<<
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
22 มกราคม 2559

Dcleanfood.com : รู้จัก หัวไชเท้า ผักที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน !!!

วันนี้เราจะมาพูดถึงผักที่มีลักษณะขาวอวบน่ารับประทานอย่างหัวไชเท้ากันครับ เป็นผักที่มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารสูงมาก และส่วนที่เรานำมารับประทานคือส่วนหัวของมันที่ฝังอยู่ภายในดิน หัวไชเท้าเป็นวัตถุดิบสำคัญที่อยู่คู่คนไทยและเมนูอาหารไทยมาช้านานรวมถึงในเมนูเพื่อสุขภาพหรือเมนูอาหารคลีน (Clean Food)ก็มีหัวไชเท้าเป็นวัตถุดิบสำคัญเช่นเดียวกัน เนื่องจากหัวไชเท้าอยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานจนบางครั้งเราอาจจะลืมเลือนว่าหัวไชเท้าเข้ามายังประเทศไทยได้อย่างไร แต่ต้นกำเนิดจริง ๆ ของหัวไชเท้านั้นมาจากประเทศจีน และวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหัวไชเท้ากันครับ


ทำความรู้จักกับหัวไชเท้า

หัวไชเท้าหรือ ผักกาดหัว มีชื่อสามัญว่า Daikon, Daikon Radish, Radish, White Radish

และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Raphanus sativus L., Raphanus sativus var. hortensis Backer, Raphanus sativus var. longipinnatus L.H. Bailey, Raphanus sativus var. niger (Mill.) J.Kern. จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)

หัวไชเท้า ซึ่งชื่อที่ถูกต้องจริง ๆ แล้วต้องเรียกว่า หัวไช้เท้า นอกจากนี้ชื่ออื่นๆยังมีอีกมากมาย เช่น หัวผักกาด ผักกาดหัว หัวไชเท้ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ตามตำราจีนโบราณบอกว่าหัวไชเท้าสามารถกำจัดสิ่งสกปรกและสารพิษที่สะสมภายในร่างกายของเรา หัวไชเท้ามีฤทธิ์เป็นหยาง หรือความหมายในภาษาไทยก็คือ มีฤทธิ์ทำให้เกิดความเย็นนั่นเอง หัวไชเท้าที่เรารับประทานกันมักจะมีรสชาติเผ็ดร้อนเล็กน้อย ซึ่งหากเรานำมาทำเป็นซุปหรือแกงจืดก็จะมีสรรพคุณเป็นยาที่ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ดี ซึ่งถือว่าหัวไชเท้าเป็นผักที่มีประโยชน์อย่างมากในหลายๆด้าน และการรับประทานหัวไชเท้านั้นสามารถรับประทานได้ทั้งแบบสุกและแบบดิบ ถ้าเป็นไปได้ควรรับประทานแบบดิบมากที่สุด เนื่องจากจะทำให้ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์จากหัวไชเท้าได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

และเนื่องจากหัวไชเท้ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวไชเท้ากับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปหักล้างการออกฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์์ต่อร่างกายของเราไม่ดีหรือไม่เต็มที่เท่าที่ควร

และโดยทั่วไปแล้วเจ้าหัวไชเท้านี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายสีตามไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีแดง สีม่วง สีชมพู และขนาดก็จะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ย่อย หรือ Sub species ของหัวไชเท้านั่นเอง

รู้จักกับหัวไชเท้าหรือที่ถูกต้องต้องเรียกว่าหัวไช้เท้ากันไปแล้วนะครับ ตามที่กล่าวไปแล้วในบทความนี้ว่าหัวไชเท้ามีฤทธิ์เป็นหยางคือ ให้ความเย็นกับร่างกายของเรา ดังนั้นการที่เราป่วยจนมีอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น การรับประทานหัวไชเท้าจะมีส่วนช่วยในการลดไข้หรือทำให้อุณหภูมิในร่างกายของเราต่ำลงได้ แต่แนะนำว่าควรรับประทานหัวไชเท้าดิบตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food)จะเป็นการดีที่สุดนะครับ เพราะจะได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่มีอยู่ในหัวไชเท้าอย่างเต็มที่




Create Date : 22 มกราคม 2559
Last Update : 22 มกราคม 2559 8:16:17 น. 0 comments
Counter : 1196 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2712490
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 2712490's blog to your web]