Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
26 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
ช่วยคนถูกไฟดูดอย่างไร

ช่วยคนถูกไฟดูดอย่างไร

ความรุนแรงของการถูกไฟดูดจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
● จำนวนโวลต์และแอมแปร์ ของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าสู่ร่างกาย
● ความต้านทานของเนื้อเยื่อที่กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไป
● ชนิดของกระแสไฟฟ้า และระยะเวลาที่สัมผัสกระแสไฟฟ้า

หากรุนแรง
จะเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก เส้นประสาทชาไปทั่วร่าง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติและหยุดหายใจ
กระแสไฟฟ้าจะทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ระบบประสาท รวมถึงอวัยวะภายใน

สาเหตุที่เสียชีวิต
ก็เนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหัวใจ ทำให้คลื่นหัวใจเปลี่ยนแปลงและหัวใจหยุดเต้นอย่างเฉียบพลัน


การช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูด ที่สำคัญที่สุดก็คือ
ต้องป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย
บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ที่จะเข้าไปช่วยกลับถูกไฟดูดเสียชีวิตไปด้วย

วิธีการผิดๆ ที่พบได้บ่อยก็คือ การใช้มือเปล่าดึงคนที่ถูกไฟดูดออกมา
บางคนทำเพราะไม่รู้ บางคนทำเพราะตกใจ การทำเช่นนี้กระแสไฟฟ้าจะวิ่งเข้าสู่ตัวเราทันที
ในกรณีสายไฟฟ้าแรงสูงแม้แต่การเข้าใกล้ก็ยังต้องมีระยะห่าง มิฉะนั้นจะถูกดูดเข้าไปติดกับเหยื่อคนแรกได้เลย


การช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูดอย่างถูกวิธี

● หากผู้ที่ถูกไฟดูดยังติดอยู่กับสายไฟ ให้ถอดปลั๊กหรือสับคัทเอาท์ลงเพื่อตัดแหล่งจ่ายไฟ

● ใช้วัตถุที่เป็นฉนวน ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า
เช่น ไม้แห้งๆ สายยางพลาสติกแห้งๆหรือหนังสือพิมพ์ที่ม้วนเป็นแท่ง เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวผู้ที่ถูกไฟดูด
หรืออาจใช้เชือกหรือผ้าแห้งๆ คล้องดึงผู้ที่ถูกไฟดูดออกมา

● การใส่ถุงมือยาง การใช้หนังสือพิมพ์หนาๆหรือผ้าแห้งหนาๆ ห่อมือ แล้วผลักผู้ที่ถูกไฟดูดให้หลุดออกมา
ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งแต่ต้องระวังว่าผู้ที่ถูกไฟดูด อาจได้รับบาดเจ็บจากการถูกผลักนั้น

● ผู้ที่เข้าไปช่วยควรจะยืนอยู่บนฉนวนเช่นกัน
เช่น ยืนอยู่บนกองหนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม กล่องไม้หรือรองเท้ายาง และผิวหนังต้องแห้งไม่เปียกชื้น
มิฉะนั้นอาจถูกไฟดูดได้

● สังเกตให้ละเอียดถึงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดร่วมด้วย
เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง มีอาการบาดเจ็บหรือกระดูกหัก
หากเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุอย่างไม่ถูกวิธี อาจเกิดความพิการหรืออัมพาตได้

● ตรวจดูว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ โดยแนบหูฟังที่หน้าอกหรือจับชีพจร
หากหัวใจหยุดเต้นต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อมๆ กับการผายปอด แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด


วิธีปฐมพยาบาลระหว่างนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล กรณีหัวใจหยุดเต้น

1. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายแล้วช้อนคอให้แหงนหน้าขึ้น ตรวจดูว่ามีสิ่งอุดตันในช่องปากหรือไม่
ถ้ามีให้นำออกให้หมดแล้วบีบจมูกของผู้ป่วยไว้

2. ประกบปากกับผู้ป่วยให้สนิท เป่าลมเข้าแรงๆ แล้วปล่อยให้ลมหายใจของผู้ป่วยออกมาเอง
ทำเช่นนี้เป็นจังหวะๆ เท่ากับจังหวะหายใจปกติ สังเกตการขยายของหน้าอกและซี่โครง
หากเป่าปากไม่ได้ให้ปิดปากแล้วเป่าจมูกแทน

3. นวดหัวใจโดยใช้สองมือวางซ้อนกันแล้วกดเหนือลิ้นปี่ของผู้ป่วย
กดลงไปเป็นจังหวะเท่ากับการเต้นของหัวใจ โดยฟังการเต้นของหัวใจสลับกับการกดทุก 10-15 ครั้ง

ถ้ามีผู้ช่วยเหลือคนเดียวให้เป่าปาก 2 ครั้ง แล้วนวดหัวใจ 15 ครั้งสลับกัน
ถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 2 คนให้สลับกันเป่าปาก 1 ครั้ง นวดหัวใจ 5 ครั้ง

การปฐมพยาบาลต้องทำทันทีที่ช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูดออกมา หากช้าเกินกว่า 4-6 นาทีโอกาสที่จะฟื้นมีน้อย
และขณะนำส่งโรงพยาบาล จะต้องปฐมพยาบาลตามขั้นตอนดังกล่าวตลอดเวลาจนกว่าชีพจรจะกลับมา


โดย เอมอร คชเสนี

ที่มา :
//www.roiet.go.th
//www.herbalone.net

ภาพจาก : //www.ars.usda.gov


สารบัญสุขภาพ



Create Date : 26 ตุลาคม 2551
Last Update : 25 เมษายน 2553 16:01:41 น. 0 comments
Counter : 1976 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.