ความไม่รู้เป็นลาภอันประเสริฐ

กฎหมาย หรือ กฎหมู่

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ กำหนดคำนิยามความหมายของคำว่า “กฎหมาย” ไว้ว่า
“กฎหมาย” (กฎ) น. กฎ ที่สถาบัน หรือ ผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐ ตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจาก จารีตประเพณี อันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อ ใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ

ความหมายโดยละเอียดของคำว่า “กฎหมาย” ดังนี้
(๑).กฎหมายเป็น .กฎ (ซึ่งจะต้องหาความหมายของคำว่า “กฎ” ต่อไป)
(๒). ผู้มีอำนาจตรากฎหมาย ได้แก่ สถาบัน หรือ ผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐเท่านั้น
(๓) ประเภทของกฎหมาย กฎหมายมี ๓ ประเภท คือ .
(ก) กฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ (กฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐ)
(ข).กฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (กฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
(ค).กฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด (กฎหมายอาญา)
(๔).กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

ประโยชน์ของกฎหมายอาจจะแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ข้อ ทั้งสามารถนำเอากฎหมายมาแยกแยะ ประโยชน์ดังนี้
1. สร้างความเป็นธรรม หรือความยุติธรรมให้แก่สังคม เพราะกฎหมายเป็นหลักกติกาที่ทุกคนจะ ต้องปฏิบัติเสมอภาค เท่าเทียมกัน เมื่อการปฏิบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเอาเปรียบคนอื่น ขาดความ ยุติธรรม กฎหมายก็จะเข้ามาสร้างความยุติธรรม ยุติข้อพิพาทไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ดังที่เรา เรียกกันว่า ยุติธรรม สังคมก็จะได้รับความสุขจากผลของกฎหมายในด้านนี้
2. รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบัติต่อสังคม
3. ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย การเป็น ทนายความ อัยการ ศาล ทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยต่างฝ่ายต่างช่วยกันรักษาความถูกต้อง ความยุติธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคม
4. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง เพราะถ้าประชาชนรู้กฎหมายก็จะเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของการปกครอง และการบริหารงานทางการเมือง การปกครอง ประโยชน์สุขก็จะตกอยู่กับ ประชาชน
5. รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะกฎหมายที่ดีนั้นจะต้องให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนเท่าเทียมกัน ประชาชนก็จะเกิดความผาสุก ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัว ต่อบุคคลอื่น และต่อประเทศชาติ


ที่กล่าวมาในข้างต้นคือ เรื่องของความหมาย นิยามต่างๆที่กำหนดกันมา เพื่อให้เข้าใจตรงกันในข้างต้นจึงได้ยกข้อความมาบอกกล่าวกันไว้ก่อน เพื่อป้องกันการเข้าใจประเด็นต่างๆผิดไปจากที่ต้องการจะสื่อ

ในเรื่องของนิยามและ ความหมาย ตามที่ยกมานั้นไม่น่าจะมีอะไร เพิ่มเติม หากแต่ในส่วนที่ต้องการจะขยายความออกไปนั้นจะเป็นส่วนของเรื่องประโยชน์ของ ตัวกฎหมายที่ได้นำเอามาใช้งานต่างๆ

ตามที่ยกเรื่องของประโยชน์ที่แบ่งออกเป็น5หัวข้อนั้น เราจะมาขยายความในส่วนตรงนี้ที่แยกออกมาเป็นข้อๆ เพื่อให้เห็นถึงความไม่ปกติของระบบกฎหมายที่ แทบจะไม่เรียกว่ากฎหมายได้ตามนิยามอีกต่อไป

1 สร้างความชอบธรรมหรือความยุติธรรมให้แก่สังคม ตามที่ได้เห็นและรับรู้กัน กฎหมายเป็นเรื่องราวของ 2มาตรฐานที่ใช้งานกันเป็นเรื่องปกติในสังคม กฎหมายตัวเดียวกันแต่จะให้ผลต่างกันเสมอๆระหว่างผู้มีอำนาจ(ยศ ตำแหน่ง ชื่อเสียงหรือเงิน) กับผู้ไร้ซึ่งอำนาจ (ตรงข้ามกับในอันแรก) ตัวผู้บังคับใช้กฎหมายเอง ก็แสวงหาผลประโยชน์จากตัวกฎหมายมากกว่าจะสร้างความยุติธรรมที่แท้จริงให้เกิดขึ้นมาได้ ตัวอย่างกรณีที่มีให้เห็นมากมาย ชาวบ้านมักไม่ได้รับความยุติธรรมจากเจ้าหน้าที่ หรือระบบความยุติธรรมที่ไม่เท่าเทียมกัน และด้วยความยากต่อระดับการเข้าถึงและเข้าใจได้ ความซับซ้อนของระบบ ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ

2 รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบัติต่อสังคม ในส่วนจะเห็นได้ชัดเจนมากว่า แท้ที่จริงแล้วผู้คนส่วนใหญ่ไม่รู้กฎหมาย ดังนั้นการจะรู้จักเรื่องราวที่ว่ามาตามหัวข้อจะยิ่งเป็นไปไม่ได้ สาเหตุหลากหลายประการที่ส่งผลให้เป็นเช่นนี้ เช่น ภาษากฎหมายที่มักใช้ศัพท์แสงที่ชาวบ้านและบุคคลทั่วไปยากจะทำความเข้าใจ ภาษาที่เหมืออีกภาษาที่มักเรียกว่า ภาษากฎหมาย ที่กลายเป็นภาษาที่สื่อสารกันไม่ค่อยรู้เรื่องแม้กระทั่งคนที่ศึกษาด้านนี้มาเอง ยังต้องมาคอยถกเถียงตีความกันไปต่างๆ แล้วถ้ากระนั้นชาวบ้านทั่วไปจะเอาอะไรไปเข้าใจ การที่จะบอกว่ากฎหมายทำให้รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบัติต่อสังคม คงเป็นแค่คำพูดหรูๆไว้ประดับในตำรากฎหมายมากกว่าที่จะให้เกิดในชีวิตจริง ก็ไม่รู้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จงใจกระทำเพื่อให้ผู้มีโอกาสได้แสวงหาประโยชน์จากส่วนนี้ต่อๆไปหรือไม่

3 ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ในข้อนี้เองหากจะกล่าวกันตรงๆไม่อ้อมค้อมประโยชน์ที่เกิดน่าจะบอกให้ชัดกันไปเลยดีกว่าว่าเป็นเพียงในวงของ ผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับกฎหมายโดยตรงมากกว่า เพราะต้องยอมรับกันโดยปริยายว่า กฎหมายของเราให้โทษมากกว่าให้ประโยชน์ หากจะวัดตามหลักโดยรวม กล่าวคือ มีประโยชน์ต่อส่วนน้อยมากกว่ามีประโยชน์ต่อส่วนใหญ่ แบบนั้นมันใช่หลักกฎหมายที่ควรเป็นหรืออย่างไร จะเห็นได้ว่าผู้ที่ใช้ประโยชน์จากตัวกฎหมายได้นั้นมีอยู่ไม่กี่กลุ่มกี่คน ตามที่รู้ๆกันอยู่

4 ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง ก็ต้องไปว่ากันในเรื่องของระบบการปกครองด้วยว่า ที่นั้นๆปกครองด้วยระบอบอะไร เพราะประโยชน์ของการปกครองย่อมจะต่างกันไปตามระบอบการปกครอง ประโยชน์อาจเกิดขึ้นต่อตัวผู้ปกครองเป็นอย่างมากในเรื่องความสะดวกและง่ายต่อการปกครองด้วยกฎหมายเผด็จการภายใต้เผด็จการ นั่นก็คือประโยชน์การปกครองมิใช่หรือ และหากจะกล่าวว่าปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประโยชน์สุขที่แท้ควรจะต้องตกอยู่กับประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่ได้ส่งผ่านอำนาจนั้นทางตัวแทนการปกครอง แต่ทว่าภาพที่เกิดกับเป็นประโยชน์ตกไปยังกลุ่มผลประโยชน์ที่หากินกับอำนาจการปกครองที่ได้มาจากเจ้าของอำนาจนั้นมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการได้อำนาจนั้นจากประชาชนด้วยวิธีใด หลักการก็ไม่ต่างกันคือการใช้กฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มคนกลุ่มอำนาจ ดังนั้นจะว่ากันตามตงประโยชน์ในส่วนนี้ยังจะกล่าเช่นนี้ได้อีกหรือไม่

5 รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน ในข้อนี้เองมักจะเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในการออกกฎหมาย มากกว่าจะเห็นพ้องต้องกันว่าทำไปเพื่อการข้างต้นจริง คำกล่าวที่ครอบจักรวาลที่แม้แต่นักกฎหมายที่ช่ำชองยังต้องมานั่งถกกันหน้าดำคร่ำเครียด ว่าด้วยเรื่องของความสงบเรียบร้อยที่มักจะเป็นการนำมาซึ่งการใช้อำนาจอย่างมิชอบและเกินเลยกว่าขอบเขต นำพาไปยังผลกระทบเหตุการณ์ร้ายๆที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ผู้มีอำนาจต่างนำเอาคำว่า ความสงบเรียบร้อยมากล่าวในหลายๆครั้ง เพื่อบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่ใจตนต้องการมากกว่าจะคำนึงถึงสิ่งที่เรียกว่าความสงบเรียบร้อยที่แท้จริงของประชาชน ส่วนศีลธรรมอันดีก็ไม่ต่างจากส่วนแรก คือเป็นคำที่มักเอามาใช้เป็นเครื่องมือในการออกฎหมายเพื่อควบคุมสิ่งต่างๆให้เป็นไปอย่างที่ใจตนต้องการมากกว่าที่จะคำนึงถึง ศีลธรรมอันดีต่างที่กล่าวอ้าง คำที่กว้างเป็นจักรวาลยากแก่การตีความนี้ก็ไม่ต่างจากอันแรกคือ กลายเป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์มากกว่าจะทำให้ศีลธรรมอันดีเกิดขึ้นกับประชาชนจริงๆ เพราะต้องยอมรับว่าประชาธิปไตยที่ยมอรับเรื่องความหลากหลายไม่อาจจะเอา ความสงบ หรือศีลธรรมของเสียงส่วนน้อยที่ปกครอง หรือเสียงส่วนมากที่ปกครองมาตัดสินแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ ดังนั้น การกล่าวอ้างเช่นนี้ ยังคงใช้กันเกร่ออยู่เป็นนิสัยของผู้ครองอำนาจ (กฎหมาย ความมั่นคงล่าสุดที่ให้อำนาจ ผบ ทบ ล้นฟ้า หรือ พรบ ความผิดว่าด้วยคอมพิวเตอร์ฯ ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐล้นพ้นเบียดบังสิทธิเสรีภาพ ที่ควรมีในประชาธิปไตย เป็นตัวอย่างให้เห็น2อันชัดๆ)

ดังที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่เรากำลังว่าๆกันนั้น แท้ที่จริงแทบจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์จ่อประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเลย แล้วประชาชนเองก็ได้แต่ถูกกดขี่ข่มเหง บังคับให้ทำตามกฎหมายที่เหล่าผู้มีอำนาจออกมาอย่างตามใจฉัน ประชาชนไม่มีอะไรไปสู้กับอำนาจได้เลยแม้แต่นิดเดียว กฎหมายที่ควรสร้างขึ้นมาให้ประชาชนสามารถนำมาเป็นสิ่งที่ใช้ต่อสู้กับความอยุติธรรมได้ เอาไว้ให้ประชาชนปกป้องตัวเองได้ตามหลักของการคุ้มครองที่ควรเป็นจริงๆ ไม่ใช่เอาไว้ปกป้องคุ้มครองเหล่ากลุ่มคนผู้มีโอกาสทางสังคมแบบอย่างที่เป็นอยู่เป็นประจำ (กรณีการปกป้องผู้มีอันจะกินในยามที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือในบางครั้งถึงแก่ความตาย) น่าเห็นใจแก่คนส่วนใหญ่ของสังคมที่ยากจะเข้าถึงและสามารถใช้งานกฎหมายได้ทำให้ไม่อาจจะทำอะไรได้มากไปกว่าก้มหน้ายอมรับชะตากรรมกันไปวันๆ หลายๆคนก็เลยต้องหันไปหาสิ่งต่างๆเพื่อแก้ไขความคับข้องใจนั้น

ถ้าจะกล่าวถึงวิธีทางแก้ไขซึ่งถ้าอ่านถึงจุดนี้แล้ว จะพบปัญหาเรื้อรังมากมายฝังลึกจมลงอยู่อย่างนานับไม่ถ้วน จะไม่กล่าวถึงการแก้เลยก็กระไรอยู่ แต่ก็ขอบอกไว้ในเบื้องต้นก่อนว่าที่จะกล่าวถึงเป็นแง่ของความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น
1 ทำการรื้อสร้างใหม่ระบบภาษากฎหมาย ที่นับวันยิ่งทำให้ยากต่อการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ การใช้ภาษาเฉพาะที่ฟังดูดีมีชาติตระกูล ไม่สามารถทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ในจุดเลยเลยกลายเป็นเครื่องมือหากินไป ถ้าจะแก้ต้องแก้จุดนี้ก่อน ให้เป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่(ต้องเน้นจุดนี้เพราะถ้าจะพูดว่าประชาธิปไตยก็ต้องเป็นแบบนี้คือ คนส่วนใหญ่) สามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ และถ้าทำได้ การมีส่วนร่วมต่างๆที่เป็นประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปได้ ไม่ใช่ สมัยก่อนที่ไพร่ไม่เข้าใจกฎหมายต้องให้มูลนายมาคอยปกป้อง กฎหมายจะเป็นอาวุธของประชาชนที่ใช้สู้กับอำนาจอยุติธรรมได้ ถ้าแก้ไขมันซะ
2 ระบบการใช้กฎหมาย ที่ฝังรากลึกลงสู่สามัญสำนึกเรื่องของการใช้กฎหมายที่เจ้าหน้าที่ต่างใช้อย่างอำเภอใจ และเต็มไปด้วยมาตรฐานที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องแก้ไขโครงสร้างอำนาจใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ใช่การถีบหัวส่งชาวบ้านให้ไม่รู้กฎหมาย(ในบางครั้งรู้ก็จะโดนกลั่นแกล้ง เช่นคำว่าหัวหมอที่มักถูกใช้บ่อยๆ) และลดอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐลงในบางส่วนที่ละเมิดสิทธฺหรือว่าอำนาจที่ล้นฟ้าในกฎหมายบางตัว การแก้ไขระบบการใช้ที่ทำให้ ทั้งคนใช้และคน๔กบังคับใช้สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่ทั้ง2เป็นดั่งฝ่ายตรงข้ามกันแบบที่เป็นมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน

ตัวอย่างการแก้ไขที่ยกมาก็ แค่แนวคิดอันเล็กๆ ของตัวผู้เขียน แน่นอนว่ามันน่าจะเป็นแค่เรื่องราวเพ้อฝันที่ไม่มีวันเป็นไปได้ ตราบใดก็ ตราบนั้น

กฎหมายทั้งหลายคงเป็นได้แค่กฎหมู่อยู่วันยังค่ำ


Let all the laws be clear, uniform and precise. To interpret laws is almost always to corrupt them.
Voltaire


Create Date : 09 กรกฎาคม 2550
Last Update : 9 กรกฎาคม 2550 18:55:02 น. 2 comments
Counter : 1054 Pageviews.  

 
ครับ...สำหรับเรื่องกฏหมายในบ้านเรา ผมว่ากฏหมายในบ้านเรานั้นอ่อนเกินไปครับ กฏหมายนั้นไม่เข้มแข็งพอ บทลงโทษบางอย่างเบาเกินไปด้วยซ้ำ

ผมอยากจะเห็นกฏหมายในบ้านเรานั้นเข้มแข็ง ศักดิ์สิทธิ์กว่านี้


โดย: แชมป์คุง วันที่: 9 กรกฎาคม 2550 เวลา:19:21:21 น.  

 
วิวัฒนาการกฏหมายบ้านนี้เมืองนี้
กฏหมาย ---> กฏหมู่ ---> กฏหมู

จะร่างไปทำไม ในเมื่อไม่ใช้ ใช้ไม่ได้

เปลืองน้ำลายแอนด์น้ำหมึกเปล่าๆ


โดย: floral_flory วันที่: 13 กรกฎาคม 2550 เวลา:13:09:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KongMing
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เล่าจื้อกล่าวว่า"ผู้รู้เขาคือปราชญ์"
และกล่าวอีกว่า"ผู้รู้เราคือปัญญาชน"
ณ ปากทางเข้าถ้ำวิหารเทพอพอลโล่แห่งเดลฟี
มีป้ายทองคำเขียนว่า "Know thyself" แปลว่า รู้จักตนเอง
"temet nosce" ภาษาลาตินที่Oracleกล่าวให้
Neo รู้จักตนเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดของคนเราอยู่ที่ คำกล่าวเหล่านี้
[Add KongMing's blog to your web]