สิงหาคม 2552

 
 
 
 
 
 
 
 
22 สิงหาคม 2552
All Blog
ความดันเลือดสูง


ความดันเลือด ในคนปกติจะขึ้นกับอายุและสัดส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะน้ำหนัก
ดังนั้น คนที่รูปร่างใหญ่โตหรืออ้วน จะมีความดันเลือดสูงกว่าคนที่รูปร่างเล็กและผอม โดยทั่วไปถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม มักจะทำให้ความดันเลือดทั้งตัวบนและตัวล่างสูงขึ้นประมาณ 3 มิลลิเมตรปรอท

ความดันเลือดในผู้ใหญ่ไทยปกติ จะอยู่ระหว่าง 80-140/50-90
ความดันเลือดในผู้ใหญ่ที่เท่ากับหรือสูงกว่า 140/90 ในขณะที่นอนพักอยู่ให้ถือว่าเป็นความดันเลือดสูง โดยเฉพาะถ้าให้นอนพักอีก 5-10 นาทีแล้ววัดใหม่ ความดันเลือดก็ยังเท่าเดิม หรือใกล้เคียงกับที่วัดครั้งก่อน และอีก 1-2 สัปดาห์ต่อมาวัดแล้วก็ยังเท่ากับหรือสูงกว่า 140/90

ในผู้สูงอายุ ความดันเลือดตัวบนมักแกว่งขึ้นลงมากกว่าของคนหนุ่มสาว
ความดันเลือดสูงเป็นสิ่งที่เราวัดได้ ภาษาหมอเรียกว่า "อาการแสดง" ซึ่งต่างกับอาการ

อาการ คือสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกและเล่าให้หมอฟัง
อาการแสดง คือสิ่งที่ตรวจพบผู้ป่วยอาจจะรู้สึกหรือไม่รู้สึกก็ได้

ความดันเลือดสูงจึงไม่ใช่อาการ เพราะผู้ป่วยไม่สามารถรู้สึกได้ ต้องใช้เครื่องมือวัดจึงจะรู้ได้
ความดันเลือดสูงจึงเป็นภาวะหรือสภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งในคนปกติก็พบได้เป็นครั้งคราว เช่น เวลาโกรธ เวลาออกกำลังกายมากๆ เป็นต้น

สำหรับภาวะความดันเลือดสูงที่ผิดปกติ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
1. ภาวะความดันเลือดตัวล่างสูง
ภาวะความดันเลือดตัวล่างสูงเกิดจากหลอดเลือดแดงฝอยทั่วร่างกายตีบแคบลง ซึ่งมักเป็นภาวะที่เรียกกันว่าโรคความดันเลือดสูงส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75-90) จะไม่รู้สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงฝอยทั่วร่างกายตีบ เวลาพูดกันโดยทั่วไปว่าเป็น "โรคความดันเลือดสูง" มักหมายถึงโรคความดันเลือดตัวล่างสูงที่ไม่รู้สาเหตุ

2. ภาวะความดันเลือดตัวบนสูง
ภาวะความดันเลือดสูงชนิดนี้จะสูงเฉพาะตัวบน ตัวล่างจะปกติหรือสูงเพียงเล็กน้อย เช่น 240-100, 190/90 เป็นต้น

ภาวะความดันเลือดตัวบนสูง เกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอกและช่องท้องมีผนังหนาแข็ง ยืดหยุ่นได้น้อย เมื่อหัวใจบีบตัวผลักดันเลือดออกมาสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดแดงใหญ่จะขยายตัวออกรับเลือดไม่ได้ดี ความดันเลือดตัวบนจึงสูงขึ้นมาก

ความดันเลือดตัวบนสูงส่วนใหญ่เกิดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 60 ปี จนบางคนถือว่าเป็นภาวะปกติสำหรับผู้สูงอายุ

หลักปฏิบัติทั่วไปสำหรับคนที่มีความดันเลือดสูง
1. ลดอาหารเค็ม
2. ลดความอ้วนลง ถ้าอ้วน
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
4. หลีกเลี่ยงและเรียนรู้การกำจัดความหงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น หรือเครียด
5. เลิกดื่มสุราและเลิกสูบบุหรี่
6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
7. สตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิด จะต้องหยุดยาคุมกำเนิด

ผู้เขียน: นพ.สันต์ หัตถีรัตน์

ข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน





Create Date : 22 สิงหาคม 2552
Last Update : 22 สิงหาคม 2552 5:46:18 น.
Counter : 1396 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pimpagee
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



Smile...Small...Smooth...Smart...

counter
สร้าง Playlist ของคุณได้ที่นี่
New Comments