Invictus แมนเดลาวางไทร์
Invictus แมนเดลาวางไทร์พล พะยาบ คอลัมน์อาทิตย์เธียเตอร์ มติชนรายวัน 7 กุมภาพันธ์ 2553 ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการสร้างหนังประวัติชีวิตหรือหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ เนลสัน แมนเดลา บุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งแอฟริกาใต้ นักแสดงผิวสีชั้นนำอย่าง แดนนี โกลเวอร์ (Mandela, 1987) ซิดนีย์ พัวติเยร์ (Mandela and de Klerk, 1997) เดนนิส เฮย์เบิร์ต (Goodbye Bafana, 2007) ต่างเคยสวมบท แมนเดลา มาแล้วและได้เครดิตกันพอสมควร (สองคนแรกแสดงในหนังสำหรับฉายทางโทรทัศน์) แต่ Invictus (2009) ถือเป็นหนังว่าด้วยแมนเดลาที่มีองค์ประกอบงานสร้างโดดเด่นที่สุดด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ อย่าง เริ่มจากผู้มานั่งแท่นกำกับคือ คลินต์ อีสต์วูด ซึ่งนับวันยิ่งมากทั้งบารมีและฝีมือ ได้คู่หูอย่าง มอร์แกน ฟรีแมน ที่เคยร่วมงานกันจนได้ออสการ์หนังยอดเยี่ยมมาแล้ว 2 เรื่อง (Unforgiven และ Million Dollar Baby) ประกบกับ แมตต์ เดมอน ที่กำลังไปได้ดีกับงานขายฝีมือ ใช้ทุนสร้าง 50 ล้านดอลลาร์ เนื้อหาพูดถึงหน้าประวัติศาสตร์ที่ยังไม่เคยถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ ว่าด้วย อำนาจเกมกีฬา ในการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกปี 1995 อันเป็นหมุดหมายสำคัญแห่งความปรองดองภายในชาติและสื่อถึงจุดเริ่มต้นของแอฟริกาใต้ยุคใหม่ที่สื่อไปยังนานาประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าย้อนไปคราวที่ เนลสัน แมนเดลา ตอบคำถามสื่อมวลชนระหว่างโปรโมตหนังสืออัตชีวประวัติ Long Walk to Freedom เมื่อปี 1995 ว่าถ้าหนังสือเล่มนี้เป็นภาพยนตร์อยากให้ มอร์แกน ฟรีแมน แสดงเป็นตัวเขา จากนั้นทั้งสองได้เป็นมิตรที่ดีต่อกัน และเป็นแรงกระตุ้นให้ฟรีแมนตั้งใจทำหนังชีวประวัติแมนเดลาจากหนังสือ Long Walk to Freedom ให้สำเร็จ แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะล้มพับไปในขั้นตอนเขียนบทหนัง แต่ความตั้งใจของฟรีแมนยังต่อเนื่องมาจนได้พบหนังสือที่เหมาะกับการสร้างหนังมากกว่า เขาผลักดันปลุกปั้นจนเกิดเป็นหนังเรื่อง Invictus และได้แสดงเป็นแมนเดลาในที่สุด มองแบบเชื่อมโยงกันก็คล้ายกับว่า แมนเดลาเป็นผู้จุดประกายโดยอ้อมให้เกิดหนังเรื่องนี้ตั้งแต่ 15 ปีก่อน หนังสือที่เป็นต้นเรื่องของ Invictus มีชื่อว่า Playing the Enemy: Nelson Mandela and the Game That Changed a Nation เขียนโดย จอห์น คาร์ลิน ดัดแปลงเป็นบทหนังโดย แอนโธนี เพ็คแฮม หนึ่งในมือเขียนบท Sherlock Holmes เวอร์ชั่นล่าสุด ส่วนชื่อ Invictus มาจากชื่อบทกวีขนาดสั้นของ วิลเลียม เออร์เนสต์ เฮนลีย์ มีความหมายว่า ไม่ยอมพ่ายแพ้ หนังเริ่มต้นด้วยภาพจำลองภาพข่าวตั้งแต่แมนเดลาได้รับอิสรภาพในปี 1990 หลังจากถูกจองจำนานถึง 27 ปี จนถึงช่วงเวลาที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของแอฟริกาใต้ในปี 1994 กระทั่งเป็นจุดสิ้นสุดของยุคอพาร์ไทด์หรือนโยบายกีดกัน-แบ่งแยกสีผิวอย่างเป็นทางการ แมนเดลา (ฟรีแมน) ในวัย 76 ปี เริ่มต้นวันใหม่ในฐานะผู้นำประเทศเหมือนเช่นทุกวัน เขาเดินออกกำลังกายนอกบ้านโดยมีการ์ด 2 คน เดินตามอย่างระแวดระวังและตื่นตระหนก ต่างจากแมนเดลาซึ่งดูจะไม่ห่วงกังวลต่อความปลอดภัยของตนเองนักภารกิจสำคัญของแมนเดลาคือการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ ไม่แบ่งแยกกีดกันหรือแก้แค้นเอาคืนกันอีกต่อไปเพื่อให้ประเทศเดินไปข้างหน้า สัญญาณแรกแห่งความสมานฉันท์จึงเกิดขึ้นใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นการขอให้เจ้าหน้าที่ผิวขาวในทำเนียบประธานาธิบดีอยู่ช่วยงานเขาและประเทศนี้ต่อไป หรืออนุญาตให้การ์ดผิวขาวทำงานรักษาความปลอดภัยตัวเขาร่วมกับการ์ดผิวดำ เมื่อได้ชมเกมรักบี้ของทีมชาติแอฟริกาใต้หรือที่เรียกว่า สปริงบ็อคส์ ซึ่งเล่นได้ย่ำแย่ท่ามกลางกองเชียร์คนผิวดำที่เอาใจช่วยทีมฝั่งตรงข้ามเพราะถือว่าสปริงบ็อคส์คือหนึ่งในสัญลักษณ์ของยุคอพาร์ไทด์และการปกครองโดยชนกลุ่มน้อยผิวขาว ขณะที่อีกไม่กี่เดือนข้างหน้าแอฟริกาใต้จะได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกครั้งที่ 3 หลังจากโดนบอยคอตต์ไม่ให้เข้าร่วมในสองครั้งแรกเนื่องจากนโยบายอพาร์ไทด์ แมนเดลาจึงมองเห็นโอกาสสำคัญที่จะใช้เกมรักบี้หลอมรวมใจชาวแอฟริกาใต้ให้เป็นหนึ่งเดียว พร้อมกับสื่อให้โลกรับรู้ว่าแอฟริกาใต้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เขาเรียก ฟรองซัวส์ พีนาร์ (เดมอน) กัปตันทีมเข้าพบเพื่อพูดคุยให้ข้อคิดและตามให้กำลังใจทีมอย่างต่อเนื่อง ยับยั้งแผนโละสีเสื้อและสัญลักษณ์ของสปริงบ็อคส์แม้คนผิวดำส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย อีกทั้งแสดงตนอย่างเปิดเผยว่าสนับสนุนสปริงบ็อคส์เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ทุกคน รักบี้ชิงแชมป์โลกซึ่งงวดเข้ามาทุกขณะจึงไม่ได้มีความหมายแค่การต่อสู้เพื่อชัยชนะในเกมกีฬาเท่านั้น สำหรับแมนเดลา...นี่อาจเป็นช่วงเวลาแห่งชัยชนะของชาวแอฟริกาใต้ทั้งประเทศ แม้เป็นหนังที่อิงกับประวัติศาสตร์การเมืองและการเหยียดผิว แต่ด้วยท่าทีของหนังที่มุ่งนำเสนอแก่นสารว่าด้วยวิสัยทัศน์อันแหลมคมและความสำเร็จของแมนเดลาผ่านเกมรักบี้ รายละเอียดเรื่องการเมือง แรงเสียดทานรอบทิศ หรือปัญหาอุปสรรคในด้านต่างๆ จึงไม่ถูกกล่าวถึงหรือกล่าวถึงเพียงผิวเผิน นอกจากเรื่องราวของแมนเดลาซึ่งช่วงเวลานั้นเหมือนจะหายใจเข้า-ออกเป็นรักบี้แล้ว รายละเอียดในหนังส่วนใหญ่ถูกใส่เข้ามาเพื่อรองรับประเด็นการสร้างความสมานฉันท์อย่างมีสีสัน เช่น สถานการณ์ระหว่างการ์ดมาดเข้มสองสีผิวที่ต้องมาทำงานร่วมกันอย่างเสียไม่ได้แต่สุดท้ายกลับยิ้มหวานให้กัน คนรับใช้หญิงผิวดำในบ้านของพีนาร์มีชีวิตชีวาขึ้นมาเมื่อรู้ว่าเจ้านายจะได้เข้าพบแมนเดลา จนถึงฉากเชียร์รักบี้ในช่วงท้ายซึ่งกำแพงความแบ่งแยกได้ถูกทำลายลง ผลคือ Invictus เป็นหนังที่ดูสนุกและผ่อนคลายได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เนื่องจากไม่มีบทตอนเคร่งเครียด แถมมีฉากเรียกรอยยิ้มได้เป็นระยะ บทหนังตั้งแมนเดลาไว้เป็นหลัก แล้วนำแอฟริกาใต้ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ กับพีนาร์ (รวมถึงทีมสปริงบ็อคส์) ในช่วงตกต่ำย่ำแย่มาเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับสถานะของคนที่เคยไร้ทางสู้ของแมนเดลาได้อย่างลึกซึ้ง การผ่านช่วงยากลำบากด้วยแรงใจชุบชูตนเองอย่าง ไม่ยอมพ่ายแพ้ ย่อมนำพาสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ในที่สุด เหมือนเช่นชัยชนะของสปริงบ็อคส์และแอฟริกาใต้ซึ่งมีแมนเดลาอยู่เบื้องหลัง หากตั้งโจทย์ว่า Invictus เป็นหนังที่มุ่งเชิดชูบุคคลสำคัญของแอฟริกาใต้และของโลก หรือสร้างภาพเชิงอุดมคติโดยถ่ายทอดผ่านเหตุการณ์หนึ่ง คำตอบย่อมเป็นความยอดเยี่ยม แต่หากถามถึงหนังประวัติศาสตร์บทสำคัญหรือหนังสะท้อนภาพแอฟริกาใต้อย่างสมจริงก็ต้องถือว่าหนังยังมีจุดที่ควรแก้ไขหรือต้องเติมคำลงในช่องว่างอีกพอสมควร เพราะนอกจากบทหนังจะถูกเปลี่ยนแปลงแต่งเติมจากความจริงหลายจุดแล้ว รายละเอียดมากมายที่ถูกละเลย รวมไปถึงการนำเสนอภาพสวยหรูของความสมานฉันท์ราวกับเป็นตอนจบแบบแฮปปี้เอ็นดิ้ง ยิ่งทำให้หนังจับต้องได้น้อยลงและกลายเป็นแค่งานบันเทิงสูตรสำเร็จเรื่องหนึ่งกระทั่งผู้เขียนคิดต่อเล่นๆ ว่า ดู Invictus จบแล้ว เปิดดูหนังเอเลี่ยนบุกแอฟริกาใต้เรื่อง District 9 แก้เลี่ยนหน่อยก็ดีเหมือนกัน
Create Date : 12 มิถุนายน 2553
Last Update : 12 มิถุนายน 2553 14:39:35 น.
3 comments
Counter : 2281 Pageviews.
โดย: อุ้มสี วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:20:42:50 น.
โดย: Seam - C IP: 61.90.87.12 วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:15:59:05 น.
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [? ]
บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549 ..............................select movie / blog ....... --international-- ....... The Walking Dead I Wish I Knew 127 Hours The Expendables vs. Salt No puedo vivir sin ti Bright Star The World is Big and Salvation Lurks Around the Corner Sin Nombre Invictus Afghan Star Moon Gigante The Promotion An Education Up in the Air Snow (Snijeg) Liverpool Tahaan Lion's Den Tulpan Everlasting Moments Absurdistan Topsy-Turvy Ramchand Pakistani The Pope's Toilet Antonio's Secret พลเมืองจูหลิง Flashbacks of a Fool And When Did You Last See Your Father? The Boy in the Striped Pyjamas Gran Torino Departures Gomorra Abouna + Daratt Grace Is Gone The Road to San Diego Into the Wild Slumdog Millionaire The Silly Age The Year My Parents Went on Vacation It's Hard to Be Nice Ben X Caramel The Class Kings จาก Kolya ถึง Empties The Unknown Woman Dokuz Heima Cocalero The Blood of My Brother & Iraq in Fragments 12:08 East of Bucharest Rescue Dawn Mongol 6 : 30 Something Like Happiness To Each His Cinema The Counterfeiters ข้างหลังภาพ Lions for Lambs + Michael Clayton Father and Daughter Possible Lives กอด The Buried Forest รัก-ออกแบบไม่ได้ Lights in the Dusk The Piano Teacher Do You Remember Dolly Bell? Sisters in Law Al Otro Lado A Time for Drunken Horses Zelary Bug The Invasion The Science of Sleep Paris, I love you Still Life The Lives of Others Heading South Renaissance ABC Africa The Death of Mr. Lazarescu Maria Full of Grace The Last Communist Eli, Eli, lema sabachthani? 4 : 30 Late August, Early September The Circle The Cave of the Yellow Dog Italian for Beginners Love/Juice Your Name is Justine The Syrian Bride Dragon Head Reconstruction Eros The Scarlet Letter The Night of Truth Familia Rodante Bonjour Monsieur Shlomi Lantana Flanders Tokyo . Sora The World Whisky Buffalo Boy S21 : The Khmer Rouge Killing Machine Fire, Earth, Water C.R.A.Z.Y. All about My Mother Jasmine Women Battle in Heaven The Day I Became a Woman Man on the Train CSI : Grave Danger Innocence Life Is a Miracle Drugstore Girl Der Untergang The Bow Happily Ever After The Wayward Cloud The House of Sand Or, My Treasure Janji Joni Moolaade Vodka Lemon Angel on the Right Twentynine Palms The Taste of Tea ....... --independent-- ....... Goodbye Solo The Hurt Locker (500) Days of Summer Towelhead Kabluey Three Burials of Melquiades Estrada Titus Chuck & Buck The Woodsman Pollock Last Days The Limey Inside Deep Throat Coffee and Cigarettes Garden State My Name is Joe Sexy Beast Real Women Have Curves The Brown Bunny Before Sunset Elephant Bubble You Can Count on Me 9 Songs ....... --classic-- ....... Memories of Underdevelopment (1968) The Last Laugh The Snows of Kilimanjaro The Cabinet of Dr.Caligari Nanook of the North The Apu Trilogy ....... --หนังมีไว้ให้คิด-- ....... The Schoolgirl's Diary Long Road to Heaven The Imam and the Pastor Maquilapolis ....... --what a film!-- ....... Kabuliwala (1956) Macunaima (1969) Kozijat rog (1972) The Girl and the Echo (1964) Fruits of Passion (1981) Happy Gypsies (1967) ....... --introducing-- ....... Death Race 2000 (1975) ซอมบี้ปากีฯ+ผีดิบมาเลย์+ซูเปอร์แมนตุรกี Zinda Muoi Father and Daughter ....... --directed by-- ....... Ouran (1968) Pierwsza milosc (1974) Salome (1978) 4 หนังสั้น เคียรอสตามี recommended ....... - 'รงค์ วงษ์สวรรค์ กับภาพยนตร์ - เทมาเส็ก พิคเจอร์ส - Heading South - Still Life - The Apu Trilogy - The Day I Became a Woman - จาก Fire, Earth สู่ Water พญาอินทรี ศราทร @ wordpress
1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30