Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 
10 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
ดูแล"หัวใจ"ไม่ให้ขาดเลือด

โรคหัวใจ,สุขภาพ

ถ้าหากโชคร้ายเป็นโรคหัวใจที่เกิดจากความรัก เราอาจจะมีทั้งสุขและทุกข์ (ระทม) คละเคล้ากันไป
แต่ถ้าหากเป็น "โรคหัวใจ" ที่ต้องให้หมอช่วยล่ะก็ต้องรีบรักษาอย่างปล่อยไว้เป็นอันขาด
เพราะโอกาสรอดมีน้อยพอๆ กับโรคมะเร็งเลยทีเดียว !

คำว่า "โรคหัวใจ" อาจเป็นการกล่าวอย่างกว้างๆ แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยกลัวพอๆ กัน
แต่ถ้าหากเจาะลึกลงไปในรายละเอียดเราจะพบว่า โรคหัวใจนั้นสามารถแบ่งย่อยออกได้มากมายหลายชนิด
เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การติดเชื้อที่หัวใจ มะเร็งที่หัวใจ

สำหรับ โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Ischemic Heart Disease/IHD)
หรือโรคหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary Artery Disease/CAD)
ก็เป็นอีกหนึ่งในจำนวนโรคหัวใจ ที่มีอันตรายไม่แพ้โรคหัวใจชนิดอื่นๆ
เนื่องจากพบได้บ่อยในคนไทยในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา โดยพบว่าในประชากร 1,000 คน มีคนที่เป็นโรคนี้ถึง 18 คน

สาเหตุของโรคนี้ เกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดตามอายุขัย และมีสารพวกไขมันและหินปูนไปพอกพูนใน
ผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหนาและแข็ง รูของหลอดเลือดตีบแคบลงและเกิดการอุดตันได้ง่าย
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคนี้เร็วขึ้น เช่น ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง
ขณะที่ผู้หญิงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนจะเป็นโรคนี้มากขึ้นจนพอๆ กับผู้ชาย

เมื่อคนในครอบครัวเป็นเราก็จะเสี่ยงต่อโรคนี้มากขึ้น รวมทั้ง ภาวะไขมัน ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่
เบาหวาน ความเครียด ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิด ก็มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ มากขึ้น

ที่สำคัญคนที่อยู่ดีกินดี คนที่มีอาชีพทำงานในออฟฟิศ
และคนในเมืองมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนยากจน คนที่มีอาชีพใช้แรงงานและชาวชนบท

เราจะรู้ว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้อย่างไร?
สามารถสังเกตได้จากอาการที่สำคัญ คือ เจ็บหรือแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายผิดปกติหรือเหนื่อยเวลานอน
ใจเต้นแรง หรือ ใจสั่นเวลาออกกำลังกาย ขณะออกกำลังกายเกิดเวียนศีรษะ หน้ามืด และเกิดอาการบวม
ถ้าหากมีอาการที่เข้าข่าย ควรรีบไปพบคุณหมอ

ซึ่งคุณหมออาจซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจตรวจเพิ่มด้วยวิธีพิเศษ เช่น
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง (ECHO) การตรวจสภาพกล้ามเนื้อหัวใจด้วยการใช้สารกัมมันตภาพรังสี
และการตรวจ วินิจฉัยโรคด้วยการสวนหัวใจ หรือวิธีแบบพิเศษอื่นๆ
ซึ่งในรายที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ อาจไม่พบสิ่งผิดปกติอะไร
ส่วนในบางรายอาจตรวจพบความดันโลหิตสูง

หากเป็นโรคหัวใจแล้วเราจะทำอย่างไร?
อย่างแรก ต้องให้คุณหมอแนะนำว่า ควรรักษาอย่างไร
เพราะการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องจะสามารถช่วยให้การรักษาได้ผลมาก เช่น
การทานอาหารที่ต้องเป็นอาหารอ่อนไม่เค็ม งดซีอิ๊ว น้ำซอส น้ำปลา ปลาเค็ม หมูหยอง หมูแผ่น
ทานอาหารเป็นเวลา เพราะอาจมียาที่หมอสั่งทั้งก่อนและหลังอาหาร เป็นต้น

นอกจากนี้ ต้องหมั่นดูแลตนเองด้วยการออกกำลังกาย
โดยเฉพาะ "การเดิน" ถือเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด แต่ไม่ควรหักโหมและควรปรึกษาคุณหมอหากมีปัญหา
ผู้ป่วยควรหาเวลาพักผ่อนสมองด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อให้ลืมความทุกข์จากโรค ไม่เครียด ไม่วิตกกังวล
นอกจากนี้ ยังต้องวางแผนกรณีที่เกิดปัญหารีบด่วน เช่น การติดต่อคุณหมอ การนำผู้ป่วยไปตรวจรักษา
ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง มีภาวะหัวใจวาย ช็อค หรือหมดสติ ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลด่วน
ถ้าเป็นไปได้ ควรฉีดยาระงับปวดอย่างแรง เช่น มอร์ฟีน (Morphine) ก่อนส่งโรงพยาบาล
และให้ออกซิเจน (ถ้ามี) ระหว่างทางด้วย

Trick 9 ข้อ ดูแลหัวใจห่างไกลโรค
1) ลดอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง
2) ตรวจวัดความดันเลือด ถ้าสูงต้องรักษา
3) งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
4) ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป
5) ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ไม่หักโหม
6) หลีกเลี่ยงความเครียด
7) ระวังอย่าให้ท้องผูก
8) ควรงดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่ใส่คาเฟอีน
9) ตรวจสุขภาพประจำปี

ที่มา //www.pattayahealth.com



สารบัญ บทความ สุขภาพ
คลิกดู ที่นี่ค่ะ





Create Date : 10 กรกฎาคม 2552
Last Update : 10 กรกฎาคม 2552 17:02:24 น. 0 comments
Counter : 1578 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.