 |
|
ต้นตอแห่งปัญหา ภาษา?
ในทุกวันนี้เองที่มีการบอกว่าเป็นปีแห่งการใช้ภาษาไทย ซึ่งฟังดูก็ตลกไม่น้อยเพราะยังรู้สึกได้ถึงความคลุมเครือและกำกวม ก่อให้เกิดความแตกแยกได้ไม่ยากเย็นเลย เพราะคำกล่าวอ้างถึงภาษาไทยนั้น เป็นเพียงภาษาของทางภาคกลางและภาษาราชการเพียงเท่านั้น นอกจากนั้นทางเหล่าผู้มีส่วนเกี่ยวทั้งหลายได้ทำการเขี่ยออกไปแล้ว ภาษาเหนือคำเมือง ภาษาอีสาน ภาษายาวี ฯลฯ เหล่านี้ไม่ใช่ภาษาไทย อย่างนั้นหรือ หรือว่าคนเหล่านั้นไม่ใช่คนไทย แล้วก็ยังมีเรื่องราวของภาษาวัยรุ่นที่ถูกเรียกว่า ภาษวิบัติ ที่กำลังเป็นประเด็นเรื่องของการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วปัญหาคืออะไร ภาษาคืออะไร
ภาษา คือ ระบบของท่าทาง ไวยากรณ์ เครื่องหมาย เสียง สัญลักษณ์ และคำ ซึ่งใช้เป็นตัวแทนและใช้สื่อสารแนวคิด ความคิด และความหมาย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาคือ รหัสเชิงอรรถศาสตร์
ที่กล่าวมาข้างต้นคือนิยามของคำว่าภาษา และก่อนที่จะกล่าวต่อไปอยากให้ท่านผู้อ่านทำการล้างสมองของตนเองออกไปก่อน ทำความสะอาดสมอง ล้างเอาความคิดที่เคยมีเรื่องของภาษา ลืมเรื่องราวของสิ่งที่เคยรับรู้มา สิ่งที่เคยได้เรียนมาว่าภาษานั้นหมายถึงอะไร เพราะนั่นจะเป็นกำแพงที่ปิดกั้นขอบเขตของความคิดตรงนี้ และเป็นการสร้างพรมแดนแห่งอาณาจักรแห่งอัตตาที่อยากให้พักสิ่งเหล่านั้นไว้ก่อน ณ ตอนนี้
ก่อนอื่นต้องขอย้อนความกลับไปว่าอะไรคือเรื่องของภาษา ย้อนไปไกลเลยเราคงนึกได้ถึงภาพบนผนังถ้ำที่คนโบราณได้สร้างสรรค์ไว้ นั่นคือภาษาภาพ ที่เป็นจุดเริ่มของการใช้ภาษา หากว่ามนุษย์ไม่ได้คิดประดิษฐ์อักษรต่างๆ เราก็น่าจะยังคงใช้รูปภาพในการสื่อความหมายเป็นการใช้ภาษาภาพเรื่อยมา
เมื่อมนุษย์เริ่มมีการประดิษฐ์อักษรต่างๆขึ้นมา ก็เป็นการเริ่มต้นการประดิษฐ์ภาษาที่ใช้สื่อสารขึ้น นั่นคือต้นกำเนิดของภาษา ที่จุดประสงค์หรือเป้าหมายของภาษาต่างๆที่มีมากมายบนโลกนี้ ก็จะเป็นอย่างเดียวกันแน่นอน ไม่มากไม่น้อยกว่า การใช้เพื่อการสื่อสารในสังคม
ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเติบโตไปตามกาลเวลาและยุคสมัย ภาษาก็เช่นกันที่มีการเติบโต และเปลี่ยนแปลงไป สาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฯลฯ มีผลทำให้การใช้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปด้วย
จะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงแล้วภาษามีไว้ใช้งานเพื่อการสื่อสารต่อกันในสังคม ปัญหาที่แท้ของสังคมก็คือความไม่เข้าใจกันและความไม่ลงรอยกันไปจนถึงความแตกแยก ซึ่งภาษามีส่วนอย่างมากในจุดนี้
เพราะว่าตัวภาษาเองจะเป็นเครื่องบ่งบอกถึง วัฒนธรรมและ ประเพณีพื้นบ้านและท้องถิ่นต่างๆ รวมไปในสังคมเองด้วย การที่มีการกำหนดเอาภาษาที่ผู้คนในเมืองใช้กัน เพื่อที่จะให้เกิดการสื่อสารไปในทางเดียวกัน ซึ่งนั่นคือภาษาราชการ หรือภาษาทางการ ที่นำมาเป็นบรรทัดฐานของสังคมทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อทำให้การสื่อสารเข้าใจกันได้ตรงกันด้วยภาษากลาง
แต่ปัญหาที่แท้แล้วคือ พอเอาเข้าจริง เราไม่มีภาษาที่ใช้เพื่อการสื่อสารให้ได้ความเข้าใจตรงกัน เพื่อให้เกิดความปรองดองหรือสมานฉันท์ที่พร่ำบ่นกันอย่างที่ได้ยิน เพราะถ้ามองกันในภาพรวม องค์ประกอบ ของภาษาเราเองเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจมากกว่าให้เกิดความเข้าใจ
ภาษากลายเป็นเครื่องมือทางอำนาจ ที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ก่อให้เกิดเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม เพราะองค์ประกอบของภาษาที่เต็มไปด้วยคำจำกัดความที่กำกวม ความหมายที่ไม่เคยมีความชัดเจนในตัวภาษาเอง ความหลากหลายของระดับภาษาที่เรามีก่อให้เกิดปัญหามากมาย ภาษาที่ใช้ไม่อาจจะสื่อความหมายให้คนอีกจำพวกให้เข้าใจได้ - ภาษาราชการ ที่เต็มไปด้วยคำที่ผู้คนทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่ของสังคมไม่เข้าใจ เป็นเพียงภาษาตามรูปแบบที่ถูกหยิบยกมาอ้างว่านี่คือหลักการที่ถูกต้อง หากว่ามันคงไว้ซึ่งความถูกต้องตามที่กล่าวอ้าง ผู้คนก็น่าที่จะเข้าใจได้ ไม่ใช่ชาวบ้านได้แต่นั่งงงงวย ยามอ่านเอกสารของทางราชการ - ภาษากฎหมาย ที่เต็มไปด้วยคำศัพท์ทางเทคนิคมากมาย ที่ประชาชนทั่วไปไม่มีวันเข้าใจได้ อย่าว่าแต่คนทั่วไปเลย กระทั่งนักกฎหมายยังต้องมานั่งตีความกันแล้วกันเล่า ในเวลาที่มีการขึ้นโรงขึ้นศาล อย่างที่เห็นทั่วไปต้องมาตีความกันไปต่างๆนานา แล้วภาษากฎหมายทำไว้ให้เข้าหรือว่าทำไว้ให้ไม่เข้าใจกันแน่
นั่นคือตัวอย่าง เล็กน้อยที่ว่าถึงปัญหาของภาษา ที่ยังทู่ซี้ใช้กันมาโดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องวาวของเป้าหมายและจุดประสงค์ที่แท้จริงของภาษาที่ว่าด้วยการสื่อสาร ว่ามันเป็นอย่างไร จะใช้ให้เกิดความกำกวมและความไม่เข้าใจกันไปทำไม
เหล่าผู้ทรงคุณวุฒิครูบาอาจารย์ และเหล่าผู้มีส่วนเกี่ยวเนื่องทั้งหลาย ที่ได้ออกมาด่าว่า และกล่าวถึง ความเป็นภาษาวิบัติที่กำลังเป็นที่วิพากษ์กันมากในสังคม เพราะเป็นภาษาที่ไม่ได้เกิดอย่างถูกต้องตามรูปแบบที่คนเหล่านั้นยอมรับได้ กล่าวคือคนเหล่านั้นจะยอมรับเพียงที่พวกตนคิดค้นหรือที่พวกตนรับรู้มาว่าถูกต้องเพียงเท่านั้น เป็นพหูสูตที่ยึดมั่นในตำราที่หน้ากระดาษเก่าเหลือง เปื่อยขาด
ภาษาที่เหล่าวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่สร้างขึ้นนั้น เหล่าพหูสูตย่อมไม่อาจจะยอมรับได้ และเรียกสิ่งเหล่านั้นส่า ภาษาวิบัติ เพราะนั่นเป็นการหยามสิ่งที่พวกเขายึดมั่นถือมั่น ว่าสิ่งที่พวกเขาเชื่อมานั้นไม่สามารถใช้ได้ในปัจจุบัน นำมาซึ่งความเดือดเนื้อร้อนใจและความไม่พอใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากน้ำมือของเหล่าคนรุ่นใหม่ไม่ได้เกิดจากการบงการของพวกเขานั่นเอง ซึ่งหากเป็นแบบนั้น ก็วิบัติไม่ต่างกันเลย
จะกันไปแล้ว สิ่งที่เหล่าพหูสูตอ้างถึง ก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนผ่านยุคมาจนตกถึงมือพวกเขาอีกที ใช่ว่าภาษาจะเป็นแบบดั้งเดิมอย่างที่พวกเขากล่าวอ้างซะที่ไหน ตัวอักษรอักขระก็เปลี่ยนแปลงไปแล้วตัวอักษรบางตัวก็เลิกใช้ไปแล้ว ก็ยังคงมีไว้ให้เรียนรู้อยู่ ไม่รู้เพื่ออะไร บางตัวก็แทบจะไม่ได้ใช้แล้วก็ยังคงไว้ และอักขระมากมายที่มันมีวิวัฒนาการของมัน แต่เหมือนกับว่าเหล่าพหูสูตไม่คิดจำเข้าใจและไม่พยายามเข้าใจ ยึดเอาอัตตาตนเป็นใหญ่และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ยึดเอาว่าตนมีอำนาจ เหล่าวัยรุ่นต่างๆ จึงตกเป็นจำเลยไปโดยปริยาย
จะว่ากันตามจริง เหล่าวัยรุ่นใช้ภาษาได้ถูกต้องมาก ตามหลักขั้นพื้นฐานที่สุด คือใช้เพื่อสื่อสารให้เข้าใจความหมายให้ตรงกัน นั่นคือการใช้ภาษาตามหลักการพัฒนาที่เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ จริง พวกเขาใช้ภาษาที่สังคมย่อยของพวกเขาเกิดความเข้าใจได้ และนั่นเองย่อมหมายถึงการเกิดขึ้นของคำที่ใช้เพื่อแสดงถึงสิ่งต่างๆตามที่พวกเขาต้องการ แต่นั่นเองทำให้เกิดปัญหาขึ้น
คนหัวเก่าเหล่าพหูสูตนั้นมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไหม่น้น ยอมรับไม่ได้ แต่พวกเขาไม่เคยมองกลับไปเลยว่าของเก่าที่พวกเขาใช้อยู่ก็ไม่เห็นว่ามันจะมีอะไรดีตรงไหน แย่ไม่ต่างกันเลยดังที่กล่าวไปแล้วถึงเรื่องของความหลากระดับของภาษา ที่ไม่ได้ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันเป็นหลักพื้นฐานของการใช้ภาษา
ปัญหาที่แท้จริงนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า มันคือเรื่องของภาษาที่ไม่ได้ใช้บนหลักการพื้นฐานที่ควรจะต้องเป็น การใช้ภาษาของเราเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามอำนาจมากกว่าที่จะเป็นเพื่อการสื่อสาร จะเห็นได้ว่าผู้คนที่แตกต่างระดับ จะใช้ภาษาแทบจะเรียกได้ว่าเป็นคนละภาษา ด้วยความมักง่ายของเหล่าผู้มีอำนาจที่ต้องการจะกุมอำนาจไว้ ทำให้ใช้เรื่องราวของภาษามาเป็นเครื่องมือทางการเมืองด้วยอย่างหนึ่ง - ภาษาราชการที่ชาวบ้านไม่เข้าใจ เพื่อให้เหล่าตัวแทนเข้ามามีบทบาทสืบไปและกุมเสียงอำนาจของประชาชนชาวบ้านไว้ และก็วนไปวนมาอยู่ในกลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม โดยที่ก็ยังคงละทิ้งความไม่เข้าใจให้ยังคงไม่เข้าใจต่อไป - ภาษากฎหมายที่แม้แต่นักกฎหมายยังไม่เข้าใจ คงความกำกวมไว้เพื่อให้เป็นช่องทางของเหล่าผู้เกี่ยวข้องกับกฎหมายมากกว่าจะ มีกฎหมายไว้เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับพวกเขาได้ต่อสู้กับทางรัฐหรอืนายทุนที่เอารัดเอาเปรียบพวกเขา อาจเป็นเพราะสิ่งเหล่านี้ภาษาที่แทบจะพูดได้เลยว่า มันวิบัติมาก ไม่ใช่วิบัติในเชิงที่เหล่าวัยรุ่นนำมาใช้งาน แต่เป็นเพราะที่เหล่าผู้ใหญ่ทั้งหลายต่างหากที่ใช้งานจนเกิดความวิบัติยิ่งกว่าของวัยรุ่นไม่รู้กี่เท่า
แทบจะบอกได้เลยว่าภาษาที่ใช้อยู่มันอะไร มันแทบจะไม่ใช่ภาษาแล้ว เพราะมันแทบจะไม่สามารถสื่อสารกันได้เลย ปัญหาสังคมมากมายเกิดขึ้นที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเกิดจากความไม่เข้าใจกัน และนั่นมาจากการสื่อสาร เกือบทั้งหมด
คนที่อยู่บนพื้นฐานที่ต่างกันไม่อาจจะใช้ภาษาเพื่อสื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจได้เลย เพราะต่างคนต่างตะแบงและตีความหมายไปคนละทิศทาง แบบนั้นยังเรียกว่าภาษาได้อีกหรือ เพราะมันละเลยซึ่งพื้นฐานของความเข้าใจไปแล้ว ต่างฝ่ายต่างอ้างถึงสิ่งที่ตนเองคิดว่าถูกและพยายามยัดเยียดให้อีกฝ่ายยอมตาม ไม่ด้วยวิธีไหนก็วิธรหนึ่งและวิธียอดฮิตก็คือการใช้อำนาจเพื่อให้อีกฝ่ายจำนนต่อตน
จะเห็นได้ว่าภาษาไม่คงสภาพของความเป็นนิยามเดิมไว้ได้อีกต่อไป เหล่าผู้มีอำนาจต่างยึดเอาจุดที่ตนเองได้ผลประโยชน์และไม่ยอมที่จะปรับเปลี่ยน อ้างเพียงความดีงามของสิ่งที่สืบทอดมา ที่รับเอามาแล้วใช้ไม่ได้ก็ไม่คิดจะปรับเปลี่ยน ปล่อยให้คร่ำครึโบร่ำโบราณต่อไปอย่างไม่ได้สนใจโลกความเป็นจริง
รากของปัญหาสังคมทั้งหมด ความแตกแยกความไม่เข้าใจต่างๆ ภาษาเป็นส่วนหนึ่งในปัญหานั้น แต่กลับกลายเป็นว่าผู้ตกยุคกลับไม่เคยรับรู้ว่ามันมีปัญหาอยู่ในภาษาที่ใช้ๆกัน แต่กลับกล่าวโทษเหล่าคนอีกยุคที่บัญญัติสิ่งใหม่ขึ้นมาตามยุคสมัยของพวกเขา
ถ้ายังมองไม่เห็นปัญหาตรงนี้ก็ไม่มีวันแก้ไขอะไรได้ แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นคือการที่รู้ปัญหาอยู่แก่ใจ แต่ไม่อยากแก้ไขมากกว่า เพราะปัญหาคงอยู่เพื่อผลประโยชน์ น่าจะดีสำหรับเหล่าผู้ครองอำนาจ มากไปกว่า ปัญหาหมดไปแล้วฐานอำนาจของพวกเขาสั่นคลอนลง
เพราะต้องไม่ลืมเลยว่า ยิ่งภาษายากแก่การเข้าใจต่อชาวบ้านมากแค่ไหน เหล่าผู้แสวงหาผลประโยชน์ยิ่งกอบโกยได้มากเท่านั้น
"จง ทำให้คำนิยาม (definition) หรือคำจำกัดความของคำแต่ละคำให้กระจ่างและเข้าใจตรงกันในมวลมนุษย์เพื่อ ป้องกันการเข้าใจผิดในการปฏิบัติงาน และเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกเรื่อง" โสเครติส กล่าวไว้ และคำกล่าวนี้ ก็ยังเป็นจริงมาจนทุกวันนี้
Create Date : 10 สิงหาคม 2550 |
Last Update : 10 สิงหาคม 2550 21:16:09 น. |
|
1 comments
|
Counter : 837 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
KongMing |
|
 |
|
Location :
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

|
เล่าจื้อกล่าวว่า"ผู้รู้เขาคือปราชญ์" และกล่าวอีกว่า"ผู้รู้เราคือปัญญาชน" ณ ปากทางเข้าถ้ำวิหารเทพอพอลโล่แห่งเดลฟี มีป้ายทองคำเขียนว่า "Know thyself" แปลว่า รู้จักตนเอง "temet nosce" ภาษาลาตินที่Oracleกล่าวให้ Neo รู้จักตนเอง
สิ่งที่สำคัญที่สุดของคนเราอยู่ที่ คำกล่าวเหล่านี้
|
|
|
เราถูกรัฐ"โปรแกรม" อะไรหลายอย่าง ใส่"หัว"เรา เช่นบอกว่าเราคือ คนไทย. ทำให้คนลาว คนอีสาน คนเหนือ คนใต้ คนมาลายู(ยาวี) คนแขก คนมอญ ไม่แน่ใจ ตัวเองเป็น คนไทยหรือไม่ ทำให้เกิดปมในใจ เกิดความขัดแย้งในบุคคลิกภาพ เกิดการดูถูกเหยียดหยามขึ้นในสังคม ซึ่งนำไปสู่ความแตกแยก หรือสร้างมูลเชื้อที่จะนำไปสู่ความแตกแยกได้ง่าย
ผมจึงเห็นด้วยกับอาจารย์ชาญวิทย์ ที่รณรงค์ให้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศไทย เป็น "สยาม" เพื่อแสดงความคารพแก่ชาติ์พันธุ์อื่นๆ ในสังคมไทย
อย่างไรก็ดี ภาษาคือสิ่งที่อยู่"ข้างใน" แต่ก็ไม่ได้อยู่ลำพัง. "ข้างนอก" หรือสภาวะแวดล้อมทางสังคม กายภาพ ด้านนอก ที่แตกต่าง จะนำวัตุดิบทั้งหลายส่งเข้าสู่ภายใน ก่อนที่"ตัวสาร"จะถูกทำให้แปรเปลี่ยนไปตามสภาวะอันเป็นอัตวิสัยของแต่ละคน
ดังนั้น ความแตกต่างที่มีอยู่เดิม ผู้ปกครองต้องเคารพ และความแตกต่างใหม่ๆ ต้องลดให้เหลือให้น้อยที่สุด อย่าให้มีช่องว่างมากเกินไป และควรเคารพอีกเช่นกัน
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ภาษาคือ"ความขัดแย้งเชิงลึก"ของสังคมไทย