Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
11 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
หลากวิธีบอกลาปัญหาปวดหลัง



ปวดหลังแบบไหนไม่ธรรมดา
อาการปวดหลังเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอาการผิดปกติในร่างกายได้หลายโรค
ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดไม่ควรนิ่งนอนใจ โดยเฉพาะอาการปวดหลังในเด็กควรรีบไปพบแพทย์
เพื่อตรวจดูว่าเกิดจากโรคใดที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง อาจจะเกิดการติดเชื้อ หรือเกิดจากอุบัติเหตุ
ซึ่งอาการปวดหลังในวัยเด็กนั้นยังไม่มีสาเหตุแน่ชัด

อาการ

ปวดเฉพาะบริเวณสันหลังเพียงอย่างเดียว
- การอักเสบ เช่น ข้ออักเสบ หรือว่ามีการติดเชื้อ
- การทำงานหรือใช้งานหลังไม่ถูกวิธี
- ความผิดปกติของกระดูกแผ่นหลัง
- ความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกตั้งแต่กำเนิด

ปวดสันหลังและเสียวร้าวลงไปที่สะโพกหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง
- หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับรากประสาท
- ความเสื่อมของข้อกระดูกสันหลังทำให้กระดูกสันหลังและเส้นเอ็นหนา
ทำให้โพรงกระดูกสันหลังแคบลงจนกดรัดไขสันหลัง

ปวดเฉพาะส่วนสันหลัง
- ความผิดปกติของอวัยวะภายใน
- เนื้องอกจากกระดูกสันหลังหรือมะเร็งกระจายมาที่กระดูกสันหลัง

ปวดหลังและมีไข้
- มีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะหรือที่ตัวกระดูกสันหลัง

ปวดหลังตอนกลางคืนและน้ำหนักลด
- โรคมะเร็งหรือวัณโรค

ปวดหลังในระดับชายโครง บวมที่มือและเท้า
- โรคไต

ปวดหลังมีไข้สูงหนาวสั่น
- กรวยไตอักเสบ

ปวดตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงขวา ซึ่งอาจปวดร้าวมาที่ไหล่ขวา หรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา
มักปวดนานเป็นชั่วโมงๆ และมีอาการคลื่นไส้
- นิ่วในถุงน้ำดี

ปวดหลัง ปวดท้องอย่างรุนแรงบริเวณลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงซ้าย
- ตับอ่อนอักเสบ



วิธีสังเกต

● หากอาการปวดหลังที่เกิดจากกระดูกและข้อ เช่น กระดูกและข้ออักเสบจะปวดเวลากลางคืนกับตอนเช้า
หรือเวลาที่อยู่นิ่งๆ แต่เมื่อเคลื่อนไหวอาการจะดีขึ้น

● ถ้าเป็นโรคเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกก็จะปวดเวลามีกิจกรรม เช่น เมื่อก้มและยกของ เป็นต้น
ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด หรือออกกำลังกายเพื่อคลายอาการปวด
แต่ถ้าหากอาการยังไม่ทุเลาลงก็ควรจะไปพบแพทย์

● สำหรับอาการปวดที่ไม่ได้เกิดจากกระดูกและข้อจะปวดแล้วหาย แล้วก็จะกลับมาปวดอีก
อาการปวดจะคาดเดาลำบากว่าจะปวดเมื่อไร
หากมีอาการเช่นนี้ควรที่จะรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจให้แน่ชัดว่าเป็นโรคใด



ปรับเปลี่ยนท่วงท่า ป้องกันการปวดหลัง

ท่านอน ท่านอนที่ดีที่สุดนั้น เราควรที่จะนอนตะแคงแล้วหาหมอนหนุนระหว่างขาสองข้าง
หรือนอนหงายงอเข่าเล็กน้อยแล้วใช้หมอนหนุนบริเวณข้อพับ
ส่วนท่านอนคว่ำนั้นเป็นท่าที่ไม่ควรปฏิบัติ เพราะจะทำให้หลังแอ่นและเกิดอาการปวดหลังได้

ท่าลุกจากเตียง เริ่มด้วยตะแคงตัวไปทางริมเตียง แขม่วเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง
แล้วหย่อนขาลงจากขอบเตียง พร้อมกับดันตัวขึ้นในท่านั่งด้วยมือทั้งสองข้าง



ท่านั่ง ควรนั่งให้ชิดพนักพิง หลังตรง เท้าติดพื้น



ท่ายืนทำงานรีดผ้าบนโต๊ะ หรือทำงานใช้เครื่องถูพื้นบ้าน ควรให้หลังตรง

ท่ายืน ยืนแขม่วท้องอกผายไหล่ผึ่ง แอ่นเอวน้อยที่สุด
ถ้าต้องยืนนานๆ ควรยืนพักขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะช่วยไม่ทำให้หลังแอ่น




ท่ายกของ ย่อตัวลงแล้วอุ้มของให้ชิดลำตัว ไม่ควรก้มตัวลงยกของ



ท่าขับรถ หลังพิงพนัก ไม่ควรงอเข่าสูงกว่าสะโพกมากนัก
ใช้หมอนเล็กๆ หรือผ้าขนหนูม้วนหนุนไว้บริเวณหลังส่วนล่าง ศีรษะและไหล่พิงเบาะ
ปรับที่นั่งไม่ให้ตัวเอนไปด้านหน้าหรือด้านหลังมากเกินไป


ท่าถือของ ควรถือให้ชิดตัวมากที่สุด เพราะการถือของห่างจากลำตัวจะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนัก
ท่าใส่ถุงเท้าและรองเท้า นั่งลงบนพื้นและยกเท้าขึ้นมาสวม หรืออาจจะวางเท้าไว้บนม้านั่งหรือเก้าอี้ก็ได้


ข้อมูลโดย : นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 139
ที่มา : //www.cheewajit.com


สารบัญสุขภาพ



Create Date : 11 มิถุนายน 2553
Last Update : 11 มิถุนายน 2553 13:02:56 น. 0 comments
Counter : 1898 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.