<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
28 พฤศจิกายน 2558

Dcleanfood.com : โรคกระเพาะ

ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคกระเพาะกันมากขึ้นเนื่องจากลักษณะนิสัยในการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงไป คนไทยในยุคปัจจุบันมักจะรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร, รับประทานอาหารด้วยความรีบเร่ง, ไม่ทานอาหารให้ตรงเวลา, หรือการไม่รับประทานอาหารเช้า ทางแก้ไขหรือทางป้องกันโรคกระเพาะอาหารคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคหรือรับประทานอาหารของตนเองให้หันกลับมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์เช่น อาหารคลีน (Clean Food) ,รับประทานอาหารตรงเวลาและรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อก็จะสามารถช่วยป้องกันโรคกระเพาะอาหารได้ครับ


โรคกระเพาะหรือภาษาที่เรียกอย่างเป็นทางการคือโรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นคำจำกัดความที่หมายรวมถึง แผลที่เกิดในบริเวณหลอดอาหารส่วนล่าง, แผลในกระเพาะอาหาร และแผลในสำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเกิดจากการที่ทางเดินอาหารในส่วนต่างๆ สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร โดยตำแหน่งที่มักพบบาดแผลบ่อยๆ ได้แก่ส่วนปลายของกระเพาะอาหาร และรอยต่อของกระเพาะอาหารและในส่วนของลำไส้เล็กส่วนต้น อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือที่เรามักเรียกกันอย่างติดปากว่าโรคกระเพาะอาหาร โดยอาการของโรคกระเพาะอาหารนั้นผู้ป่วยจะปวดแสบ หรือจุก แน่นบริเวณเหนือสะดือ หรือบริเวณกลางท้องหรือบริเวณลิ้นปี่ โดยอาจจะเกิดอาการปวดขึ้นได้แบบเฉียบพลันหรือปวดแบบเรื้อรังต่อเนื่อง อาการปวดท้องเรื้อรังเป็นอาการที่มักพบบ่อยมากที่สุดในบรรดาอาการของโรคกระเพาะอาหาร คืออาการปวดท้องจะเป็น ๆ หาย ๆ โดยจะมีอาการปวดต่อเนื่องกันมามากว่า 1-2 เดือน โดยอาการปวดท้องประเภทนี้เมื่อรับประทานอาหารหรือยาลดกรดในกระเพาะอาหารแล้วจะรู้สึกดีขึ้น

อย่างไรก็ตามอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารอาจจะไม่ได้มีแค่อาการปวดท้องเพียงอย่างเดียว โดยผู้ป่วยหลายรายอาจมีอาการอื่น ๆ คือ ถ่ายอุจจาระเป็นสีคล้ำ หรือมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือการเกิดอาการแสบหน้าอกเนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนเป็นต้นผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้อีก เช่น ลำไส้หรือกระเพาะทะลุเนื่องจากโดนน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารกัดกร่อน และเลือดออกในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะเป็นที่มาของอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือการถ่ายอุจจาระแล้วมีสีคล้ำ หรืออาการลำไส้ตีบตัน

สรุปแล้วโรคกระเพาะอาหารส่วนใหญ่มักเกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือรับประทานอาหารด้วยความรีบเร่ง และไม่รับประทานอาหารเช้า หากเราอยากให้ร่างกายเราแข็งแรงห่างไกลจากโรคกระเพาะอาหารเราควรเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเรา อย่างน้อยให้รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ และถ้าเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้งานได้ง่ายอย่างอาหารชีวจิตหรือ อาหารคลีน (Clean Food) ก็จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงมากขึ้นด้วยครับ




 

Create Date : 28 พฤศจิกายน 2558
0 comments
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2558 8:21:22 น.
Counter : 552 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 2712490
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 2712490's blog to your web]