แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องประชาธิปไตย ของ ร.๗
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2468 โดยไม่ได้ทรงคาดคิดมาก่อน เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระราชอนุชาองค์เล็กที่สุด และมีพระเชษฐาหลายพระองค์
ระหว่างพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระองค์ แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้สอยพระราชทรัพย์ของรัชกาลก่อน ทำให้เงินท้องพระคลังร่อยหรอ เศรษฐกิจตกต่ำ
บรรดาพระเชษฐาทั้งหลาย เห็นตนเองไร้ความสามารถ จึงได้ถวายราชสมบัติแด่พระองค์ เมื่อต้องทรงรับหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ก็ทรงตั้งพระราชหฤทัย ที่จะทรงทำนุบำรุงให้ราษฎรอยู่เป็นสุขโดยทั่วหน้า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ใหม่ ๆ มีผู้ใช้นามว่านายภักดีกับนายไทย ถวายฎีกาขอให้พระองค์พระราชทานรัฐธรรมนูญ
และในขณะนั้น หนังสือพิมพ์จำนวนหนึ่งมีบทความเกี่ยวกับแง่คิด หรือปัญหาบ้านเมืองลงพิมพ์อยู่เนื่อง ๆ เสียงเรียกร้องเหล่านี้อาจเป็นแรงกระตุ้นให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มแสวงหาแนวทางการปกครองที่เหมาะสม
แนวพระราชดำริเรื่องประชาธิปไตย ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้อย่างเด่นชัดเมื่อ ดร. ฟรานซีส บีแซร์ หรือพระยากัลยาณไมตรี อดีตที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศของไทย มาเยือนประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2469
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชบันทึกปรึกษาพระยากัลยาณไมตรีว่า ประเทศไทยควรมีรัฐบาลในรูปแบบใด ประเทศไทยจะมีการปกครองในระบบรัฐสภาได้หรือไม่ในอนาคต ระบบรัฐสภาแบบอังกฤษจะเหมาะสมกับชาวตะวันออกหรือไม่
ส่วนพระองค์เองทรงมีความเห็นว่า ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะมีการปกครองแบบมีผู้แทน คำกราบบังคมทูลของพระยากัลยาณไมตรี เป็นไปในลักษณะสนับสนุนแนวพระราชดำริที่ว่า
เมืองไทยยังไม่พร้อม ที่จะมีรัฐสภามีมาจากประชาชนโดยตรง ระบบรัฐสภาที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมาจากการเลือกตั้งอย่างใช้สติปัญญา ของผู้มีสิทธิเลือกผู้แทน
มิฉะนั้นจะกลายเป็นเผด็จการทางรัฐสภา ฉะนั้นจึงควรรอให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาสูงขึ้นก่อน
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิริสวัสดิ์ภุมวาร เปรมปรีดิ์มานกมลโรจน์นะคะ