Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 
26 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 

ความดันโลหิตสูง ฆาตกรเงียบ

ความดันโลหิตสูง ฆาตกรเงียบ


“ความดันโลหิต” หรือ Hypertension เป็นโรคที่คุ้นหูของทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่เคยตรวจเช็คสุข

เบื้องต้นควรรู้จักแรงดันโลหิตก่อน หรืออาจเรียกว่า แรงดันเลือด
การบอกค่าความดันโลหิต มักบอกเป็นสองค่าคือ แรงดันโลหิตค่าบน (System Blood Pressure)
ซึ่งเป็นแรงดันขณะที่หัวใจสูบฉีดเลือดออกมาในเส้นเลือดแดง
กระบวนการนี้หัวใจมีการบีบตัว และแรงดันโลหิตค่าล่าง (Diastolic Blood Pressure)
ซึ่งเป็นแรงดันที่ยังมีค้างอยู่ในหลอดเลือดแดง
ขณะที่หัวใจไม่ได้ฉีดเลือดออกมา หรืออาจเรียกได้ว่าหัวใจกำลังคลายตัว

ปัจจุบันจะแบ่ง เกณฑ์ภาวะความดันโลหิต ได้ดังนี้

ความดันโลหิตปกติ คือ
ค่าความดันโลหิตค่าบนน้อยกว่า 120 มม.ปรอท และค่าความดันโลหิตค่าล่างน้อยกว่า 80 มม.ปรอท

ความดันโลหิตเริ่มสูง คือ
ค่าความดันโลหิตค่าบน 120 - 139 มม.ปรอท และค่าความดันโลหิตค่าล่าง 80 - 89 มม.ปรอท

ความดันโลหิตสูง คือ
ค่าความดันโลหิตค่าบนตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป หรือความดันโลหิตค่าล่างตั้งแต่ 90 มม.ปรอท ขึ้นไป

นพ.ปัญเกียรติ โตพิพัฒน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจโรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดที่คิดว่า
ถ้ามีความดันโลหิตสูง ก็จะมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
จากการสำรวจจะเห็นได้ว่า คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง เนื่องจากไม่มีอาการใด ๆ
และความดันโลหิตก็ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายโดยไม่ทันได้ป้องกันหรือรับการรักษา
ด้วยเหตุนี้โรคความดันโลหิตสูงจึงได้รับสมญาว่า “ฆาตกรเงียบ” (Silent Killer)


ผลจากความดันโลหิตสูง
ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญ อาทิ

หัวใจ ทำให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพและเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด

สมอง ความดันโลหิตสูงสามารถจะทำให้หลอดเลือดสมองตีบตัน
และเส้นเลือดสมองแตกทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ไต ความดันโลหิตสูงสามารถจะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมได้เช่นกัน

ตา จอประสาทตามีโอกาสเสื่อมจากเส้นเลือดฝอยอุดตัน เส้นเลือดฝอยแตก
จอประสาทตาลอกได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะตามัวและอาจทำให้ตาบอดได้

หลอดเลือด
ความดันโลหิตสูง อาจทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเสื่อมและสามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะทั่วร่างกายได้




การป้องกัน ควบคุมและการรักษา

1. ควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนัก
ซึ่งผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักตัวเกินกำหนด เมื่อลดน้ำหนักลง 1 กิโลกรัม
จะสามารถลดความดันโลหิตค่าบนลงได้ 2.5 มม.ปรอท และความดันโลหิตค่าล่างได้ 1.5 มม.ปรอท

2. การจำกัดปริมาณเกลือในอาหาร
การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
ควรจำกัดปริมาณเกลื่อที่รับประทานในแต่ล่ะวันไม่ให้เกิน 6 กรัม
ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 2-8 มม.ปรอท

3. ควรหลีกเลี่ยงความเครียด
เนื่องจากความเครียดจะทำให้เกิดการหลังสารเคมีและฮอรืโมนที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้

4. ควรงดสูบบุหรี่
บุหรี่มีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ง่ายขึ้น งด หรือ ลดการดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงได้ หรือถ้าหากดื่มก็ควรลดลง
โดยในแต่ล่ะวันไม่ควรดื่มสุราเกิด 60 ลบ.ซม. เบียร์ 720 ลบ.ซม. หรือไวน์ไม่เกิน 240 ลบ.ซม.

5. การออกกำลังกาย
จากการศึกษาพบว่า หลังจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน
3 - 6 เดือนขึ้นไป จะสามารถลดความดันโลหิตลงได้ ประมาณ 10 – 20 มม.ปรอท

ทั้ง นี้การพบแพทย์และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งสม่ำเสมอ
แจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัวและยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำทุกชนิด
เพื่อที่แพทย์จะได้พิจารณายาลดความดันโลหิตที่เหมาะสม
ซึ่งการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอและควรวัดความดันโลหิตเป็นประจำและจดบันทึกไว้
จะเป็นประโยชน์ช่วยในการให้แพทย์ควบคุมความดันโลหิตของท่านได้ดีขึ้น

เชื่อว่าหากท่านมีความเข้าใจและปฏิบัติตนได้ตามคำแนะนำนี้แล้ว
จะทำให้รู้ทันฆาตกรเงียบรายนี้ได้ และสามารถป้องกันไม่ให้ทำร้ายคุณและคนที่คุณรักได้


ที่มา PS Magazine



สารบัญ บทความ สุขภาพ
คลิกดู ที่นี่ค่ะ




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2552
0 comments
Last Update : 26 กรกฎาคม 2552 9:04:10 น.
Counter : 1710 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.