happy memories
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2567
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
29 พฤษภาคม 2567
 
All Blogs
 
ภาคสอง เรื่องเล็ก ๆ ในรัชสมัยอันยิ่งใหญ่ (๓)


หนังสือ “ท่ามกลางประชาชน : เรื่องเล็ก ๆ ในรัชสมัยอันยิ่งใหญ่”
โดย วินทร์ เลียววารินทร์
พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก ก.พ. ๒๕๖๐
ISBN 978-616-7455-58-7
ปกอ่อน ราคา ๒๒๕ บาท






แต่ละปี ผมใช้เวลามากหรือน้อยแล้วแต่ความยาก ทำงานรูปรัชกาลที่ ๙
สำหรับวันที่ ๑๓ ตุลาคม และ ๕ ธันวาคม
เป็นช่วงเวลาส่วนตัวที่จดจ่อทำงานที่อยากทำ เต็มใจทำ
รูปล่าสุดนี้ประกอบด้วยรูปที่สเก็ตช์มาก่อนตอนทำเล่ม ท่ามกลางประชาชน กับรูปถ่ายที่เช่ามา ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกประกอบภาพ ใช้เวลานานเหมือนกัน
งานเหล่านี้ไม่ถือลิขสิทธิ์ใด ๆ สามารถนำไปใช้ได้เลย



A Tribute To King Of Jazz by John di Martino







ไม่มีทางสายใดที่ทรงไปไม่ถึง
ไม่มีทุกข์ราษฎร์ใดที่ไม่ทรงดูแล
ไม่มีมุมใดที่ไม่ฝ่าไปทรงงาน
ไม่มีหยดน้ำตาใดที่ไม่ทรงไปซับแห้ง
นี่จึงเป็นแผ่นดินสีทอง
แผ่นดินของเรา ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖

วินทร์​ เลียววาริณ

๕ ธันวามหารำลึก
วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร
วันชาติ วันพ่อแห่งชาติ วันดินโลก World Soil Day
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้


ข้าพระพุททธเจ้า บล็อกเกอร์ไฮกุและครอบครัว





ช่วงวันพ่อปีที่แล้วอัพบล็อกหมวดนี้เป็นครั้งแรก คิดว่าจะอัพรวดเดียวจนหมดเล่มแต่ไม่สำเร็จ สลับไปอัพเรื่องอื่นจนลืม กลับมาอัพหนังสือต่อ แต่ยังไม่หมดเล่ม เหลือภาคสุดท้ายที่ คุณวินทร์ เขียนถวายอาลัย ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เลยขอเก็บไว้ก่อน ให้ถึงเดือนตุลาคมแล้วจะกลับมาอัพอีกที เกริ่นเสร็จก็ต่อด้วยความเดิมที่พูดถึงที่มาที่ไปของบล็อกค่ะ

วันสำคัญของประเทศเวียนกลับมาอีกครั้ง เลือกหนังสือของ คุณวินทร์ เลียววาริณ มาอัพบล็อกฉลองวันพ่อ หนังสือชื่อ “ท่ามกลางประชาชน : เรื่องเล็ก ๆ ในรัชสมัยอันยิ่งใหญ่” เคยอัญเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์บางองค์จากหนังสือมาอัพบล็อกไปหนนึงแล้ว ที่บล็อก นิทรรศการ “คิดถึงเหลือเกิน” อย่างที่เคยบอกว่าประทับใจหนังสือนี้มาก ๆ ตั้งใจว่าจะอัพลงบล็อกทั้งเล่ม เลยตั้งบล็อกหมวดใหม่ หลังไมค์ไปขออนุญาตคุณวินทร์และได้รับอนุญาตแล้ว ต้องขอบพระคุณมากนะคะ

คุณวินทร์แปะลิงค์ให้เข้าไปโหลดเนื้อหามาอ่านทั้งเล่มได้ แต่โหลดยังไงก็ไม่ได้ เลยต้องใช้วิธีสแกนรูปในหนังสือ ส่วนเนื้อเรื่อง เราอยากพิมพ์เองมากกว่า รู้สึกเหมือนได้ค่อย ๆ เสพความงดงามของภาษาของคุณวินทร์ ต้องขอบคุณคุณวินทร์มากนะคะที่ทำให้ซาบซึ้งประทับใจในพระมหากรุณาธิคุณของ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ตลอดเวลาที่อ่านถ้อยคำที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดีสูงสุด


คลิกอ่านบทก่อนหน้านี้

บทเริ่มต้น
ภาคหนึ่ง รัชสมัยอันยิ่งใหญ่ (๑)
ภาคหนึ่ง รัชสมัยอันยิ่งใหญ่ (๒)
ภาคหนึ่ง รัชสมัยอันยิ่งใหญ่ (๓)
ภาคสอง เรื่องเล็ก ๆ ในรัชสมัยอันยิ่งใหญ่ (๑)
ภาคสอง เรื่องเล็ก ๆ ในรัชสมัยอันยิ่งใหญ่ (๒)











“เงาของประเทศ” (Silhouette of a Country) ๒๕๕๙
จัดแสดงในนิทรรศการ ‘อัครศิลปินเหนือเกล้า’ โดยกระทรวงวัฒนธรรม
เทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ผู้ทรงพระอัจฉริยภาพทางศิลปะ
ณ หอศิลป์ราชดำเนิน ๑๔ ธ.ค. ๒๕๕๙ - ๒๗ ม.ค. ๒๕๖๐










“ความสุขของข้าพเจ้าจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองเรามีความเจริญมั่นคงเป็นปกติสุข”

พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒









ทายา


เขารู้สึกเจ็บปวดวูบที่มือ ก้มลงมอง พบว่าเขาถูกตัวตุ่นกัด

เขาถูรอยกัดนั้นเบา ๆ ความเจ็บปวดก็ยังแผ่ซ่านอยู่ แต่สีหน้าของเขาไม่แสดงความรู้สึกใด ๆ เขาไม่ต้องการรบกวนการทรงงานของพระองค์

ทรงมาหาสถานที่ก่อสร้างฝายทดน้ำ ตลอดทางเขาช่วยถือแผนที่ให้พระองค์

ครั้งงานเสร็จ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปที่รถยนต์ซึ่งทรงขับมาด้วยพระองค์เอง ทรงค้นหาอะไรบางอย่าง ครู่หนึ่งก็กลับมาหาเขา พร้อมบางสิ่งในพระหัตถ์

ตรัสว่า “ยื่นมือมาสิ จะทายาให้”

เขาเพิ่งเห็นว่าทรงถือยาหลอดยาหลอดหนึ่งอยู่

เขายืนนิ่งไม่เชื่อตา ไม่คิดว่าทรงสังเกตเห็น

“ตัวคุ่นกัด ถ้าแพ้จะบวม...”

ทรงทายให้แล้วตรัสว่า

“ทายานี้แล้วเดี๋ยวก็ค่อยยังชั่ว”

เขานึกในใจ หายเจ็บตั้งแต่ยื่นมือออกไปแล้ว



ปราโมทย์ ไม้กลัด ราษฎรในรัชกาลที่ ๙










“คนในแบงค์”


เสียงโทรศัพท์ดังขึ้น หล่อนยกหูโทรศัพท์ขณะเหลือบดูนาฬิกาข้อมือ เช้าขนาดนี้ยังมีคนโทรศัพท์มา

หล่อนเป็นนางพยาบาลที่ศิริราช ถวายรายงานพยาบาลทูลกระหม่อมฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ

เสียงปลายสายดังขึ้นว่า “ขอสายเจ้าฟ้าหญิง”

หล่อนถาม “ขอประทานโทษ ใครจะเรียนสายด้วยคะ?”

“บอกว่าคนในแบงค์โทร.มา”

“แบงค์ไหนคะ?”

คิดในใจว่าพนักงานธนาคารนี้ทำงานแต่เช้า

หล่อนส่งสายต่อ วูบหนึ่งก็สะดุ้งแล้วอมยิ้ม

“แบงก็” หมายถึงธนบัตร

และคนผู้เดียวที่อยู่ในธนบัตรก็คือ ในหลวง



นางพยาบาล ราษฎรในรัชกาลที่ ๙










น้ำฝนในถังเก่า


นางอายุเก้าสิบ ชาวบ้านตำบลสารจิต อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ชาวบ้านเรียกนางว่า คุณย่าทวดเล็ก

คุณย่าทวดเล็กเตรียมถังใส่น้ำฝนลอยดอกมะลิ ให้เจ้าหน้าที่และข้าราชบริพารซึ่งติดตามขบวนเสด็จฯ ดื่ม

ถังน้ำใบเก่า มะลิเพิ่งเด็ดใหม่

นางเห็นพระองค์เสด็จฯ มาหา ตรัสว่า “ฉันขอดื่มน้ำในถังสักแก้วได้ไหม?”

คุณย่าทวดเล็กทูลตอบว่า “ฉันไม่กลัาให้ในหลวงกินหรอก เพราะมันเป็นน้ำฝน เป็นน้ำธรรมดาด้วย”

ทรงแย้มพระสรวล ตรัสว่า

“ปกติฉันก็กินน้ำธรรมดาอย่างนี้นี่แหละ...”

ทรงตักน้ำฝนในถังเก่าเสวย

“น้ำฝนเย็นสดชื่นดี และยังหอมกลิ่นดอกมะลิอีกด้วย”



คุณย่าเล็ก เปล่งเสียง ราษฎรในรัชกาลที่ ๙










“อย่าลืมซ่อมรั้วให้เขานะ”


ทางไปสู่จุดหมายเป็นเกวียนดัดป่าละเมาะ ขรุขระไม่ราบเรียบ ปลายทางเป็นดินแดนทุรกันดาร

เขาตามเสด็จฯ มาพร้อมข้าราชการหลายคน กลางดึกทรงขับรถจี๊ปด้วยพระองค์เองไปยังลำพะยัง ตามโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำให้ชาวบ้าน

เขาตามเสด็จฯ เดินตามคันนาในความมืด มีเพียงแสงไฟฉายของคนำททางสาดไปมาเท่านั้น

ถึงจุดจุดหนึ่ง ปรากฏว่ามีรั้วลวดหนามขวางอยู่

พวกเขาจะตัดลวดหนาม แต่พระองค์ทรงห้ามไว้ ให้เจ้าหน้าที่ถ่างลวดหนามออก แล้วทรงมุดรั้วลวดหนามไป

ในห้วงลึกที่สุดของจินตนาการ เขาไม่เคยฝันว่าจะเห็นภาพนี้ ทำไมพระเจ้าแผ่นดินพรองค์นี้จึงต้องทรงมุดรั้วลวดหนามกลางท้องทุ่งรกร้าง เพื่อหาน้ำให้ราษฎร

เขารู้สึกเหมือนน้ำตารื้น


ทางไปสู่จุดหมายเป็นทางเกวียนตัดป่าละเมาะ ขรุขระไม่ราบเรียบ ปลายทางเป็นดินแดนทุรกันดาร เขาติดตามไปเงียบ ๆ

แล้วพระองค์ก็ททรงหันกลับมา ตรัสกับเขาว่า “อธิบดีอย่าลืมซ่อมรั้วให้เขานะ”

คราวนี้น้ำตาไหลออกมาจริง ๆ



อธิบดีกรมชลประทาน ราษฎรในรัชกาลที่ ๙










เข็นรถ


เขาเห็นรถคันนั้นติดหล่มมาสักพักหนึ่งแล้ว...

พื้นที่บ้านเขาเต่า อำเภอหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ยังเป็นแผ่นดินทุรกันดาร หนทางเป็นขี้เลน

เขาเรียนชั้น ป. ๔ โรงเรียนบ้านเขาเต่า ยามเที่ยงวันกำลังเล่นกับเพื่อนสองคน สายตาเหลือบไปเห็นรถคันหนึ่งติดหล่ม มันเป็นจี๊ปสีเขียวหลังคาผ้าเต็นท์

เขาไม่เคยเห็นรถแบบนี้ ชาวบ้านแถวนี้ไม่มีรถใช้

ชายคนขับพยายามเข็นรถขึ้นจากหล่มคนเดียว แต่ไม่สำเร็จ เขาและเพื่อนมองตากันแล้วตัดสินใจวิ่งเข้าไปช่วยเข็น แต่ไม่ว่าเข็นอย่างไร ล้อรถจี๊ปก็ยังจมในโคลนเลน

ชายคนขับเขียนข้อความบนกระดาษแผ่นหนึ่ง บอกให้เขากับเพื่อนไปตามคนมาช่วยเหลือ

พวกเขานำกระดาษไปให้ครู ไม่นานก็มีคนมาช่วยเข็นรถคันนั้นขึ้นจากหล่มสำเร็จ

ชายแปลกหน้าเอ่ยขอบใจคนทั้งหมดที่มาช่วย แล้วจากไป

ใครคนหนึ่งบอกว่าหน้าตาชายคนนี้เหมือนกับคนในธนบัตร



พนม ช่อจันทร์ ราษฎรในรัชกาลที่ ๙










แสงไฟที่หน้าบ้าน


ตำรวจสั่งให้หล่อนั่งลงเฝ้ารับเสด็จฯ เพราะหล่อนเป็นคนเดียวที่ยืน ณ ที่นั่น หล่อนบอกตำรวจว่าหล่อนนั่งไม่ได้

หล่อนเป็นโรคโปลิโอตั้งแต่สามขวบ เริ่มที่ขาข้างซ้าย ปีถัดมาขาข้างขวาก็แสดงอาการ ตอนนี้หล่อนเป็นโรคนี้มาสี่สิบปีแล้ว

ตำรวจอนุโลมให้หล่อนยืนรับเสด็จฯ หน้าบ้านของหล่อนเอง หน้าบ้านตั้งโต๊ะหมู่บูชาที่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ หากไม่เห็นไม้เท้าทั้งสอง หล่อนก็ดูเหมือนคนปกติ แต่หล่อนรู้ว่ายืนนานเกินไปไม่ได้

ชาวบ้านร้านถิ่นพากันมารอที่สองข้างทางเข้าวัด มีข่าวว่าพระองค์จะเสด็จฯ ไปที่วัดโพธิ์แมน ถนนสาธุประดิษฐ์

รถพระที่นั่งมาถึงในตอนเย็น ไม่มีรถนำทางและไม่มีรถติดตาม ชาวบ้านถวายความเคารพ หล่อนใช้ไม้เท้ายันรักแร้ทั้งสองข้าง มือยกขึ้นพนม

แล้วทั้งซอยก็กลับสู่ความเงียบเหมือนปกติ หลายชั่วโมงผ่านไป ไม่มีวี่แววว่าพระองค์จะเสด็จฯ ออกจากวัด


ค่ำแล้ว ฟ้ามืดลงเรื่อย ๆ ทั้งซอยไม่มีแสงไฟส่องถนน มีเพียงแสงไฟจากหน้าบ้านของหล่อน ก่อนสองทุ่มก็ไม่เหลือใครอยู่เฝ้ารับเสด็จฯ อีก ทุกคนกลับบ้านหมดแล้ว

ทว่า ใต้แสงไฟหน้าบ้าน ยังมีตำรวจเฝ้าอยู่ หล่อนก็รออยู่ด้วยกับไม้เท้าและความปวดเมื่อยที่แผ่ซ่านขึ้นมาเพราะยืนนาน

แล้วหล่อนก็เห็นแสงไฟหน้ารถยนต์ที่กำลังแล่นมาจากวัด หล่อนพนมมือ รถยนต์พระที่นั่งแล่นมาอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อรถแล่นมาใกล้หล่อนก็ชะลอความเร็วลงตรงหน้าบ้าน ไฟในรถพลันเปิดสว่าง แลเห็นพระองค์เพียงผู้เดียวภายในรถ

นาทีนั้นพระองค์แย้มพระสรวลให้หล่อน

แล้วรถพระที่นั่งก็แล่นไป

รถจากไปแล้ว

จากไปพร้อมกับความปวดเมื่อยของขาทั้งสองเหมือนปลิดทิ้ง



ผุดศรี สูญสิ้นภัย ราษฎรในรัชกาลที่ ๙










ยิ้มสู้


เขาชอบเพลงนี้ ไม่รู้ว่าใครแต่ง ครูบอกว่าเป็นเพลงที่มีคนแต่งให้พวกเขาฟังโดยเฉพาะ

โลกจะสุขสบายนั้นเป็นได้หลายทาง
ต้องหลบสิ่งกีดขวางหนทางให้พ้นไป
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
สุขและทุกข์อย่างไรเพราะใจตนเอง

ครูบอกว่าผู้แต่งเพลงคือคนที่เขารู้จักนั่นแหละ คนที่มาเล่นกับพวกเขาเสมอ ๆ เขาไม่รู้ว่าคนคนนี้หน้าตาเป็นอย่างไร บอกแต่ว่า ชื่อ ‘พล’

หลายครั้งครูพลมาสอนดนตรีให้พวกเขา เขาเพิ่งรู้ว่าครูพลเป่าแซกโซโฟนได้อย่างเชี่ยวชาญ

และเขาก็ชอบเพลงที่ครูพลแต่ง มันเข้ากับชีวิตของเขา

ฝ่าลู่ทางชีวิตต้องคิดเฝ้าย้อมใจ
โลกมืดมนเพียงใดหัวใจอย่าคร้ามเกรง
ตั้งหน้าชื่นเอาไว้ย้อมใจด้วยเพลง
ไยนึกกลัวหวาดเกรงยิ้มสู้


เขาไม่เคยไปงานเลี้ยงที่คนชื่อพลจัดให้พวกเขา เลี้ยงครูและนักเรียนทั้งโรงเรียน แล้วยังเป่าแซกโซโฟนให้ฟังด้วย ครูพลใจดีกับพวกเขามาก

คนเป็นคนจะจนหรือมี
ร้ายหรือดีคงมีหวังอยู่
ยามปวงมารมาพาลลบหลู่
ยิ้มละมัยใจสู้หมู่มวลเภทภัย


เขารู้สึกเหมือนว่าคนแต่งรู้จักเขาดี เพราะเนื้อเพลงพูดถึงภายในหัวใจของเขา

ใฝ่กระทำความดีให้มีจิตโสภา
สร้างแต่ความเมตตาหาความสุขสันต์ไป
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
เฝ้าแต่ยิ้มสู้ไปแล้วใจชื่นบาน


ครูบอกว่าเพลงนี้ชื่อ ยิ้มสู้ แต่งเพื่อพวกเขา
มิน่าเล่า เขารู้สึกเหมือนว่าคนแต่งรู้จักพวกเขาดี

ใช่ เขาจะยิ้มสู้


หมายเหตุ : นายรัชตะ มงคล อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดให้สัมภาษณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ ไปที่โรงเรียนบ่อย ๆ เพื่อเยี่ยมเยียนนักเรียนผู้พิการทางสายตา โปรดที่จะเล่นกับเด็ก ๆ โดยทรงส่งสัญญาณให้อาจารย์สายตาปกติไม่ให้บอกว่าพระองค์คือใคร และทรงใช้พระนามย่อว่า ‘พล’


นักเรียนตาบอด ราษฎรในรัชกาลที่ ๙










แคชเชียร์


ร้านโกลเด้น เพลซ หน้าพระราชวังไกลกังวลตอนดึกคืนนั้นไม่มีลูกค้าเพราะกำลังจะปิด ลูกค้าคนหนึ่งเห็นว่าร้านกำลังจะปิด ก็รีบวิ่งไปหยิบสินค้าที่ต้องการ แล้วเดินดุ่ม ๆ ไปที่เคาน์เตอร์ ควักเงินยื่นให้แคชเชียร์ซึ่งทำงานเงียบ ๆ

วูบหนึ่งเขาเงยหน้าขึ้นมองแคชเชียร์ ทันใดนั้นก็สะดุ้งสุดตัว

แคชเชียร์คนนั้นก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙!

เขาร้องด้วยความตกใจ

“อ้าว! ท่าน...มาทำอะไรที่นี่...”

‘แคชเชียร์’ แย้มพระสรวล ตรัสว่า “ก็นี่ร้านเรา เรามาขายไม่ได้รึ?”



ลูกค้า ราษฎรในรัชกาลที่ ๙


เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นราวปี ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนึกสนุก ทรงอยากลองขายของในร้าน ซึ่งเป็นร้านในโครงการพระราชดำริ แต่ก็ทรงเกรงว่าคนจะแตกตื่น จึงทรงไปรับหน้าที่แคชเชียร์ก่อนร้านปิดไม่นาน









บนขั้นบันไดชีวิตขั้นหนึ่ง


เขาไม่เคยคากฝันว่าในชีวิตจะเดินทางมาถึงจุดนี้ ในสถานที่แห่งนี้ ต่อหน้าพระพักตร์เช่นนี้

แต่ชีวิตมีเรื่องไม่คาดฝันเสมอสำหรับคนทำงานหนักและตั้งใจเรียน

ในครอบครัวที่มีเพียงแม่และลูกสองคน รายได้ของแม่จากการทำงานเย็บผ้าไม่มาก เขากลายเป็นหัวหน้าครอบครัวไปโดยปริยาย ทำงานตอนกลางวัน เรียนคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในตอนกลางคืน

ผ่านการทำงานและเรียนหนักจนจบ เขาก็ก้าวขึ้นบันไดอีกขั้นหนึ่ง

เขามองว่าบันไดขั้นที่เหลือในชีวิตคือการทำงาน ทำงาน ทำงาน เลี้ยงตัวเองและครอบครัว เขาเป็นเพียงฟันเฟืองชิ้นเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่ง ไม่สำคัญกว่าฟันเฟืองอื่น ๆ ทั้งหลาย

วันหนึ่งเพื่อนเขาบอกว่ามีประกาศสอบชิงทุนชื่อที่เขาไม่คุ้นหู ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เขาอยากเรียนต่อ ทว่า ด้วยรายได้และฐานะที่บ้าน มันเป็นเพียงความฝันอันเลื่อนลอย แต่หากสอบได้ทุนหลวงก็จะเป็นโอกาสเปิดประตูสู่โลกใหม่

เขาเป็นหนึ่งในนักศึกษาเพียงสามคนที่สอบเข้าไปถึงรอบสัมภาษณ์ กระนั้น เขายังไม่แน่ใจว่าจะก้าวถึงบันไดขั้นนั้น

หลายเดือนผ่านไป ข่าวดีก็เดินทางมาถึง เขาดีใจ แต่ในส่วนลึกเขามองเห็นปัญหา และลังเลว่าจะไปเรียนต่อในต่างแดนหรือไม่ เพราะหากเขาไปเรียนต่อด แม่และน้องจะลำบาก

แต่ชีวิตมีเรื่องที่คาดไม่ถึงเสมอสำหรับคนทำงานหนักและตั้งใจเรียน บริษัทที่เขาทำงานถือเป็นเกียรติที่พนักงานคนหนึ่งได้รับทุนของในหลวง จึงอุปถัมภ์ครอบครัวของเขาระหว่างที่ไปศึกษาต่อ การเดินทางไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกามิใช่ความฝันอันเลื่อนลอยอีกต่อไป

มันเป็นโอกาสเปลี่ยนชีวิตของฟันเฟืองชิ้นหนึ่ง


เขาไมเคยคาดคิดว่ามาถึงจุดนี้ บนขั้นบันไดชีวิตขั้นนี้

ก่อนไปเรียนที่ต่างประเทศ นักศึกษาผู้ได้รับทุนอานันทมหิดลทุกคนต้องเข้าเฝ้าในหลวงเพื่อรับพระโอวาท

เขาปรากฏตัวในห้องนี้ ต่อหน้าพระพักตร์ เพื่อกราบทูลลาไปศึกษา

ทุกอย่างดำเนินไปเหมือนความฝัน ทั้งเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในห้องนี้ และชีวิต

ทรงพระกรุณาให้เขานั่งบนเก้าอี้อย่างไม่ถือพระองค์ ตรัสสอนว่าจงไปศึกษาให้กว้าง ๆ จะได้มองเห็นภาพรวมในการแก้ปัญหาของสังคมและประเทศ

ทรงอำนวยพร ขอให้ไปศึกษาให้ดี

ไม่ทรงผูกมัดให้นักศึกษาที่เรียนจบต้องกลับมาใช้ทุนหรือเข้ารับราชการ แต่ควรนำความรู้ที่เรียนมาทำงานเพื่อประเทศชาติ

นี่คือความพิเศษของทุน

พิเศษคือการต่อยอดหาความรู้ใหม่ ๆ พิเศษคือการแสดงให้ชาวโลกเห็นความสามารถของคนไทย พิเศษคือการนำความรู้นั้นมาแทนคุณแผ่นดิน


เขาร่ำเรียนจนจบ และหวนกลับแผ่นดินเกิด

รู้แล้วว่าชีวิตที่เหลือไม่ใช่เพียงทำงานเพื่อตัวเอง แต่เพื่อประเทศชาติ คนทที่รู้มากกว่าต้องช่วยคนที่รู้น้อยกว่า คนพิเศษต้องช่วยคนด้อยโอกาส

ถึงจะเป็นเพียงฟันเฟืองชิ้นเล็กที่สุด ก็มีหน้าที่ต่อแผ่นดิน



อมริทธิ์ หะริณธนาวุฒิ ราษฎรในรัชกาลที่ ๙










ดอกไม้แห่งหัวใจ


นางอายุ ๑๐๒ ปีแล้ว นั่งรอรับเสด็จฯ ตั้งแต่เช้าบนเส้นทางสามแยกชยางกูร-เรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มือของนางถือดอกบัวสายสีชมพูสามดอก ตั้งใจนำขึ้นจบบูชาพระเจ้าแผ่นดิน

เป็นครั้งแรกที่พระองค์เสด็จฯ มาเยือนอีสาน และเป็นครั้งแรกที่นางอาจได้พบพระเจ้าอยู่หัว

ตั้งแต่เช้าจนบ่าย แสงแดแผดเปรี้ยงเปลี่ยนดอกบัวสดเป็นดอกบัวเหี่ยว แต่หัวใจนางยังเปล่งปลั่งแช่มชื่น

ดอกไม้แห่งหัวใจไม่มีวันโรยรา

ในที่สุดพระองค์ก็เสด็จฯ มาถึง ทรงหยุดอยู่เบื้องหน้า นางยกดอกบัวสายสามดอกนั้นขึ้นเหนือศีรษะ กราบเจ้าชีวิต

ทรงโน้มองค์ลงมาจนใกล้ชิด พระพักตร์อ่อนโยน พระหัตถ์สัมผัสมือกร้านของนาง แย้มพระสรวล ตรัสกับนางแผ่วเบา

หยาดน้ำตากซึมดวงตา

ดอกไม้แห่งหัวใจไม่มีวันโรยรา



คุณยายตุ้ม จันทนิตย์ ราษฎรในรัชกาลที่ ๙










วันเข้ากรุง


-๑-


เมืองนี้มีรถมากจริง เพิ่งเห็นรถติดเป็นครั้งแรกในชีวิต แกคิดขณะยืนรอรถที่ป้ายจอดรถประจำทาง... ไม่นึกว่าจะมีรถมากขนาดนี้ ติดมาตั้งแต่เช้าตรู่

แกอายุหกสิบสาม มาเมืองหลวงเป็นครั้งแรกในชีวิต ตื่นแต่เช้าตรู่และแต่งตัวรอ ลูกสัพยอกว่า “พ่อตื่นเต้นหรือ?”

ครั้งแรกของทุกอย่างก็ต้องตื่นเต้นไม่ใช่หรือ?

ตื่นเต้นตั้งแต่เตรียมกระเป๋าเดินทาง ยืมชุดสูท ซื้อรองเท้าคู่ใหม่ จัดของอยุ่หลายวันก่อนเดินทาง

ทิ้งงานที่บ้าน ปิดร้าน นั่งรถไฟชั้นสามมายี่สิบชั่วโมง

ถึงกรุงเทพฯ​ แล้ว ลูกมารับ พาพ่อไปทที่ห้องพัก เพื่อนร่วมห้องของลูกกลับไปต่างจังหวัด จึงมีเตียงให้แกนอน


-๒-


ลูกชายพาพื่อขึ้นรถประจำทาง คนแน่นรถ แกสังเกตว่าหลายคนมองลูกด้วยความแปลกใจ แต่บางคนก็ยิ้ม ไม่ใช่ทุกวันที่พวกเขาเห็นคนสวมชุดครุยขึ้นรถประจำทาง แกหวังเพียงว่าชุดครุยจะไม่ยับเพราะเบียดเสียดกัน

ระยะทางจากที่พักไปมหาวิทยาลัยห่างกันแค่สองป้าย แกบอกว่า “แค่นี้เดินไปก็ได้” แต่ลูกบอกว่า “ขาพ่อไม่ดี ขึ้นรถเมล์ดีกว่า”

ลูกเข้ากรุงเมื่อห้าปีก่อนเพื่อมาเรียนต่อ เกือบจะต้องสละสิทธิ์แล้วหากมิใช่เพราะได้รับทุนการศึกษา อาศัยข้าวก้นบาตรต่อชีวิต จนเทอมสุดท้าย งานวิทยานิพนธ์หนักมาก จึงมาเช่าห้องอยู่กับเพื่อน แกไม่เคยส่งเสียเงินทองให้ลูกเลยสักบาทเดียว ลูกหาเงินเรียนเองมาตลอด

วันที่ลูกบอกว่าเรียนจบแล้ว ลูกบอกว่าจะไม่เข้าร่วมพิธีรับปริญญาบัตร เพื่อจะได้ประหยัดเงิน แกบอกว่า “ครั้งนี้อย่าประหยัดเลย ขอสักครั้งเถอะลูก”

-๓-


หน้ามหาวิทยาลัยมีคนมากมาย ดอกไม้กับรอยยิ้ม เสียงหัวเราะกับเสียงนับ “๑-๒-๓” ตอนถ่ายรูป แกสวมสูทที่ยืมมาจากกำนัน ใส่แล้วรู้สึกแปลก ๆ เป็นอีก ‘ครั้งแรกในชีวิต’

ลูกยืมกล้องถ่ายรูปเก่าจากเพื่อนคนหนึ่ง วานให้เพื่อน ๆ ถ่ายรูปคู่กับพ่อ หน้าคณะที่เรียน

ครั้นหลังเที่ยง ลูกกับเพื่อน ๆ เข้าไปรอในหอประชุม แกนั่งรอใต้ต้นไม้ใหญ่ข้างนอก เสียงคุยของคนกลุ่มใหญ่ลอยมาแว่ว ๆ แกมองไปรอบตัว ที่นี่ร่มรื่นดี ไม่เคยฝันว่าวันหนึ่งลูกแกจะไต่เต้ามาถึงจุดนี้ได้

แกลุกขึ้นเมื่อเสียงคุยของคนเงียบลง เห็นขบวนรถแล่นเข้ามา ผู้คนยืนสำรวม ใจเต้นแรงขึ้นเมื่อรถยนต์แล่นไปที่หน้ามุขของหอประชุม

แกจ้องตาไม่กะพริบ เห็นคนคนหนึ่งก้าวลงมาจากรถ แต่ภาพนั้นถูกคนบดบัง เห็นร่างนั้นเพียงแวบเดียวก่อนก้าวเข้าไปในหอประชุม ภาพนั้นก็ถูกคนบังอีก

แกประณมมือขึ้นเหนือหัว

-๔-


ลูกออกจากที่ประชุมตอนเกือบเย็น แกถามลูก “จะได้รูปเมื่อไหร่? ทันพ่อกลับไหม?”

“พ่อจะกลับเมื่อไหร่ครับ?”

“พรุ่งนี้เย็น”

“ไม่ทันหรอก พ่อ ร้านบอกว่าต้องใช้เวลาอาทิตย์นึง แล้วผมจะส่งไปให้ทันทีที่ได้”

“เสียดาย นึกว่าจะเอากลับไปพร้อมกัน”

“พ่ออยากดูวัดพระแก้วไหม? หรือวัดอรุณ? ยักษ์วัดแจ้ง หรือจะดูพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไททย พ่อไม่เคยมากรุงเทพฯ”

“ไม่ละ”

ไม่ได้มาเที่ยว มาเพื่อดูลูกในชุดครุย ถ่ายรูปรับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระองค์ และถ้าโชคดีได้เห็นพระพักตร์สักแวบก็พอใจแล้ว เข้ากรุงครั้งนี้ก็สมหวังทั้งสองอย่าง ถึงจะได้เห็นพระองค์เพียงแวบเดียวก็เป็นบุญแล้ว

พรุ่งนี้จะได้กลับบ้าน

-๕-


ลูกวิ่งมาที่สถานีรถไฟ ยื่นถุงกระดาษให้พ่อ แกดึงสิ่งของภายในถุงออกมา เป็นรูปถ่าย กรอบรูปเป็นไม้เรียบ ๆ ไม่มีลวดลาย

“ไหนว่าเสร็จไม่ทันไง”

“เมื่อคืนผมไปของร้องเจ้าของร้านช่วยเร่งให้ บอกเขาว่าพ่อจะเอารูปกลับต่างจังหวัดไปติดฝาบ้าน พูดเท่านี้เขาก็รับปาก ทำเสร็จจนได้”

รถไฟเคลื่อนออกจากสถานี มือจับรูปถ่ายในมือและครุ่นคิดไปตลอดทาง จะติดบนฝาผนังที่บ้าน หรือกำแพงห้องนอน หรือบนชื่อตำแหน่งใต้พระบรมฉายาลักษณ์...เดี๋ยวก็รู้



ตีพิมพ์ครั้งแรก : Happening Heart Work, 2559




















พระบรมสาทิสลักษณ์ ภาพและข้อมูลจาก
หนังสือ “ท่ามกลางประชาชน : เรื่องเล็ก ๆ ในรัชสมัยอันยิ่งใหญ่”
เพจวินทร์ เลียววาริณ





บีจีจากคุณญามี่ กรอบจากคุณ ebaemi ไลน์จากคุณญามี่





Create Date : 29 พฤษภาคม 2567
Last Update : 29 พฤษภาคม 2567 9:50:36 น. 0 comments
Counter : 1158 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmultiple, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณปรศุราม, คุณThe Kop Civil, คุณทนายอ้วน, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณtoor36, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills, คุณปัญญา Dh, คุณkae+aoe, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณnewyorknurse, คุณดอยสะเก็ด, คุณกะว่าก๋า, คุณหอมกร, คุณ**mp5**, คุณnonnoiGiwGiw, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณNoppamas Bee, คุณtanjira, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณข้าน้อยคาราวะ, คุณeternalyrs, คุณร่มไม้เย็น, คุณกะริโตะคุง


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 166 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.