Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
22 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
โรงเรียนการบิน (ตอนที่ 4)



เครื่องบินขับไล่แบบ 10 (Hawk III) ซื้อจากสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งกรรมสิทธิ์ในการสร้าง เมื่อพ.ศ. 2478 จำนวน 12 เครื่อง และได้สร้างขึ้นเองอีกประมาณ 50 เครื่อง ได้ใช้ปฏิบัติการทั้งในสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนของฝรั่งเศส และสงครามมหาเอเชียบูรพา
ใช้ในราชการจนถึง พ.ศ. 2492


กองโรงเรียนการบินที่ 1 และกองโรงเรียนการบินที่ 2 เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมทหารอากาศ

25 เมษายน 2478 มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมให้กรมอากาศยานเป็นกรมขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและเปลี่ยนชื่อเป็นกรมทหารอากาศ โรงเรียนการบินพลเรือนในเวลานั้นยังคงเป็นกองโรงเรียนการบินที่ 1 ประกอบด้วยฝูงบิน ี่ 1,2,3 กองโรงเรียนการบินที่ 2 ประกอบด้วยฝูงบินที่ 1 และฝูงการซ่อมที่ 2 กองโรงเรียนการบินมีหน้าที่เช่นเดียวกับกองบินทุกประการ คือฝึกนักบินประจำการ ให้มีความรู้ความสามารถในการรบและปฏิบัติการอย่างอื่นในอากาศ

นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ฝึกศิษย์การบินตามหลักสูตรด้วย มีการรับศิษย์การบินชั้นสัญญาบัตรจากทั้งทหารบก ทหารเรือ และตำรวจ ศิษย์การบินคนแรกที่เป็นตำรวจคือ นายร้อยตำรวจตรี ไชย สุนทรสิงห์ เป็นศิษย์การบินรุ่นเดียวกับนายร้อยตรี บุญชู จันทรุเบกขา และนายร้อยตรี หะริน หงสกุล นายทหารที่สมัครจะต้องอยู่ในตำแหน่งพลรบมาแล้ว ทหารบกยศไม่เกินนายร้อยโท ทหารเรือและตำรวจยศนายเรือตรีและ นายร้อยตำรวจตรี




เสนาธิกามทหารอากาศได้กำหนดให้มีเครื่องหมายประจำหน่วยบิน สำหรับกองโรงเรียนการบินที่ 1 มีเครื่องหมายดังต่อไปนี้

กองบังคับการ เป็นรูปม้าสีขาวบนพื้นสีแดงรูปสี่เหลี่ยมขนาดผืนธง 40x60 ซม. ให้ปักธงนี้ไว้ ณ ที่ตั้งกองบังคับการตามกำหนดเวลาที่ชักธงชาติขึ้นลง และถ้าจะย้ายกองบังคับการไปที่ใดก็ให้นำธงนี้ไปด้วย

ฝูงบินที่ 1 เป็นรูปม้าสีขาวบนพื้นสีแดงรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ฝูงบินที่ 3 เป็นรูปม้าสีขาวบนพื้นที่สีแดงรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

ส่วนเครื่องหมายของกองโรงเรียนการบินที่ 2 ก็เช่นเดียวกับของกองโรงเรียนการบินที่ 1 แต่เป็ฯรูปนูนบนพื้นสีเขียวใบไม้ เครื่องหมายเหล่านี้ให้ใช้กับเครื่องบินโดยอนุโลมตามขนาดของเครื่อง เครื่องใช้บางอย่างตลอดจนรถยนต์ที่จำเป็นต้องมีเครื่องหมาย

กองโรงเรียนการบินที่ 1 เปลี่ยนเป็นกองบินน้อยที่ 1 และกองโรงเรียนการบินที่ 2 เปลี่ยนเป็นกองบินน้อยที่ 5

ต่อมามีพระบรมราชโองการ ให้ตราพระราชบัญญัติยศของทหาร พ.ศ. 2479 แบ่งแยกยศทหารไว้เป็น 3 เหล่า คือ บก เรือ อากาศ ทหารอากาศแยกจากทหารบกตั้งแต่ 31 ก.ค. 2479 ในปีเดียวกันนี้ มีคำสั่งทหารที่ 9/ 643 ลงวันที่ 15 เม.ย. 2479 ให้โอนกรมแพทย์และเปลี่ยนนามหน่วยย่อย เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาจัดหน่วยย่อย ในกระทรวงกลโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 ตามคำสั่งดังกล่าวนี้เอง กองโรงเรียนการบินที่ 1 จึงเปลี่ยนเป็นกองบินน้อยที่ 1 และกองโรงเรียนการบินที่ 2 เปลี่ยนเป็นกองบินน้อยที่ 5 ตั้งแต่ 15 เม.ย. 2479 นับแต่นั้นมาการฝึกอบรมศิษย์การบินดำเนินการโดยฝูงศึกษากองบินน้อยที่ 1

พ.ศ. 2480 มีการพิจารณาว่าการฝึกบินยังไม่ได้ผลสมบูรณ์ตามความมุ่งหมายของทางราชการ จึงได้จัดทำหลักสูตรการฝึกครูการบินขึ้น เพรื่อปรับปรุงครูการบินให้มีพื้นความรู้และแนวทางปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน การฝึกอบรมกระทำทั้งภาคอากาศและภาคพื้น การฝึกภาคอากาศประกอบด้วยการฝึกฝีมือบินให้ถูกต้องแม่นยำ การจำแนกรายละเอียดในการบังคับเครื่อง การลงนอกสนามโดยจำเป็น การบินในระดับต่ำ การบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน และการบินกลางคืน ส่วนวิชาภาคพื้นได้แก่ หลักวิชาการบิน การเครื่องบินที่พื้น การเดินอากาศ การเครื่องบิน การเครื่องยนต์ กฎและข้อบังคับการบิน และเครื่องวัดประกอบการบิน

ตั้งกองโรงเรียนการบินขึ้นในกรมเสนาธิการทหารอากาศ

พ.ศ. 2481 มีการปรับปรุงการจัดส่วนราชการกองทัพอากาศ ซึ่งกระทรวงกลาโหมยกฐานะจากกรมขึ้นเป็นกองทัพเมื่อ 8 เม.ย. 2480 และได้ตั้งกองโรงเรียนการบินขึ้นเป็นหน่วยหนึ่งในกรมเสนาธิการทหารอากาศ ตั้งแต่ 18 ม.ค. 2481 จำนวน 13 นาย หนึ่งในจำนวนนี้คือ เรืออากาศตรี กลม เดชะตุงคะ ซึ่งภายหลังได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ







ต่อมา พ.ศ. 2482 มีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดกองบินหรือฝูงบิน เครื่องหมายของกองโรงเรียนการบิน เป็นรูปดวงประทีปสีดำเปลวเพลิงสีส้ม อยู่ภายในรูปจักรสีขาวและปีกสีดำอยู่ของข้างรูปจักรสีส้ม ให้เขียนเครื่องหมายประจำกองบินและเครื่องหมายประจำฝูงบินประมาณกึ่งกลางความยาวด้านข้างของลำตัว เครื่องบินซึ่งมีขนาดสูง 2 ใน 3 ของความกว้างลำตัวเครื่องบินทั้งสองข้าง

การฝึกศิษย์การบินดำเนินต่อมาตามปกติ เริ่มรับนักเรียนเทคนิคทหารบกชั้น 4 ซึ่งศึกษาตามหลักสูตรพิเศษเข้าเป็นศิษย์การบินเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2483 โดยรับไว้ 12 นาย สำเร็จเป็นนักบิน 10 นาย







กองโรงเรียนการบินย้ายไปอยู่ที่นครราชสีมา

พ.ศ. 2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา วันที่ 12 ธันวาคม กองโรงเรียนการบินจึงย้ายจากดอนเมืองไปอยู่ที่จังหวดนครราชสีมา โดยรวมอยู่กับกองบินน้อยที่ 3

เพื่อให้การผลิตนักบินดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องบินที่ใช้ฝึกขั้นต้น คือ บ.ฝ. (AVRO 504 N) กับ บ.ฝ. 5 (คอร์แชร์หัวยาว)

ส่วนเครื่องบินฝึกขั้นปลายใช้ บ.จ. 1 (คอร์แชร์หัวสั้น) กับ บ.ข. 10 (ฮอว์ค 3) และโบอิ้ง

ขณะนั้น ไทยจำเป็นต้องร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เมื่ออะไหล่ของเครื่องบินแบบต่างๆขาดแคลนลง ทำการบินไม่ได้ จึงได้ซื้อเครื่องบินแบบตาชิกาวา (บผ.6) จากญี่ปุ่นมาใช้ฝึกศิษย์มัธยมจำนวน 44 เครื่อง เมื่อ พ .ศ. 2485

เมื่อสงครามยุติลงในปี พ.ศ. 2488 กองโรงเรียนการบินยังคงตั้งอยู่ที่นครราชสีมาต่อไป

พ.ศ. 2487 กองโรงเรียนการบินยังคงเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมเสนาธิการทหารอากาศ มีผู้บังคับกองโรงเรียนการบินเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่รับผิดชอบในการฝึกและอำนวยการศึกษาของศิษย์การบินให้มีความรู้ความสามารถตามหลักสูตรซึ่งกองทัพอากาศได้กำหนดไว้ อำนวยการศึกษาค้นคว้าและทดลองบรรดาเครื่องมือเครื่องใช้อันเกี่ยวกับการรบทางอากาศ การจัดและดำเนินการสโมสรการบิน แบ่งการจัดส่วนออกเป็น

กองบังคับการกองโรงเรียนการบิน
กองศึกษาที่ 1
กองศึกษาที่ 2
สโมสรการบิน

กองโรงเรียนการบินเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

พ.ศ. 2491 กองโรงเรียนการบินเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารอากาศและในปีนี้ได้มีการสั่งซื้อเครื่องบินฝึกขั้นต้นแบบไมล์มาจิสเตอร์หรือ บ.ฝ. 7 มาไว้ใช้ในราชการกองโรงเรียนการบิน 20 เครื่อง เพื่อให้ศิษย์การบินชั้นประถมฝึกแทนเครื่องบินแบบ บ.ฝ. 4

พ.ศ. 2492 กองทัพอากาศได้โอนกิจการกองบินน้อยที่ 3 ให้กองโรงเรียนการบินตามคำสั่ง ทอ. ที่ 2123/92 ลงวันที่ 8 ก.พ. 2492 ใบปีนี้ใช้เครื่องบินแบบ บ.ฝ . 8 สำหรับฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยม







กองโรงเรียนการบินเป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อกองทัพอากาศ

พ.ศ. 2496 กองโรงเรียนการบินเป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อ ผบ.ทอ. ในปีนี้ใช้เครื่องบินฝึก แบบ บ.ฝ. 9 (Chipmunk) สำหรับฝึกศิษย์การบินชั้นประถมแทน บ.ฝ. 7 เครื่องบินฝึกแบบนี้กองทัพอากาศเริ่มจัดซื้อตั้งแต่ พ.ศ. 2494-2497 จึงครบ 66 เครื่อง ส่วนการฝึกบินของศิษย์การบินชั้นมัธยมยังคงใช้เครื่องบินฝึกแบบ บ.ฝ. 8 (T-6) พ.ศ. 2503 กองโรงเรียนการบินนำเครื่องบินลำเลียงแบบ บ.ล. 2 (C-47) มาใช้ฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยม ซึ่งจะเป็นนักบินลำเลียง

พ.ศ. 2508 กองทัพอากาศซื้อเครื่องบินฝึกแบบ บ.ฝ. 12 (T-37 B) ซึ่งใช้เครื่องยนต์เจตสองเครื่องเป็นรุ่นแรกจำนวน 8 เครื่อง ให้กองโรงเรียนการบินใช้ฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยมเป็นการฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยมด้วยเครื่องบินไอพ่นเป็นครั้งแรก โดยแบ่งส่วนดังนี้

ศิษย์กรบินชั้นประถม ฝึกบินกับ บ.ฝ. 9 ประมาณ 20 ชม. แล้วฝึกบินเปลี่ยนแบบกับ บ.ฝ. 8 ประมาณ 95 ชม.

ศิษย์การบินชั้นมัธยม แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ บ.ล. 2 และ บ.ฝ. 12 เวลาบินประมาณ 115 ชม.

ระยะเวลาการฝึกจนสำเร็จเป็นนักบินประจำกองประมาณ 1 ปี

โรงเรียนการบิน

พ.ศ. 2504 กองโรงเรียนการบินเปลี่ยนแปลงเป็นโรงเรียนการบิน มีผู้บัญชาการโรงเรียนการบินเป็นผู้บังคับบัญชา การฝึกบินมีการเปลี่ยนแปลงอีกใน พ.ศ. 2511 คือ ฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยมที่บินจบส่วน บ.ฝ. 12 ด้วยเครื่องบินแบบ บ.ฝ. 11 (T-33) เพื่อให้พร้อมในการบินเปลี่ยนแบบก่อนจะไปบินกับเครื่องบินขับไล่ที่มีความเร็วสูง เช่น บ.ข. 18 (F-1) และฝึกการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินให้ชำนาญมากขึ้น

โรงเรียนการบินย้ายเข้าที่ตั้งใหม่ ณ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

พ.ศ. 2512 มีคำสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ 44/2 ลงวันที่ 21 เม.ย. 12 ให้โรงเรียนการบินย้ายจากจังหวัดนครราชสีมาเข้าประจำที่ตั้งใหม่เนื้อที่ 9,5000 ไร่ ที่ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม เริ่มปฏิบัติงาน ณ ที่ตั้งใหม่ตั้งแต่ 22 พ.ค. 2512 เป็นต้นมา และถือวันที่ 12 ธันวาคมเป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนกรบินซึ่งเป็นวันที่กองโรงเรียนการบินย้ายจากที่ตั้งดอนเมืองไปยังนครราชสีมา

ในปีนี้เริ่มใช้เครื่องบินฝึกแบบ บ.ฝ. 14 (T-41) กับศิษย์การบินชั้นประถมโดยฝึกบินกับ บ.ฝ. 9 ประมาณ 20 ชม. ก่อนแล้วจึงฝึกบินกับ บ.ฝ. 14 ต่อจนครบ ชม. บินตามหลักสูตรเครื่องบินดังกล่าวใช้ในการฝึกศิษย์การบิน 2 รุ่น จึงนำไปใช้เป็นเครื่องบินธุรการตามกองบินต่างๆ

พ.ศ. 2513 ได้รับ บ.ฝ. 12 (T-37 B) เพิ่มเติมอีก 6 เครื่อง และได้รับเฮลิคอปเตอร์แบบ ฮ. 4 (H-34 C) เข้ามาฝึกศิษย์การบินทั้งชั้นประถมและมัธยมเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากจึงนำเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กแบบ ฮ. 7 (OH-13) มาใช้ฝึกการบินชั้นประถม ใช้ได้ไม่นานก็ยกเลิกเพราะมีข้อขัดข้องบางประการ พ.ศ. 2515 ได้รับ บ.ฝ. 12 (T-37 B) อีก 2 เครื่อง

พ.ศ. 2516-2517 กองทักสั่งซื้อเครื่องบินแบบ บฦ. 15 (Marchetti) จารอิตาลีจำนวน 11 เครื่อง สำหรับโรงเรียนการบินใช้ฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยม นอกจากนั้นยังซื้อเครื่องบินฝึกแบบ บ.ฝ. 16 (Air Trainer) จากนิวซีแลนด์ 19 เครื่อง และซื้อเพิ่มอีก 5 เครื่องใน พ.ศ. 2518 รวมทั้งหมด 24 เครื่อง เครื่องบินดังกล่าวใช้ในการฝึกศิษย์การบินชั้นประถม สำหรับ บ.ฝ. 15 นั้นมีการซื้อเพิ่มอีก 6 เครื่อง ใน พ.ศ. 2521

พ.ศ. 2522 โรงเรียนการบินได้นำเฮลิคอปเตอร์แบบ ฮ. 6 (UH-1) จำนวน 3 เครื่อง จากกอบบิน 2 มาใช้ฝึกสิษย์การบินชั้นมัธยมส่วนที่จะเป็นนักบินเฮเลิคอปเตอร์ ต่อมาการฝึกบินกับเฮลิคอปเตอร์ได้เลิกไป คงเหลือการฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยมเพียง 2 ส่วน คือ ส่วน บ.ฝ. 15 และกองทัพอากาศซื้อเครื่องบินฝึกแบบ บ.ฝ. 15 (T-37 B) อีก 6 เครื่อง ให้โรงเรียนการบินใช้ฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยมเมื่อ พ.ศ. 2523














ที่มาของข้อมูล : ทำเนียบศิษย์การบิน-นักบิน กองทัพอากาศ พ.ศ.2457-2529


Create Date : 22 เมษายน 2554
Last Update : 22 เมษายน 2554 6:12:41 น. 4 comments
Counter : 9125 Pageviews.

 
รูปสวย glitter emoticon comment glitter.mthai.com

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆค่ะ


โดย: เรือนเรไร วันที่: 22 เมษายน 2554 เวลา:20:39:47 น.  

 
ขอบคุรมากครับ......ผมชอบมากเลย^^


โดย: ธนวัฒน์ IP: 223.207.24.117 วันที่: 26 กรกฎาคม 2554 เวลา:16:27:23 น.  

 
๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ กองทัพอากาศ ย้าย “กองโรงเรียนการบิน” จากสนามบินดอนเมือง ออกไปอยู่ที่สนามบินนครราชสีมา ร่วมกับ “กองบินน้อยที่ ๓” เพื่อหนีภัยสงคราม ประกอบกับ ที่ตั้งสนามบินดอนเมือง ขณะนั้นกองทัพญี่ปุ่นขอใช้พื้นที่เป็นที่ตั้งของฝูงบินรบจำนวนมาก
กองโรงเรียนการบิน ได้รับเครื่องบินฝึกใหม่ ประกอบด้วย เครื่องบินฝึกแบบ AVRO 504N, คอร์แซร์, ตาชิกาวา และเครื่องบินโจมตีแบบคอร์แซร์ ใปใช้ฝึก


โดย: รัชต์ รัตนวิจารณ์ IP: 119.46.176.222 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:13:33:14 น.  

 
พ.ศ.๒๔๘๕ ความร่วมมือทางทหารระหว่างกองทัพอากาศ กับกองทัพบกญี่ปุ่น เมื่อกองทัพอากาศ ส่งนายทหารนักบิน ๒ นาย เข้ารับการศึกษาวิชาการบินขั้นสูงของกองทัพบกญี่ปุ่น Matsudo Higher Innstitute of Aircrewmen เป็นรุ่นแรก (และรุ่นเดียว) โดยเข้ารับการศึกษาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๕ – ๒๔๘๗ จำนวน ๓ หลักสูตร คือ หลักสูตรการบินตรวจการณ์ หลักสูตรการบินระดับทิ้งระเบิด และหลักสูตรการบินดำทิ้งระเบิด ประกอบด้วย
นายเรืออากาศตรี เฉลิม ทีวะเวช นายเรืออากาศตรี คำรณ ลีละสิริ



โดย: รัชต์ รัตนวิจารณ์ IP: 119.46.176.222 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:13:34:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.