พระเศรษฐีนวโกฏิ
พระเศรษฐีนวโกฏิเป็นรูปเคารพแทนมหาเศรษฐีทั้ง 9 ท่าน ในสมัยพุทธกาล ท่านเหล่านี้เป็นผู้สร้างคุณประโยชน์อเนกอนันต์ให้แก่พระพุทธศาสนา มีความมั่งคั่งในโภคทรัพย์อยู่ในระดับเดียวกับกษัตริย์
ทั้งยังเป็นสัมมาทิฏฐิ และยังเป็นพุทธอุปฐากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงยกย่องว่า ท่านเหล่านี้เป็นผู้เลิศในการทำทาน และเป็นยอดของมหาเศรษฐีทั้งปวง เศรษฐีทั้ง 9 นี้ได้แก่
1.ธนัญชัยเศรษฐี
2.ท่านสุมะนะเศรษฐี
3. ท่านชะฏิละเศรษฐี
4. ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี
5.ท่านเมณฑะกะเศรษฐี
6.ท่านโชติกะเศรษฐี
7.ท่านสุมังคะละเศรษฐี
8.ท่านวิสาขามหาอุบาสิกา (ไม่มีชื่อในคาถานี้)
9.พระเจ้ามันธาตุราช และในบทคาถานี้ มีพระเวสสันดรด้วย จึง
รวมเป็น10
ผู้รู้ได้ถือเอาคตินี้มาสร้างเป็นพระนวโกฏิให้มีพระพักตร์ทั้งหมด 9 พระพักตร์ แทนใบหน้าของนวเศรษฐีทั้งเก้าในสมัยพุทธกาล เชื่อว่ามีคุณทางโชคลาภ อำนวยลาภสักการะ และความร่มเย็นเป็นสุขแก่ผู้เลื่อมใสบูชา
ประวัติ
มหาเศรษฐีทั้ง 9 ท่านนี้ ล้วนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ทั้งที่ดำรงเพศฆราวาสอยู่ ตามตำนานของชาวล้านนา สมัยหนึ่งเกิดทุกข์เข็ญ ทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อน บังเกิดความอดอยากขึ้น
จึงมีพระภิกษุผู้เป็นอริยะรูปหนึ่ง ได้แนะนำให้สร้างพระเศรษฐีนวโกฏิขึ้น เพื่อทำการสักการบูชา แก้เคล็ดในความทุกข์ยากทั้งหลาย และเมื่อสร้างและทำการฉลองสำเร็จ ก็ปรากฏมีเหตุการณ์ปรากฏขึ้นเป็นอัศจรรย์คือ
ความทุกข์ยากอดอยากทั้งหลาย ได้บรรเทาลงและสงบระงับในที่สุด จึงเป็นคติที่เชื่อถือของชาวล้านนาว่า ถ้าผู้ใดได้บูชาพระเศรษฐีนวโกฏิแล้ว จะมีสิริมงคล ทำมาค้าขึ้น ประสบแต่โชคลาภ อยู่เย็นเป็นสุข ด้วยอานิสงส์แห่งบารมีธรรมของเศรษฐีทั้ง 9 ท่าน
การสร้างพระเศรษฐีนวโกฏิ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท) ยอป่า ราชพฤกษ์ ตะกรุดเงิน ทองคำ ครั่ง ชันนะโรง ขี้ผึ้ง
สีวลี คาถา - มา ขะโย มา วะโย มัยหัง มา จะ โกจิ อุปัททะโว ธัญญะธารานิ เม ปะวัสสันตุ ธะนัญชะยัสสะ ยะถา ฆะเร สุวัณณานิ หิรัญญา จะ สัพพะโภคาจะ ระตะนานิ ปะวัสสันตุ
เม เอวัง ฆะเร สุมะนะ-ชะฏิลัสสะ จะ อะนาถะปิณฑิกะ-เมณฑะกัสสะ โชติกะ-มันธาตุ-เวสสันตะรัสสะ ปะวัสสันติ ยะถา ฆะเร เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สัพพะสิทธิ ภะวันตุ เม
อานิสงส์การบูชา
เชื่อว่าจะอำนวยลาภผลโภคทรัพย์ตามสมควร ปกปักรักษาให้บ้านเรือนร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง และป้องกันภยันตรายสิ่งไม่ดีไม่งามต่างๆ ปัจจุบันมีอยู่น้อยมากที่จะสร้างได้อย่างถูกต้องตามตำราดั้งเดิม.
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวัสดิ์สิริศนิวาร สิริมานปรีดิ์เขษมค่ะ