happy memories
Group Blog
 
All blogs
 

ฟ้ารักดิน




ภาพจาก wallpaperswide.com







ฟ้ารักดิน
คำร้อง ชาลี อินทรวิจิตร
ทำนอง สง่า อารัมภีร


ญ. อุ่นอารมณ์สมสุขอย่างนี้มีแต่เราสอง


ช. อกดินถวิลลำพอง
คิดปองฟ้าไกลพาให้ตรม
ชวดชมแล้วซมซานเศร้า


ญ. หวั่นกระไรฟ้าดินใจตรงกัน


ช. แต่กระนั้นยังพรั่นมิเบา ไม่ทำให้เจ้าเฉา
ไม่ทำให้เจ้าช้ำ อกดินถวิลครวญคร่ำ


ญ. อกฟ้าระกำยิ่งกว่า


ช. ไหว้วอนขอพรเทวา ให้ดินเสมอฟ้าที


ญ. ถึงยามราตรี


ช. ฟ้ามีแสงจันทร์


ญ. ขอปันแสงจ้า


ช. เมตตาให้ฟ้าโลมดิน
แอบจูบลูบไล้ยุพิน
จูบดินด้วยแสง จันทร์ส่อง


ญ. เชื่อใจเพียงใคร่จะลอง ก็กลัวจะหมองมิวาย


ช. ทุกทิวา


ญ. ทุกราตรี


ช. สองชีวีมิมีหน่าย


พร้อม ไม่สลายคลายรักเอย









คุณอารีย์ นักดนตรี และ คุณกำธร สุวรรณปิยะศิริ
ภาพจาก บล็อกคุณ chailasalle



ความทรงจำที่งดงาม...ฟ้ารักดิน
โดย พอ.วัชระ วัชรีวงศ์



"ฟ้ารักดิน" ผลงานเพลงของ ชาลี อินทรวิจิตร และ สง่า อารัมภีร, กำธร สุวรรณปิยะศิริ ร้องคู่ อารีย์ นักดนตรี ต่อมา ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ร้องบันทึกเสียงคู่ นงลักษณ์ โรจนพรรณ...การเลื่อนไหลของกาลเวลาเป็นผลให้ปัจจุบันแปรเปลี่ยนเป็นอดีต มีเพียงความทรงจำเหลืออยู่ เรื่องที่ประทับใจก็อยู่ในความทรงจำนาน หากเรื่องใดเห็นว่าไม่ค่อยมีความสำคัญก็จะค่อย ๆ ลืมเลือนไปจนจำไม่ได้ในที่สุด





สถานีช่อง ๔ บางขุนพรหม
ภาพจาก กระทู้พันทิป



อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกที่ลืมเลือนไปแล้วอาจหวนคืนกลับมาได้จากเสียงเพลง บางครั้งเพลงเก่าที่เคยได้ยินในวัยเยาว์ มีอานุภาพกระตุ้นความรู้สึกให้รำลึกอดีตได้แจ่มชัด  โดยเฉพาะความรู้สึก ความทรงจำที่งดงาม เช่น เพลงจากละครที่ผ่านมานานหลายสิบปี กาลเวลาทำให้ลืมเลือนไปบ้าง แต่หากได้ย้อนฟังเพลงที่ประทับใจในอดีต ความทรงจำดี ๆ อาจผุดขึ้นมาได้แจ่มชัด โดยท่วงทำนองจะนำความรู้สึกให้กลับมาก่อน แล้วตามด้วยเนื้อหาสาระ เช่น เพลงฟ้ารักดิน จากละครเรื่อง ขุนศึก ที่แพร่ภาพทางไทยทีวีช่อง ๔  บางขุนพรหม เมื่อกว่า ๕๐ ปีก่อน









ละคร "ขุนศึก" เวอร์ชั่นช่อง ๔ บางขุนพรหม
ภาพจาก กระทู้ขุนศึกเวอร์ชั่นก่อน ๆฯ



ผ่านไปหลายสิบปีจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ เมื่อได้ฟังฟ้ารักดินก็ได้รับรสความสุขไออุ่นของความรัก ความรู้สึกหวานละมุน กรุ่นกลิ่นอายอดีต ได้ย้อนมองความสุขในวัยเด็กที่มีรสชาติแตกต่างจากปัจจุบัน นับว่าเพลงมีบทบาทสำคัญในการถนอมอารมณ์ความรู้สึกในยุคนั้นได้อย่างดี





ภาพจาก book.rmutt.ac.th



ดังเหตุการณ์ที่ได้ไปร่วมงานแถลงข่าวหนังสือ "โลกมายาของอารีย์" อารีย์ นักดนตรี ดาราไทยทีวีช่อง ๔ เป็นผู้เขียน ที่ศูนย์การค้าย่านราชประสงค์เมื่อกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว งานนี้มีเพื่อนนักเขียนซึ่งเป็นนักแสดง ผู้ร่วมงานหลายหน้าที่จากสถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ ไปร่วมงานแถลงข่าวหลายคน ด้วยความประทับใจในบรรยากาศการทำงาน การฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จ





ภาพจาก บล็อกคุณ นายยั้งคิด และ thaifilm.com



ความรู้สึกเต็มตื้นได้ระบายออกด้วยการร้อง "อุ่นอารมณ์สมสุขอย่างนี้มีแต่เราสอง..." เป็นอารมณ์ร่วมที่แสดงออกโดยไม่ได้นัดหมาย แต่ส่งต่อความรู้สึกได้แจ่มกระจ่างจนไม่ต้องขยายความแต่อย่างใด และอารมณ์กรุ่นกลิ่นอายอดีตจากเพลงฟ้ารักดิน ก็เสริมเสน่ห์บันเทิงคดี "โลกมายาของอารีย์" ได้เหนือความคาดหมาย





คุณบูรพา-ดร.ญาดา อารัมภีร
ภาพจากเวบ oknation.net



เพลงฟ้ารักดิน ได้หวนคืนเวทีอีกครั้งเมื่อโรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง ได้จัดการแสดงคอนเสิร์ตรำลึกกำธร  สุวรรณปิยะศิริ พระเอกละครขุนศึก (ร้องเพลงนี้คู่อารีย์ นักดนตรี ครั้งแรกในละคร) เมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ การแสดงครั้งนี้ทายาทครูสง่า อารัมภีร บูรพา-ญาดา อารัมภีร ได้ถ่ายทอดมรดกที่มีค่าทางใจ เพลงฟ้ารักดินเผยแง่คิดชีวิตงาม ให้อารมณ์หวานละมุนฟื้นขึ้นมาใหม่ และทำให้ได้คิดว่าฟ้ารักดิน สะท้อนมุมมองว่า ความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน มีมนต์เสน่ห์ไม่เสื่อมคลายไปโดยง่าย





ครูสมาน ครูสง่า และ ครูชาลี
ภาพจาก komchadluek.net และ บล็อกคุณก๋งแก่(หง่อมจริง ๆ)



ทั้งนี้เพราะน้ำคำที่เจือน้ำใจย่อมหวานไม่คลาย  ครูเพลงผู้สร้างตำนานเพลงรักหวานยุคนั้น จึงได้รับฉายาว่า "เพลงรักครูสมาน เพลงหวานครูสง่า" ต่อมาภายหลังสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี (๒๕๒๕) ทางราชการได้เชิดชูเกียรติศิลปินที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ครูสมาน กาญจนะผลิน และ ครูสง่า อารัมภีร ก็ได้รับเชิดชูให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) นอกจากนี้ ครูชาลี อินทรวิจิตร ผู้แต่งคำร้องเพลงฟ้ารักดินก็ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์คำร้อง-ผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์) เช่นกัน






จังหวะชีวิตค่อยเป็นค่อยไปเมื่อ ๕๐ ปีก่อนสอดคล้องกับละครขุนศึกที่แสดงเดือนละครั้งติดต่อกันเป็นปี ๆ ทำให้ผู้ชมคุ้นเคยกับตัวละคร ต่างก็เอาใจช่วยคู่-พระนาง รวมทั้งเพื่อนคู่หูที่ติดสอยห้อยตามให้ประสบความสุขสมหวังในชีวิต มีคู่ครองกันทั่วหน้า บท เพลงส่งท้ายนอกจากมีความหมายดีสอดคล้องกับเนื้อเรื่องในละครแล้ว ยังเป็นเสมือนคำอำนวยพรผู้ชมในคราวเดียวกัน เห็นได้ว่า สื่อบันเทิงยุคนั้นมุ่งให้ความสุขผู้ชมเป็นสำคัญ ในขณะที่สื่อบันเทิงปัจจุบัน ทั้งโทรทัศน์และภาพยนตร์มักสร้างเนื้อที่เน้นความรุนแรง ทำให้ผู้ชมชินชาต่อการตัดสินใจใช้ความรุนแรงในการทำร้ายหรือทำลายฝ่ายศัตรู หากไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น หรือเสนอทาง ออกที่ยกระดับจิตใจผู้ชมให้สูงขึ้น ผู้คนในกาลภายหน้าโดยเฉพาะผู้ชมสื่อบันเทิงในโรงภาพยนตร์และโทรทัศน์จะไม่รู้จักความสงบสุขเป็นแน่





ละครเวอร์ชั่นล่าสุด
ภาพจาก thaitv3.com


คลิกชมภาพ "ขุนศึก" ทุกเวอร์ชั่นได้ที่นี่ วิกิพีเดีย



ผู้สร้างหนังละครได้สร้างขุนศึกออกมาหลายครั้ง แต่การแสดงครั้งหลัง ๆ ไม่มีเพลงรักหวานที่อยู่ในความทรงจำ ฉะนั้นเวลาผ่านไปนานเพียงใด ผู้ชมละครโทรทัศน์รุ่นแรกยังระลึกถึงบรรยากาศกรุ่นกลิ่นอายอดีตเคล้ามากับเพลง ดังถ้อยคำเว้าวอนชวนฝัน...



"ถึงยามราตรี ฟ้ามีแสงจันทร์

ขอปันแสงจ้า เมตตาให้ฟ้าโลมดิน

แอบจูบลูบไล้ยุพิน จูบดินด้วยแสงจันทร์ส่อง..."



และจดจำน้ำคำที่ถ่ายทอดอารมณ์ รักหวานละมุนร่วมกัน


"...ทุกทิวา ทุกราตรี

สองชีวีมิมีหน่าย ไม่สลายคลายรักเอย".






ภาพจาก hdwallpapers.cat



ข้อมูลจาก
ryt9.com
คอลัมน์ "ถูกทุกข้อ"นสพ.ไทยโพสต์ ๖ ธ.ค. ๒๕๕๗




บล็อกคุณปอนกล่าสุด

ไม่มีรักไม่มีทุกสิ่ง
บันทึกระหว่างบันทัด



บล็อกเสพงานศิลป์ล่าสุด

เสพงานศิลป์ ๒๒๑
เสพงานศิลป์ ๒๒๒



บล็อกนี้อยู่ในหมวดแฟนคลับ



บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ ebaemi

Free TextEditor





 

Create Date : 31 กรกฎาคม 2558    
Last Update : 9 มีนาคม 2563 21:57:30 น.
Counter : 6358 Pageviews.  

แม่กลอง




บรรยากาศริมแม่น้ำแม่กลองยามเช้า
ภาพจาก m.hi5.com




แม่กลอง-สุเทพ วงศ์กำแหง






แม่กลอง
คำร้อง ชาลี อินทรวิจิตร
ทำนอง สมาน กาญจนะผลิน


สายชลแม่กลอง เหมือนดังละอองน้ำตก
ใสดังกระจก เปรียบดังจิตใจเจ้าของ
พี่ลอยรักให้ ฝากไปในสายแม่กลอง
ขอเชิญให้น้อง ครองความรักไว้เถิดหนา


สายชลเชี่ยวนัก แพ้ใจรักจริงของพี่
รักลอยมานี่ ดั่งใจพี่ครวญใฝ่หา
นางนวลขาวผ่อง ไม่ผ่องเกินนวลแก้วตา
เนื้อนวลนวลกว่า นวลนกนวลปลาไหนไหน


กลางกระแสแลล้วนโป๊ะล้อม
เขาลงอวนอ้อม ล้อมสกัดมัจฉาเอาไว้
แม้พี่เป็นปลา ไม่ปรารถนาเข้าอวนของใคร
พี่จะขออยู่แต่ใน อวนใจน้องเจ้าเท่านั้น


สายชลแม่กลอง น้ำนองสองฟากล้นฝั่ง
น้ำใจจงหลั่ง พอได้ประทังชีพฉัน
สายน้ำมิอาจ ตัดขาดออกไปจากกัน
สายใยสัมพันธ์ ขาดกันมิได้หรอกเอย


(ดนตรี......)
สายชลแม่กลอง น้ำนองสองฟากล้นฝั่ง
น้ำใจจงหลั่ง พอได้ประทังชีพฉัน
สายน้ำมิอาจ ตัดขาดออกไปจากกัน
สายใยสัมพันธ์ ขาดกันมิได้หรอกเอย









ภาพจาก travel.mthai.com



"สายชลแม่กลอง เหมือนดังละอองน้ำตก

ใสดังกระจกเปรียบดังจิตใจเจ้าของ

พี่ลอยรักให้ฝากไปในสายแม่กลอง

ขอเชิญให้น้อง ครองความรักไว้เถิดหนา..."



บทเพลงแห่งลุ่มน้ำที่หวานซึ้งและอ่อนพลิ้วปานจะล่องลอยไปกับสายลมให้ไกลแสนไกลเพลงนี้ สื่อความหมายแห่งรักที่แสนบริสุทธิ์ "เหมือนดังละอองน้ำตก...ใสดังกระจก" ตามที่เนื้อเพลงได้พร่ำพรรณนาไว้อย่างงดงามด้วยคมกวีอันวิจิตร สมแล้วที่เพลงนี้ถ่ายทอดออกมาจากใจของชายหนุ่มผู้มีพลังฝันอันบรรเจิดที่บรรจงแต่งให้กับผู้เป็นนางในฝันของเขา





ครูชาลี อินทรวิจิตร
ภาพจากบล็อกคุณก๋งแก่(หง่อมจริง)



ชายหนุ่มคนนั้นในวันนี้คือ ศิลปินแห่งชาติวัย ๙๒ ปี นาม ชาลี อินทรวิจิตร เป็นผู้แต่งคำร้อง โดยมีศิลปินแห่งชาติคู่ใจผู้ล่วงลับไปก่อน คือ สมาน กาญจนะผลิน เป็นผู้แต่งทำนอง ส่วนศิลปินแห่งชาติอีกคนนั้นเป็นที่รู้กันว่าเป็นคู่หูที่ยังคงเคียงคู่กันอยู่บนเวทีเพลงในปัจจุบัน คือ สุเทพ วงศ์กำแหง เป็นผู้ขับร้องต้นฉบับ





ภาพจาก saisampan.net



ชาลี อินทรวิจิตร เป็นคนท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อเป็นผู้แต่งเพลง "ท่าฉลอม" และเพลง "มหาชัยอาลัยท่าฉลอม" จึงดูสมเหตุสมผลทุกประการ แต่เมื่อมาเป็นผู้แต่งเพลง "แม่กลอง" อันเป็นอำเภอเมืองของจังหวัดสมุทรสงครามอีกเพลงหนึ่ง จึงต้องมีคำถามว่า มีแรงบันดาลใจอย่างไรจึงแต่งเพลงนี้  ก็ได้รับคำตอบอย่างอารมณ์ดีจากศิลปินแห่งชาติวัย ๙๒ ผู้ที่ยังขึ้นไปร้องเพลงบนเวทีคอนเสิร์ตระดับชาติอยู่เป็นประจำว่า


"ครอบครัวของผมเป็นเจ้าของรถไฟสายมหาชัย-แม่กลอง ผมจึงขึ้นรถไฟไม่เสียเงิน จะไปไหนก็ได้ ตอนเป็นหนุ่มก็เลยได้ไปเที่ยวแม่กลองแทบทุกวัน จนไปรักผู้หญิงคนหนึ่งเข้า ก็เลยแต่งเพลงนี้จีบเขาตั้งแต่ตอนนั้น เมื่อเข้ามากรุงเทพฯ ผมก็มาเป็นนักเรียนโรงเรียนอำนวยศิลป์ จบแล้วก็ไปเข้าโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟรุ่นแรก แผนกการเดินรถ ต้องรออีกตั้งหลายปีจึงได้เอาเพลงนี้มาให้สุเทพเขาร้องบันทึกเสียง" ครูชาลีหัวเราะเบา ๆ เมื่อมีโอกาสเปิดเผยความหลังให้ฟัง





ภาพจาก manager.co.th



คุณชาลี อินทรวิจิตร เขียนไว้ในหนังสือ "บันเทิง-บางที" ว่า


เพลงแม่กลอง เป็นเพลงที่ผมเขียนตอนไปเที่ยวกับอาจินต์ ปัญจพรรค์ สง่า อารัมภีร (แจ๋ว) รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม) และพรรคพวกอีกหลายคนที่จังหวัดสมุทรสงคราม อาจินต์เป็นคนยุให้ผมแต่งเพลง "แม่กลอง" จริง ๆ แล้วควรจะให้แจ๋วแต่งทำนอง แต่ผมมีคติประจำตัวนิดหนึ่งว่า ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรให้แจ๋วแต่ง เพราะแจ๋วแต่งเองได้ทั้งคำร้องและทำนองเช่­นเดียวกับสุรพล โทณะวณิก แจ๋วกับผมจึงแต่งเพลงด้วยกันน้อยมาก แต่เพลงที่แต่งกับแจ๋วดังทุกเพลง กับสุรพล
แทบจะไม่มีเลย เพราะสุรพลเขาเก่งครับ แต่งได้ทั้งทำนองและคำร้อง แต่งได้ทุกรูปแบบ คนที่แต่งเพลงกับผมมากที่สุด คือ คุณสมาน กาญจนะผลิน อาจารย์ประสิทธิ์ พยอมยงค์ สง่า ทองธัช ปราจีน ทรงเผ่า ดนุพล แก้วกาญจน์ จำรัส เศวตาภรณ์ และ ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ





ภาพจาก youtube.com



ชาลี อินทรวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ในขณะที่ สุเทพ วงศ์กำแหง เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๗๗ ทั้งคู่จึงเป็นสองชายที่วัยห่างกันเกือบ ๑๑ ปี แต่เป็นเพื่อนรักคู่ซี้คู่แซวกันมาตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มน้อย จนกระทั่งเป็นหนุ่มสูงวัยด้วยกันทั้งสองคนในวันนี้ ในตอนค่ำของวันอังคารที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เป็นวันครบอายุ ๘๑ ปี ของ สุเทพ วงศ์กำแหง ได้มีการจัดงานฉลองวันเกิดให้กับศิลปินแห่งชาติท่านนี้ โดย ชมรมคนรัก สุเทพ วงศ์กำแหง ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้นภายในบริเวณสนามหญ้าของสำนักงานใหญ่ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ถนนรัชดาภิเษก จะมีเวทีดนตรี และซุ้มอาหารอยู่รอบ ๆ สนาม ตั้งแต่เวลา ๑๙.oo น. เป็นต้นไป





ภาพจาก youtube.com



คาดว่าในค่ำวันนั้น ชาวคณะของเมืองไทยประกันชีวิตที่สำนักงานใหญ่ คงไม่มีใครอยากกลับบ้าน แต่คงจะนัดกันอยู่รอเพื่อสมทบกับแฟนเพลงของ สุเทพ วงศ์กำแหง ที่อยู่ใกล้ ๆ ในย่านนั้น เพื่อคอยฟังเพลงประทับใจจากนักร้องคนโปรดมากหน้าหลายตาจาก สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ ที่จะมาร้องเพลงให้ฟังกันจนถึงถิ่น และโอกาสที่จะได้ฟังเพลง "แม่กลอง" กับสองชาย คือ สุเทพ วงศ์กำแหง และ ชาลี อินทรวิจิตร บนลานหญ้านุ่มและพุ่มพฤกษ์ ของ เมืองไทยประกันชีวิต ถนนรัชดาภิเษกนั้นจึงมีเปอร์เซ็นต์สูงมาก


เพียงแต่ผู้ที่จะเป็นคนขึ้นเวทีร้องเพลงนี้ให้ฟังในค่ำวันนั้น จะเป็นสุภาพบุรุษ วัย ๘๑ ปี หรือจะเป็นชายชาตรี วัย ๙๒ เท่านั้นเอง


"กลางกระแสแลล้วนโป๊ะล้อม

เขาลงอวนอ้อมล้อมสกัดมัจฉาเอาไว้

แม้พี่เป็นปลาไม่ปรารถนาเข้าอวนของใคร

พี่จะขออยู่แต่ใน อวนใจของเจ้าเท่านั้น....."





แม่น้ำแม่กลอง ขณะไหลผ่านจังหวัดสมุทรสงคราม
ภาพจาก wikipedia.org




ข้อมูลจาก
ryt9.com
นสพ.ไทยโพสต์ ๑o พ.ค. ๒๕๕๘



บล็อกคุณปอนสองบล็อกล่าสุด

หุบสิเน่หา
เช้าวันหนึ่งตื่นขึ้นมา


บล็อกเสพงานศิลป์ล่าสุด

เสพงานศิลป์ ๒๑๙



บล็อกนี้อยู่ในหมวดแฟนคลับ



บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ ebaemi

Free TextEditor





 

Create Date : 11 กรกฎาคม 2558    
Last Update : 11 กรกฎาคม 2558 23:59:52 น.
Counter : 4473 Pageviews.  

อนุสาวรีย์รัก












อนุสาวรีย์รัก
คำร้อง ประยูร เวชชประสิทธิ์

ทำนอง มนัส ปิติสานต์


พร่ำวอนฟ้า ฟ้าไม่อาจ รับคำกล่าว
อ้อนวอนดาว ดาวก็เคียง เลี่ยงคำไข
จะบอกจันทร์ ก็พลันพราก จากแสนไกล
สุดบอกใคร ให้รู้เห็น เป็นพยาน


ศักดิ์เธอสูง สูงเกินกว่า คว้าครองได้
โอ้ทางใด รู้ถึงเจ้า เล่าจอมขวัญ
กลุ่มศรัทธา ในหล้าแหล่ง แห่งนับพัน
ก็มีฉัน เป็นคะแนน รักอนงค์


กระต่ายลำพอง ไม่หมายครอง ดวงจันทรา
ชั้นสกุณา กาก็รู้ ไม่คู่หงส์
หิ่งห้อยนิด ไม่คิดรวม ดาวร่วมพงศ์
รักอนงค์ ไม่ฉุดรัก นั้นจมปรักตรม


หากความดี แม้มีอยู่ รู้ประจักษ์
หมดใจภักดิ์ รักมอบให้ ยังไม่สม
แต่สุขใจ ที่ได้รัก จากอารมณ์
เธอนั้นสม...เป็น อนุสาวรีย์...รัก แห่งเรา






หาเพลงเก่าเพราะ ๆ มาให้ฟังอีกค่ะ เพลงนี้เป็นเพลงของคุณสุเทพที่ชอบมากที่สุดเพลงนึง พยายามหาประวัติของเพลงและผู้ประพันธ์มานานมาก เพิ่งจะอ่านเจอในนสพ.ไทยโพสต์เมื่อไม่นานมานี้ เนื้อเพลงออกแนวเศร้า หนุ่มไปหลงรักสาวที่ศักดิ์สูงกว่า ได้แต่เจียมเนื้อเจียมตัว อ้อนวอนฟ้าแล้วมองดูสาวเจ้าห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ เท่านั้น ทั้งเนื้อและทำนองเพลงนี้เพราะมากจริง ๆ ค่ะ










"พร่ำวอนฟ้า ฟ้าไม่อาจ รับคำกล่าว

อ้อนวอนดาว ดาวก็เคียง เลี่ยงคำไข

จะบอกจันทร์ ก็พลันพราก จากแสนไกล

สุดบอกใคร ให้รู้เห็น เป็นพยาน..."


ปลายปี พ.ศ. ๒๕o๔ ที่เพลงนี้ได้เริ่มถูกนำมาเปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุกองพลที่ ๑ โดยเฉพาะในตอนค่ำช่วงเวลาประมาณ ๒๒.oo น. เป็นต้นไป เป็นเพลงที่มีถ้อยคำและท่วงทำนองที่ส่งให้เสียงร้องของ สุเทพ วงศ์กำแหง ต้นฉบับเสียงร้องเพลงนี้ มีความสง่างามชวนฟังอย่างยิ่งเพลงหนึ่งในบรรดาเพลงดังในยุคนั้น




ครูประยูร เวชชประสิทธิ์
ภาพจาก FB ประยูร เวชชประสิทธิ์


เมื่อมีโอกาสได้พบหน้าผู้แต่งเพลงนี้ คือ ประยูร เวชชประสิทธิ์ ที่ร้านขายแผ่นเสียงของ อัศวินภาพยนตร์ บนถนนบำรุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ก็ได้รับการบอกเล่าจากปากของผู้แต่งให้ได้ทราบว่า

"เพลงนี้เป็นเพลงแรกในชีวิตการแต่งเพลงของผม และเป็นแผ่นเสียงที่ลงทุนเองด้วย เพราะเราเป็นนักแต่งเพลงใหม่ ยังไม่มีใครรู้จักว่าเป็นนักแต่งเพลงอาชีพ" นั่นคือเรื่องราวที่ได้รับการเปิดเผยจากเจ้าของบทเพลง




แผ่นเสียงเพลงนี้ในขณะนั้นยังเป็นแผ่นเสียงสปีด ๗๘ ขนาดซิงเกิลที่มีเพียงหน้าละเพลง คือบรรจุได้แผ่นละสองเพลงเท่านั้น อีกหน้าหนึ่งนั้นเป็นอีกเพลงซึ่งเป็นผลงานของนักแต่งคนเดียวกัน ชื่อเพลง "สายหยุด" ขับร้องโดยนักร้องใหม่อีกคนในยุคนั้นคือ นิทัศน์ ละอองศรี

"ทั้งสองเพลงนี้ผมแต่งขึ้นมาเป็นรูปแบบกลอนแปดทั้งสองเพลง แล้วก็แต่งในเวลาใกล้เคียงกันด้วย ดังนั้นพอเริ่มใส่ทำนองผมก็รู้สึกว่าทำนองจะคล้าย ๆ กัน ปรับปรุงอย่างไรก็ยังหนีกันไม่ออก  ก็เลยตัดสินใจว่าจะต้องไปหาคนมีฝีมือแต่งทำนองให้เพลงหนึ่ง ผมจึงเลือกคุณมนัส ปิติสานต์ ซึ่งเป็นมือไวโอลินและนักแต่งเพลงที่ผมชื่นชมฝีมือ ให้เป็นผู้แต่งทำนองเพลงอนุสาวรีย์รักให้ ส่วนอีกเพลงคือ สายหยุด ยังคงใช้ทำนองเดิมของผมเอง"

นั่นเป็นความหลังครั้งหนึ่งเมื่อห้าสิบปีเศษที่ผ่านมา  เป็นช่วงเวลาที่วงการเพลงไทยได้ต้อนรับนักแต่งเพลงฝีมือดีระดับบรมครูอีกคนหนึ่งในเวลาต่อมา อันเป็นช่วงเวลารุ่งโรจน์ของเพลงไทยสากลลูกกรุงในอดีต ประยูร เวชชประสิทธิ์ นับว่าเป็นเสาหลักที่สำคัญคนหนึ่งของกลุ่มนักแต่งเพลงไทยลูกกรุง แห่งซอยสีคาม ศรีย่าน ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕o๕ เป็นต้นมา ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มนักแต่งเพลงที่มีบทบาทสูงมากในวงการเพลงไทยลูกกรุงจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน




นักแต่งเพลงซึ่งรวมกลุ่มกันอยู่ในบ้านเช่าในซอยสีคาม ศรีย่าน ยุคนั้นมีตั้งแต่ระดับบรมครูคือ ไสล ไกรเลิศ, ประยูร เวชชประสิทธิ์, ถวัลย์ สุรภาพประดิษฐ์, อ.กวี สัตโกวิท ซึ่งได้ดึงดูดนักแต่งเพลงทั้งใหม่และเก่าให้ตามเข้ามาอยู่ในซอยเดียวกันอีกหลายคน เช่น จงรัก จันทร์คณา, อสิ สถาพร, นคร ถนอมทรัพย์ และ สาโรจน์ เสมทรัพย์ และ ฯลฯ จนถึงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงได้มาถึงยุคที่วงการเพลงไทยลูกทุ่งรุ่งเรืองและรุ่งโรจน์เต็มที่อีกวงการหนึ่ง จนเกิดตำนานซอยบุปผาสวรรค์ของชุมชนคนลูกทุ่งขึ้นมาอีกซอย ในขณะที่ชุมชนนักแต่งเพลงไทยลูกกรุง  ที่ซอยสีคาม ศรีย่าน ได้เริ่มแยกย้ายกันไป

ประยูร เวชชประสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ได้รับประกาศนียบัตรวิชาช่างจากโรงเรียนจ่าช่างเครื่องยนต์ไฟฟ้า กองทัพเรือ และได้เข้ารับราชการกองทัพเรือ จนถึงยศจ่าเอก จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕o๓ จึงลาออกจากราชการมายึดการแต่งเพลงเป็นอาชีพอย่างจริงจัง โดยมีผลงานเพลงแรกคือ "อนุสาวรีย์รัก" ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์กำแหง เพลงที่สองในแผ่นเดียวกัน คือ "สายหยุด" ขับร้องโดย นิทัศน์ ละอองศรี

ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้มากที่สุดคือ "น้ำตาคลอ" ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์กำแหง "สมการรัก", "ขวากรักในม่านใจ" ขับร้องโดย   ชรินทร์ นันทนาคร "ขวัญดาว", "ทะเลครวญ" ขับร้องโดย จินตนา สุขสถิตย์  "รักสุดหัวใจ", "นิราศเมืองปทุม" ขับร้องโดย สมชาติ ชนะโชติ และ ฯลฯ




ภาพจาก wikipedia.org


ประยูร เวชชประสิทธิ์ เป็นนักทำงานมาตลอดชีวิต เป็นคนสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจเสมอมา จนกระทั่งเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕o จึงมีภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาที่ รพ.เกษมราษฎร์ อยู่ประมาณ ๑ เดือน หลังจากนั้นก็กลับมาแข็งแรงเกือบปกติ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๘ มีอาการอ่อนเพลีย จึงถูกนำตัวส่ง รพ.ศิริราช และพบว่ามีภาวะปอดติดเชื้อ ต่อมาเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๔.๔๕ น. จึงสิ้นลมหายใจอย่างสงบ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ ฌาปนสถานเมรุวัดทินกรนิมิต  อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี




ภาพจาก bangkokbiznews.com


ประยูร เวชชประสิทธิ์ เคยดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย ๒ สมัย เคยเป็นกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญา เคยเป็นอนุญาโตตุลาการ เคยเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านศิลปวัฒนธรรม และเป็น "อนุสาวรีย์แห่งรัก" สำหรับกัลยาณมิตรทุก ๆ คน


"หากความดี แม้มีอยู่ รู้ประจักษ์

หมดใจภักดิ์ รักมอบให้ ยังไม่สม

แต่สุขใจ ที่ได้รัก จากอารมณ์

เธอนั้นสม...เป็น อนุสาวรีย์...รัก แห่งเรา....."


ข้อมูลจาก
ryt9.com
คอลัมน์ "ถูกทุกข้อ" นสพ.ไทยโพสต์ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๘



บล็อกนี้อยู่ในหมวดแฟนคลับ



บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ KungHangGerman

Free TextEditor





 

Create Date : 27 มิถุนายน 2558    
Last Update : 10 มีนาคม 2563 21:43:49 น.
Counter : 3945 Pageviews.  

คอนเสิร์ต ๑oo ปี ครูแก้ว อัจฉริยะกุล




ภาพจาก กระทู้พันทิป








ปองใจรัก
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน


(ญ.) โอ้ความรักเอย สุดชื่นสุดเชย สุดจะเฉลยรำพัน


(ช.) รักเจ้าเฝ้าแต่ฝัน ผูกพัน รักพี่กระสันคอยหา


(ญ.) พี่คอยน้องคอย ต่างคนต่างคอย แต่บุญเราน้อยหนักหนา


(ช.) คอยเจ้าเจ้าไม่มา เจ้าหนีหน้า แก้วตาหนีพี่ไป


(ญ.) รักพี่สุดที่อาวรณ์ รักจรจำไกล


(ช.) อย่าเลยอย่าไป พี่หวงดวงใจ ขอให้พี่ได้เคียงครอง


(ญ.) พี่ปองน้องปองห้องหอ น้องจะไปรอคู่คลอหอห้อง


(ช.) พี่ปองน้องปอง ต่างคนต่างปอง แล้ พี่จะครองคู่เอย






เคยอัพบล็อกชวนเพื่อน ๆ ไปชมคอนเสิร์ตครูแก้วละครูชลธี ขออัพเรื่องครูแก้วอีกรอบ เสียดายที่งานนี้เราไม่ได้ไปชม เมื่อไม่กี่วันมานี้อ่านเจอคอลัมน์ที่ คุณเคน สองแคว เขียนเล่าบรรยากาศงานไว้ แฮ้บมาให้อ่านกันค่ะ อ้อ คอนเสิร์ตครูแก้วยังมีอีกงานนึง จัดเมื่อวานนี้กับวันนี้ (๓o-๓๑ พ.ค.) ที่มหิดล ศาลายาค่ะ



บล็อกเสพงานศิลป์ล่าสุด

เสพงานศิลป์ ๒๑๒
เสพงานศิลป์ ๒๑๓













คอนเสิร์ต ๑oo ปี ครูแก้ว อัจฉริยะกุล
เคน สองแคว



สมัยที่ยังเรียนชั้นประถมศึกษา สิ่งบันเทิงในวัยเด็กมีไม่มีมากมายเท่าทุกวันนี้ ตกเย็นเหล่าเด็กน้อยมักพากันเดินไปดูโทรทัศน์จากบ้านของผู้มีอันจะกินในหมู่บ้าน นั่งดูกันอย่างเป็นระเบียบ และมีเวลากลับบ้านที่ชัดเจน เพราะโทรทัศน์ตอนนั้นไม่ได้มีมากช่องออกอากาศกัน ๒๔ ชั่วโมงเท่าทุกวันนี้ ยิ่งช่วงที่เปลี่ยนถ่ายสู่ยุคโทรทัศน์สีแล้วจะยิ่งตื่นเต้นกันเป็นทวีคูณ บ้านไหนที่ไม่มีงบประมาณเปลี่ยนเป็นโทรทัศน์สี เขาก็มีแผ่นฟิลเตอร์ติดหน้าจอโทรทัศน์แบบที่มีแม่สีสามสี พอให้อารมณ์ของจอสีได้บ้าง





นักแสดงละครวิทยุคณะแก้วฟ้า
คลิกดูชื่อของแต่ละท่านได้ที่เวบ thaifilm.com



สำหรับผู้ใหญ่ในยุคราวสี่สิบปีที่แล้วนั้น เสาร์อาทิตย์บ่าย ๆ เขามักไม่ออกไปไหนกัน เพราะติดละครวิทยุกันแจ บางบ้านก็เปิดเสียงดังให้ฟังกันได้ทั่วถึง แน่นอนว่า คณะละครวิทยุที่โด่งดังที่สุดคือ คณะแก้วฟ้า ของครูแก้ว อัจฉริยะกุล คนทำละครวิทยุ สมัยก่อน เขาเก่งมากที่สามารถเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้สนุกสนาน ผู้ฟังสามารถสร้างจินตนาการตามได้อย่างระทึกใจ ไม่ว่าจะฟังโดยไม่จำเป็นต้องตามติดทุกตอน ก็ต้องประทับใจ หลายคนคงจำเสียงบรรยาย เสียงดนตรี เสียงเอฟเฟกท์ประกอบต่าง ๆ และเสียงครุ่นคิด ที่ใช้เสียงก้องแบบเอคโค่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของละครวิทยุไทยกันได้





ภาพจากหนังสือที่ระลึกคณะแก้วฟ้า
๔ ดาราทองของคณะแก้วฟ้าในอดีต
จากซ้าย โฉมฉาย ฉัตรวิไล, ชัยวิชิต อติศัพท์, โกรพ, และเชิด โรจนประดิษฐ์
ภาพจาก thaifilm.com



เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้ไปชมคอนเสิร์ต “ขุนพลอักษร ละคร เพลง” จัดโดย สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ และกรมประชาสัมพันธ์ เนื่องในโอกาส ๑oo ปีชาตกาล “แก้วฟ้า” รัตนศิลปิน ซึ่งเป็นวันที่สองของการจัดงาน (โดยวันแรกนำเสนอบทเพลงครูแก้ว ๔๔ เพลง ในตอนชื่อ ”จากชีวิตสู่บทเพลง แก้ว อัจฉริยะกุล” โดยวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีสัมพันธ์ พร้อมกับการวิเคราะห์บทเพลงของครูแก้ว แต่น่าเสียดายที่ผมพลาดวันนี้ไป)





ภาพนี้รู้จักผู้ชายคนเดียวคือ คือคุณวิเชียร นีลิกานนท์
ภาพจาก thaifilm.com



ในรอบวันที่สองนี้ มีการมอบรางวัลการประกวดบทละครวิทยุ โดยมี คุณจิรภา ปัญจศิลป์ นางเอกละครวิทยุ มาร่วมตัดสินและเป็นผู้ประกาศผลด้วย น่าเสียดายที่ผลงานที่ส่งเข้าประกวด คุณสมบัติยังไม่เข้าเกณฑ์ คณะกรรมการจึงมอบรางวัลชมเชยให้สองรางวัล เนื่องจากเด็กรุ่นใหม่ ๆ คงไม่เคยได้ฟังละครวิทยุ จึงไม่ทราบถึงสิ่งที่เป็นเสน่ห์หรือศาสตร์เฉพาะตัวของการทำละครวิทยุ ดังนั้นการแสดงละครวิทยุจากบทที่ชนะเลิศการแข่งขันเป็นอันต้องยกเลิกไปด้วยอย่างน่าเสียดาย





ภาพจาก komchadluek.net



สำหรับคอนเสิร์ตในวันอาทิตย์ที่ ๒๔ นั้น เป็นตอนชื่อ จากหนัง - ละคร ย้อนมาเป็นเพลง “แก้ว อัจฉริยะกุล” ซึ่งรวมเพลงดังหนัง - ละคร ผลงานของครูแก้ว พิธีกรโดย นันทวัน เมฆใหญ่ กับกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับเพลงและบุคคลได้อย่างละเอียดดีทีเดียว ศิลปินที่มาร่วมรายการ อาทิ ศิลปินแห่งชาติ สุเทพ วงศ์กำแหง สวลี ผกาพันธุ์ ขับร้องเพลงคู่ “ใต้ร่มมลุลี” กับ ”ปองใจรัก” และคุณสุเทพร้องเพลง “จ้าวไม่มีศาล” ในชุดนี้อีกด้วย พรหมเทพ เทพรัตน์ (ชื่อเดิม พรเทพ) ขับร้องเพลง “อ้อมกอดพี่” ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องยากเลยทีเดียว ปิดท้ายด้วยครูสอนร้องเพลง ชื่อ ดวงพร พงศ์ผาสุก ซึ่งร้องเพลง “จุฬาตรีคูณ” ได้น่าฟังเหลือเกิน





ภาพจาก komchadluek.net



นอกจากนี้ยังมีศิลปินแห่งชาติ ชรินทร์ นันทนาคร มาร่วมขับร้องเพลง “ฟ้าคลุ้มฝน” วินัย พันธุรักษ์ ขับร้องเพลง “จังหวะชีวิต” เพลงเนื้อหาดี แต่ร้องยากสุด ๆ จิตติมา เจือใจ ขับร้องเพลง “ศาสนารัก” นันทวัน เมฆใหญ่ กับเพลง ”หัวใจเถื่อน” ทิพวัลย์ ปิ่นภิบาล ขับร้องเพลง “รักฝังใจ” กับ ”เวนิสพิสวาส” ที่ครูแก้วแต่งเนื้อจากทำนองเพลงต่างประเทศ เช่นเดียวกับเพลง “ซาโยนาระ ลาก่อน” ที่ โฉมฉาย อรุณฉาน นำมาร้องบนเวทีด้วย รวมทั้งสิ้นบนเวที ๓๔ เพลง กำลังพอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป





นันทวัน เมฆใหญ่ และ กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ
ภาพจาก youtube.com






ภาพจาก komchadluek.net



นอกจากศิลปินเดี่ยว ๆ แล้ว ยังมีการขับร้องเป็นกลุ่ม อาทิ กลุ่มกระแตไต่ไม้ กาญจน์กรุง สุเทพโชว์จูเนียร์ โดยวงดนตรีกาญจนะผลิน บรรเลงสด ๆ อย่างไพเราะ ควบคุมโดย คุณออด จิรวุฒิ กาญจนะผลิน ที่ยกวงใหญ่มาบรรเลงกัน สิ่งที่เกิดขึ้นในงานนี้ คือ ของที่ระลึก อันได้แก่ แก้วน้ำ รูปครูแก้ว ปากกามีลายเซ็นครูแก้ว แต่ที่น่าสนใจมากที่สุด คือ หนังสือเฉพาะกิจ “๑oo ปี ชาตกาล “แก้วฟ้า” รัตนศิลปิน” ปกสีทอง ที่แถมแผ่นเอ็มพี ๓ รวมเพลงของครูไว้ ๘o เพลง ราคาเล่มละ ๕oo บาท เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูลอย่างละเอียด และมีบทวิเคราะห์เพลงดังๆ ของครูทำให้ผู้อ่านได้ความรู้อีกด้วย และอีกเล่มคือ วารสาร ”ปากไก่” ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘ นี้ ก็มีเรื่องราวข้อมูลที่น่าสนใจ ในวาระครบ ๑oo ปี ครูแก้วเช่นกัน ซึ่งต้องบอกว่า จากสิ่งพิมพ์ทั้งสองเล่มนี้ ทำให้ได้รู้จักชีวิตและงานของครูแก้ว ที่เป็นอัจฉริยบุคคล เหมือนดั่งในเพลง ”หนึ่งในร้อย” ที่ครูแต่งไว้





ภาพจาก music.mahidol.ac.th



เดือนนี้ยังมีอีกกิจกรรมที่ขอย้ำอีกครั้งว่า คอนเสิร์ต “รำลึก ๑oo ปี ชาตกาล ครูแก้ว อัจฉริยะกุล” บรรเลงโดย วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย ในวันที่ ๓o-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เริ่มเวลา ๑๖.oo น. ณ หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จำหน่ายบัตรที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ เป็นอีกงานส่งท้ายกิจกรรมครูแก้วฟ้า เพื่อรำลึกถึงความยิ่งใหญ่ของครูเพลงผู้เป็นตำนานแห่งสยาม ร่วมขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ วินัย พันธุรักษ์ ดาวใจ ไพจิตร อุมาพร บัวพึ่ง และเจษฎา ธรรมวณิช





ภาพจาก library.nhrc.or.th



ข้อมูลจาก
komchadluek.net
คอลัมน์ "เป็นคุ้ง เป็นแคว" นสพ.คม ชัด ลึก ๒๘ พ.ค. ๒๕๕๘





บล็อกนี้อยู่ในหมวดแฟนคลับ




บีจีจากเวบ wallcoo กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii

Free TextEditor




 

Create Date : 31 พฤษภาคม 2558    
Last Update : 3 มิถุนายน 2558 23:59:33 น.
Counter : 5078 Pageviews.  

ชวนไปชมคอนเสิร์ตครูเพลงค่ะ




ภาพจาก บล็อกคุณ the fivedog








ใต้ร่มมลุลี
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน



ญ. โอ มลุลีร่มนี้มืดมน
ช้ำเหลือทน อับจนหัวใจ
ต้องพรากรักไป
ภายใต้ ร่มไม้ ของเจ้านี้

ช. ลืม รักที่หลั่งลงฝัง กับใจ
ฝังฝากให้ใต้ร่มมลุลี
จงลืมรักพี่
อย่ามี ฤดี อาลัยต่อกัน

ญ. ยากเย็นกรรมหรือเวรอันใด
นำชักให้ ดวงฤทัยโศกศัลย์

ช. พี่ตรม สุดภิรมย์รำพัน
บุญไม่เปรียบเทียบทันร้าวราน ฤทัย

ญ. โอ รักที่ผ่าน ดังฝันชั่วคืน
ครั้นพอตื่น กลับคืนหายไป

ช. โธ่อย่าร้องไห้
ปล่อยให้ ดวงใจ ร้าว ระทม

(พร้อม) ร่ม มลุลี เป็นที่สุดท้าย
แห่งจุดหมายน้องพี่
มลุลี เห็นใจน้องพี่
ว่าสิ้นคืนนี้ น้องพี่สิ้นกัน.






เดือนนี้จะมีคอนเสิร์ตของครูเพลง ๒ ท่านคือ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล และ ครูชลธี ธารทอง เคยอัพงานคอนเสิร์ตลงบล็อกเสพงานศิลป์ ๒o๕ไปหนนึงแล้ว หาข้อมูลมาอัพบอกข่าวอีกรอบ งานของครูแก้วมีสามงาน คอนเสิร์ตสองและงานเสวนาวิชาการอีกหนึ่ง ฟังเพลงของทั้งสองท่านมานานมาก แต่ไม่ค่อยรู้ประวัติหรือผลงานที่แต่งมีเพลงอะไรบ้าง พอค้นข้อมูลแล้วทั้งอึ้งและทึ่ง ทั้งสองท่านมีผลงานนับเป็นพันเพลง เพลงของครูแก้วที่เราชอบมาก ๆ อยู่ในหนังเก่าเรื่อง "จุฬาตรีคูณ" (และเพลงเพราะ ๆ อีกนับไม่ถ้วน) ส่วนครูชลธีก็เช่นกัน นักร้องลูกทุ่งหลายท่านมีชื่อเสียงโด่งดังเพราะร้องเพลงของครู ขออำภัยที่อัพบล็อกช้าไปหน่อย คอนเสิร์ตครูชลธีจะจัดเสาร์นี้แล้ว แต่คิดว่าน่าจะยังพอหาบัตรได้ บล็อกนี้ยาวได้ใจเหมียนเคย หาข้อมูลได้เยอะ พยายามตัดออกแต่ยังยาวอยู่ดี แฮะ แฮะ



สองบล็อกล่าสุดของคุณปอน

ชีวิตสั้นไปสำหรับคำว่า “สักวันหนึ่ง”
LONG LIVE LOVE



บล็อกเสพงานศิลป์ล่าสุด

เสพงานศิลป์ ๒o๗
เสพงานศิลป์ ๒o๘
เสพงานศิลป์ ๒o๙











ภาพจาก library.nhrc.or.th



ศิลป์สโมสร : ๑oo ปี ขุนพล อักษร ละคร เพลง "แก้ว อัจฉริยะกุล" (๖ พ.ค. ๕๘)





"โอ มลุลีร่มนี้มืดมน

ช้ำเหลือทน อับจนหัวใจ

ต้องพรากรักไป

ภายใต้ ร่มไม้ ของเจ้านี้....."



นี่คือบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเพลงหนึ่ง ครั้งหนึ่งเคย มีคำกล่าวกันว่า เพลงนี้เป็นบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ของวงดนตรี "สุนทราภรณ์" และก็เพราะความยิ่งใหญ่ของเพลงนี้นั่นเอง ที่วันนี้ต้องถือว่าเป็นบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ของประเทศของเราจริง ๆ





ภาพจาก sujitwongthes.com



"ใต้ร่มมลุลี" เป็นเพลงคู่ และเป็นเพลงประเภทร้องคู่ที่ยิ่งใหญ่ด้วย เนื่องจากเป็นเพลงที่วงดนตรี "สุนทราภรณ์" โดยผู้นำวงคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ศิลปินแห่งชาติและบุคคลสำคัญของโลก ได้บรรจงสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้เป็นเพลงประกอบละครเพลง เรื่อง "จุฬาตรีคูณ" บทประพันธ์ของ "พนมเทียน" โดยได้มอบหมายให้ ขุนพลอักษร ละคร เพลง นาม "แก้วฟ้า" เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องเป็นเรื่องราวและอารมณ์ความรู้สึกของคู่รัก ระหว่างเจ้าหญิงกับเจ้าชายคู่หนึ่ง ที่ต่างมีหัวใจรักให้กันมาตั้งแต่เด็ก แต่ปรากฏว่าฝ่ายหญิงได้ถูกกำหนดตัวให้เป็นเจ้าสาวของเจ้าชายอีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นพี่ชายของคู่รักเดิม รอเพียงเวลาที่เจ้าชายสองพี่น้องไปรบทัพจับศึกกลับคืนสู่นครเมื่อใดก็จะต้องเข้าสู่พิธีวิวาห์ ที่จะต้องพรากจากผู้เป็นคู่รักเดิมนั้นตลอดไป


"ลืม รักที่หลั่งลงฝัง กับใจ

ฝังฝากให้ใต้ร่มมลุลี

จงลืมรักพี่

อย่ามี ฤดี อาลัยต่อกัน..."





ครูแก้ว อัจฉริยะกุล



เมื่อฟังเพลงนี้แล้ว ผู้ฟังบางท่านอาจนึกว่าต้นมลุลีเป็นต้นไม้สูงใหญ่ตามเนื้อเพลง แต่แท้จริงแล้ว มลุลี เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีดอกสีขาวคล้ายมะลิ มีกลิ่นหอมตลอดทั้งวันทั้งคืน เลื้อยไปได้ไกลราว ๑-๒ เมตร เป็นไม้หอมดอกขาว เลี้ยงขึ้นซุ้ม แต่งเป็นพุ่ม จะปลูกตามแนวรั้วหรือกำแพงก็ได้ ด้วยความที่ทรงพุ่มค่อนข้างแน่น สามารถเอามาปลูกเรียงกันได้หลาย ๆ ต้น เว้นระยะห่างกันประมาณ ๑ เมตร ก็จะได้แนวรั้วต้นมลุลีที่แข็งแรงและงดงามได้ แต่จะต้องหมั่นตัดแต่งให้ได้รูปทรงอยู่เสมอ





ดอกมลุลี
ภาพจาก กระทู้พันทิป



จะปลูกขึ้นซุ้มเล็ก ๆ ยาวประมาณ ๒-๓ เมตร หรือสัก ๔-๕ เมตรก็ได้ ตัวซุ้มต้องทำโครงสร้างแข็งแรงหน่อย เพราะเถาของมะลุลีใหญ่ พุ่มแน่น น้ำหนักจะมากหน่อย แต่จะปลูกใส่กระถาง ตัดแต่งทรงพุ่ม ตั้งไว้ตามมุมสวน หรือประดับภายนอกอาคารก็ได้เช่นกัน บางทีในเนื้อเพลง "ใต้ร่มมลุลี" อาจหมายถึงใต้ซุ้มมลุลีก็เป็นได้


"ยากเย็นกรรมหรือเวรอันใด

นำชักให้ดวงฤทัยโศกศัลย์

พี่ตรม สุดภิรมย์รำพัน

บุญไม่เปรียบเทียบทันร้าวราน ฤทัย…"



เป็นเพลงหวานปนเศร้าที่ทั้งนักร้องอาชีพและนักร้องกิตติมศักดิ์นิยมนำมาร้องกันทั่วไป ทั้งเวทีเล็กและเวทีใหญ่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเวทีคาราโอเกะ ถ้าสามารถมีระบบเก็บสถิติเอาไว้ได้เหมือนในต่างประเทศ คาดว่าทายาทของผู้แต่งเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงนี้คงจะได้รับค่าลิขสิทธิ์จากเพลงนี้ไปแล้วเป็นจำนวนมหาศาล





ภาพจาก เฟซบุค



"ใต้ร่มมลุลี" นอกจากจะเป็นเพลงคู่ที่คู่รักหรือคู่ร้องทั้งหลายได้นำไปร้องคู่กันมากที่สุดทุก ๆ เวทีแล้วยังนับเป็นเพลงคู่ที่ถูกนำมาบันทึกเสียงมากที่สุดอีกด้วย เรียกว่าแทบจะจำกันไม่ได้แล้วว่าใครเคยร้องคู่ใครเอาไว้บ้าง แต่ไม่ว่าใครจะเคยร้องคู่ใครเอาไว้ก่อนหน้านี้ก็ตาม ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ จะมีนักร้องคู่เอกที่จะมาร้องเพลงนี้คู่กันให้คอเพลงทั้งหลายได้ชื่นใจกันบนเวทีคอนเสิร์ต ถ้าใครยอมพลาดชมคอนเสิร์ตนี้ รับรองได้เลยว่าจะต้องเสียใจและเสียดายไปอีกนานแสนนาน





ภาพจาก thaifilm.com



นักร้องคู่เอกคู่นี้ก็คือ คู่ขวัญศิลปินแห่งชาติ สุเทพ วงศ์กำแหง และ สวลี ผกาพันธุ์ ในคอนเสิร์ต ขุนพลอักษร ละคร เพลง เนื่องในโอกาส ๑oo ปีชาตกาล "แก้วฟ้า" รัตนศิลปิน "ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" ณ หอประชุม กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ ๖ วันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓o-๑๗.๓o น. จัดโดย สมาคมนักร้องแห่งประ เทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ ในเนื้อหา "จากหนัง ละคร ย้อนมาเป็นเพลง แก้ว อัจฉริยะกุล" วงดนตรี "กาญจนะผลิน" โดย จิรวุฒิ กาญจนะผลิน นำโดย สามศิลปินแห่งชาติ สุเทพ วงศ์กำแหง, สวลี ผกาพันธุ์, ชรินทร์ นันทนาคร ร่วมด้วย วินัย พันธุรักษ์, อุมาพร บัวพึ่ง, ชรัมภ์ เทพชัย, จิตติมา เจือใจ, ทิพวัลย์ ปิ่นภิบาล ฯลฯ




ภาพจาก tarad.com



บัตรราคา ๒,ooo, ๑,๕oo, ๑,ooo, ๗oo, ๕oo และ ๓oo บาท สำรองที่นั่งได้ที่ คุณวนิดา พานิชเจริญ โทร. o๘-๑๘๑๒-๑๑๖๕ คุณชัชชวลีย์ ฐิติวัลค์ โทร. o๘-๗๕๙๖-๗๕๘๙ และที่ ศาลาเฉลิมกรุง โทร. o-๒๒๒๕-๘๗๕๗-๘, o-๒๖๒๓-๘๑๔๘-๙ ม.ล.ปราลี ประสมทรัพย์ โทร. o๘-๑๘o๖-๑๔๕๖ และที่ ศาลาเฉลิมกรุง.


คอนเสิร์ต ขุนพลอักษร ละคร เพลง เนื่องในโอกาส ๑oo ปีชาตกาล "แก้วฟ้า" รัตนศิลปิน "ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ ๖ ยังมีอีกหนึ่งวันก่อนหน้านี้ คือในวันเสาร์ที่ ๒๓ พฤษภาคมนี้ จัดโดย สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ในเนื้อหา จากชีวิตสู่บทเพลง "แก้ว อัจฉริยะกุล" บรรเลงโดย วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และนักร้องวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ นำโดยศิลปินแห่งชาติ สุเทพ วงศ์กำแหง, วงจันทร์ ไพโรจน์, โฉมฉาย อรุณฉาน, นฤพนธ์ ดุริยะพันธ์, ศรีสุดา เริงใจ, อุไรวรรณ ทรงงาม และ สุชาติ ชวางกูร การขับร้องประสานเสียง วงสวนพลู อำนวยเพลงโดย ดุษฎี พนมยงค์ บุญทัศนกุล ศิลปินแห่งชาติ


ข้อมูลจาก ryt9.com
นสพ.ไทยโพสต์ ๕ เม.ย. ๒๕๕๘






ภาพจาก manager.co.th



คุณสาวดี เจริญวงษ์ นักจัดรายการเพลง "กล่อมกรุง" เขียนถึงครูแก้วไว้ในเวบ bangkok-today.com ว่า


ดิฉันจัดรายการกล่อมกรุงรายการเพลงเก่าทั้งลูกกรุงและ สุนทราภรณ์ ทางคลื่นเพื่อการอนุรักษ์ เอฟ.เอ็ม.​๑o๔.๗๕ วันจันทร์ถึงศุกร์ ทุกวันพุธจะเปิดเพลงสุนทราภรณ์ มีท่านผู้ฟังขอเพลงหลาย ๆเพลงสุดยอดเพลงที่ถูกขอเยอะสุดคือ “โอ้ยอดรัก” ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของครูแก้ว อัจฉริยะกุล และครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นเพลงเพราะ ๆ ในจังหวะรุมบ้า เสียงร้องของ คุณเพ็ญศรี พุ่มชูศรี


เกือบทุกครั้งที่ดิฉันมีโอกาสได้ขึ้นเวทีกับวงสุนทราภรณ์ ครูดำ พูนสุขสุริยะพงษ์รังษี จะขึ้นเพลงนี้ให้ร้อง ครูแก้ว ได้ชื่อว่าเป็นครูเพลงคู่ใจของครูเอื้อที่มีคำกล่าวว่า “ทำนองเอื้อ เนื้อแก้ว” ทั้งครูเอื้อและครูแก้วเสียชีวิตไปแล้วน่าจะไปร่วมกันแต่งเพลงต่อบนสวรรค์  ปีนี้เป็นปีครบ ๑oo ปี ครูแก้ว อัจฉริยะกุล พูดกันว่าน่าจะมีกิจกรรมดี ๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้น เมื่อปีที่ผ่านมาดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมงานเสวนา ๙๙ ปี ครูแก้ว อัจฉริยะกุล โดยมีกูรูด้านเพลงสุนทราภรณ์โดยเฉพาะผลงานของครูแก้วที่แต่งให้วงกรมโฆษณาการวงสุนทราภรณ์  และวงกรมประชาสัมพันธ์ โดยแต่ละท่านได้เล่าถึงความบันดาลใจ เบื้องหน้าเบื้องหลัง ความประทับใจ ความไพเราะ บทเพลงอมตะ ซึ่งเรื่องบทเพลงนี้มีหนังสือที่ อาจารย์ไพบูลย์ สำราญภูติ หรือคีตา พญาไท เขียนถึงครูแก้วพร้อมผลงานชื่อ “แก้วอัจฉริยะกุล อัจฉริยะคีตกวี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์"





 อ.ไพบูลย์ สำราญภูติ หรือ คีตา พญาไท
ภาพจาก กระทู้พันทิป



ในครั้งนั้น  อ.ไพบูลย์ สำราญภูติ กล่าวว่า ประทับใจและชื่นชอบผลงานที่เกิดจากความอัจฉริยะของครูแก้ว โดยเฉพาะในยุคแรกของวงสุนทราภรณ์ ผลงานท่านมีหลากหลายทั้งเพลงปลุกใจ เพลงเทิดทูนสถาบัน เพลงเกี่ยวกับคติธรรม เพลงเกี่ยวกับความรัก ความงามของหญิงสาว เพลงสังคีตสัมพันธ์ เพลงรำวง เพลงสนุกสนาน มากกว่า ๑,ooo เพลง วันนั้นมีเพลงของครูแก้ว มานำเสนอด้วยอย่างเพลง กรุงเทพฯราตรี, คิดถึง, ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง, สายลมเย็น, ยอดดวงใจ  คิดถึงฉันบ้าง, โอ้ยอดรัก, พรานทะล, รวงทิพย์, ดำเนินทราย  


วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘  จะครบ ๑oo ปี ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ปีนี้กรมประชาสัมพันธ์  วงกาญจนผลิน โดย คุณจิรวุฒิ กาญจนผลิน  และมูลนิธิสุนทราภรณ์ ร่วมกับ ทายาทครูแก้ว นำโดยร.ศ.นภาภรณ์ อัจฉริยะกุล จัดคอนเสิร์ตครูแก้ว ๓ ครั้งด้วยกันคือเดือนพฤษภาคม ๒ ครั้ง เดือนกันยายนอีก ๑ ครั้ง





ภาพจาก music.mahidol.ac.th



คุณประภาส ชลศรานนท์ เขียนถึงครูแก้วไว้ใน เฟซบุค ว่า


ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ครีเอทีฟรุ่นบุกเบิกของเมืองไทย สมัยก่อนเรายังไม่มีหนังดูกันเยอะ ๆ อย่างนี้ ละครทีวีก็ยังไม่มีให้ดู คนไทยทั้งประเทศติดละครกันงอมแงม โดยเฉพาะละครจากงานเขียนบทของครูแก้ว คนรุ่นพ่อรุ่นแม่จะรู้จักกันดีในชื่อ คณะแก้วฟ้า




ถ้าครูแก้วเกิดในสมัยนี้คงเป็นครีเอทีฟตัวพ่อ เขียนบท เขียนหนังสือ แต่งเพลง ฯลฯ แล้วเพลงแต่ละเพลงที่ครูแต่ง ต้องยกให้เป็นบทกวี ขอพบในฝัน, ใต้ร่มมลุลี, ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง, กรุงเทพราตรี, รวมไปถึงเพลงนางฟ้าจำแลง ที่นางสาวไทยใช้เป็นเพลงเดินโชว์ตัวมาหลายปี



ครูแก้ว แต่งเนื้อเพลงกว่า ๓,ooo เพลง เขียนบทละครวิทยุกว่า ๑oo เรื่อง มากกว่าครีเอทีฟสมัยนี้หลายสิบเท่า ครูแก้วเขียนเพลงร่วมกับนักแต่งทำนองหลายท่าน แต่ที่เยอะที่สุดคือ เขียนเนื้อกับทำนองจากครูเอื้อ สุนทรสนาน



เพลงนี้ก็เช่นกัน ครูแก้วเขียนเนื้อ ครูเอื้อเขียนทำนอง ลองอ่านดูความหมายดีมาก ๆ เรามักฟังผ่าน ๆ ในวันปีใหม่กับเสียงร้องสูง ๆ ของวงสุนทราภรณ์ เลยอาจละเลยบทกวีบทนี้ไป


สวัสดี ปีใหม่แล้ว ผองไทยจงแคล้วปวงภัย


ช่วยกันรับขวัญปีใหม่ เถลิงฤทัยไว้มั่น


สุขศรีปีใหม่หมาย สุขใจและกายรวมกัน


สำราญ สำเริง บันเทิงมั่น สุขสันต์ยิ้มกันไว้ก่อน

สิ่งที่ล่วงแล้วให้แล้วกันไป

อย่าได้ผูกใจอาวรณ์
จับมือกันไว้อวยชัย อวยพร

สุขสโมสรเริงรมย์
ความพลั้งพลาดล่วงเกิน

อย่าหมางเมินระทม
รวมน้ำใจให้เกลียวกลม จงถึงอารมณ์อภัย

แย้ม ยิ้ม ยินดี ปรีเปรมดิ์ สุขเกษมเปรมใจ

เรามาตั้งต้นชีวิตกันใหม่ เราผูกใจไว้ไมตรี

ประสานน้ำใจเราไม่ให้ระคาง ตั้งต้นทุกทางอย่างดี

มารักกันให้คงมั่นทวี ร่วมกันรับปีใหม่เทอญ





ภาพจาก youtube.com


คอนเสิร์ต "ขุนพลอักษร ละคร เพลง"
จัดแสดง ณ หอประชุม กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ ๖
วันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓o-๑๗.๓o น.
บัตรราคา ๒,ooo, ๑,๕oo, ๑,ooo, ๗oo, ๕oo และ ๓oo บาท
สำรองที่นั่งได้ที่ คุณวนิดา พานิชเจริญ โทร. o๘-๑๘๑๒-๑๑๖๕
คุณชัชชวลีย์ ฐิติวัลค์ โทร. o๘๗-๕๙๖-๗๕๘๙
และที่ ศาลาเฉลิมกรุง โทร. o-๒๒๒๕-๘๗๕๗-๘, o-๒๖๒๓-๘๑๔๘-๙


คอนเสิร์ต "รำลึก ๑oo ปี ชาตกาล ครูแก้ว อัจฉริยะกุล"
จัดแสดง ณ หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
วันที่ ๓o-๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๖.oo น.
บัตรราคา ๑,ooo, ๒,ooo และ ๓,ooo บาท
จำหน่ายบัตรที่ ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ thaiticketmajor.com โทร o๒-๒๖๒-๓๓๔๖
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
โทร o๒-๘oo-๒๕๒๕ ต่อ ๑๕๓, ๑๕๔



คลิกอ่านประวัติและผลงานของครูแก้วเพิ่มเติม

wikipedia.org
manager.co.th


















ภาพและข้อมูลจาก sac.or.th













ครูชลธี ธารทอง



ปีที่ผ่านมานับเป็นอีกปีทองของนักแต่งเพลง ครูชลธี ธารทอง ศิลปินแห่งชาติ แม้ว่าจะมีข่าวเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ รวมไปถึงปัญหาคดีลิขสิทธิ์เพลงคาราคาซังบ้าง แต่ก็เป็นช่วงที่ครูได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากเพลงได้อย่างเป็นระบบและ จากการที่นำเพลงไปให้ค่ายจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ดูแลและตัดการลิขสิทธิ์ 





ภาพจาก naiin.com

 
         
ครูชลธีประพันธ์เพลงดังมากมายที่เชื่อว่า คนฟังเพลงไทยต่างเคยได้ยินผ่านหู และหลายบทเพลงกลายเป็นเพลงอมตะในใจคนฟัง ซึ่งคนฟังเพลงลูกทุ่งจริง ๆ ต้องมีเพลงครูชลธีอยู่รายการเพลงชอบส่วนตัวมากว่าหนึ่งเพลงแน่นอน ลองไล่เรียงกันดูกับเพลงเหล่านี้ อาทิ


พอหรือยัง (ศรคีรี ศรีประจวบ)
ไอ้หนุ่มตังเก หนาวใจที่ชายแดน (ไพรวัลย์ ลูกเพชร)
อีสาวทรานซิสเตอร์ (อ้อยทิพย์ ปัญญาธร)
จดหมายจากแนวหน้า ล่องเรือหารัก (ยอดรัก สลักใจ)
ล้นเกล้าเผ่าไทย จำปาลืมต้น ไอ้หนุ่มรถไถ ปิดห้องร้องไห้ พบรักปากน้ำโพ คำสั่งเตรียมพร้อม ลูกสาวผู้การ กินอะไรถึงสวย นางฟ้ายังอาย ฯลฯ (สายัณห์ สัญญา)
เทพธิดาผ้าซิ่น จดหมายจากแม่ หนุ่มทุ่งกระโจมทอง เรียกพี่ได้ไหม ฯลฯ (เสรีย์ รุ่งสว่าง )
ทหารอากาศขาดรัก ไม่ตายจะกลับมาแต่ง (เสกศักดิ์ ภู่กันทอง)
หน้าอย่างเธอจะรักใครจริง (สดใส รุ่งโพธิ์ทอง )
วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน (สุริยัน ส่องแสง )
กินข้าวกับน้ำพริก (ผ่องศรี วรนุช)
เพชรบุรี จดหมายจากบ้านนอก (พุ่มพวง แสงจันทร์)
แฟนฉันไม่ต้องหล่อ (สุนารี ราชสีมา )
แรงงานข้าวเหนียว (จินตหรา พูนลาภ)
และเพลงสร้างสรรค์อย่าง องค์เดียวในโลก (ไชยา มิตรชัย) ฯลฯ


นี่คือตัวอย่างเพลงดัง จำนวนกว่า ๒,ooo เพลง ที่ครูประพันธ์ไว้ บางเพลงได้รับรางวัลเกียรติยศ มากมาย หลายเพลงนำมาบันทึกเสียงใหม่หลายครั้ง เข้ารหัส หลายเพลงเป็นเพลงแม่แบบในการประกวดร้องเพลงจนถงปัจจุบัน





ครูชลธี ธารทอง และ ยอดรัก สลักใจ
ภาพจาก saisampan.net

 
         
เมื่อ ๓o ปีที่ผ่านมา ที่อเมริกามีเพลง We are the world เพื่อระดมทุนช่วยเหลือเด็กในแอฟริกา ครูชลธี ก็ได้รับหน้าที่ให้แต่งเพลง “เมตตาธรรม” เพลงการกุศล สมทบกองทุนเพื่อเด็กไทย ที่เหล่านักร้องไทยมาร่วมขับร้องกัน เดือนนี้มีข่าวดีของครูคือ จะมีงานแถลงข่าว “๗๘ ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ชลธี ธารทอง“ ในวันอังคารที่ ๒๘ เมษายน ที่จะถึงนี้  เวลา ๑๔.oo น.ที่หอประชุมเล็กศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยตามข่าวที่แจ้งไว้ นักร้องศิลปินที่ตอบรับจะไปร่วมแถลงข่าวอาทิ สดใส รุ่งโพธิ์ทอง, ไชยา มิตรชัย, เปาวลี พรพิมล, จอมขวัญ กัลยา, หนูมิเตอร์, คริสตี้  กิ๊บสัน, ดำรง วงศ์ทอง, ดวงดี ศรีวิชัย, น้าโย่ง-น้านง-น้าพวง, จ่อย-ใบเฟิร์น ไมค์ทองคำ, วันชนะ เกิดดี,สัญญา  พรนารายณ์ เป็นต้น คิดว่า เมื่อทราบข่าวคงตามกันมาเป็นขบวนแน่นอน 





ภาพจาก thaipbs.or.th

 

ราว ๆ ๑๘ ปีที่ผ่านมาจำได้ว่า ค่ายเพลงในเครือของมีเดีย ออฟ มีเดียส์ เคยจัดงาน ๖o ปีทอง ชลธี ธารทอง และทำเพลงออกมาจำหน่าย จำได้ว่ามียอดรักกับเสรี ขับร้องเพลง พร้อม ๆ กับนักร้องเสียงดีในวงการ แต่คราวนี้น่าจะไม่มีการทำเพลงออกมาเพราะเรื่องสังกัดค่าย หรือลิขสิทธิ์น่าจะลงตัวได้ยากและต้นทุนสูงกว่าคราวที่แล้ว 
 
         
งานนี้น่าจะเป็นการฉลองวันเกิดครูไปในตัว บนเวทีคอนเสิร์ต ซึ่งปกติครูจะจัดแทบทุกปีที่กาญจนบุรี บ้านที่อาศัยในบั้นปลาย (ครูเกิดที่ชลบุรี) เมื่อปีที่แล้ว ครูชลธีก็จัดงานที่วัดแถว ๆ เมืองกาญจน์ มีก๊อท จักรพันธ์ เดินทางไปเปิดโชว์สวยงามบนเวทีด้วย งานนี้จะเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ของคนลูกทุ่งอีกครั้ง หลังจากห่างเหินเวทีใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมกันมานาน มิตรรักแฟนเพลงอดใจรอ หลังจากงานแถลงข่าวจะมาเรียนให้ทราบอีกครั้งครับ 


รายได้จากการจำหน่ายบัตรจะนำทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระราชกุศลสภากาชาดไทย ในฐานะองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย







ภาพจาก
thaiticketmajor.com



รายชื่อศิลปินเพลงลูกทุ่งที่มาร่วมขับขานบทเพลงของครูชลธี ธารทองในคอนเสิร์ตครั้งนี้


๑.  สุนารี ราชสีมา

๒. ศิรินทรา นิยากร

๓.  ฝน ธนสุนทร

๔.  หนู มิเตอร์

๕.  คริสตี้ กิ๊ปสัน

๖.  แมงปอ ชลธิชา

๗.  อ๊อด โฟร์เอส

๘.  ดำรงค์ วงศ์ทอง

๙.  จอมขวัญ กัลยา

๑๐. อัมพร แหวนเพชร

๑๑. มนต์สิทธิ์ คำสร้อย

๑๒. สัญญา พรนาราย

๑๓. ใบเฟิร์น ไมค์ทองคำ

๑๔. จ่อย ไมค์ทองคำ

๑๕. ตุ้ม จ่านกร้อง

๑๖. สดใส รุ่งโพธิ์ทอง

๑๗. อาภาพร นครสวรรค์

๑๘. โย่ง นง พวง จำอวดหน้าม่าน (รายการคุณพระช่วย)

๑๙. ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

๒๐. ขวัญจิต ศรีประจันต์

๒๑. อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์

๒๒. เพลิน พรหมแดน

๒๓. ผ่องศรี วรนุช
๒๔. ชัยชนะ บุณณโชติ

๒๕. ชินกร ไกรลาศ

๒๖. ดาวรุ่งชิงช้าสวรรค์

๒๗. เอิ้นขวัญ กัลยา
๒๘. อ๊อฟ ศุภณัฐ

๒๙. เปาวลี พรพิมล

๓๐. ตั๊กแตน ชลดา

๓๑. ต่าย อรทัย

๓๒. ไมค์ ภิรมย์พร

๓๓. เด่นชัย สายสุพรรณ์

๓๔. ศรเทพ ศรทอง

๓๕. ไชยา มิตรชัย

๓๖. กุ้ง สุทธิราช

๓๗. ศรเพชร ศรสุพรรณ

๓๘. เสรีย์ รุ่งสว่าง

๓๙. เอกชัย ศรีวิชัย

๔๐. ดวงดี ศรีวิชัย

๔๑. เจนภพ จบกระบวนวรรณ

๔๒. ฝ้าย ธนวรรณ

๔๓. แดน สี่ดาว

๔๔. กมลาสน์ เอียดศรีชาย

๔๕. ครูชลธี ธารทอง



คอนเสิร์ต : ๗๘ ปี ตำนานแห่งสายน้ำ  นายสมนึก ทองมา (ชลธี ธารทอง)

วันแสดง : วันเสาร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐-๑๘.๐๐ น

สถานที่ : หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

บัตรราคา : ๓,๐๐๐ และ ๒,๐๐๐ บาท (ชั้น ๑) / ๑,๐๐๐ บาท (ชั้น ๒) / ๕๐๐ บาท (ชั้น ๓)



ข้อมูลจาก thaiticketmajor.com




บล็อกนี้อยู่ในหมวดแฟนคลับ




บีจีจากเวบ wallcoo กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii

Free TextEditor




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2558    
Last Update : 16 พฤษภาคม 2558 22:27:32 น.
Counter : 4275 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

haiku
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.