบมาพบแพทย์ที่ท่านฝากครรภ์อยู่โดยเร็ว

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการเจาะน้ำคร่ำมีอะไรบ้าง?

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น คือการแท้งบุตรพบได้ 1 ใน 200 คนที่ทำการเจาะน้ำคร่ำ (0.5%) ซึ่งนับว่าไม่บ่อย ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจพบได้บ้าง เช่น เลือดออกจากการเจาะตรวจการอักเสบติดเชื้อ ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกเป็นต้น



การตรวจน้ำคร่ำมีขั้นตอนอย่างไรและจะทราบผลเมื่อไร?
น้ำคร่ำที่ได้จะนำไปแยกเซลล์ของทารกเพื่อเพาะเลี้ยงและตรวจหาโครโมโซมของ ทารกต่อไป ในบางกรณีอาจนำน้ำคร่ำไปตรวจพิเศษหาค่าของโปรตีนชนิดหนึ่งคืออัลฟาฟีโต โปรตีนในกรณีที่สงสัยว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติของกะโหลกศีรษะหรือกระดูก สันหลัง
โดยปกติแล้วผลของการตรวจหาโครโมโซมของทารกจะทราบผลภายใน 3 สัปดาห์หลังจากทำการตรวจซึ่งแพทย์จะบอกผลการตรวจแก่ท่านหรือสามีโดยตรง

ถ้าผลโครโมโซมของทารกผิดปกติจะทำอย่างไรต่อไป
ถ้าผลโครโมโซมของทารกผิดปกติ แพทย์จะให้คำปรึกษาแก่ท่านและสามีถึงผลการตรวจและความผิดปกติของทารกที่จะ เกิดขึ้น การที่จะตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านและสามีเป็น สำคัญ โดยแพทย์ผู้ให้คำปรึกษาจะดูแลต่อไปตามความเหมาะสม ค่าโครโมโซมของทารกปกติก็ไม่ได้ยืนยันว่าอวัยวะของทารกจะปกติดีทั้งหมด เพราะความผิดปกติบางอย่างของทารกไม่สามารถบอกได้ด้วยผลโครโมโซมเพียงอย่าง เดียว อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้อีกด้วย

ถ้าท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติมกรุณาสอบถามแพทย์ที่ทำการตรวจดูแลรักษาท่าน

ข้อมูลจาก



//ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/patient/p2400-1011-06.html



Create Date : 10 มีนาคม 2554
Last Update : 10 มีนาคม 2554 8:02:19 น.
Counter : 1684 Pageviews.

2 comments
  
cell ที่หลุดออกมาจากทารกในถุงน้ำคร่ำคืออะไรครับ
โดย: ภูมิ IP: 223.205.8.231 วันที่: 26 มีนาคม 2554 เวลา:22:26:37 น.
  
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

สวัสดียามสายยยยยยย อิอิอิ

ยังไม่ได้เดินทางไปไหนค่ะ รออยู่ 5555 :)
โดย: สาวสะตอใต้ วันที่: 10 เมษายน 2554 เวลา:12:02:51 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pimpagee
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



Smile...Small...Smooth...Smart...

counter
สร้าง Playlist ของคุณได้ที่นี่
New Comments