|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
|
เมืองโบราณเชลียง-ศรีสัชนาลัย-สวรรคโลก
ต่อจากบล็อกที่แล้ว ว่าด้วยทริปขึ้นเหนือ ทัวร์โบราณสถานยุคสุโขทัยที่กำแพงเพชร-สุโขทัยครับ หนนี้มาต่อกันด้วยอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...
ศรีสัชนาลัยยังคงอยู่ในเขตจังหวัดสุโขทัยครับ จากอำเภอเมืองขับรถดิ่งขึ้นมาทางเหนือ ผ่าน อ.ศรีสำโรง และ อ.สวรรคโลก ตามทางหลวงหมายเลข 101 ก็จะมาถึงอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งระหว่างทางก็จะมีป้ายบอกทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ชัดเจน ค่าห้องที่พักในสวรคโลกคืนละ 400.- นอนได้สามคน ถูกค่อดๆ เช้านี้แวะกินข้าวแกงข้างทางที่สวรรคโลก รสชาติดั้งเดิมแบบชาวบ้านแท้ๆ ไม่ต้องไปหากินตามตลาดโบราณ

มาเล่าความเป็นมาของศรีสัชนาลัยเล็กน้อย... ประวัติศาสตร์ของเมืองนี้จะน้อยกว่าสุโขทัยเพราะไม่ได้เป็นราชธานี ไม่มีกษัตริย์ปกครองครับ แต่เมืองนี้เก่าแก่มีมาก่อนการสถาปนาเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี (ตอนนั้นมีเมืองสุโขทัยอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้เป็นราชธานี) จะขอย้อนความไปเมื่อราว 800 ปีก่อน ตอนนั้นเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางชุมชนคนชาติไทยในบริเวณภาคเหนือตอนล่างมีอยู่สี่เมืองคือเชลียง สุโขทัย สองแคว และสระหลวง เมืองเชลียงแรกเริ่มเดิมทีจะมีแม่น้ำยมขดล้อมสามด้าน จากนั้นได้ทำการขยายเมืองไปทางตะวันตกและเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองศรีสัชนาลัย ต้นพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 17xx) พ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้ครองเมืองเชลียงได้ขยายอำนาจเข้าไปในเมืองสุโขทัยและสร้างนครสองอัน (สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย) ขึ้น ก่อนจะถูกขอมยึดไปในเวลาอันสั้น แต่ก็ถูกตีกลับมาเป็นของไทยด้วยฝีมือของพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาว สร้างกรุงสุโขทัยขึ้นมา ตามที่เล่าไปในบล็อกที่แล้ว หลังจากนั้นเมืองสุโขทัยถูกสถาปนาเป็นราชธานีของคนไทย ส่วนเมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงและมีเจ้าเมืองปกครองครับ
ในสมัยอยุธยา พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้เก่งกล้าของล้านนาได้มาตีเมืองนี้ไปรวมกับอาณาัจักรล้านนา เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงชื่น ต่อมาพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์อยุธยาที่เก่งกล้าสามารถเช่นเดียวกันก็มายึดเมืองคืน (ยุคนี้ล้านนากับอยุธยารบกันดุเดือดมาก เพราะกษัตริย์เก่งสุดๆทั้งสองคนเกิดในยุคเดียวกันครับ) เมื่ออยุธยาผนวกสุโขทัยเข้า เมืองศรีสัชนาลัยก็เปลี่ยนเป็นเมืองสวรรคโลก ในยุครัตนโกสินทร์บริเวณนี้ถูกตั้งเป็นจังหวัดสวรรคโลก (ทั้งศรีสัชนาลัยและสุโขทัยเป็นอำเภอในจังหวัดนี้) แต่ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นอำเภอสวรรคโลก อยู่ในจังหวัดสุโขทัย ใต้อำเภอศรีสัชนาลัย เวลาขับรถผ่านอำเภอนี้เห็น "ศาลจังหวัดสวรรคโลก" ก็อย่าแปลกใจนะครับ
ก่อนถึงอุทยานจะมีวัดประจำพระราชวังของเมืองเชลียง และเป็นวัดที่สวยงามโดดเด่นสมควรแวะชมที่สุดของอำเภอนี้ "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดพระปรางค์ครับ จะเดินข้ามสะพานแขวนข้ามแม่น้ำยมมา หรือจะขับรถอ้อมมาเข้าอีกทางก็ได้นะ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำเมืองเชลียงซึ่งมีมาก่อนสุโขทัยครับ อายุคาดว่ารุ่นราวคราวเดียวกับวัดพระพายหลวงที่สุโขทัย และได้รับอิทธิพลขอมมามากเช่นเดียวกับวัดที่เก่าแก่มากๆในสุโขทัยทั้งหลาย เพราะยุคนั้นชาวขอมยังลันล้าอยู่เต็มพื้นที่สุวรรณภูมิ มีการกล่าวถึงวัดนี้ในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามด้วยนะ สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือปรางค์ประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามหลักการสร้างเมืองโบราณที่ต้องมีพระธาตุอยู่กลางเมืองครับ โชคดีช่วงเช้าวันนี้ฟ้าสวยมาก เหมาะแก่การถ่ายรูป ยิ่งถ่ายขึ้นไปที่ยอดพระธาตุแล้วมีนกบินออกมานี่มุมมหาชนของวัดนี้เลย


วัดที่เจอข้างทางหมายเลข (1) ของวันนี้ได้แก่... แต๊น! วัดน้อย วัดนี้ก็เก่าแก่ครับ เก่าแก่จนแทบไม่เหลืออะไรให้เห็น

อันนี้วัดโคกสิงคาราม ถนนเส้นเดียวกันครับ

ส่วนวังเก่าของเมืองเชลียงซึ่งน่าจะอยู่แถวๆนี้คงเละเป็นดินไปแล้ว หาไม่เจอครับ
มาต่อทางตะวันตกจะเข้าเขตกำแพงเมืองเก่า กำแพงเมืองของที่นี่เป็นศิลาแลงเช่นเดียวกับกำแพงเพชรและเมืองโบราณอีกหลายแห่ง

และแล้วเราก็เข้ามาสู่เขตเมืองโบราณศรีสัชนาลัย ซึ่งขยายขึ้นมาจากเมืองเชลียงเดิมครับ
 แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (คลิ๊กเพื่อชมภาพขยาย)
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
เช่นเดียวกับอุทยานประวัติศาสตร์ทุกแห่ง คือจะกั้นพื้นที่ที่มีโบราณสถานจำนวนมากไว้ และเก็บค่าเข้าชม สามารถนำรถเข้าได้ครับ เทียบกับสุโขทัยแล้วที่นี่คนน้อยกว่าแต่ก็ไม่ถึงกับเงียบเหงานัก แม้จำนวนวัดจะไม่มาก แต่ความสวยงามอลังการของแต่ละวัดไม่แพ้วัดใหญ่ๆของเมืองสุโขทัยแน่นอน
หนนี้บรรยายประวัติความเป็นมาของแต่ละวัดน้อยหน่อยนะครับ ไม่ค่อยมีเรื่องราวความเป็นมาเท่าไหร่ จะบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมก็ไม่ใช่ของถนัดของเจ้าของบล็อกเลย แถมจะพาลทำผู้ที่เผลอมาอ่านหลับคาบล็อกเอา
อันนี้คือพระราชวังครับ ปัจจุบันราบเตียนเป็นป่าไม้ไม่เหลืออะไรให้เห็นเลย (ป้ายกรมศิลป์บอกว่ามีร่องรอยหลุมลงเสาอาคารไม้นิดๆ)

วัดสวนแก้วอุทยานน้อย
เป็นวัดประจำพระราชวังศรีสัชนาลัย แต่กลับไม่ได้ใหญ่โตอลังการแบบวัดมหาธาตุของสุโขทัยหรือวัดพระศรีสรรเพชญ์ของอยุธยา จะว่าไปมันสู้วัดอื่นแถวๆนี้ไม่ได้ด้วยซ้ำ


วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดนี้อุดมไปด้วยเจดีย์น้อยใหญ่หลากหลายศิลปะให้ชมกันมากมายถึง 7 แถว รวมเจดีย์และมณฑปทั้งหมด 33 องค์ สร้างตามคติจักรวาล


วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
พื้นที่ใหญ่แต่ตัวโบราณสถานเล็กกว่าวัดสวนแก้วอุทยานน้อย ไม่ได้ถ่ายป้ายหน้าวัดมาเพราะมีนักท่องเที่ยวไปผูกแปลห้อยนอนมันตรงป้ายเฉยเลย

วัดนางพญา
จำได้ว่าครูเคยพามาตอนเรียนวิชาเลือกให้มาดูปูนปั้นบนผนังวิหาร สวยงามมากครับ ถือว่ายังสมบูรณ์มากกว่าวัดอื่นๆรุ่นเดียวกันที่ปูนปั้นหลุดลอกหมดแล้ว เขาสร้างหลังคามาคลุมกันแดดกันฝนไว้ด้วย


วัดหลักเมือง
อยู่ติดกับพระราชวัง คาดว่าเป็นหลักเมืองของเมืองศรีสัชนาลัยโบราณ

วัดอุดมป่าสัก
อยู่ติดกับวัดหลักเมือง พวกเศษโบราณสถานบางอันช่างกระจิ๊ดริ๊ด ดูแล้วก็ไม่เข้าใจว่าคนสมัยนั้นมุดเข้าไปได้ไง

วัดเขาพนมเพลิง
ตั้งอยู่บนเขาพนมเพลิงซึ่งเป็นเนินไม่สูงมากในพื้นที่อุทยาน เป็นวัดที่เห็นในหนังสือท่องเที่ยวแล้วอยากมามากครับ เพราะภาพถ่ายจากด้านบนเนินลงมาเห็นโบราณสถานจำนวนมาก ยิ่งตอนพระอาทิตย์ขึ้นจะสวยงามสุดๆ ...แต่ปรากฏว่าพอขึ้นไปจริงๆเจอต้นไม้ล้อมทุกด้าน มองไม่เห็นวิวเลยครับ แถมอยู่บนเขาคิดว่าอากาศจะดี ที่ไหนได้ ป่าแถวนี้เหม็นเน่ามากๆ ไม่รู้เหม็นอะไร -*- ด้านหลังวัดมีศาลเจ้าแม่ละอองสำลีด้วย


วัดช้างล้อม
สวยอีกวัดแล้วครับ วัดแถวนี้มีช้างล้อมเมื่อไหร่ นักท่องเที่ยวแห่ตอมเมื่อนั้น เรียกว่ามีคนสนใจเข้าชมเยอะที่สุดในอุทยานนี้แล้ว วัดนี้อยู่ในศิลาจารึกระบุว่าสร้างในปี พ.ศ. 1829 สมัยพ่อขุนรามคำแหงครับ ตามจารึกเล่าว่าพ่อขุนรามคำแหงให้ขุดเอาพระธาตุออกมาบูชา 1 เดือน 6 วัน แล้วฝังลงกลางเมืองศรีสัชนาลัยและสร้างเจดีย์ครอบ เป็นเจดีย์ประธานของวัดช้างล้อมนี้เอง (น่าจะขุดจากพระธาตุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เพราะย้ายเมืองมาทางตะวันตก) เจดีย์ประธานมีช้างล้อม 39 เชือกครับ


วัดเขาสุวรรณคีรี
ยอดสูงกว่าเขาพนมเพลิง แต่ขับรถขึ้นไปได้หน่อยนึงแล้วค่อยเดินต่อเอา ผิดกับเขาพนมเพลิงที่ต้องเดินตั้งแต่พื้นขึ้นไปครับ วัดนี้ขึ้นมาแล้วไม่ผิดหวังเพราะมีอะไรให้ดูเยอะ ทั้งเจดีย์ประธานขนาดใหญ่ ซุ้มประตูที่มีลายปูนปั้นสวยงาม รูปปั้นทวารบาล ฯลฯ


นอกจากวัดสำคัญๆแล้วในอุทยานยังมีโบราณสถานลึกลับอีกมากมายหลายร้อยแห่งครับ

เอาละ ขับรถออกนอกอุทยานประวัติศาสตร์ขึ้นไปทางเหนือก็ยังมีวัดต่ออีกนิดหน่อยนะ
วัดกุฎีราย

วัดหัวโขน

ที่จริงด้านใต้อุทยานมีโบราณสถานเยอะกว่านี้ แต่ผมไม่ได้ไปดู -3-" ตอนนี้ความสนใจมุ่งไปที่ทางขึ้นเหนือ เพื่อไปชมซากเตาทุเรียงโบราณที่อยู่ข้างทางเรียงกันเป็นตับยาวกว่า 1 กม. มีประมาณ 500 เตา นับว่าเมืองนี้เป็นเหมือนนิคมอุตสาหกรรมของชาวไทยโบราณแถบนี้เลยครับ

เตาหมายเลข 61 และ 42 เป็นเตาขนาดใหญ่ จะมีการสร้างอาคารคลุมเตาไว้ ผมไปดูอาคารของเตา 42 ครับ ค่าเข้า 20 บาท


ที่นี่มี 1 เตาหน้าอาคาร และอีก 2 เตาขนาดใหญ่มหึมาด้านในอาคาร (หมายเลข 42 และ 123) ด้านในนอกจากแสดงให้เห็นภายในของเตาอย่างละเอียดแล้วยังมีโปสเตอร์บรรยายให้ความรู้เรื่องเตาแบบต่างๆและวิธีการทำงาน พร้อมแสดงชิ้นส่วนสังคโลกให้ชมด้วย ถ่ายรูปได้ไม่หวงครับ
จบไปอีกแห่งสำหรับศรีสัชนาลัย แหล่งโบราณสถานบนพื้นที่ไม่กว้างแต่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพครับ หวังว่าจะรอดน้ำท่วมปีนี้นะ ส่วนที่อยุธยายังฟื้นฟูจากสภาพน้ำท่วมปีที่แล้วไม่เสร็จเลยครับ น้ำจะมาอีกละ
Create Date : 13 กันยายน 2555 |
Last Update : 30 กรกฎาคม 2560 18:23:18 น. |
|
44 comments
|
Counter : 19828 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: NET-MANIA วันที่: 13 กันยายน 2555 เวลา:19:45:07 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 13 กันยายน 2555 เวลา:21:23:28 น. |
|
|
|
โดย: วนารักษ์ วันที่: 13 กันยายน 2555 เวลา:21:59:14 น. |
|
|
|
โดย: วนารักษ์ วันที่: 13 กันยายน 2555 เวลา:22:07:55 น. |
|
|
|
โดย: คมไผ่ วันที่: 13 กันยายน 2555 เวลา:22:17:42 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 13 กันยายน 2555 เวลา:22:21:45 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 กันยายน 2555 เวลา:22:54:54 น. |
|
|
|
โดย: Sawnoy วันที่: 13 กันยายน 2555 เวลา:23:05:10 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:0:12:35 น. |
|
|
|
โดย: คนเชลียง-ศรีสัชฯ IP: 216.145.98.26 วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:3:04:24 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:5:38:09 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:8:32:44 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:9:48:52 น. |
|
|
|
โดย: คมไผ่ วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:10:59:15 น. |
|
|
|
โดย: oa (rosebay ) วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:12:13:17 น. |
|
|
|
โดย: tifun วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:15:45:16 น. |
|
|
|
โดย: Kavanich96 วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:19:30:10 น. |
|
|
|
โดย: Sawnoy วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:21:21:06 น. |
|
|
|
โดย: วนารักษ์ วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:22:17:06 น. |
|
|
|
โดย: mastana วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:22:20:19 น. |
|
|
|
โดย: mastana วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:22:23:59 น. |
|
|
|
โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 15 กันยายน 2555 เวลา:1:30:19 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 กันยายน 2555 เวลา:6:38:27 น. |
|
|
|
โดย: bee_บี วันที่: 15 กันยายน 2555 เวลา:9:17:15 น. |
|
|
|
โดย: mastana วันที่: 15 กันยายน 2555 เวลา:21:32:05 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 16 กันยายน 2555 เวลา:0:15:26 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 กันยายน 2555 เวลา:6:47:41 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 16 กันยายน 2555 เวลา:14:10:02 น. |
|
|
|
โดย: Sawnoy วันที่: 16 กันยายน 2555 เวลา:22:27:37 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 กันยายน 2555 เวลา:6:27:40 น. |
|
|
|
โดย: วนารักษ์ วันที่: 17 กันยายน 2555 เวลา:14:49:08 น. |
|
|
|
โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 17 กันยายน 2555 เวลา:15:08:31 น. |
|
|
|
|
|
|
|
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ผมยังไม่เคยไปเที่ยวชมเลย ทั้งที่ได้ไปสุโขทัยมาสองครั้งแล้ว อาจเป็นเพราะอยู่ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยไปอีกพอสมควร และโบราณสถานเด่นๆ ไม่มากเท่าที่สุโขทัย เลยไม่ดึงดูดใจให้ผมดั้นด้นไปชมเท่าไหร่นัก .....
โบราณสถานของที่นี่ ที่ผมเคยได้เห็นภาพบ่อยๆ ตามหนังสือท่องเที่ยวก็เห็นจะเป็นวัดมหาธาตุกับวัดช้างล้อม ส่วนวัดอื่นๆ นี่แทบไม่รู้จักเลยครับ วันนี้เลยได้มาชมอย่างละเอียดจากบล็อกคุณชีริวนี่แหละ .....