Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
16 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 

ใช้สุ่มจับปลา




สุ่มทำด้วยไม้ไผ่สาน 
ปลายสุ่มเหลาแหลมเพื่อการเกาะดินโคลน
ใช้สำหรับจับปลาที่เผลอ
ปลาฝังตัวในโคลนไปไหนไม่ได้
หรือปลาที่ว่ายพันแข้งพันขา
ชะล่าใจจนจวนตัวหนีไม่ทัน

ห้วยหนองคลองบึงที่ระดับน้ำแค่หน้าแข้ง
การจับปลาด้วยสุ่มน่าจะเข้าท่ากว่าอย่างอื่น
ควรเรียงแถวเป็นหน้ากระดาน สุ่มไปในทางเดียวกัน
ใช้มือข้างที่ถนัดจับด้านบนของสุ่ม
สุ่มซ้ายที ขวาที หรือข้างหน้าก็ได้
หากสุ่งลงไปแล้วมีอะไรดิ้นขลุกขลัก
นั่นหมายถึงมีปลาในนั้น
ใช้มือล้วงลงไปในช่องกลมด้านบนจนสุดแขน
ควานหาสิ่งมีชีวิตลื่นๆในนั้น แล้วใช้มือจับให้มั่น
เอาปลาออกมาทางเดิม ใส่ข้องที่ผูกเชือกไว้ด้านหลัง
แล้วทำหน้าที่ สุ่ม ๆๆ ต่อไป
อย่างลืมเรียงแถวหน้ากระดาน
เมื่อปลาในข้องท่าจะไม่ค่อยดี หรือเริ่มอ่อนแรง
ให้นั่งลงในน้ำจนน้ำท่วมข้อง 
ปลาจะไม่ตายง่ายๆ





สมัยก่อน
คลองเล็กคลองน้อยที่ดำเนินสะดวก
หน้าน้ำลดในราวเดือนมีนา-เมษา
มีนักหาปลาจากต่างถิ่นมากันเป็นทีม
พวกเขาใส่ชุดสีดำทั้งชายหญิง
นับสิบคนท่องไปตามคลองที่น้ำแห้งขอด
ใช้สุ่มหรือสวิงจับปลาด้วยความคล่องแคล่ว
พวกเราได้แต่นั่งดูความเป็นมืออาชีของพวกเขา
คนแถวนี้เรียกคนชุดดำที่มาหาปลาว่า "ลาวโซ้ง"
การมาเป็นทีมในลำคลองสาธารณะ
ถือว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของ
จึงไม่ได้ทักทายกันอย่างคนรู้จัก
อาจแปลกหน้าสำหรับพวกเราอยู่บ้าง
แต่ไม่แปลกแยก 
ยอมรับในวิถีชีวิตของกันและกัน





 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2556
20 comments
Last Update : 19 กรกฎาคม 2556 19:55:32 น.
Counter : 5731 Pageviews.

 

สุ่มนี่เห็นมาแต่เล็กแต่น้อยค่ะ
สมัยเด็กๆ น้องๆผู้ชายจะออกไปหาปลาตามท้องนา
ก็เอาเจ้าสุ่มนี่ละค่ะ เป็นอุปกรณ์ในการจับ ได้อย่างดีเลย
นับว่าเป็นเครื่องมือจับปลาในน้ำที่ไม่ลึกได้ดีจริง
ปลาหมดโอกาสว่ายหนี ไม่ต้องคอยต้อนให้เหนื่อยด้วย

กดไล้ค์ก่อนนะคะ
พรุ่งนี้มาโหวตให้ค่ะ

 

โดย: mambymam 16 กรกฎาคม 2556 8:50:09 น.  

 

สวัสดีคะคุณอิม ภาพนี้เห็นแล้วนึกถึงบรรยากาศในวัยเด็ก ถึงจะไม่มีท้องนา แต่ได้เห็นท้องทุ่ง บ่อหลา ได้จำปลาตอนวิดบ่อ ลงไปเก็บสายบัว ผักกระเฉด ผักบุ้ง มีความสุขสนุกมาาก

สุ่มแบบนี้ก็เคยได้สัมผัส แต่ไม่เคยใช้คะ คงยังเด็กเกินไป อ่านบล็อกคุณอิมแล้ว ชอบจังได้ย้อนรำลึกถึงวัยเด็ก ๆที่ไม่อาจย้อนกลับมาได้ ขอบคุณนะคะที่นำความสุขเล็ก ๆ มาให้

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ฝากเธอ Food Blog ดู Blog
Insignia_Museum Diarist ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: kuky 16 กรกฎาคม 2556 9:23:15 น.  

 

ภาพแบบนี้คงหาดูไม่ได้แล้วมั้ง เดี๋ยวนี้บางที่ร้ายๆ ใช้ไฟช็อตปลาเลย (บางครั้งก็ช็อตคนช็อตด้วย)

+

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 16 กรกฎาคม 2556 14:31:04 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับ


เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นจับปลากันด้วยวิธีนี้แล้วนะครับ




 

โดย: กะว่าก๋า 17 กรกฎาคม 2556 6:22:52 น.  

 

สวัสดีค่ะ มาโหวตให้เรื่องราวดีๆค่ะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Insignia_Museum Diarist ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

ต้นเข็มปลูกแล้วก็แล้วกัน ไม่ได้ดูแลอะไร
เพียงแต่ตัดเล็มบ้างแค่นั้นค่ะ
ขอบคุณด้วยนะคะ

 

โดย: mambymam 17 กรกฎาคม 2556 8:27:21 น.  

 

Insignia_Museum Diarist ดู Blog

ลาวโซ่งมาจากบางเลนหรือเปล่าคะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 17 กรกฎาคม 2556 8:49:33 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

Insignia_Museum Diarist ดู Blog

แวะมาทักทายคุณอิมค่ะ
หลับฝันดีนะคะ ^_^

 

โดย: andrex09 17 กรกฎาคม 2556 21:48:33 น.  

 

ลาวโซ่งมาจากต่างตำบลหรือต่างอำเภอในแถบนั้น น่าจะเป็น "โพธิ์หัก" ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันครับ

 

โดย: Insignia_Museum 17 กรกฎาคม 2556 22:31:57 น.  

 

Insignia_Museum Diarist ดู Blog

รูปสองรูปสวยมากเลยค่ะ คุณอิม

 

โดย: ดอยสะเก็ด 17 กรกฎาคม 2556 23:04:15 น.  

 



สวัสดีค่ะคุณอิม

ภาพแบบนี้หาดูได้ยากแล้วนะคะ
แต่ก่อนคลองน้ำสะอาดในน้ำแม่ปลา
เดี่ยวนี้ไม่รู้อะไรเป็นอะไร

 

โดย: ข้ามขอบฟ้า 18 กรกฎาคม 2556 2:12:46 น.  

 

เห็นแล้วคิดถึงวิถีชีวิตเก่าๆค่ะ
เมื่อก่อนที่หน้าบ้านมีคลองส่งน้ำเล็กๆ
ปลาชุกชุมมาก เวลาน้ำลง ลูกพี่ลูกน้องจะลงไปสุ่มปลา
ตัวเองยังเป็นเด็กก็ชอบตามเขาไป พอพี่คว้าปลาได้
เด็กๆอย่างเราก็ได้เฮ ตอนนั้นคิดแต่ว่า พี่เราคือฮีโร่ ^_^

เดี๋ยวนี้คลองสายนั้นโดนถมไปทำถนนซะแล้ว
วิถีชีวิตเก่าๆที่เคยเห็นมาก็ถูกฝังไปด้วย

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Insignia_Museum Diarist ดู Blog

 

โดย: ฝากเธอ2 18 กรกฎาคม 2556 19:50:16 น.  

 

เพลงของอ๊อดไม่ค่อยได้ฟังนานแล้ว
ฟังครั้งใดก็หลงเคลิ้มทุกทีครับ
..............................................

ขนาดผู้ชายฟังแล้วยังเคลิ้มเลยนะคะ
ผู้หญิงจาไม่เคลิ้มได้ไงเนาะ

ขอบคุณมากค่ะที่แวะไปฟังเพลงเป็นเพื่อนกัน
ขอบคุณสำหรับกำลังใจด้วยค่ะ

นอนหลับฝันดีนะคะ

 

โดย: ฝากเธอ2 18 กรกฎาคม 2556 21:02:16 น.  

 

ผมใช้พู่กัีนเดียวฝึกสมาธิ
เพราะนั่งสมาธิไม่ค่อยทนครับพี่


 

โดย: กะว่าก๋า 18 กรกฎาคม 2556 21:31:48 น.  

 

GOOD NIGHT ^_^

 

โดย: andrex09 18 กรกฎาคม 2556 21:50:19 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณอิม
เห็นภาพแบบนี้แล้วอยากกลับไปเป็นเด็กอีก
ส่งกลังใจให้ค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กาปอมซ่า Literature Blog ดู Blog
Insignia_Museum Diarist ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: pantawan 18 กรกฎาคม 2556 23:54:21 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับ




 

โดย: กะว่าก๋า 19 กรกฎาคม 2556 6:39:38 น.  

 

images by free.in.th
------------------------------
แวะมาทักทายยามเที่ยงๆ ทานข้าวกกลางวันหรือยังคะ วันนี้ครูเกศทำน้ำพริกน้ำปู๋กับไข่เจียวค่ะ อร่อยสุดๆค่ะ
คิดถึงอยู่เสมอนะคะคุณim

 

โดย: เกศสุริยง 19 กรกฎาคม 2556 12:15:42 น.  

 

แวะมาทักทายคุณอิมยามค่ำค่ะ
ขอให้คุณอิมและครอบครัวมีความสุขมากๆ
กับวันหยุดพักผ่อนหลายวันนี้นะคะ ^_^

 

โดย: andrex09 19 กรกฎาคม 2556 19:29:45 น.  

 

 

โดย: กะว่าก๋า 19 กรกฎาคม 2556 21:53:07 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่









 

โดย: กะว่าก๋า 20 กรกฎาคม 2556 6:27:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.