Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
28 กันยายน 2551
 
All Blogs
 

แล้วนิ่วก็จะไม่ทำให้หน้านิ่วอีก



นิ่ว” คือความทรมานอันแสนสาหัส หลายๆ คนเชื่อว่าสาเหตุมาจากการอั้นปัสสาวะเอาไว้นาน ๆ
แต่ความจริงแล้วนั่นไม่ใช่เลย เช่นกันอาการขับปัสสาวะไม่สะดวก ก็ไม่ใช่อาการเดียวที่ผู้ป่วยโรคนิ่วเป็น
แค่ปวดท้องก็เป็นอาการของนิ่วแล้ว เพียงแต่มันเป็นการปวดที่แสนทรมาน

ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยไต 2 ข้างทำหน้าที่สร้างปัสสาวะ
โดยจะกรองและขับสารหลายชนิดออกมา รวมทั้งเกลือแร่บางอย่างที่มีมากเกินไปด้วย
บางครั้งความผิดปรกติของการกำจัดส่วนเกินเหล่านี้ เป็นเหตุให้เกิดโรคบางชนิดขึ้น
โรคนั้นคือ “นิ่ว” นั่นเอง

สาเหตุหลักของนิ่ว คือการดื่มน้ำในปริมาณน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย
ส่งผลให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นเกินพอดีจนส่งผลให้เกิดโรค


โรคนิ่วมันเกิดจากการตกผลึกตกตะกอนของปัสสาวะในไต
ทำให้เกิดเป็นเม็ดนิ่วขึ้นมาซึ่งมันก็เกิดได้หลายๆ สาเหตุ
” ดร.ภาณุ ธัญจพัทธ์กุล กล่าว

ที่พบได้บ่อยๆ คือ คนที่ทานน้ำค่อนข้างน้อยทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นเยอะ จึงเกิดการตกตะกอนขึ้น
อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ คนไข้บางกลุ่มมีการผลิตปัสสาวะที่ทำให้เกิดโรคนิ่วได้ง่าย อาหารการกินก็มีส่วน
เช่นคนที่ทานอาหารมีโปรตีนค่อนข้างมาก พบว่ามีโอกาสเกิดโรคนิ่วได้มากกว่า เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคนิ่วไม่ได้มาด้วยอาการปัสสาวะไม่ออกทุกราย บางรายมาด้วยอาการปวดท้อง
ซึ่งอาการปวดเพราะโรคนิ่วแบบนี้ เป็นผลกระทบจากความผิดปรกติที่เกิดขึ้นในระบบปัสสาวะ
เพราะฉะนั้นถึงแม้จะเป็นแค่อาการปวดท้อง แต่ภายใต้อาการปวดท้องนั้นมีอันตรายเคลือบแฝงมาด้วย

คุณหมอภาณุอธิบายให้เห็นภาพว่า
ท่อที่วิ่งได้ตามปรกติ เวลามีอะไรไปอุดจนเกิดการสะสมปุ๊บก็จะบวมขึ้น
พอมันบวมขึ้นก็ไปผลักดันอวัยวะอื่นให้กระทบกระเทือน
ถ้าของอะไรที่มันอยู่ในกรอบของมันอยู่แล้ว แล้วเริ่มบวมจนไปเบียดชิ้นอื่น
ก็ทำให้เจ้าของร่างกายเริ่มอยู่แบบไม่สบายแล้ว โดยสำแดงเดชออกมาด้วยการปวดท้องนั่นเอง

คนไข้ที่เป็นนิ่วส่วนมากมาด้วยอาการปวดท้อง-ปวดหลัง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของนิ่วด้วย
ถ้ามีนิ่วบริเวณไตก็มาด้วยอาการปวดหลัง ปัสสาวะอาจจะมีเม็ดเลือดแดงปน
ถ้านิ่วอยู่บริเวณที่ต่ำลงมาก็อาจจะมาด้วยอาการปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะคล้ายๆ จะไม่สุด มีปวดร้าวไปที่อัณฑะได้
” หมอผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ไตเสริม

การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนิ่วหรือไม่นั้น
ทำได้โดยการเจาะเลือด เพื่อดูการทำงานของไตโดยรวมว่าสามารถฉีดสีได้หรือไม่
หลังจากนั้นก็ฉีดสีเข้าไป ไตซึ่งมีหน้าที่ขับของเสียหรือสารออกจากร่างกาย
ก็จะขับสีออกมามีลักษณะเป็นสีไหลลงมาในกรวยไตทั้ง 2 ข้างในกรณีที่เป็นปรกติ
“มันทำให้เราเห็นลักษณะของกรวยไต ท่อไตได้ชัดเจนขึ้น เราถ่ายภาพเป็นชุดๆ ทุก 5, 10, 15 นาที
ถ้าเป็นนิ่วก็อาจจะมีการทำงานของไตที่ผิดปรกติไป
ในกรณีที่มีการอุดตันอยู่ก็อาจจะทำให้ไตข้างนั้น ทำงานช้ากว่าไตอีกข้างหนึ่ง
หรือว่าไหลลงมาแล้วมีลักษณะมาอุดตันที่จุดใดจุดหนึ่ง” นายแพทย์คนเก่งอธิบาย
“จุดใดจุดหนึ่ง” นั้นจะตรงกับตำแหน่งนิ่ว
นั่นอธิบายได้ว่าทำไมผลการ X-Ray ฉีดสีจึงบ่งบอกว่าผู้ป่วยเป็นนิ่วได้
นอกจากนี้ยังบอกตำแหน่งของก้อนนิ่วก้อนนั้นได้อีกด้วย
ช่วยอำนวยความสะดวกในการรักษาได้มากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะการใช้พลังงานคลื่นเสียงหรือ Shock Wave สลายให้ก้อนนิ่วแตกตัว

“การ Shock Wave จริง ๆ คือการใช้พลังงานจากภายนอกรวมเป็นคลื่น เพื่อไปกระทบบริเวณที่เป็นนิ่ว
ทำให้เกิดการแตกเป็นผลึกเม็ดเล็กๆ เพื่อที่จะได้สามารถไหลลงมาได้ในท่อไตที่มีขนาดค่อนข้างเล็กได้”
นพ.ภาณุอธิบายถึงวิธีการรักษา

เพราะฉะนั้นนิ่วก้อนใหญ่ ๆ โอกาสที่จะหลุดออกมาจึงค่อนข้างน้อย
การรักษาด้วยวิธีนี้แม้สะดวกเพียงใด แต่ก็จำกัดแค่การใช้สลายนิ่วที่มีขนาดไม่ใหญ่นักเท่านั้น
ซึ่งหลังจากที่ยิงสลายนิ่วให้เป็นก้อนเล็ก ๆหรือเป็นผงที่ละเอียดแล้ว
แพทย์จะให้คนไข้ดื่มน้ำมากๆ แล้วขับออกมาทางปัสสาวะได้เองโดยที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด
อย่างไรก็ดีการรักษาด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยอาจจะต้องทนความเจ็บปวด
จากการถูกรังสีพุ่งเข้ากระแทกสลายนิ่วสักหน่อย ซึ่งแพทย์ก็จะใช้ความแรงในระดับต่ำๆ ก่อน
เพื่อให้คนไข้คุ้นเคย ก่อนจะเร่งความแรงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อการสลายนิ่วจะได้เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ

“โดยทั่วไป เราฉีดยาแก้ปวดให้ แล้วค่อยๆ เพิ่มความแรงของการยิงช้าๆ
เพื่อให้คนไข้ค่อยๆ ปรับตัวทนต่อความแรงได้ แต่สำหรับรายที่ทนต่อความแรงไม่ได้
เราก็อาจจะพิจารณาให้คุณหมอดมยามาช่วยดมยาสลบให้เค้าหลับไปเลย
เราจะได้ใช้ความแรงยิงได้อย่างเต็มที่เพื่อให้นิ่วมันแตกได้ง่าย” นพ.ภาณุอธิบาย

อย่างไรก็ตาม “นิ่ว” เมื่อหายไปแล้ว ใช่ว่าจะกลับมาเป็นไม่ได้อีก นพ.ภาณุจึงฝากข้อคิดไว้ว่า
แนะนำให้ออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง คอยดูเป็นระยะๆ ไม่ให้นิ่วเกิดซ้ำ
ทานน้ำมากๆ ควบคุมเรื่องอาหารการกิน ดื่มน้ำรสเปรี้ยวบ่อย ๆ
รวมถึงอาจจะตรวจปัสสาวะปีละครั้งด้วยครับ



เรื่องโดย พรชัย พงษ์สุกิจวัฒน์
ที่มา : //www.homeandi.com


สารบัญ สุขภาพ




 

Create Date : 28 กันยายน 2551
0 comments
Last Update : 18 มีนาคม 2554 17:07:07 น.
Counter : 1021 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.