กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
เมษายน 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
6 เมษายน 2564
space
space
space

ธรรมุทธัจจ์,วิปัสสนูปกิเลส





235 ธรรมุทธัจจ์    ความฟุ้งซ่านธรรม ๑๐


       วิปัสสนูปกิเลส    อุปกิเลสของวิปัสสนา ได้แก่  ธรรมารมณ์อันน่าชื่นชม ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา    ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว    เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ (บาลีเรียก ธรรมุทธัจจ์ ความฟุ้งซ่านธรรม) มี ๑๐ อย่าง  คือ     

      ๑. โอภาส    แสงสว่าง    ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน (โอภาส นี่หลงกันเยอะ)

      ๒. ปีติ    ความเอิบอิ่มใจ   รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว  (สภาวะของปีตินี่พิสดารมากๆ ดูต่างหากข้างท้าย)

      ๓. ญาณ     ญาณหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า  รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

      ๔. ปัสสัทธิ     ความสงบเย็น   เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท  เบา  นุ่มนวล   คล่องแคล่ว   แจ่มใสเหลือเกิน  ไม่มีความกระวนกระวาย  ความกระด้าง  หนัก   ความไม่สบาย   หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย 

      ๕. สุข    มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

      ๖. อธิโมกข์    เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา  ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน   

      ๗. ปัคคาหะ    ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา  ซึ่งพอเหมาะพอดี    เดินเรียบ   ไม่หย่อนไม่ตึง   

      ๘. อุปัฏฐาน    สติที่กำกับชัด   มั่นคง  ไม่สั่นไหว  จะนึกถึงอะไร  ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน   เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด
  
      ๙. อุเบกขา    ภาวะจิตที่ราบเรียบ   เที่ยง  เป็นกลางในสังขารทั้งปวง   

      ๑๐. นิกันติ      ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา  มีอาการ  สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด  แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส  


    ธรรมทั้งหมดนี้  (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม)  โดยตัวมันเอง  มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย  มิใช่เป็นอกุศล  แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน  จึงเกิดโทษ เนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเองว่าเป็นมรรคผลนิพพาน เป็นฌานขั้นนั้นขั้นนี้คิดฟุ้งซ่านไป 

   
235  วิปัสสนูปกิเลสนี้   ไม่เกิดขึ้นแก่ท่านที่บรรลุมรรคผลแล้ว  (เพราะพ้นไปแล้ว) ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ปฏิบัติผิดทาง  และไม่เกิดขึ้นแก่คนขี้เกียจผู้ทอดทิ้งกรรมฐาน   แต่เกิดขึ้นเฉพาะแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น  

     ในพระไตรปิฎก  เรียกอาการฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิด  เอาโอภาส เป็นต้น นั้นเป็นมรรคผลนิพพาน ว่า  "ธัมมุทธัจจะ"  (ธรรมุธัจจ์  ก็เขียน)  แต่ท่านระบุชื่อ โอภาส  เป็นต้นนั้น  ทีละอย่าง  โดยไม่มีชื่อเรียกรวม,   "วิปัสสนูปกิเลส"  เป็นคำที่ใช้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (พูดสั้นๆ ธัมมุธัจจ์ ก็ คือความฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิดต่อวิปัสสนูปกิเลส

     เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น   ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาน้อย  จะฟุ้งซ่านเขวไป   และเกิดกิเลสอื่นๆ ตามมาด้วย, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาปานกลาง  ก็ฟุ้งซ่านไป  แม้จะไม่เกิดกิเลสอื่นๆ   แต่จะสำคัญผิด,  ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้า   ถึงจะฟุ้งซ่านเขวไป แต่จะละความสำคัญผิดได้  และเจริญวิปัสสนาต่อไป, ส่วนผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้ามาก  จะฟุ้งไม่ซ่านเขวไปเลย  แต่จะเจริญวิปัสสนาก้าวต่อไป   

      วิธีปฏิบัติต่อเรื่องนี้ คือ เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว  พึงรู้เท่าทันด้วยปัญญาตามเป็นจริงว่า    สภาวะนี้  (เช่นว่า โอภาส เกิดขึ้นแล้วแก่เรา    มันเป็นของไม่เที่ยง  เกิดมีขึ้นตามเหตุปัจจัย   แล้วก็จะต้องดับสิ้นไป ฯลฯ เมื่อรู้เท่าทัน   ก็ไม่หวั่นไหว  ไม่ฟุ้งไปตามมัน    คือกำหนดได้ว่ามันไม่ใช่มรรคไม่ใช่ทาง   แต่วิปัสสนาที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้    ซึ่งดำเนินไปตามวิถีนั่นแหละเป็นมรรคเป็นทางที่ถูกต้อง   

      นี่คือเป็นญาณที่รู้แยกได้ว่ามรรค  และมิใช่มรรค   นับเป็นวิสุทธิข้อที่  ๕  คือ  มัคคามัคคญาณทัสสนาวิสุทธิ   

      วิปัสสนาตั้งแต่ญาณเริ่มแรก (คือนามรูปปริจเฉทญาณ) จนถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้  ท่านจัดเป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา)  ส่วนวิปัสสนาตั้งแต่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปแล้ว (จนถึงสังขารุเปกขาญาณจัดเป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง  ที่แรงกล้า หรืออย่างเข้ม   (พลววิปัสสนา) 


เมื่อปฏิบัติถูกทางแล้วธัมมุทธัจจ์เกิดแล้ว  ทางออกดังนี้

    ทางออกหรือวิธีปฏิบัติเมื่อจิตเขวเพราะธรรมุทธัจจ์    คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์    อธิบายความหมายว่า   เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์  ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดโดยไตรลักษณ์  เกิดมี โอภาส    ปีติ ญาณ ปัสสัทธิ  สุข อธิโมกข์  ปัคคาหะ อุปัฏฐาน อุเบกขา หรือ นิกันติ ขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาส เป็นต้น นั้น ว่าเป็นธรรม  (คือเข้าใจว่าเป็นมรรค ผล  หรือนิพพาน)  เพราะการนึกไปเช่นนั้น  ก็จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ผู้ปฏิบัติมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว    ก็จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง  ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่    โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง  โดยภาวะเป็นทุกข์   โดยภาวะเป็นอนัตตา   ดังนั้น   จึงเรียกว่า   มีจิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุทธัจจ์  

     แต่ครั้นมีเวลาเหมาะที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน    เด่นชัด   เป็นสมาธิ  มรรค    ก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้    วิธีปฏิบัติที่จะให้ จิตสงบเป็นสมาธิได้    ก็คือกำหนดด้วยปัญญา   รู้เท่าทันฐานะทั้ง  ๑๐   มีโอภาส   เป็นต้น  ซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้    เมื่อรู้เท่าทันแล้ว   ก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจ์    จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป   จิตก็จะไม่หวั่นไหว    จะบริสุทธิ์  ไม่หมองมัว   จิตภาวนาก็จะไม่คลาด   ไม่เสื่อมเสีย



๒. ปีติ  ดังนี้ 450

1. ขุททกาปีติ    มีลักษณะดังนี้
      1.1 เยือกเย็น ขนลุกตั้งชันไปทั้งตัว
      1.2 ร่างกาย มึน ตึง หนัก
      1.3 น้ำตาไหลพราก
      1.4 ปรากฏเป็นสีขาวต่างๆ

๒. ขณิกาปีติ   มีลักษณะดังนี้
      2.1 เป็นประกายดังฟ้าแลบ
      2.2 ร่างกายแข็ง หัวใจสั่น
      2.3 แสบร้อนตามเนื้อตามตัว
      2.4 คันยุบยิบ เหมือนแมลงไต่ตามตัว

๓. โอกกันติกาปีติ   มีลักษณะดังนี้
      3.1 ร่างกายไหวโยก โคลงแคลง บางครั้งสั่นระรัว
      3.2 สบัดหน้า สบัดมือ สบัดเท้า
      3.3 น้ำลายสอในปาก คลื่นไส้ อาเจียร
      3.4 มีอาการคล้ายๆละลอกคลื่นซัด
      3.5 ปรากฏมีสีม่องอ่อน สีเหลืองอ่อน

๔. อุเพงคาปีติ   มีลักษณะดังนี้
      4.1 มีอาการคล้ายๆกายสูงขึ้น ตัวเบา ตัวลอย
      4.2 คันยุบยิบ เหมือนมีตัวไร ตอมไต่ตามหน้าตา
      4.3 ท้องเสีย ลงท้อง
      4.4 สัปหงกไปข้างบ้าง ข้างหลังบ้าง
      4.5 หัวหมุนไปมา
      4.6 กัดฟันบ้าง อ้าปากบ้าง หุบปากบ้าง
      4.7 กายงุ้มไปข้างหลังบ้าง ข้างๆบ้าง
      4.8 กายกระตุก ยกแขน ยกขา
      4.9 ปรากฏสีไข่มุก สีนุ่น

๕. ผรณาปีติ   มีลักษณะดังนี้
      5.1 ร่างกายเยือกเย็นแผ่ซ่านไปทั้งตัว
      5.2 ซึมๆไม่อยากลืมตา ไม่อยากเคลื่อนไหว
      5.3 ปรากฏเป็นสีคราม สีเขียว สีบงกต


- ปีติก็ต้องละ ละด้วยการกำหนดรู้นั่นเอง   ซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง

สภาวะปีติ ตย. หลวงพ่อคูณ   450

https://www.youtube.com/watch?v=inBuvsU5jRk


235 ระหว่างชื่อ วิปัสสนูปกิเลส กับ ธัมมุทธัจจ์  ชอบชื่อ ธัมมุทธัจจ์  ความฟุ้งซ่านธรรม  มากกว่าชื่อวิปัสสนูปกิเลส เหตุผลก็คือว่าผู้ที่ปฏิบัติพอมีสมาธิได้ระดับนี้แล้วจะเห็น โอภาส  เอาแล้วๆ    2  ฟุ้งแล้ว  จิตใจมีศรัทธาต่อศาสนา   นึกถึงพระพุทธเจ้าจนน้ำตาร่วง  มีความสุข  อยากบอกคนนี้คนนั้น  อยากให้พ่อแม่ญาติพี่น้องมาปฏิบัติบ้าง   คิดไปทั่ว ฯลฯ   แต่ชื่อ วิปัสสนูปกิเลส  ก็ถูก เพราะการคิดฟุ้งซ่านไปเช่นนั้น  เป็นอุปกิเลสของวิปัสสนา  มัวแต่คิดฟุ้งจนลืมกรรมฐาน  หลุดจากกรรมฐานที่เป็นปัจจุบันอารมณ์ไปสะ 


> ถามท่านผู้รู้เจริญสติ เห็นแสงวูบวาบคือแสงอะไรครับ

https://pantip.com/topic/34293754/comment5


 




 

Create Date : 06 เมษายน 2564
0 comments
Last Update : 14 มีนาคม 2567 19:12:22 น.
Counter : 897 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space