Der Untergang อวสานไรช์ที่ 3 และความตายของฮิตเลอร์
Der Untergang อวสานไรช์ที่ 3 และความตายของฮิตเลอร์- พล พะยาบ - คอลัมน์อาทิตย์เธียเตอร์ มติชนรายวัน 28 ส.ค.และ 4 ก.ย.2548 งานออสการ์ต้นปี 2005 มีเรื่องบังเอิญเกิดขึ้นเมื่อหนังต่างชาติ 2 เรื่อง ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยประวัติชีวิตของอดีต ศัตรู ของสหรัฐอเมริกา ได้รับเลือกให้เข้ามาป้วนเปี้ยนอยู่ในรายชื่อหนังชิงรางวัล หนึ่งคือ เออร์เนสโต เช เกวารา ในวัยเยาว์ จากเรื่อง The Motorcycle Diaries ของบราซิล ที่ได้เข้าชิงรางวัลบทภาพยนตร์ และเพลงประกอบยอดเยี่ยม สุดท้ายหอบรางวัลหลังกลับบ้านไป อีกเรื่องคือ Der Untergang หรือ Downfall หนังจากเยอรมนี เกี่ยวกับบทอวสานของอาณาจักรไรช์ที่ 3 และช่วง 10 วันสุดท้ายของ ท่านผู้นำ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งพลาดรางวัลหนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมให้กับ The Sea Inside ของสเปน แน่นอนว่า หนังดี สมควรได้รับการยกย่อง แต่การปรากฏตัวของเชและฮิตเลอร์บนเวทีเผยแพร่วัฒนธรรมอเมริกันอันทรงอิทธิพลอย่างออสการ์ ในยุค โค่นซัดดัม ล่าตัวบิน ลาเดน ยุคที่ประธานาธิบดีประกาศว่าถ้าชาติใดไม่สนับสนุนสงครามก่อการร้ายถือว่าอยู่ฝ่ายตรงข้าม จึงอาจเป็นการช่วยส่งเสริมภาพพจน์สหรัฐว่ายังเป็นดินแดนแห่งการให้โอกาสเสมอ เพราะขนาดเรื่องราวของคนที่เคยเป็น ผู้ร้าย ในสายตาสหรัฐ ก็มีสิทธิได้รับเกียรติเท่าเทียมกับคนอื่นๆ ฉะนั้นในอนาคต เมื่อกาลเวลาผ่านพ้น ทั้ง ซัดดัม กับ บิน ลาเดน ก็อาจได้พะยี่ห้อออสการ์กับเขาบ้างเหมือนกัน เมื่อพิจารณาในรายละเอียด ทั้ง The Motorcycle Diaries และ Der Untergang มีส่วนที่เหมือนกันคือ เป็นการนำเสนอตัวบุคคลในด้านที่คนทั่วไปสัมผัสได้ ซึ่งที่ผ่านมาเรื่องราวของพวกเขาถูกเคลือบด้วยมายาคติบางอย่างอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นความลึกลับแบบนักรบกองโจรของเช หรือความโหดร้ายราวอสูรกายของฮิตเลอร์ มายาคติดังกล่าวถูกส่งเข้ากระบวนการ ทำให้เป็นมนุษย์ ตามขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์ จนทำให้ผู้ชมมองเห็นและทำความรู้จัก-เข้าใจพวกเขาในฐานะมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง เช เกวารา ในภาพชายมาดเข้มไว้หนวดเคราครึ้ม ดูเหี้ยมเกรียม จึงเปลี่ยนเป็นหนุ่มละอ่อน แววตาอ่อนโยน ทั้งยังจิตใจไหวอ่อนเมื่อเห็นผู้ตกทุกข์ ส่วนชายในชุดทหารประดับตราสวัสติกะ ดวงตาถมึงทึง กราดเกรี้ยว ก็กลับกลายเป็นชายสูงวัยผู้อมทุกข์เพราะโรคร้ายและเจ็บช้ำใจที่ต้องเห็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ล่มสลายไปต่อหน้าต่อตา วิธีที่จะเข้าถึงด้านที่เป็นมนุษย์ธรรมดาของบุคคลทั้งสองได้อย่างชัดเจนที่สุด ก็คือคำบอกเล่าของผู้ใกล้ชิดนั่นเอง โดยหนังทั้ง 2 เรื่องต่างเขียนบทขึ้นด้วยการดัดแปลงหนังสือบันทึกเรื่องราวชีวิตของบุคคลเป้าหมาย ผ่านสายตาคนใกล้ตัว เรื่องแรกเป็นเพื่อนสนิทที่ขี่มอเตอร์ไซค์ท่องแดนละตินไปกับเช ส่วนเรื่องหลังเป็นคำบอกเล่าของเลขานุการส่วนตัว ซึ่งรับใช้ฮิตเลอร์จนถึงวันสุดท้าย ความคล้ายคลึงกันอีกประการระหว่าง The Motorcycle Diaries และ Der Untergang คือเวลาซึ่งเป็นฉากหลัง แม้จะเป็นช่วงวัยที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง คือคนหนึ่งอยู่ในวัยหนุ่ม ยังไม่ได้ประกอบวีรกรรมสร้างชื่อใดๆ ขณะที่อีกคนผ่านจุดสูงสุดและกำลังจะพบจุดจบ แต่เหตุการณ์ทั้งสองเกิดขึ้นในช่วงปีใกล้เคียงกัน นั่นคือเรื่องของเชเกิดขึ้นในปี 1952 ส่วนเรื่องของอิตเลอร์จำหลักไว้ในปี 1945 แม้คิดส่วนต่างได้มากถึง 7 ปี แต่หากนับเป็นช่วงเวลาก็ถือว่าเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นเอง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นหมุดหมายสำคัญของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ยืนอยู่ในฐานะมหาอำนาจผู้แข็งแกร่ง ท่ามกลางหายนะเพราะผลแห่งสงครามของชาติยิ่งใหญ่อย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และโซเวียต และเป็นปฐมบทแห่งสหรัฐอเมริกายุคใหม่ที่ใหญ่คับโลกมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ถ้าจะยกย่องเรื่องราวของอดีตบุคคลต้องห้ามของสหรัฐ ไม่มีช่วงเวลาฉากหลังช่วงไหนจะเหมาะไปกว่านี้อีกแล้ว กล่าวสำหรับ Der Untergang นอกเหนือจากการได้สัมผัสตัวตนของฮิตเลอร์แล้ว ความน่าสนใจอีกประการของหนังคือการนำเสนอภาพวาระสุดท้ายของฮิตเลอร์อย่างละเอียด ทั้งการกระทำ สภาพจิตใจ และเหตุการณ์แวดล้อมอื่นๆ โดยปราศจากการชี้นำหรืออคติ ซึ่งที่ผ่านมาจุดจบของฮิตเลอร์เคยเป็นปริศนาและก่อให้เกิดข่าวลือกระทั่งว่าเขารอดมาได้หลังสงครามสิ้นสุด อันที่จริง การเสียชีวิตด้วยเหตุอันไม่สมควรของบุคคลสำคัญหลายต่อหลายคน ล้วนแต่ถูกนำไปเข้าขั้นตอนสร้างเสริมเติมแต่งกันเป็นเรื่องปรกติ ไม่ว่าจะเป็นการตายของเช ของฮิตเลอร์ หรือแม้แต่มาริลิน มอนโร, เอลวิส เพรสลีย์ หรือเคิร์ต โคเบน ฉะนั้น ภาพจุดจบของฮิตเลอร์ใน Der Untergang โดยถ่ายทอดจากปากคำพยาน ประกอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ผ่านการนำเสนอแบบไม่โน้มเอียงจึงมีคุณค่าเทียบเท่ากับสารคดีจำลองเหตุการณ์จริงเพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รับรู้ หนังเริ่มต้นด้วยภาพหญิงชรากล่าวถึงความหลังที่เธอได้ร่วมเป็นพยานรู้เห็นการก่อกรรมทำเข็ญของอดีตผู้นำสูงสุดของเยอรมนี หญิงชราบอกว่าเธอน่าจะตระหนักถึงสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้น เธอควรจะปฏิเสธตั้งแต่แรก ไม่ปล่อยให้โชคชะตาพาเธอไปยังที่ที่เธอไม่ต้องการไป กระทั่งยากที่จะให้อภัยตนเอง หญิงชราผู้นี้ก็คือ เทราด์ล ยุงเงอ(Traudl Junge) เลขานุการส่วนตัวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ช่วงปี 1942-1945 หรือระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงวันสุดท้ายของท่านผู้นำ ภาพดังกล่าวเป็นคลิปการให้สัมภาษณ์ในสารคดีเรื่อง Blind Spot : Hitler's Secretary ปี 2002 ขณะอายุ 81 ปี ไม่นานก่อนที่เธอจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ภาพต่อมา หญิงสาวกลุ่มหนึ่งถูกพาเข้าพบอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เพื่อสมัครเป็นเลขานุการส่วนตัว หนึ่งในนั้นคือ เทราด์ล ยุงเงอ แสดงอาการดีอกดีใจเมื่อฮิตเลอร์รับเธอเข้าทำงาน จากนั้นหนังพามายังเหตุการณ์วันที่ 20 เมษายน 1945 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดครบ 56 ปีของฮิตเลอร์ กรุงเบอร์ลินถูกปืนใหญ่รัสเซียถล่มอย่างหนักหน่วง ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่านับจากวันนี้คือช่วงเวลาสำคัญที่นำไปสู่ตอนจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อทหารกองทัพแดงของโซเวียตยาตราเข้าสู่เบอร์ลินในวันที่ 21 เมษายน และยึดเบอร์ลินได้อย่างเด็ดขาดในวันที่ 2 พฤษภาคม โดยก่อนหน้านี้ วันที่ 30 เมษายน ฮิตเลอร์ได้กระทำอัตวินิบาตกรรมร่วมกับอีวา โบรน(Eva Braun) ภรรยาที่เพิ่งแต่งงานกัน ช่วงเวลานั้น ฮิตเลอร์ปักหลักอยู่ในกองบัญชาการใต้ดิน หรือ Fuhrerbunker ในเบอร์ลิน โดยไม่ยอมฟังคำแนะนำให้หลบหนีไปของบุคคลใกล้ชิด สภาพจอมทัพผู้เกรียงไกรกลับกลายเป็นชายสูงวัยผู้หมดสิ้นหนทาง ซ้ำยังป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน เสียงระเบิดจากด้านบนฐานทัพใต้ดินที่ดังสนั่นหวั่นไหวอยู่ตลอดเวลา กับข่าวคราวจากกองทหารรอบนอกเบอร์ลินที่มีแต่การพลาดท่าเสียที ยิ่งทำให้ฮิตเลอร์ตกอยู่ในอาการเซื่องซึม และเริ่มคิดวางแผนปลิดชีวิตตนเอง หลังเที่ยงคืนวันที่ 30 เมษายน ฮิตเลอร์เข้าพิธีแต่งงานอย่างเรียบง่ายกับอีวาน โบรน หญิงสาวผู้เป็นชู้รักมาเนิ่นนาน จากนั้นเขาให้ยุงเงอพิมพ์พินัยกรรมส่วนตัวและใบมอบอำนาจทางการเมือง ช่วงบ่ายวันเดียวกัน ฮิตเลอร์และอีวากล่าวลาสมาชิกในกองบัญชาการใต้ดิน ทั้งรัฐมนตรี นายทหาร รวมทั้งยุงเงอ ก่อนจะปลีกตัวอยู่ตามลำพังในห้องพัก เวลาประมาณ 15.30 น. เสียงปืนดังลั่นจากภายใน เป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่าฮิตเลอร์และอีวา โบรน จบชีวิตตนเองแล้ว ทหารรับใช้เป็นคนเข้าไปตรวจศพและนำร่างคนทั้งสองไปเผานอกบังเกอร์ตามคำสั่งสุดท้ายของฮิตเลอร์ ส่วน ดร.โจเซฟ เกิบเบิลส์ รัฐมนตรีโฆษณาชวนเชื่อ กับภรรยา หลังจากวางยาพิษลูก 6 คนแล้ว ทั้งสองให้ทหารยิงและจุดไฟเผาศพเช่นเดียวกับผู้นำที่พวกเขาจงรักภักดี นี่คือเหตุการณ์วาระสุดท้ายของฮิตเลอร์จากการประมวลคำบอกเล่าของพยานและหลักฐานต่างๆ จนได้เป็นข้อเท็จจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งหนัง Der Untergang ของผู้กำกับฯ โอลิเวอร์ เฮิร์ชบีเกล(Oliver Hirschbiegel) นำมาถ่ายทอดอย่างไม่ผิดเพี้ยน โดยยึดอิงจากหนังสือ 2 เล่ม คือ Inside Hitler's Bunker : The Last Days of the Third Reich ประวัติศาสตร์วาระสุดท้ายของฮิตเลอร์โดย โจอาคิม เฟสต์ และ Until the Final Hour : Hitler's Last Secretary บันทึกเรื่องราวฮิตเลอร์โดย เทราด์ล ยุงเงอ เลขาฯส่วนตัว กระนั้น ความน่าสนใจของหนังไม่ได้อยู่ตรงเหตุการณ์หลักๆ ดังกล่าว แต่อยู่ที่รายละเอียดของเรื่องราว และอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร ทั้งฮิตเลอร์, ยุงเงอ, อีวา โบรน และบุคคลแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งเกร็ดต่างๆ ซึ่งผู้ชมสามารถเก็บเกี่ยวได้หากค้นคว้าประวัติศาตร์และประวัติบุคคลเพิ่มเติม รายละเอียดที่น่าสนใจเช่น หนังนำเสนอเหตุการณ์ที่ฮิตเลอร์เรียกแพทย์ทหารมาพบเพื่อปรึกษาเรื่องการใช้ยาไซยาไนด์และวิธียิงตัวตาย เนื่องจากฮิตเลอร์ซึ่งป่วยเป็นโรคพาร์กินสันเกรงว่าจะถือปืนไม่มั่นคงจนยิงพลาด จึงตั้งใจว่าจะกัดแคปซูลไซยาไนด์พร้อมกับเหนี่ยวไก เหตุที่รายละเอียดตรงจุดนี้น่าสนใจก็เพราะมีการถกเถียงกันภายหลังว่า สาเหตุการตาย ที่แท้จริงคืออะไร ยาพิษหรือกระสุนปืนกันแน่ที่ปลิดชีวิตฮิตเลอร์ ข้อสันนิษฐานที่ขัดแย้งกัน เช่น นักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งค้านว่าประตูห้องพักของฮิตเลอร์หนาเกินกว่าจะได้ยินเสียงปืนจากภายในตามที่พยานหลายคนกล่าวอ้าง ทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่า การระบุว่าฮิตเลอร์ยิงตัวตายอาจเป็นความพยายามสร้างภาพ การตายอย่างสมเกียรติ โดยให้ฮิตเลอร์ลั่นไกปลีดชีพตนเองด้วยกระสุนเพียงนัดเดียว แทนที่จะตายอย่างขี้ขลาดด้วยยาพิษ ประเด็นนี้หนังไม่ได้ให้คำตอบไว้ชัดเจน เพียงแต่ยืนยันคำกล่าวอ้างของยุงเงอว่าเธอได้ยินเสียงปืนดังก้องจากห้องพักของฮิตเลอร์ เมื่อพิจารณาที่บทหนัง แม้หนังจะอิงจากมุมมองของเลขานุการสาวเป็นหลัก แต่เพื่อให้ครอบคลุมเหตุการณ์ทั้งภายนอก-ภายในกองบัญชาการใต้ดิน รวมทั้งสะท้อนสภาพชาวเยอรมันที่ต้องรับเคราะห์กรรมเพราะการนำพาประเทศของฮิตเลอร์ บทหนังจึงถ่ายเทมุมมองไปยังอีก 2 ตัวละคร คนแรกเป็นเด็กชายที่ร่วมรบกับกองทัพเยอรมันด้วยศรัทธาในตัวผู้นำ แต่สุดท้ายเขากลับต้องสูญเสียครอบครัว อีกคนเป็นแพทย์ทหารผู้มองเห็นคุณค่าของชีวิตคนมากกว่าอำนาจของผู้ปกครอง ทั้งสองตัวละครคือตัวแทนของชาวเยอรมันที่ต้องแบกรับความเลวร้ายของสงครามที่ผู้นำประเทศก่อขึ้น ซ้ำยังอ้างว่าความเจ็บปวดทุกข์ยาก แม้กระทั่งความตาย เป็นชะตากรรมของชาวเยอรมัน จึงปฏิเสธทางออกที่จะช่วยเหลือประชาชนของตนเอง ขณะที่ชาวเยอรมันส่วนหนึ่งต้องทุกข์ร้อนแสนสาหัส หนังได้นำเสนอภาพกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่ยังคงเคารพศรัทธาในตัวฮิตเลอร์ไม่เสื่อมคลาย ไม่ว่าจะเป็นยุงเงอเอง ที่ไม่ยอมไปจากเบอร์ลินตั้งแต่แรก หรือสามี-ภรรยาเกิบเบิลส์ที่อุทิศชีวิตตนและครอบครัวให้แก่อุดมการณ์นาซี ทำให้เกิดการถ่วงดุลด้านดี-ร้ายของฮิตเลอร์ในระดับสมเหตุสมผล ไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง อีกจุดหนึ่งซึ่งผู้เขียนชอบคือการใส่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยไว้ในเรื่องราวหรือการกระทำของตัวละคร ซึ่งถ้าใครเคยรู้หรือได้ค้นคว้าประวัติศาสตร์และประวัติบุคคลเพิ่มเติมก็จะได้รายละเอียดเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากเรื่องราวหลักของหนัง เช่น การสูบบุหรี่ของตัวละครภายในกองบัญชาการใต้ดิน สามารถบ่งบอกภาวะความตึงเครียดในนั้นได้อย่างดี เพราะฮิตเลอร์เป็นคนต่อต้านการสูบบุหรี่อย่างรุนแรง ทำให้ทุกคนเมื่อพ้นสายตาฮิตเลอร์มักจะจุดบุหรี่สูบทันทีด้วยความอยาก ฉากสำคัญที่พยานหลายรายกล่าวไว้ตรงกันคือ เมื่อมีคำยืนยันว่าฮิตเลอร์เสียชีวิต คนในกองบัญชาการใต้ดินต่างจุดบุหรี่ขึ้นสูบโดยพร้อมเพรียง ทั้งยังพ่นควันเป็นทางยาวราวกับการถอนหายใจ หรือเกร็ดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างฮิตเลอร์กับยุงเงอ ตอนที่เธอมาสมัครเป็นเลขาฯ ทันทีที่ฮิตเลอร์ทราบว่ายุงเงอมาจากมิวนิค เขาเรียกเธอเข้าไปทดลองงานทันที สาเหตุที่เมืองมิวนิคสะดุดใจฮิตเลอร์ก็เพราะเป็นเมืองเกิดของอีวา โบรน หญิงสาวคนรักของเขานั่นเอง เกร็ดเหล่านี้ไม่รู้ก็ไม่เสียหาย แต่ถ้าค้นพบและเข้าใจก็จะทำให้หนังประวัติศาสตร์หนักอึ้งกลายเป็นหนังที่ดูสนุกมากยิ่งขึ้นนอกจากคุณค่า-ความงามที่หนังมีอยู่แล้วเต็มเปี่ยม >
Create Date : 28 มิถุนายน 2549
Last Update : 21 สิงหาคม 2549 2:25:24 น.
7 comments
Counter : 4677 Pageviews.
โดย: octavio วันที่: 30 มิถุนายน 2549 เวลา:6:22:51 น.
โดย: octavio วันที่: 1 กรกฎาคม 2549 เวลา:18:54:33 น.
โดย: ปิงปอง IP: 117.47.40.229 วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:39:35 น.
โดย: (_Ecalos_) IP: 217.128.60.111 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:8:36:26 น.
โดย: 2356 IP: 117.47.164.210 วันที่: 24 เมษายน 2551 เวลา:14:45:08 น.
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [? ]
บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549 ..............................select movie / blog ....... --international-- ....... The Walking Dead I Wish I Knew 127 Hours The Expendables vs. Salt No puedo vivir sin ti Bright Star The World is Big and Salvation Lurks Around the Corner Sin Nombre Invictus Afghan Star Moon Gigante The Promotion An Education Up in the Air Snow (Snijeg) Liverpool Tahaan Lion's Den Tulpan Everlasting Moments Absurdistan Topsy-Turvy Ramchand Pakistani The Pope's Toilet Antonio's Secret พลเมืองจูหลิง Flashbacks of a Fool And When Did You Last See Your Father? The Boy in the Striped Pyjamas Gran Torino Departures Gomorra Abouna + Daratt Grace Is Gone The Road to San Diego Into the Wild Slumdog Millionaire The Silly Age The Year My Parents Went on Vacation It's Hard to Be Nice Ben X Caramel The Class Kings จาก Kolya ถึง Empties The Unknown Woman Dokuz Heima Cocalero The Blood of My Brother & Iraq in Fragments 12:08 East of Bucharest Rescue Dawn Mongol 6 : 30 Something Like Happiness To Each His Cinema The Counterfeiters ข้างหลังภาพ Lions for Lambs + Michael Clayton Father and Daughter Possible Lives กอด The Buried Forest รัก-ออกแบบไม่ได้ Lights in the Dusk The Piano Teacher Do You Remember Dolly Bell? Sisters in Law Al Otro Lado A Time for Drunken Horses Zelary Bug The Invasion The Science of Sleep Paris, I love you Still Life The Lives of Others Heading South Renaissance ABC Africa The Death of Mr. Lazarescu Maria Full of Grace The Last Communist Eli, Eli, lema sabachthani? 4 : 30 Late August, Early September The Circle The Cave of the Yellow Dog Italian for Beginners Love/Juice Your Name is Justine The Syrian Bride Dragon Head Reconstruction Eros The Scarlet Letter The Night of Truth Familia Rodante Bonjour Monsieur Shlomi Lantana Flanders Tokyo . Sora The World Whisky Buffalo Boy S21 : The Khmer Rouge Killing Machine Fire, Earth, Water C.R.A.Z.Y. All about My Mother Jasmine Women Battle in Heaven The Day I Became a Woman Man on the Train CSI : Grave Danger Innocence Life Is a Miracle Drugstore Girl Der Untergang The Bow Happily Ever After The Wayward Cloud The House of Sand Or, My Treasure Janji Joni Moolaade Vodka Lemon Angel on the Right Twentynine Palms The Taste of Tea ....... --independent-- ....... Goodbye Solo The Hurt Locker (500) Days of Summer Towelhead Kabluey Three Burials of Melquiades Estrada Titus Chuck & Buck The Woodsman Pollock Last Days The Limey Inside Deep Throat Coffee and Cigarettes Garden State My Name is Joe Sexy Beast Real Women Have Curves The Brown Bunny Before Sunset Elephant Bubble You Can Count on Me 9 Songs ....... --classic-- ....... Memories of Underdevelopment (1968) The Last Laugh The Snows of Kilimanjaro The Cabinet of Dr.Caligari Nanook of the North The Apu Trilogy ....... --หนังมีไว้ให้คิด-- ....... The Schoolgirl's Diary Long Road to Heaven The Imam and the Pastor Maquilapolis ....... --what a film!-- ....... Kabuliwala (1956) Macunaima (1969) Kozijat rog (1972) The Girl and the Echo (1964) Fruits of Passion (1981) Happy Gypsies (1967) ....... --introducing-- ....... Death Race 2000 (1975) ซอมบี้ปากีฯ+ผีดิบมาเลย์+ซูเปอร์แมนตุรกี Zinda Muoi Father and Daughter ....... --directed by-- ....... Ouran (1968) Pierwsza milosc (1974) Salome (1978) 4 หนังสั้น เคียรอสตามี recommended ....... - 'รงค์ วงษ์สวรรค์ กับภาพยนตร์ - เทมาเส็ก พิคเจอร์ส - Heading South - Still Life - The Apu Trilogy - The Day I Became a Woman - จาก Fire, Earth สู่ Water พญาอินทรี ศราทร @ wordpress
1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30
คิดว่าต้องสนุกและดีแน่ๆ
เพราะได้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากรีวิวนี้
ไปประกอบกับการดู
.
.
จะไปหามาดูให้ได้ค่ะ