ความไม่รู้เป็นลาภอันประเสริฐ

ความเหมือนในความต่าง หรือ ความต่างในความเหมือน

ความเหมือน คือ สิ่งที่มีลักษณะ เท่ากับ เท่ากัน ไม่ต่างจากกัน
ความต่าง คือ สิ่งที่มีลักษณะ ไม่เท่ากับ ไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน

วิภาษวิธีของมาร์ก เคยกล่าวถึง สิ่งที่รวมกันของสิ่งตรงข้าม นั่นอาจจะเป็นเรื่องที่ผู้คนส่วนใหญ่มองข้ามไป ผู้คนยึดติดกับภาพลักษณ์ ที่เลวร้ายของ คอมมิวนิส น้อยคนนักที่จะเข้าใจถึงความหมายหรือ แก่นของคอมมิวนิส และนั่นทำให้ผู้คนไม่มองและสนใจ หลักปรัชญาของมาร์ก ซักเท่าไหร่ จนในที่สุดสิ่งเหล่านี้ก็ถูกทอดทิ้ง เพียงเพราะมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์ที่ผู้คนปฏิเสธ (แต่ผู้เขียนไม่ปฏิเสธ สิ่งที่เรียกว่าความรู้)

ในสังคมปัจจุบันนี้ ผู้คนพยายามที่จะส่งเสริม ความเป็นปัจเจกบุคคล ซึ่งย่อมหมายถึง ความแตกต่างกันในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทรรศนะคติ ความคิดความอ่าน การแสดงความคิดเห็น เสรีภาพ

แต่ในมุมกลับของความพยายามนั้นๆ จะเห็นได้ว่า ในบางส่วนนั้น สิ่งที่เหมือนๆกัน ได้รับความส่งเสริมมากกว่า ในเรื่องของการใช้ชีวิต หรือ เรื่องการจำกัดความคิดความเห็น และเสรีภาพให้เป็นไปในทางเดียวกัน

ในรูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยนั้น อะไรคือแก่นของมัน คือ เรื่องของสิทธ์และเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน แต่ในความเท่าเทียมนั้น ย่อมหมายถึง ความเท่าเทียมที่ต้องเป็นเหมือนๆกัน เพราะผู้คนที่เป็นส่วนน้อยที่ไม่ต่างออกไปมักที่จะได้รับการมองข้ามและไม่ได้รับการให้ความสำคัญ เช่น ชนกลุ่มน้อย คนชายขอบต่าง ฯลฯ และก็กลายเป็นการปฏิเสธความแตกต่างกลายๆ ทั้งๆที่เนื้อหาที่แท้น่าจะต้องเป็นเรื่องของความเท่าเทียมที่ไม่ว่าจะเหมือนหรือต่าง ก็ต้องได้รับเท่ากัน

ความพยายามที่จะเหมือน ในการกล่าวอ้างประชาธิปไตยกลวงๆ ที่มักพูดกันปาวๆ ว่าเราก็เป็นประชาธิปไตย แต่พอในความเป็นจริงแล้ว เราก็กลับหลังหันแล้วบอกว่า เราไม่เหมือนนะ เพราะเราเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ แล้วก็พูดกันต่อไปอีกว่า ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ซึ่งนั่นย่อมหมายถึง ความเป็นจริงที่ว่า ในความเหมือนกันของประชาธิปไตย(แค่ชื่อ) ดำรงไว้ด้วยความต่าง(ในรายละเอียด)

ความแตกต่าง ในสังคมวัตถุนิยมที่วัดกันด้วยวัตถุ และรูปธรรมเป็นเครื่องมือวัดที่ชัดเจน ผู้คนซึ่งไร้ซึ่งวัตถุย่อม ได้รับความเท่าเทียมไม่เท่ากันผู้มีวัตถุ
ชาวนา ชาวไร่ ชาวบ้าน ผู้ที่ต่างเหล่านี้ ย่อมได้รับการปฏิบัติไม่เหมือน เหล่าเศรษฐี ผู้มีเงิน
ความเหมือนกันของผู้ไม่มีวัตถุ ก่อให้เกิดความต่างต่อสังคม

ความต้องการของผู้คนก็เป็นเรื่องของความต่าง ผู้คนเฝ้าไล่ตามวัตถุ ที่จะสร้างความต่างให้ตน ไม่ว่าจะเป็นความต่างในเรื่องการสร้างชนชั้นจำแลง ที่เหล่าผู้บ้าคลั่งวัตถุ อุปโลกน์ขึ้น

ผู้คนอยากเป็นคนทันสมัย นั่นคือความอยากเหมือน แต่ในความทันสมัยนั้นๆ อีกด้านก็คือ อยากต่าง คือไม่อยากใช้สิ่งที่ทันสมัยแบบเดียวกับผู้อื่น
เช่นเรื่องของแฟชั่น ที่ผู้คนพยายามไคว่คว้าหาสิ่งที่ทำให้ตน โดนเด่น แต่ในความโดดเด่นนั้น ก็ย่อมหมายถึง ความเหมือนกันในความแสวงหาแฟชั่นเพื่อสร้างความโดดเด่นนั้นๆ

ซึ่งรวมไปถึงการใช้ชีวิตที่ เหมือนกันและต่างกัน ในรูปแบบที่สังคมกำหนดไว้กลายๆ วัฒนธรรม ประเพณี นั่นคือเหมือนในสิ่งที่บ่งบอกความเป็นชนชาติ ต่างกันในความเป็นท้องถิ่นนั้นๆ
และในปัจจุบัน ผู้คนสมัยใหม่ได้สร้างค่านิยมของพวกเขา และนั่นคือ ความต่างจากของเก่า และสร้างความไม่ยอมรับต่อ ผู้คนที่ปฏิเสธข้อเท็จจริง ยังผลไปถึงการห้ามความต่างเพื่อดำรงความเหมือน แต่ปากกลับบอกถึงการยอมรับความต่าง

ผู้คน นั้นมีความเหมือน และทำให้เกิดความต่าง
และในความต่างก็ยังมีความเหมือนคงอยู่เสมอๆ

ตราบใดสังคม ยังปฏิเสธความจริง ข้อนี้อยู่ปัญหาหลายๆอย่างก็จะดำรงอยู่กับสังคมต่อไป เพราะแท้จริงแล้ว ไม่มีทางใดที่ผู้คนจะเหมือน หรือต่างกันไปทั้งหมด ความต่างและความเหมือนนั้นไม่สามารถที่จะแบ่งแยกออกจากกันได้ แต่สังคมมักจะปกป้องส่งเสริมความเหมือน ทำลายความต่าง ในบางส่วน และในบางส่วนก็เป็นทางกลับกัน

แท้จริงแล้ว มีความต่างในความเหมือน หรือว่านั่นคือ ความเหมือนในความต่าง


Create Date : 24 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2549 16:03:25 น. 0 comments
Counter : 6440 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KongMing
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เล่าจื้อกล่าวว่า"ผู้รู้เขาคือปราชญ์"
และกล่าวอีกว่า"ผู้รู้เราคือปัญญาชน"
ณ ปากทางเข้าถ้ำวิหารเทพอพอลโล่แห่งเดลฟี
มีป้ายทองคำเขียนว่า "Know thyself" แปลว่า รู้จักตนเอง
"temet nosce" ภาษาลาตินที่Oracleกล่าวให้
Neo รู้จักตนเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดของคนเราอยู่ที่ คำกล่าวเหล่านี้
[Add KongMing's blog to your web]