happy memories
Group Blog
 
<<
มกราคม 2561
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 มกราคม 2561
 
All Blogs
 
ดุริยกวีระดับโลก "ครูเอื้อ สุนทรสนาน"





วันนี้ (๒๑ ม.ค.) เป็นวันคล้ายวันเกิดของ "ครูเอื้อ สุนทราภรณ์" กูเกิ้ลเปลี่ยนสัญญลักษณ์เป็นลายเส้นรูปครู วาดได้น่ารักมาก ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับท่านแล้ว ถูกใจเวบของทีวีอัมรินทร์ที่ลงเนื้อหาของรายการ "ตำนาน" ตอน ดุริยกวีระดับโลก "ครูเอื้อ สุนทรสนาน" โชคดีที่มียูทูบ ถึงไม่ได้ดูตอนออกอากาศก็ยังหาคลิปดูได้ ท่านใดอยากชมก็คลิกลิงค์ข้างล่างได้เลยค่ะ


ตำนาน ตอน ดุริยกวีระดับโลก "ครูเอื้อ สุนทรสนาน"

ตอน ๑
ตอน ๒
ตอน ๓
ตอน ๔
ตอน ๕










"ครูเอื้อ สุนทราภรณ์"ตำนานท่านนี้ เปรียบเสมือนหนังสือเพลงเล่มใหญ่ ที่เต็มไปด้วยท่วงทำนองและคำร้องอันไพเราะ เป็นอมตะตลอดกาล คีตศิลปินที่ทั่วโลกยอมรับ เอื้อ สุนทรสนาน หรือ สุนทราภรณ์ เป็นนามแฝงที่ท่านใช้ตลอดอายุขัยของท่าน ในการขับร้องเพลง เป็นผู้พลิกโฉมหน้าของประวัติศาสตร์วงการดนตรีไทย ครูเอื้อได้ประพันธ์เพลงด้วยการเอาทำนองของดนตรีไทย มาผสมผสานเข้ากับดนตรีสากล จนเกิดเป็นทำนองเฉพาะ ที่เรียกได้ว่าเป็นแนวทางของ สุนทราภรณ์ โดยเฉพาะ “ทำนองเอื้อ เนื้อแก้ว” ครูแก้ว ถือเป็นคู่บุญของครูเอื้อ ที่ช่วยกันแต่งเพลงได้อย่างสอดคล้องกันทั้งคำร้องและทำนอง










ความสามารถของครูเอื้อ ทำให้องค์กรยูเนสโก ยกย่องให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาวัฒนธรรมดนตรีไทย-สากล ในปีพ.ศ. ๒๕๕๓ ทั้งรางวัลมากมาย และคำยกย่องจากหลาย ๆ คน เป็นสิ่งยืนยันความอัจฉริยะของครูเอื้อ










เอื้อ สุนทรสนาน เป็นผู้มีความอัจฉริยะตั้งแต่วัยเยาว์ เขาสันทัดทุกแขนงเกี่ยวกับงานดนตรี ความสามารถของครูเอื้อ ทำให้ได้เข้ารับราชการในกองเครื่องสายฝรั่งหลวง กรมมหรสพ กระทรวงวัง ตั้งแต่มีอายุเพียง ๑๔ ปี ซึ่งนับเป็นนักดนตรีที่มีอายุน้อยที่สุด










แต่ด้วยความที่เป็นคนสนใจใคร่รู้ และอยากพัฒนาตัวเอง ครูเอื้อ จึงได้เริ่มต้นฝึกฝนดนตรีชิ้นอื่น ๆ นอกเหนือจาก ไวโอลิน ที่เคยฝึกฝนมา ครั้นพออายุ ๒๒ ปี จึงโอนไปรับราชการ สังกัดกรมศิลปากร ในสังกัดกองมหรสพ และในช่วงนี้เอง ที่ท่านได้แสดงฝีมือการประพันธ์ โดยการแต่งทำนองเพลง "ยอดตอง ต้องลม"










นอกเหนือจากความสามารถในการเล่นดนตรี และการประพันธ์ที่โดดเด่นกว่าใคร ไม่น่าเชื่อว่าครูเอื้อยังมีความสามารถในการขับร้องเพลงอีกด้วย “เพลงนารถนารี” เป็นเพลงแรกในชีวิตการขับร้องของครูเอื้อ แต่เพลงที่ทำให้ชื่อเสียงของครูเอื้อโด่งดังไปทั่วประเทศ นั่นก็คือเพลง “ในฝัน” ครูเอื้อจึงได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าวงดนตรีประจำกรม ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๘๒ จนกระทั่งเกษียณราชการในปีพ.ศ. ๒๕๑๓ รวมเวลาทั้งสิ้น ๓๑ ปี










ระหว่างรับราชการ ท่านได้ก่อตั้งวงดนตรีวงนึงขึ้น เพื่อรับงานนอกเวลาราชการ โดยใช้ชื่อว่า “สุนทราภรณ์” ซึ่งชื่อของวงมาจากนามสกุลของท่าน สุนทร มาสมาสกับชื่อของคนรักคือ อาภรณ์ กลายเป็น “สุนทราภรณ์” ด้วยความอัจฉริยะ ครูเอื้อ สุนทรสนาน จึงมีบทเพลงมากว่า ๒,๐๐๐ เพลง นี่คือเท่าที่มีปรากฏบันทึกไว้ นอกจากนั้นบทเพลงของครูเอื้อยังมีความหลากหลาย ที่ไม่น่าเชื่อว่าคน ๆ เดียว สามารถที่จะทำได้










เพลงบางเพลงหลายคนอาจจะคาดไม่ถึงว่าเป็นบทเพลงของสุนทราภรณ์ และยิ่งกว่านั้นบทเพลงของสุนทราภรณ์ เรียกได้ว่ามีให้ฟังทุกเทศกาล อย่างเช่นเพลง “ลอยกระทง” เพลงที่เราได้ยินทุกครั้งเมื่อเทศกาลนี้เวียนมาบรรจบ และไม่ใช่เพียงแค่คนไทยเท่านั้นที่รู้จัก ต่างชาติก็เช่นกัน















นอกจากความสามารถอันโดดเด่นในตัวของครูเอื้อเองแล้ว เค้ายังเป็นคนที่มองเห็นแววในตัวของบรรดาลูกศิษย์ และยังเป็นคนที่มอบโอกาสให้กับผู้ที่มีพรสวรรค์เสมอ ส่วนการฝึกฝนลูกศิษย์นั้น ครูเอื้อก็มีดุบ้างติบ้าง เพื่อให้ลูกศิษย์ทุกคนได้ดี บางคนได้เป็นถึงศิลปินแห่งชาติ และนอกจากความเป็นครูที่มีอย่างล้นเหลือ ซึ่งทำให้ครูเอื้อมีลูกศิษย์ลูกหามากมายแล้ว ลักษณะนิสัยส่วนตัวที่มีความเมตตา พูดจาเพราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส ใครได้อยู่ใกล้ก็จะรู้สึกอบอุ่นและรักครูเอื้อ











ด้วยความสามารถ บวกกับความอัจฉริยะของครูเอื้อ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์กันดี ทำให้ได้รับโอกาสอันเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิตกับการได้ถวายงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ครูเอื้อได้ถวายงานให้กับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต เพราะเพลงสุดท้ายที่ประพันธืเพื่อลาแฟนเพลง คือเพลง “พระเจ้าทั้งห้า” ซึ่งสรรเสริญและรำลึกพระคุณ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ พร้อมกับฝากบทเพลงสุนทราภรณ์ไว้อยู่คู่ฟ้าเมืองไทย






ตลอดช่วงเวลาในการทำงานในชีวิตของครูเอื้อ ท่านได้อุทิศทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ ในการพัฒนาวงการดนตรีไทยให้เกิดความก้าวหน้า สิ่งเหล่านี้เองที่เป็นเบ้าหลอม หรือเป็นแม่พิมพ์ให้กับคนรุ่นหลังได้เดินตามทางของท่าน











เว็บไซต์ Google ได้เปลี่ยนรูปสัญลักษณ์เป็นตัวการ์ตูนของ “ครูเอื้อ สุนทรสนาน” นักดนตรีนักประพันธ์คนสำคัญของโลก เนื่องจากวันนี้ วันที่ ๒๑ ม.ค. ๒๔๕๓ เป็นวันคล้ายวันเกิดของครูเอื้อ โดยครูเอื้อเป็นที่รู้จักแก่ทั่วโลกในฐานะเป็นผู้บุกเบิกเพลงไทยสากล และเป็นหัวหน้าวงสุนทราภรณ์ที่สร้างบทเพลงระดับตำนานไว้มากมาย ทั้งนี้ ครูเอื้อยังถือเป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการดนตรีไทยสากล จนได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล เมื่อปี ๒๕๕๒ ครูเอื้อได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑ เม.ย. ๒๕๒๔ สิริรวมอายุ ๗๑ ปี






***หมายเหตุ***

“ตำนาน” รายการสารคดีอัตชีวประวัติที่จะพาผู้ชมย้อนไปทำความรู้จักกับบุคคลที่เป็นตำนานของเมืองไทย โดย “ตู่ ภพธร สุนทรญาณกิจ” จะเป็นผู้ร้อยเรียงเรื่องราวของตำนานมีชีวิต ผ่านบุคคลใกล้ชิดและแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ เพื่อบอกเล่าถึงประสบการณ์ของบุคคลระดับตำนาน ที่จะสะท้อนหลากหลายแง่มุม กลายเป็นบทเรียนอันล้ำค่าสำหรับผู้ชม ออกอากาศทุกวันศุกร์ ๒๒.๑๕ น. AMARIN TV HD ช่อง ๓๔ จานดาวเทียมและเคเบิลทีวี ช่อง ๔๔

 รายละเอียด
ออกอากาศวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๒๒.๐๐ น.

ตอน ดุริยกวีที่ได้รับการยอมรับระดับโลก "ครูเอื้อ สุนทรสนาน"








พระบรมฉายาลักษณ์ ภาพและข้อมูลจาก
amarintv.com
manager.co.th
khaosod.co.th








บีจีและไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ KungHangGerman

Free TextEditor




Create Date : 21 มกราคม 2561
Last Update : 22 มกราคม 2561 20:05:36 น. 0 comments
Counter : 4867 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณThe Kop Civil, คุณสองแผ่นดิน, คุณกะว่าก๋า, คุณSweet_pills, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณtoor36, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณญามี่, คุณเกศสุริยง, คุณAppleWi, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณกิ่งฟ้า, คุณkae+aoe, คุณวลีลักษณา, คุณซองขาวเบอร์ 9, คุณหอมกร, คุณmoresaw, คุณnewyorknurse, คุณmambymam, คุณInsignia_Museum, คุณJinnyTent, คุณSai Eeuu, คุณTui Laksi, คุณtuk-tuk@korat, คุณRinsa Yoyolive, คุณmcayenne94, คุณชีริว, คุณClose To Heaven, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณALDI, คุณmariabamboo, คุณเริงฤดีนะ, คุณ**mp5**, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณอุ้มสี, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.