Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
23 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
ลดเสี่ยงโรคกรดไหลย้อน ต้องปรับเปลี่ยนนิสัย




โรคกรดไหลย้อน (Gastro esophageal Reflux Disease: GERD) หมายถึง
โรคที่มีอาการซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไป
ในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลากลางวัน หรือกลางคืน
หรือแม้แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม ทำให้เกิดอาการจากการระคายเคืองของกรด
เช่น อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบและมีแผล หรือหลอดอาหารอักเสบโดยไม่เกิดแผล
หรือถ้ากรดไหลย้อนขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน อาจทำให้เกิดอาการนอกหลอดอาหาร

โดยปกติร่างกายจะมีกลไกป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไป เช่น การบีบตัวของหลอดอาหาร
การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนและส่วนล่าง เยื่อบุของหลอดอาหารเองก็มีกลไกป้องกันการทำลายจากกรด

การที่เกิดโรคกรดไหลย้อนนั้นเชื่อว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง
มีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ทำให้มีการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่าย


อาการของผู้ป่วยนั้นขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น
1. อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
- อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้
- รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ กลืนลำบาก หรือกลืนเจ็บ เจ็บคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง
- รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
- มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้
- รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย

2. อาการทางกล่องเสียง และปอด
- เสียงแหบเรื้อรัง หรือ แหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
- ไอเรื้อรัง หรือ รู้สึกสำลักในเวลากลางคืน กระแอมไอบ่อย
- อาการหอบหืดที่เคยเป็นอยู่ (ถ้ามี) แย่ลง เจ็บหน้าอก
- เป็นโรคปอดอักเสบ เป็นๆ หายๆ



การรักษาโรคกรดไหลย้อน

1. การปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวัน การรักษาวิธีนี้มีความสำคัญมากในการทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง
ป้องกันไม่ให้เกิดอาการ การรักษาโดยวิธีนี้ควรปฏิบัติไปตลอดชีวิต แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม
หรือแม้ว่าผู้ป่วยจะหายดีแล้วโดยไม่ต้องกินยาแล้วก็ตาม ผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้


นิสัยส่วนตัว
- ถ้าน้ำหนักเกิน ควรพยายามลดน้ำหนัก เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น
- พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เครียด และควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว

นิสัยในการรับประทานอาหาร
- หลังจากรับประทานอาหารทันที พยายามหลีกเลี่ยงการนอนราบ
การออกกำลัง การยกของหนัก การเอี้ยวหรือก้มตัว
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก และไม่ควรรับประทานอาหารใดๆ อย่างน้อยภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนนอน
- พยายามรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำและพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุง
ด้วยการทอดอาหารมัน พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ
ฟาสต์ฟู้ด ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม Peppermints เนย ไข่ นม หรืออาหารที่มีรสจัด
เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด

- รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์


นิสัยในการนอน
- ถ้าจะนอนหลังรับประทานอาหาร ควรรอประมาณ 3 ชั่วโมง
- เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้น ประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ
อาจเริ่มประมาณ 1/2 -1 นิ้วก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น

2. รับประทานยา เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และ/หรือ เพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรด
ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยา หรือ หยุดยาเอง
และควรมาพบแพทย์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
อาการต่างๆ อาจไม่ดีขึ้นเร็ว ต้องใช้เวลาในการหาย
เมื่ออาการต่างๆ ดีขึ้น และผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนนิสัย
และการดำเนินชีวิตประจำวันในข้อ 1 ได้
และได้รับประทานยาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2-3 เดือนแล้ว
แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อยๆ ทีละน้อย ไม่ควรซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย
เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น
หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น
ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อน สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา และการปฏิบัติตัวตามข้อ 1

3. การผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินหายใจ
และระบบทางเดินอาหารส่วนบน การรักษาวิธีนี้จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งให้การรักษาโดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น
หรือไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้
หรือผู้ป่วยที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยา แต่ไม่ต้องการที่จะกินยาต่อ
ซึ่งผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
การรักษาโดยการผ่าตัดมีหลายวิธี เช่น endoscopic fundoplication,
radiofrequency therapy, injection / implantation therapy

ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง



Create Date : 23 ธันวาคม 2551
Last Update : 23 ธันวาคม 2551 23:40:27 น. 0 comments
Counter : 693 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.