Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
6 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อพบคนเป็นลม

วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อพบคนเป็นลม

การหมดสติ ผู้ที่หมดสติจะไม่รู้สึกตัวมักจะล้มลงทันทีที่สติสัมปชัญญะขาดลง
หากพบคนหมดสติ ต้องปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้

1. ตรวจดูว่า ยังหายใจอยู่หรือเปล่า ถ้าไม่หายใจ ต้องพยายามช่วยให้ผู้หมดสติหายใจก่อน

2. ตรวจดูบาดแผล ถ้ามีให้ทำการปัจจุบันพยาบาลบาดแผลด้วย ถ้ามีเลือดออก ให้ทำการห้ามเลือด

3. จับผู้ป่วยนอนหงาย เอียงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นตกไปทางด้านหลัง
ซึ่งจะไปอุดการหายใจ และป้องกันไม่ให้อาเจียนไหลลงสู่หลอดลม

ถ้าผู้ป่วยหน้ามีสีแดงควรให้นอนศีรษะสูงขึ้น แต่ถ้าใบหน้าซีดขาว ควรให้นอนศีรษะต่ำ
จำง่ายๆ ถ้าหน้าแดงให้นอนหัวสูง ถ้าหน้าซีดต้องนอนหัวต่ำ

4. ควรขยายเครื่องนุ่มห่มให้หลวม ถ้ามีฟันปลอม ควรถอดออกทันที ป้องกันการลื่นลงไปปิดกั้นหลอดลม

5. นำผู้ป่วยนอนหงาย เหยียดขาและแขนออกการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องระมัดระวัง
เพราะถ้ามีกระดูกหัก อาจจะทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยได้

6. อย่าให้อาหาร น้ำ หรือยา ทางปาก จนกว่าผู้ป่วยจะรู้สึกตัว

7. ถ้ามีอาการชัก
ให้ใช้ไม้ หรือด้ามช้อนหรือผ้าม้วนเป็นก้อน สอดเข้าไประหว่างฟันล่างและฟันบน เพื่อป้องกันผู้ป่วยกัดลิ้นตนเอง

8. ถ้าผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บหนัก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หลังให้การปัจจุบันพยาบาลข้างต้นแล้ว


ถ้าผู้ป่วยหมดสติเพราะมีอาการอื่นๆ เช่น มีอาการวิงเวียน หน้ามืดตามัว ใจสั่น ใบหน้าซีด เหงื่อออก ชีพจรเบา
และหมดสติทันที ส่วนมากมักจะเกิดในสถานที่แออัด หรือในที่ที่มีอากาศร้อน อบอ้าว
การปัจจุบันพยาบาล คือ ให้ผู้ป่วยนอนศีรษะต่ำกว่าตัวเล็กน้อย หรือให้นอนราบ ขยายเสื้อผ้าให้หลวม
หายาหอมแก้ลม หรือแอมโมเนียให้ดม
ถ้ายังไม่หมดสติ อาจะให้กินยาหอมแก้ลมได้ จะทำให้ผู้ป่วยค่อยๆ มีอาการดีขึ้น


ถ้ามีอาการหมดสติ เกิดทันที ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวและคลำชีพจรไม่ได้ ให้รักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยเจ็บหนัก ดังนี้

1. ถ้าผู้ป่วยมีกลิ่นเหล้า กลิ่นยา หรือมีขวดยาขวดเหล้าอยู่ข้างๆ ตัว หรือทราบว่า กินเหล้ามาก่อนแล้วหมดสติ
ให้พยาบาลแบบเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับยาพิษ หรือยาเกินขนาด
ถ้าเมาเหล้า แต่ยังไม่หมดสติ ให้ล้วงคอให้อาเจียน หรือทำให้อาเจียนแล้วให้ดื่มกาแฟดำแก่ๆ

2. ถ้าผู้ป่วยหมดสติ และเคยมีประวัติกินยาหรือฉีดยาแก้โรคเบาหวานมาก่อน
ให้รีบกรอกน้ำเชื่อม น้ำหวาน ให้ผู้ป่วยทันที ถ้าไม่ดีขึ้น ให้พาไปพบแพทย์

3. ถ้าผู้ป่วยหมดสติ เพราะการจมน้ำ
รีบเอาผู้ป่วยขึ้นจากน้ำ ล้วงสิ่งของในปาก คอ ออกให้หมดแล้วจับผู้ป่วยแบกให้บริเวณหน้าท้องผู้ป่วย

4. ถ้าผู้ป่วยหมดสติ โดยมีอาการเรื้อรังอื่นๆ มาก่อน หรือมีอาการเจ็บหนัก หรือหมดสติด้วยเหตุอื่นๆ
พาไปพบแพทย์ทันที



สัญญาณเตือน “เป็นลม” หรือ “หมดสติ”

อยู่กันหนาแน่น ลมพัดผ่านไม่สะดวก หรือผู้ที่ชอบนอนดึก อดอาหาร จนท้องร้องจ๊อกๆ
ก็ยังไม่ยอมหาอะไรใส่กระเพาะ คงหลีกเลี่ยงอาการเป็นลมไม่พ้น
นอกจากนี้ ยาบางชนิดยังทำให้คนเป็นลมง่าย เช่น ยาระงับประสาท ยาลดความดันเลือด ยาลดน้ำตาลในเลือด
หรือผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันเลือดสูง ก็มีโอกาสเป็นลมง่ายกว่าคนปกติเช่นกัน


สัญญาณเตือน ก่อนหมดสติ
ส่วนใหญ่มักพบผู้ที่เป็นลมแต่ไม่หมดสติ มากกว่าผู้ที่เป็นลมและหมดสติไปเลย
หรือบางคนจะมีอาการเตือนก่อนจะเป็นลมหมดสติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง อยากถ่าย เหงื่อแตก ตัวเย็น
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ อาจมีอาการใจสั่นนำมาก่อน แต่บางคนอาจไม่มีอาการใดๆ เลยก็เป็นได้ และขณะหมดสติ
บางคนอาจมีอาการเกร็ง กล้ามเนื้อกระตุก (จำไว้ให้ดี อย่าไปสับสนกับโรคลมชัก หรือลมบ้าหมู)

เป็นพลเมืองดีทั้งที ต้องรู้วิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง หากพบเห็นผู้ที่เป็นลม มีวิธีช่วยเหลือเบื้องต้น ดังนี้

1. ตรวจชีพจรให้เป็น :
อาจจับที่ข้อมือ โดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของมือที่ถนัด จับลงบนข้อมือทางด้านหัวแม่มือ
ถ้าชีพจรเบาให้ใช้มือหรือยาหม่องนวดได้ทั่วตัว ยกเว้นหน้าและบริเวณอวัยวะเพศ

2. มุงเมื่อไหร่ ตายเมื่อนั้น :
เห็นคนเป็นลม อย่าเข้าไปใกล้ ยกเว้นเข้าไปช่วย รีบจับผู้ป่วยนอนราบในที่ร่ม บนพื้นแห้ง คลายเสื้อผ้าให้หลวม
แกะเข็มขัด ผ้าพันคอ ถอดรองเท้า ถ้ามีพิมเสนหรือยาหม่องให้ทาบางๆ ที่ริมฝีปากบน
และใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนเล็กๆ ชุบน้ำเย็น เช็ดหน้า เช็ดตัว หน้าอก และแขนขา
แต่ห้ามเช็ดที่ท้องเด็ดขาด! เพราะถ้าท้องเย็น จะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนได้

3. ขาสูง หัวต่ำ :
หาหมอน กระเป๋า หรือผ้ารอง เพื่อยกขาผู้ป่วยให้สูงขึ้น และจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ


รู้ไว้ใช่ว่า
การเป็นลมหมดสติไปชั่วคราว แต่หายใจได้ดี และรู้สึกตัวภายใน 2-3 นาที ไม่น่าเป็นห่วง
แต่ถ้าหมดสติไปนานเกิน 5 นาที หายใจขาดช่วง ไม่สม่ำเสมอหรือช้าผิดปกติ ต้องรีบนำส่งแพทย์ทันที
และระหว่างทางไปโรงพยาบาล ควรอยู่ในท่านอนกึ่งคว่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจอุดตัน
หรือหากผู้ป่วยอาเจียน ให้จับนอนตะแคง เพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารผลัดเข้าหลอดลม


ข้อมูลโดย :
หนังสือ "คู่มือการดูแลรักษาสุขภาพ" ของบมจ.บางจากปิโตรเลียม
สนุกดอทคอม


ที่มา : //www.thaihealth.or.th



สารบัญสุขภาพ



Create Date : 06 มิถุนายน 2553
Last Update : 6 มิถุนายน 2553 12:41:15 น. 0 comments
Counter : 2255 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.