Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
23 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
การบริหารการหายใจเพื่อสุขภาพปอด

การบริหารการหายใจเพื่อสุขภาพปอด
(Breathing Exercise to promote healthy lung)

เท่าที่สังเกตพบยังมีบุคคลอีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่รู้จักวิธีการบริหารการหายใจ
หรือการฝึกการหายใจที่ถูกต้อง ทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนถูกใช้มากกว่าปกติ
และบางส่วนแทบจะไม่ได้ใช้เลย เช่นกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อของทรวงอกส่วนบน
ซึ่งถ้าบุคคลเหล่านี้ได้เรียนรู้วิธีการหายใจที่ถูกต้อง ก็จะช่วยให้หายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในขณะปกติ
และเมื่อมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นก็จะช่วยให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และกลับมีสุขภาพปอดที่แข็งแรงขึ้นในเร็ววัน

โรคของระบบหายใจที่พบได้ไม่น้อย และจะได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากการบริหารการหายใจ
ได้แก่ โรคภูมิแพ้ของระบบหายใจ, โรคทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคหวัดเรื้อรัง,ไซนัสอักเสบ, หอบหืด,
โรคหลอดลมอักเสบ, โรคปอดอักเสบในระยะที่เริ่มฟื้นตัว,โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคหลอดลมโป่งพอง
เป็นต้น


วัตถุประสงค์ของการบริหารการหายใจ(Breathing exercise) ให้ถูกวิธีนั้น
ก็เพื่อจะช่วยให้บุคคลทั่วไปได้รับประโยชน์ ดังต่อไปนี้

1. รู้จักวิธีการหายใจที่ถูกต้องเพื่อให้ปอดขยายตัวและหดตัวได้ดี
และมีจังหวะการหายใจที่สม่ำเสมอโดยใช้แรงน้อยที่สุด

2. คุ้นเคยกับการออกกำลังกายและฝึกทำจนเป็นกิจวัตรในขณะปกติ
ซึ่งเมื่อเกิดเป็นโรคขึ้นก็จะสามารถช่วยให้อาการของโรคที่เป็นอยู่ มีความรุนแรงน้อยลงและหายเร็วขึ้น
โดยช่วยให้สามารถไอและขับเสมหะออกมาได้ดีขึ้น ช่วยบรรเทาอาการหอบเหนื่อยลงได้

3. มีลักษณะท่าทางที่ดี (Good posture)
4. เกิดความมั่นใจและมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคภัยที่เบียดเบียนอยู่


ท่าที่ 1 ท่าหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อท้อง
ประโยชน์
การบริหารการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลม (Abdominal or Diaphragmatic breathing)
เป็นการหายใจที่ใช้กำลังน้อยที่สุดและได้ลมเข้าออกจากปอดมากที่สุด

การเตรียมตัวขั้นต้น
นอนหงายกับพื้น วางต้นแขนทั้งสองข้างแนบลำตัว วางมือบนหน้าอกและหน้าท้อง
งอเข่าทั้งสองข้างขึ้นในท่าที่สบาย

ฝึกหายใจเข้า
ให้สูดหายใจเข้าลึกๆ ทางจมูกให้หน้าท้องป่องออก หัดทำอย่างนี้ 2-3 ครั้งจนชำนาญ
ถ้าหายใจถูกต้อง หน้าท้องจะป่องออกและหน้าอกจะมีการเคลื่อนไหวน้อยมาก
โดยเฉพาะส่วนบนสังเกตจากการยกขึ้นของมือทั้งสองที่วางทาบไว้

ฝึกหายใจออก
ผ่อนลมหายใจออกเบาๆ ผ่านทางไรฟันในขณะที่ริมฝีปากเผยออกเพียงเล็กน้อย
ให้ระยะเวลาของการหายใจออกเป็นประมาณ 3 เท่าของระยะเวลาหายใจเข้า
จะเห็นว่ามือที่วางทาบอยู่บนหน้าท้องเคลื่อนลง ส่วนมือที่วางอยู่บนหน้าอกจะเคลื่อนไหวน้อยมาก
นี่คือการหายใจออกโดยกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อหน้าท้อง
ควรหัดทำแบบนี้ซ้ำหลายๆ ครั้งจนแน่ใจว่าสามารถหายใจเข้าและออกโดยวิธีดังกล่าว
ซึ่งการหายใจดังกล่าวนี้จะใช้ในทุกท่าของการบริหารที่จะทำต่อไป


ท่าที่ 2 ท่าหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อทรวงอกด้านข้าง
ประโยชน์
ช่วยเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวทรวงอกให้มากขึ้น และช่วยในการขับเสมหะ

วางฝ่ามือทั้ง 2 ข้างลงบนสีข้างของทรวงอกส่วนล่าง หายใจเข้าและหายใจออกโดยวิธีการดังกล่าว
ให้บริเวณทรวงอกและชายโครงส่วนล่างโป่งออก ในช่วงหายใจเข้าและยุบลงให้มากที่สุด
ในช่วงหายใจออกเมื่อชำนาญแล้วใช้มือกดเบาๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงมากขึ้น
ขณะหายใจเข้า และเพื่อให้ลมออกจากปอดส่วนล่างให้มากที่สุดในขณะหายใจออก

ท่าที่ 3 ท่าหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อทรวงอกส่วนบน
ประโยชน์
เพื่อให้ลมออกจากส่วนนี้ให้มากที่สุดและให้ทรวงอกส่วนบนแข็งแรงขึ้น
ท่านี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตีบเรื้อรัง จนมีหน้าอกโป่งพองออกมา
เช่น ในพวกที่เป็นหืดหรือถุงลมโป่งพองเรื้อรัง เป็นต้น

วางมือบนหน้าอกใต้กระดูกไหปลาร้า ใช้ปลายนิ้วมือกดเบาๆ หายใจเข้าให้อกส่วนบนขยายตัวดันนิ้วมือขึ้น
ไม่ควรเกร็งไหล่ปล่อยให้ไหล่หย่อนตามปกติ หายใจเข้าแล้วกลั้นไว้ 1-2 วินาทีแล้วจึงหายใจออก
ขณะที่หายใจออกให้ทรวงอกส่วนนี้ยุบลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้มือกดช่วย


เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

การบริหารการหายใจมีความแตกต่างจากการออกกำลังกายทั่วไปอย่างไร
การบริหารการหายใจจะเน้นไปทุกส่วนของท่อทางเดินหายใจและถุงลมในปอด
ทั้งในส่วนปกติและส่วนที่มีพยาธิสภาพ แต่การออกกำลังกายโดยทั่วไปจะไม่เน้นในทุกส่วนของปอด
ดังนั้นลมหรือออกซิเจนจะผ่านเข้าไปได้ดีเฉพาะในส่วนที่ปกติเท่านั้น

กิจกรรมหรือการละเล่นใดบ้าง ที่มีส่วนในการบริหารการหายใจให้กับบุตรหลานของท่านได้ ?
การละเล่นที่อาจช่วยในการบริหารกล้ามเนื้อของกระบังลมหรือหน้าท้อง ได้แก่ การหัดเป่าลูกโป่ง
หรือของเล่นชนิดที่เด็กต้องออกแรงเป่าหลังสูดหายใจเข้าเต็มที่ เช่น กังหันพลาสติกที่วางซ้อนกัน
กระดาษสีตัดเป็นรูปผีเสื้อตัวเล็ก หรือกลีบดอกไม้ที่ใช้ปากเป่าให้บินได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการออกกำลังกาย ที่สามารถทำได้ง่ายและให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่เด็ก
เช่น การวิ่งแข่ง เตะฟุตบอล เล่นแชร์บอล การโหนบาร์และการกระโดดเชือก เป็นต้น
ซึ่งทั้งนี้ท่านผู้ปกครอง ควรเลือกพิจารณาการออกกำลังกายบางอย่างในเด็กเล็ก
เช่น โหนบาร์ ควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้ปกครอง

สำหรับกิจกรรมการว่ายน้ำ เป็นการออกกำลังกายที่สามารถบริหารร่างกายได้ดีทุกส่วนรวมทั้งปอด
แต่ไม่สามารถทำได้ทุกขณะและทุกเวลา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เด็กกำลังเป็นหวัดอยู่


ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับจากการออกกำลังกาย และการบริหารการหายใจที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอมีอะไรบ้าง ?
สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ป่วยด้วยโรคหวัดเป็นประจำและมีอาการไอหอบบ่อยๆ โรคหืด
หรือโรคทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง
ถ้าได้รับการฝึกการออกกำลังกายและบริหารปอดอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
จะช่วยส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ทำให้ความต้านทานของระบบการหายใจดีขึ้น มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น
ความต้องการใช้ยาต่าง ๆ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะก็จะลดลง
ช่วยป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนและความพิการ ที่อาจเกิดตามมาจากโรคทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง
เช่น โรคหลอดลมโป่งพอง ถุงลมโป่งฟอง หรือที่รุนแรงที่สุดคือภาวะการหายใจล้มเหลวได้

การบริหารการหายใจเพื่อสุขภาพปอด

การออกกำลังกายและบริหารปอดแบบแอโรบิคในปัจจุบัน มีการตื่นตัวกันมากขึ้นในเรื่องของการออกกำลังกาย
โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิคซึ่งได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

สิ่งที่ควรทราบ และประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค

1. กล้ามเนื้อและข้อต่อของเด็กเล็กยังไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่
ดังนั้นท่ากายบริหารที่ใช้ในเด็ก จึงต้องจัดให้เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละวัย

2. เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด การบริหารกายไม่ควรหักโหมจนเกินไปและจัดช่วงเวลาต่างๆ ให้พอเหมาะ
ได้แก่ ช่วงอบอุ่นร่างกาย ช่วงออกกำลังกายและช่วงการผ่อนคลาย

3. ช่วยกระตุ้นการหายใจและการไหลเวียนของโลหิตให้ทำงานได้ดี
ทำให้มีการระบายอากาศไปได้ทุกส่วนของระบบหายใจ
มีผลให้ก๊าซออกซิเจนสามารถผ่านไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจ, ปอดและสมองได้ดีที่สุด
และช่วยให้มีการถ่ายเทเอสารก่อภูมิแพ้ หรือสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษต่อท่อทางเดินหายใจ
และปอดที่สูดเข้าไปออกมาได้ดีโดยไม่คั่งค้าง

4. ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวได้คล่องตัว ส่งผลให้ร่างกายมีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ดี

5. ทำให้กล้ามเนื้อและประสาททำงานสัมพันธ์กัน ทำให้ร่างกายมีความคล่องตัวมากขึ้น

6. ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ความคล่องแคล่วว่องไว และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วไป
รวมทั้งปอดและหัวใจ สมองและระบบประสาท

7. ทำให้มีรูปร่างได้สัดส่วน มีน้ำหนักที่พอเหมาะและมีบุคลิกภาพที่ดี


ที่มา : //www.thaipedlung.org

ภาพจาก :
//www.stress-management-for-peak-performance.com
//thailandy.wordpress.com


สารบัญสุขภาพ



Create Date : 23 ตุลาคม 2551
Last Update : 25 เมษายน 2553 15:48:38 น. 1 comments
Counter : 1353 Pageviews.

 
Very Good


โดย: Jackky IP: 58.11.57.34 วันที่: 27 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:41:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.