<<
กุมภาพันธ์ 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
3 กุมภาพันธ์ 2559

Dcleanfood.com : รู้จักผักชีให้ดียิ่งขึ้น ก่อนนำมารับประทาน !!!

วันนี้เป็นตอนสุดท้ายของบทความเกี่ยวกับผักชีแล้วนะครับ โดยเราจะพูดถึงผักชีกันโดยละเอียดว่ามีที่มาที่ไปหรือชื่อสามัญและชื่อท้องถิ่นว่าอะไรกันบ้าง หลังจากเมื่อวานที่เราทราบถึงประโยชน์ 5 ประการที่เราจะได้รับจากการรับประทานผักชี ถึงผักชีจะมีประโยชน์และมีสรรพคุณหรือคุณค่าทางอาหารมากมายเหมาะกับการนำไปทำอาหารสุขภาพและอาหารคลีน (Clean Food) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผักชีจะมีประโยชน์เสมอไปนะครับ การรับประทานผักชีโดยไม่ถูกวิธีก็อาจจะมีอันตรายได้


ผักชีคืออะไร

ผักชีมีชื่อสามัญว่า Coriander

ผักชีมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Coriandrum sativum L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

ผักชี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักชีไทย (ความหมายที่เข้าใจโดยทั่วไป), ผักหอม (นครพนม), ยำแย้ (กระบี่), ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น ผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ๆ ในประเทศไทยได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และกรุงเทพมหานคร ถ้าเป็นต่างประเทศจะเพาะปลูกในแถบทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาใต้ในประเทศอินเดีย เป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือฤดูหนาว เพราะจะทำให้ผักชีโตเร็วมากผักชีไทย เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นแถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารใช้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ผักชีโรยหน้า” ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอก หรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง !

ผลเสียจากการรับประทานผักชีโดยไม่ถูกวิธี
การรับประทานผักชีควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานมากจนเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรง มีอาการตาลาย ลืมง่ายได้

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความเกี่ยวกับผักชี ผักที่บางท่านคิดว่าไม่มีประโยชน์หรือไม่มีคุณค่าทางอาหาร แม้ในเมนูอาหารคลีน (Clean Food) จะไม่ได้ใช้ผักชีในปริมาณมากมาทำอาหาร แต่ผักชีก็ยังเป็นผักที่มีสรรพคุณและคุณค่าทางอาหารสูงอยู่ดี แต่ก็ไม่ควรรับประทานผักชีในปริมาณที่มากจนเกินไปนะครับเพราะอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายของเราได้




Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2559 8:06:32 น. 0 comments
Counter : 624 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2712490
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 2712490's blog to your web]