เพลงพระราชนิพนธ์ "อาทิตย์อับแสง" และ "เทวาพาคู่ฝัน" ![]() "ราชาภิเษกสมรส" ผลงานของ ชูศิษฐ์ วิจารณ์โจรกิจ เทคนิค Reproduction ขนาด ๘o x ๑oo ซม. จากบล็อก นิทรรศการ "ใต้ร่มพระบารมี ๘๔ พรรษา มหาราชัน"
![]() เรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อาจไม่ได้ถูกเปิดเผยมากนัก แต่ประชาชนชาวไทยหลายคนก็ทราบว่า ทั้งสองพระองค์ทรงเริ่มชอบพอกันตั้งแต่ได้ทรงพบกันที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (ในขณะนั้น) ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ จากอุบัติเหตุรถยนต์เป็นประจำจนกระทั่งหายจากอาการประชวร อันเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ![]() ![]() เพลงพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ที่เกี่ยวกับความรักนั้น ได้รับแรงบันดาลพระทัยจากองค์ราชินี ในระหว่างที่ทั้งสองพระองค์กำลังชอบพอกันอยู่ มีเหตุให้ต้องทรงห่างไกลกัน เมื่อคราวที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ประทับตากอากาศที่เมืองดาโวส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร นั้น พำนักอยู่ที่เมืองโลซาน จึงทรงประพันธ์ทำนองเพลง อาทิตย์อับแสง (Blue Moon) เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๘ และ เทวาพาคู่ฝัน (Dream of Love Dream of You) เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๙ ขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย จากบันทึกส่วนพระองค์ ที่บันทึกไว้ว่า ยามที่พระองค์ต้องจากกันก็เหมือน อาทิตย์อับแสง และในพระราชหฤทัยนั้นหวังอยากให้ เทวาพาคู่ฝัน มาให้ ![]() ![]() เพลงพระราชนิพนธ์ อาทิตย์อับแสง นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ ทรงใช้ฮาร์โมนิก ไมเนอร์สเกล (harmonic minor scale) อันเป็นสเกลเสียงที่แสดงถึงความหม่นหมอง เศร้าสร้อย คล้ายสำเนียงเพลงบลูส์ แม้ว่าสเกลนี้จะมีอารมณ์เพลงคล้ายบลูส์สเกล แต่จะแตกต่างตรงมีความละเมียดละไม นุ่มนวลกว่า ไม่รู้สึกแปร่งหู ดังนั้น แม้ว่าเพลงนี้จะถูกนำไปเรียบเรียงให้เข้ากับจังหวะลีลาศ แต่จะยังคงได้ความรู้สึกที่อ้างว้าง เดียวดาย และเศร้าสร้อย ![]() ![]() เนื้อร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีความหมายใกล้เคียงกัน โดยกล่าวถึงความรักเปรียบเทียบกับธรรมชาติ ยามที่ได้อยู่เคียงคู่กัน ท้องฟ้าดูสดใส ยามไกลกันดังอาทิตย์อับแสง แต่ก็แฝงความหวังไว้ในตอนท้าย ดังที่มีรับสั่งเอาไว้ว่า ในเพลงพระราชนิพนธ์ทุกเพลง ต้องทิ้งท้ายไว้ด้วยความหวังให้กับชีวิตที่ว่า Again the sun will shine. That day Ill make you mine. ![]() ![]() "เทวาพาคู่ฝัน" เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๙ เป็นเพลงจังหวะวอลทซ์ ปกติแล้วเพลงพระราชนิพนธ์ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่ มีความยาวประมาณ ๓๒ ห้อง แต่ก็น้อยกว่าเพลง "เทวาพาคู่ฝัน" ซึ่งมีความยาวถึง ๙๖ ห้อง เหตุที่เพลงนี้ยาวก็เพราะมีลักษณะเป็นเพลงประเภทพรรณนาเนื้อหา ซึ่งอาจจะเทียบได้กับเพลงแนวบัลลาด (Ballad) ของดนตรีตะวันตก แนวเพลงนี้นิยมกันมากในการบรรเลงเพลงประเภทแจ๊สมาตรฐาน อันเป็นแบบอย่างของดนตรีแจ๊สที่เปิดโอกาสให้นักร้องสามารถแสดงอารมณ์ และความรู้สึกไปตามเนื้อร้องและทำนองเพลง และยังได้แสดงความสามารถในการใช้เสียงในเทคนิควิธีเฉพาะตัว และปฏิภาณไหวพริบในการจัดกลุ่มคำร้อง อีกด้วย ![]() ![]() เนื้อร้องภาษาไทยของ เทวาพาคู่ฝัน ได้พรรณนาถึงความงามของธรรมชาติโดยโยงเข้ากับความรักที่ ย้อมชีวิตให้ยืนยง และความเปล่าเปลี่ยวที่ต้อง อยู่เดียว แต่ในตอนท้ายยังมีความหวังที่จะ พบความรักดังใจมั่น เหมือนเดือนตะวันกลางหล้า ส่วนเนื้อร้องภาษาอังกฤษรำพึงรำพันถึงคนรักที่อยู่ห่างไกล แม้จะเป็นความอ้างว้างแต่ก็มีความสุขจากความฝันและจินตนาการ...จึงทำให้เพลงจากเนื้อร้องภาษาอังกฤษ ดูเบาสบาย และโปร่งอารมณ์กว่าเพลงในภาษาไทย ![]() ![]() ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ทรงร่วมงานฉลองวันคล้ายวันเกิดของ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ทรงขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ Blue Day และเพลง Dream of Love Dream of You หลังพระกระยาหารค่ำ ก่อนที่ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ จะพระราชทานพระธำมรงค์หมั้นในวันนั้น ![]() ![]() ต้องขออภัยที่ไม่ได้ใส่ที่มาของพระบรมฉายาลักษณ์ เซฟเก็บไว้นานจนลืม ขอขอบคุณท่านเจ้าของพระบรมฉายาลักษณ์ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ![]() ข้อมูลจาก sanook.com radioparliament.net ![]() ![]() บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่ กรอบจากคุณ goffymew Free TextEditor |
บทความทั้งหมด
|