Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 
12 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
"เหวี่ยง" ก่อนมีเมนส์ เป็นเพราะฮอร์โมน

ปวดประจำเดือน

ผลสำรวจพบ สาวอารมณ์เหวี่ยง อิทธิพล"พีเอ็มดีดี"ก่อนมีเมนส์

ที่โรงแรมเจดับบิวมาริออท ใน "งานสตรีไทยห่างไกลวิกฤติทางอารมณ์ ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันกับ 24/4"
พญ.นันทา อ่วมกุล ผู้อำนวยการสำนักที่ปรึกษา กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า
ปัจจุบัน สตรีไทย จำนวนมากต้องเผชิญกับภาวะเครียด หงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวนมาก ก่อให้เกิดอาการ
ไม่พึงประสงค์ก่อนมีประจำเดือน (PMS,PMDD) โดยส่วนมากไม่รู้จัก และไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการ ทั้งนี้
ผลสำรวจของ สวนดุสิตโพลล์ เรื่อง
"ภาวะทางอารมณ์ และประสบการณ์เกี่ยวกับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในสตรี" ระหว่างวันที่ 5-23 มีนาคม
โดยทำการสำรวจกลุ่มนิสิต นักศึกษา สตรีวัยทำงานอายุระหว่าง 18-35 ปี จำนวน 1,057 คน พบว่า
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 91.20 มีอาการไม่พึงประสงค์ก่อนมีประจำเดือน
ในจำนวนนี้ ร้อยละ 51.87 จะมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นประมาณ 2-3 อาการ
อีกร้อยละ 21.05 มีอาการไม่พึงประสงค์ถึง 4-5 อาการ

โดยอาการที่เกิดมากที่สุดร้อยละ 19.24 คือ หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน โดยไม่ทราบ สาเหตุ
รองลงมาร้อยละ 17.88 คือ อาการคัดตึงเต้านม
ร้อยละ 8.22 อยากรับประทานอาหารมากกว่าปกติ
ซึ่งร้อยละ 51.94 จะมีอาการทุกเดือน ก่อนมีประจำเดือน

พญ.นันทากล่าวว่า กรมอนามัยร่วมกับ ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา จัดทำแบบทดสอบ "ร่างกายและอารมณ์" เพื่อหา
คำตอบว่าอารมณ์หงุดหงิด หรือที่เรียกว่า "เหวี่ยง" มาจากอาการ หรือนิสัย โดยใช้โค้ดลับ 24/4 คือ
การสังเกตอาการผิดปกติ 24 อาการ เป็นเวลา 4 เดือน โดยการจดบันทึก
และหากพบว่ามีอาการ ควรปรึกษาแพทย์ เช่น อาการคัดตึงเต้านม ปวดศีรษะไมเกรน เครียด อารมณ์แปรปรวน
เหนื่อยง่าย ซึมเศร้า และวิตกกังวล อย่างชัดเจน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เป็นต้น
ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดก่อนมีประจำเดือนจึงถือว่าเป็นความผิดปกติทางฮอร์โมน
โดยสามารถดาวน์โหลด คู่มือความฉลาดทางอารมณ์ คลิก ที่นี่ค่ะ

ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ( Premenstrual Syndrome : PMS) คือ
อาการทางกาย และใจที่เกิดขึ้นกับหญิงวัยเจริญพันธุ์ในช่วงเวลา 5-10 วัน ก่อนมีประจำเดือน
อาการจะดีขึ้น และหายไป หลังประจำเดือนมาแล้ว
ทางการแพทย์สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศในระหว่างรอบประจำเดือน
ฮอร์โมนจะลดต่ำลงก่อนมีประจำเดือน
แต่หากเป็นกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง (Premenstrual Dysphoric Disorder : PMDD)
จะมีความรุนแรงมากกว่า PMS เช่น ซึมเศร้าอย่างรุนแรง เครียดอย่างรุนแรง อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง
บางรายคลุ้มคลั่ง ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ ด้วยการใช้ยาปรับสมดุลของฮอร์โมน และออกกำลังกาย อย่าง
สม่ำเสมอ ฝึกสมาธิให้จิตใจสงบ พักผ่อนให้เพียงพอ บริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
เน้นคาร์โบไฮเดรตที่มีไฟเบอร์สูงมากขึ้น เช่น ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท
ลดอาหารเค็ม ลดเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์

ที่มา มติชน



เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ถึงสาวๆ...รับมือวันแดงเดือด
ไขอาการปวด "วันนั้น"ของเดือน
วิธีสังเกตประจำเดือนผิดปกติ



Create Date : 12 มิถุนายน 2552
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 16:22:06 น. 0 comments
Counter : 876 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.