
อักษรบาหลีอักษรบาหลี หรือ จารากัน (Carakan) พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ หรืออักษรกวิโบราณ จารึกเก่าสุดในภาษาบาหลี มีอายุราว พ.ศ. 1600 แต่น่าจะมีการเขียนในใบลานมาก่อนหน้านั้น
อักษรบาหลียังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ใช้ในทางศาสนาเท่านั้น ภาษาบาหลีโดยทั่วไปเขียนด้วยอักษรละติน เรียกตูลีซันบาหลี (Tulisan Bali)
ลักษณะ
มีรูปพยัญชนะซ้อนสำหรับตัวสะกด เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน
ใช้เขียน
ภาษาบาหลี ซึ่งเป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย มีผู้พูด 3 ล้านคนในเกาะบาหลี และเกาะข้างเคียง เช่น เกาะลอมบอก เกาะชวา เกาะนูซาเปอนีดา และเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย
ชนิด อักษรสระประกอบ
ช่วงยุค ประมาณ พ.ศ. 1543 (ค.ศ. 1000)ปัจจุบัน
ระบบแม่ อักษรโปรโต-คานาอันไนต์
อักษรฟินิเชีย
อักษรอราเมอิก
อักษรพราหมี
อักษรปัลลวะ
อักษรกวิ
อักษรบาหลี
ระบบพี่น้อง อักษรบาตัก
อักษรบายบายิน
อักษรบูฮิด
อักษรฮานูโนโอ
อักษรชวา
อักษรลนตารา
อักษรซุนดา
Rencong
อักษรเรยัง
อักษรตักบันวา
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิริสวัสดิ์ภุมวาร สิริมานรมณีย์ค่ะ