Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจากการทำงาน

การนั่งทำงานนานๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคนในวัยทำงาน

จุด<br><br>กากบาท คือตำแหน่ง Trigger Point
จุดกากบาท คือตำแหน่ง Trigger Point

โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ myofascial pain syndrome มักเป็นต้นตอของจุดกดเจ็บ
หรือ Trigger Point ซึ่งเป็นจุดที่เรากดลงไปแล้วรู้สึกปวด เหมือนมีก้อนแข็งๆ เล็กๆ ใต้ผิวหนัง
เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่สะสมต่อเนื่องกันนาน จนเกิดเป็นก้อนเล็ก
ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร


จุดกดเจ็บจำนวนมากที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อมีต้นเหตุสำคัญคือ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
รวมทั้งออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ เกิดการคั่งของเสียในบริเวณนั้น
ทำให้กล้ามเนื้อแข็งและเกร็ง มีอาการปวดลามไปยังบริเวณใกล้เคียงจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังตามมา
ส่วนใหญ่จะเกิดที่กล้ามเนื้อส่วนบนตั้งแต่ คอ บ่า ไหล่ สะบัก และ กล้ามเนื้อหลัง
อาการปวดร้าวลึกของกล้ามเนื้อ อาจจะปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลานั่งทำงาน
บางคนอาจเป็นหนักจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้ หรือบางคนอาจลามไปถึงศีรษะ
กระตุ้นการเกิดปวดศีรษะชนิดไมเกรน ทำให้นอนไม่หลับ มีอาการชาตามมือ แขน
และทำให้เกิดปัญหาโครงสร้างและการใช้งานของร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังโก่งงอ
หรือมีปัญหาในการเดินและทรงตัว

อาการ<br><br>ปวดลามไปยังบริเวณใกล้เคียง
อาการปวดลามไปยังบริเวณใกล้เคียง

การรักษาจะใช้การบริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น ฝึกยืดกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวบน ต้นแขนและคอ
นวด ทายาคลายกล้ามเนื้อ หรือรับประทานยา รวมทั้งประคบด้วยความร้อน
การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว ผลการรักษาจะทำให้อาการดีขึ้น
ลดความเจ็บปวดได้ แต่ให้พึงระวังสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
ได้แก่ การนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อในท่าเดียวกันซ้ำๆ เป็นเวลานาน
กล้ามเนื้อขาดการพักผ่อน รวมถึงไม่ได้รับการบริหารกล้ามเนื้อ
ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง

การหมั่นดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขได้ทันท่วงที
เช่น ถ้ากล้ามเนื้อคอเกิดอาการตึงระหว่างนั่งปฏิบัติงาน อาจใช้วิธีบริหารง่ายๆ ตามลำดับดังนี้
ท่าที่ 1 หันศีรษะไปทางด้านซ้ายช้าๆ ใช้มือซ้ายช่วยดึงค้างไว้
ท่าที่ 2 ก้มศีรษะพยายามให้คางชิดอกมากที่สุด
ท่าที่ 3 เงยหน้าขึ้นช้าๆ ไปด้านหลังให้มากที่สุด
ท่าที่ 4 เอียงศีรษะไปทางด้านขวา ใช้มือขวาช่วยดึง พยายามให้ศีรษะชิดไหล่มากที่สุด
ท่าที่ 5 หันศีรษะไปทางด้านซ้าย 45 องศา ใช้มือขวาช่วยดึงพร้อมก้มลงช้าๆ ให้มากที่สุดค้างไว้ 10 วินาที
จากนั้นสลับทำด้านขวา โดยแต่ละท่าค้างไว้ 10 วินาที
การปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการได้ไม่มากก็น้อยครับ


บทความโดย : อ.นพ.ลิขิต รักษ์พลเมือง ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด
นิษฐ์ภัสสร ห่อเนาวรัตน์ : เรียบเรียง
ที่มา : //www.manager.co.th


สารบัญสุขภาพ



Create Date : 10 มีนาคม 2554
Last Update : 10 มีนาคม 2554 9:38:32 น. 0 comments
Counter : 2878 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.