Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 

กุญแจ 7 ประการ เพื่อเลี้ยงลูกให้จิตใจดี



ข้อมูลจาก การบรรยายวิชาการของ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ไพรัตน์ พฤกษ์ชาติคุณากร
และ แพทย์หญิงกิตติวรรณ เทียมแก้ว จากโรงพยาบาลสวนปรุง
ได้ให้หลักในการเลี้ยงดูลูกให้มีสุขภาพจิตใจดีไว้ 7 ประการดังนี้

ประการที่ 1 เลี้ยงลูกตั้งแต่เด็ก
คือเอาใจใส่ลูกตั้งแต่ยังเล็กให้สม่ำเสมอ จนกระทั่งเขาเติบโตขึ้น เข้าใจพัฒนาการต่างๆ
และมีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย

ประการที่ 2 เลี้ยงด้วยความรัก
การเลี้ยงลูกต้องเลี้ยงด้วยความรักและความเข้าใจให้ความอบอุ่น
เพราะลูกมนุษย์ต้องถูกเลี้ยงดูทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะดูแลพัฒนาทางจิตใจนั้นสำคัญมาก
ถ้าหากเลี้ยงแต่ร่างกายให้เติบโตแต่จิตใจไม่ดี ก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่ตัวเขาเองและสังคมได้

ประการที่ 3 เลี้ยงอย่างมีวินัย
การฝึกหัดให้ลูกมีระเบียบวินัยตามสมควรแก่วัย
จะทำให้ลูกเริ่มเข้าใจหลักการต่างๆ ที่สังคมมนุษย์ต้องมีในการอยู่ร่วมกัน
การสร้างวินัยให้ลูกควรมีความยืดหยุ่นบ้าง เช่น ปกติครอบครัวต้องรับประทานอาหารร่วมกันตอน 6 โมงเย็น
แต่บางวันลูกอาจสนใจกับของเล่นชิ้นใหม่หรืออื่นๆ และขอตัวไม่รับประทานอาหารพร้อมพ่อแม่
พ่อแม่อาจต้องยอมบ้าง แล้วในที่สุดเมื่อเขาเล่นเสร็จก็ไปหาอาหารรับประทานเองในครัว เป็นต้น

ประการที่ 4 มีเวลาให้ลูกอย่างมีคุณภาพ
การมีเวลาให้ลูกอย่างมีคุณภาพ คือการใช้เวลาเพื่อแสดง ความรัก ความเอาใจใส่ ความห่วงใย
มักพบว่าหลายครอบครัวมีเวลาอยู่กับลูกมาก แต่ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวขาดความมีสมานฉันท์
สมาชิกในครอบครัวรู้สึกถึงความร้าวฉาน ความไม่อบอุ่น ดังนั้น ถึงแม้จะมีเวลาให้ลูกไม่มากนัก
แต่การแสดงความรัก การเอาใจใส่ที่จริงใจและอบอุ่นในเวลาอันน้อยนิด ดีกว่าอยู่ด้วยกันทั้งชีวิต
แต่สภาวะจิตใจเต็มไปด้วยความรู้สึกขาดและหวาดระแวง

ประการที่ 5 เลี้ยงลูกด้วยความประนีประนอม
ความประนีประนอม คือ การรู้จักยืดหยุ่น หรือหยวนๆ บ้าง
ในบางเรื่องบางครั้งไม่ตั้งหน้าตั้งตาเอาจริงเอาจัง เอาเป็นเอาตาย
โดยเฉพาะเด็กๆ เขาจะมีความรู้สึกนึกคิด หรืออยากเปลี่ยนแปลงอะไรอยู่บ้างในช่วงวัยของชีวิต
หรือกิจวัตรประจำวัน เช่น ลูกอยากดูโทรทัศน์ และนอนดึกในคืนวันหยุดราชการที่ไม่ต้องไปโรงเรียน
พ่อแม่ก็ควรประนีประนอมยอมกันบ้าง เป็นต้น

ประการที่ 6 ควรคุยเล่นกับลูกบ้าง
การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายระหว่างพ่อแม่ลูก อาจมีการหยอกล้อกันบ้างจะช่วยให้ชีวิตมีความสุข
รู้สึกผ่อนคลาย มากกว่าสร้างความรู้สึกที่เคร่งเครียดจริงจังอยู่ตลอดเวลา

ประการที่ 7 การกระทำบางอย่างของลูก ควรย้อนดูตัวเอง
พ่อแม่หลายคนมักเอาตัวเองเป็นที่ตั้งมากเกินไป จนลืมสำรวจดูความรู้สึกของลูกที่เกิดจากการกระทำของตัวเอง
เช่น เวลาพูดอะไรแล้วลูกปิดหูไม่ยอมฟัง เมื่อถามดูว่าทำไมจึงทำอย่างนั้น ลูกอาจตอบว่าคุณแม่พูดมาก
เรื่องนี้พูดหลายครั้งจนลูกรู้สึกรำคาญ ทั้งๆ ที่เขารู้และเข้าใจแล้ว เช่น เรื่องการแปรงฟันก่อนเข้านอน เป็นต้น
ดังนั้นการกระทำต่างๆ ของลูกที่สะท้อนให้พ่อแม่ พ่อแม่ควรสำรวจตัวเองและปรับตัวบ้าง
ก็จะทำให้ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อลูกเป็นไปในทางสร้างสรรค์


โดย น.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ข้อมูลจาก : //www.banmuang.co.th
ที่มา : //www.dmh.go.th
ภาพจาก : //www.fotosearch.com


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ




 

Create Date : 08 มีนาคม 2554
1 comments
Last Update : 8 มีนาคม 2554 18:13:21 น.
Counter : 1436 Pageviews.

 

ใช่เลย โดยเฉพาะข้อสุดท้าย

 

โดย: sj_berry 9 มีนาคม 2554 13:01:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.