พระเครื่อง






พระสมัยทวารวดี





พระรอด





พระเครื่องสมัยสุโขทัย





พระสมเด็จวัดระฆัง





พระสมเด็จจิตรลดา




วัตถุมงคลในพุทธศาสนา หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมติของพระพุทธเจ้าที่มีขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา

พระเครื่องอาจจะรวมถึงรูปสมมติของพระโพธิสัตว์ พระอริยสงฆ์และเทพเจ้าที่มีขนาดเล็กด้วย


ประวัติการสร้าง

สันนิษฐานว่าสร้างภายหลังการสร้างพระพุทธรูป (ราว พ.ศ. 500)ปรากฏเห็นเป็นหลักฐานชัดเจนในในสมัยทวารวดี (ราว พ.ศ. 400-พ.ศ. 1200)และ สมัยศรีวิชัย (พ.ศ. 1300) โดยสร้างพระเครื่องขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้ที่มาเคารพสังเวชนียสถาน

เพื่อให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนความหมายของคำว่าพระเครื่องในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ท่านสั่งเครื่องจักรจากยุโรปมาเพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์

ทำให้มีการผลิตเหรียญของเกจิอาจารย์ขึ้น ทำให้เรียกว่าพระที่ทำจากเครื่องจักรว่าพระเครื่องหรือ เรียกพระองค์เล็กๆที่เป็นพระพิมพ์เรียกเหมือนกันว่าพระเครื่อง

ความเชื่อและคตินิยม

พระเครื่องรางส่วนใหญ่ การสร้างสร้างให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก สำหรับบรรจุในพระพุทธเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่างๆพังทลายยังสามารถพบรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าเพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนา

ใช้เป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกัน ในการออกศึกสงครามของคนโบราณ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง

ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์โสรวาร สิริมานปรีดิ์เขษมค่ะ



Create Date : 12 มิถุนายน 2553
Last Update : 31 กรกฎาคม 2553 14:53:34 น.
Counter : 4551 Pageviews.

0 comments
พระพุทธสิหิงค์ : หลวงพ่อเพชร ผู้ชายในสายลมหนาว
(27 มิ.ย. 2568 15:34:46 น.)
วิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.6) เรื่องคำสุภาพ นายแว่นขยันเที่ยว
(25 มิ.ย. 2568 00:05:44 น.)
"หลวงพ่อโต" วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา สมาชิกหมายเลข 4313444
(21 มิ.ย. 2568 02:46:10 น.)
ทายอักษร I 猜字谜 I toor36
(18 มิ.ย. 2568 00:11:41 น.)

Vinitsiri.BlogGang.com

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]

บทความทั้งหมด