Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 
17 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 

ลิ้นหัวใจรั่ว อย่ามัวเฉยชา

ลิ้นหัวใจรั่วอย่ามัวเฉยชา

โรคหัวใจอื่นเราเฝ้าระวังดูแลสุขภาพก็ลดเสี่ยงได้
ต่างจากโรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่สาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด

เรียน กันมาตั้งแต่ประถม รู้กันดีว่าหัวใจมีสี่ห้อง แต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจคล้ายกลีบดอก ทิวลิปคอยหุบคอยบาน
ทำหน้าที่เหมือนวาล์วน้ำอัตโนมัติเปิดปิดให้เลือดไหลผ่าน
จากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่งส่งไปให้ปอดฟอกออกซิเจนกลับมาไหลเวียนสู่ระบบ โลหิตอีกครั้ง

ลิ้นหัวใจ บางคนโชคร้าย ใช้งานไปนานวันเกิดอาการลักปิดลักเปิดทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
รบกวนชีวิตประจำวันทำอะไรนิดหน่อยก็เหนื่อย อาบน้ำยังเหนื่อยเลย
ทางที่ดีควรไปให้แพทย์ตรวจอย่างละเอียด เล่าอาการให้หมดเปลือก พบเร็วรักษาเร็วไม่ต้องเสียเงินทองมากมาย

โรคหัวใจอื่นเราเฝ้าระวังดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย ไม่บริโภคอาหารเสี่ยงได้
ต่างจากโรคลิ้นหัวใจรั่วที่มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้น หัวใจมาแต่กำเนิด
ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป
โรคลิ้นหัวใจรั่วที่พบบ่อยในคนไทยคือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย

“โรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด มักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก
แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีผลให้การออกกำลังกายได้น้อย
หรือบางคนเดินขึ้นบันได 1-2 ชั้น ก็เหนื่อย นอนราบไม่ได้หายใจไม่ออก เป็นต้น”
นพ.วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต อธิบาย

การดำเนินอาการของโรคลิ้นหัวใจรั่วไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น
จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหว
บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว

ปัจจัยที่ทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อม ไวที่อายุประมาณ 40-50 คือ
การติดเชื้อที่ผิวของเนื้อเยื่อจากกระแสโลหิตนั่นเอง เช่น จากการทำฟัน ในขณะที่ช่องปากมีแผลอักเสบอยู่
ซึ่งภูมิต้านทานร่างกายที่ต่ำจะทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่แผลและกระแส เลือด และทำให้ลิ้นหัวใจติดเชื้อได้ด้วย

ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ บอกว่า
ที่ผ่านมาประเทศไทย ยังไม่เคยมีการทำสถิติว่ามีคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจ รั่วมากน้อยแค่ไหน
แต่จากสถิติการวิจัยของต่างประเทศพบว่า 5-10% ของประชากร สามารถเกิดโรคลิ้นหัวใจผิดปกติได้
เพราะเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจมีความผิดปกติแต่กำเนิดเป็นหลัก หรือเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าปกติ
โดยลักษณะความเสื่อมจะแสดงในรูปของสภาพหย่อน ยาว หรือลิ้นหัวใจหนากว่าคนปกติ

มาตรฐานการวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่วคือ
การใช้คลื่นเสียงสะท้อน หรือเครื่องอัลตราซาวนด์ ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาทีก็สามารถรู้ผลการวินิจฉัยได้แล้วว่า
หัวใจมีความผิดปกติอย่างที่สงสัยหรือไม่ และสภาพการทำงานของหัวใจปัจจุบันเป็นอย่างไร

การวินิจฉัย แพทย์จะดูการทำงานของหัวใจทุกอย่าง เช่น ทิศทางการไหลเวียนของเลือด
จังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจเมื่อมีการหายใจเข้าออก การปิดเปิดของลิ้นหัวใจเมื่อเลือดสูบฉีดว่ามีการรั่ว
หย่อนยาน หรือปูดขึ้นหรือไม่ เพื่อแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

การรักษาในช่วงที่ลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรงมาก
แพทย์จะแนะนำวิธีการป้องกันการติดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เช่น
การหลีกเลี่ยงทำฟันเมื่อมีแผลอักเสบในช่องปาก หรือควรบอกแพทย์ก่อนที่จะรับการรักษาหากจำเป็นจริง เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยรายที่ลิ้นหัวใจรั่วมากจนกระทั่งกล้ามเนื้อที่พยุงการปิด-เปิดลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด
หรือหนา ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยแพทย์ ว่าสมควรได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่เกิดการชำรุดหรือไม่

“การผ่าตัดซ่อมแซมสำหรับโรงพยาบาลเอกชนจะมีราคาค่อนข้างสูง
โดยรวมทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการหลังการผ่าตัดเบ็ดเสร็จ
โดยผลการรักษา ในบางรายอาจดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติได้ตลอดชีวิต
และบางรายก็อาจมีการซ่อมแซมซ้ำก็ได้” ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ กล่าว

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมบางราย หากเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัว หรือไตวายซึ่งพบได้น้อย
แพทย์ก็จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจทันที

การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ลิ้นหัวใจเสื่อม หรือเสียมาก แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบจากธรรมชาติที่ได้จากเนื้อเยื่อของหัวใจวัว หรือเนื้อเยื่อหัวใจหมู
และลิ้นหัวใจเทียมจากสารสังเคราะห์

วิธีการรักษาดังกล่าว สามารถรักษาให้กับผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย และผลการรักษาจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ
การตอบสนองของร่างกายคนไข้ต่อลิ้น หัวใจใหม่ด้วย
การรักษาด้วยวิธีนี้ คนไข้จะต้องกินยาป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะกับเนื้อเยื่อลิ้นเทียมไปตลอด

นพ.วิสุทธิ์ บอกอีกว่า แม้โรคลิ้นหัวใจรั่ว จะพบในผู้ใหญ่วัย 40-50 ได้มาก
แต่เด็กแรกเกิดบางรายก็เป็นได้เหมือนกัน มักมีสาเหตุจากความผิดปกติตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เช่น
พัฒนาเด็กที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งการพยากรณ์โรคทำได้ยาก เพราะเนื้อเยื่อของเด็กยังไม่แข็งแรง
ทำให้การรักษายาก และโอกาสในการรอดชีวิตน้อยไปด้วย


*การดูแลรักษา
1. เลี่ยงการออกกำลังกายหักโหม
2. งดอาหารเค็ม บุหรี่ แอลกอฮอล์ อาหารมันจัด ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ต้องจำกัดน้ำดื่ม
3. กินยา และไปพบแพทย์สม่ำเสมอ
4. ขยายลิ้นหัวใจด้วยบอลลูน
5. เปลี่ยนผ่าตัดลิ้นหัวใจเทียม
6. ถ้าต้องทำฟัน ผ่าตัด ต้องแจ้งแพทย์ว่ามีโรคลิ้นหัวใจอยู่

*การป้องกัน
1. ตรวจสุขภาพประจำปี
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ถ้ามีคออักเสบ ไอ เจ็บคอ ต้องกินยาให้ครบขนาดยา จนหายขาด

*โดย นพ.วัธนพล พิพัฒนนันท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
และ //www.thaiclinic.com



สารบัญ บทความ สุขภาพ
คลิกดู ที่นี่ค่ะ





 

Create Date : 17 กรกฎาคม 2552
4 comments
Last Update : 17 กรกฎาคม 2552 16:49:35 น.
Counter : 3645 Pageviews.

 

ทานยาแก้โรคลิ้นหัวใจรั่ว แล้วแพ้ยา ครับ มีอาการปวดหัวควรทำอย่างไรครับ ช่วยตอบกลับด้วยนะครับที่ boyburapa2499@hotmail.com ขอบคุณครับ

 

โดย: boy IP: 124.122.241.186 9 สิงหาคม 2552 9:08:08 น.  

 

หัวใจรั่ว สมองติดเชื้อรา นิ่วในไต แล้ว จ่า มีอ่าไรเกิดอีก ครับ อายุ29 ปี sanee_pok@hotmail.com

 

โดย: นาย เสนีย์ สร็อยเพ็ชร IP: 124.157.248.65 11 กุมภาพันธ์ 2553 17:15:29 น.  

 

เป็นลิ้นหัวจัยรั่วคะแต่ไม่อยากผ่าตัดมันจะมียารักษาไหมคะ

 

โดย: ราตรี IP: 182.232.152.226 18 ธันวาคม 2559 22:57:06 น.  

 

เป็นลิ้นหัวจัยรั่วคะแต่ไม่อยากผ่าตัดมันจะมียารักษาไหมคะ

 

โดย: ราตรี IP: 182.232.152.226 18 ธันวาคม 2559 22:57:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.