Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
20 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 

10 วิธีห่างไกลโรคไต



คุณเชื่อหรือไม่ว่า ไต รับบทหนักในร่างกายคนเรา หากเปรียบก็คือโรงบำบัดน้ำเสียดีๆ นั่นเอง
และจากการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า คนไทยมีเปอร์เซ็นต์ความเป็นโรคไตสูงขึ้นตามลำดับ
ปัจจุบันผู้ป่วยไตวายเรื้อรังต้องรับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไต เทียม
และปลูกถ่ายไตรวมกันไม่ต่ำกว่า 15,000 ราย

ไต เป็นอวัยวะคู่ที่สำคัญต่อชีวิต อยู่บริเวณหลังช่องท้องด้านข้างใต้ต่อซี่โครงบริเวณส่วนกลางของหลัง
มีรูปร่างเหมือนถั่ว ขนาดประมาณกำปั้นของตัวเอง
หน้าที่หลักของไตคือ กรองของเสียในเลือด ควบคุมจำนวนน้ำ เกลือแร่และสารต่างๆในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล
ในแต่ละวันจะมีเลือดไหลเวียนผ่านไตทั้ง 2 ข้างถึงประมาณ 230 ลิตร
สามารถกรองน้ำและของเสียออกได้วันละ 2.3 ลิตร ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกขับออกมาเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ
ก่อนถ่ายออกจากร่างกายเป็นน้ำปัสสาวะ

ของเสียในเลือดเกิดจากอาหารที่เรากินเข้าไป และบางส่วนจากการสลายตัวของเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกิดจากการ
เผาผลาญเพื่อสร้างพลังงาน ต้องยอมรับเลยว่า ธรรมชาติสร้างไตขึ้นมาอย่างยอดเยี่ยมที่สามารถเลือกกรองเฉพาะ
ของเสียหรือส่วนเกินของสารที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหากสะสมไว้มากเกินไป
โดยผ่านเครื่องกรองขนาดย่อยๆ กว่าล้านหน่วยที่เรียกว่า “nephrons”
หากไตเกิดเสียสมรรถภาพในการกรองเลือดจากสาเหตุใดก็ตาม จะทำให้ระบบควบคุมเสียไป
เกิดการคั่งของของเสียในเลือด ทำให้เกิดโรคไตวายและเสียชีวิตในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต
ด้วยวิธีไตเทียม หรือปลูกถ่ายไต

นอกจากนี้แล้ว ไตยังเป็นที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกายอีกสามตัวคือ
1.Erythropoietin เป็นตัวกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
2.Renin เอาไว้ควบคุมความดันโลหิต
3.Calcitriol หรือสารไวตามินดี ไว้ควบคุมระดับแคลเซียมในกระดูก


ใครบางคนถามว่าของเสียในเลือดเกิดจากสาเหตุใด
ศ.พญ.ลีนา องอาจยุทธ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยอธิบายว่า
สาเหตุใดก็ตามที่ไปทำลายเครื่องกรองย่อยๆ ของไต หรือทำลายการไหลเวียนของเลือดผ่านไต
ก็อาจทำให้ไตเสียหายได้ ถ้าซ่อมไม่ได้ หรือเป็นเรื้อรัง ไตก็จะวายในที่สุด

สาเหตุ ที่พบบ่อยคือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นิ่วในไตหรือท่อไต โรคภูมิคุ้มกันต้านตัวเอง
(autoimmune diseases) โรคติดเชื้อทางไต โรคพันธุกรรมทางไต สารพิษต่อไต
หรือการใช้ยาผิด เช่น กินยามากเกินปริมาณที่กำหนด ซื้อยากินเองนานๆ
โดยเฉพาะยาที่เป็นพิษต่อไต ประเภทยาแก้ปวดข้อ ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นประจำ เป็นต้น


อาการแสดงของโรคไต
จากการที่คนเรามีไต 2 ข้าง และมีเครื่องกรองย่อยในไตเผื่อไว้มาก จึงทำให้ไตทำหน้าที่ได้ราบรื่น
แม้จะเหลือไตที่สมบูรณ์อยู่เพียงข้างเดียวก็ตาม เราก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย แต่ถ้าเครื่องกรองเสียไปเหลือ
เพียง 25% ไตจะเริ่มแสดงความบกพร่องให้เห็น โดยจะปรากฏอาการให้ทราบว่า ไม่ดีแล้วนะ

อาการ แสดงที่พบได้คือ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด ปัสสาวะสีเข้มแบบสีน้ำล้างเนื้อ บวมที่หน้า เท้า ปวดหลัง
ปวดเอว เบื่ออาหาร คลื่นไส้และความดันโลหิตสูง เป็นต้น
หากตรวจปัสสาวะก็จะพบสารโปรตีน หรือสารไข่ขาวในปัสสาวะที่รั่วออกมา ตรวจเลือดก็จะพบสารของเสียคั่ง เช่น
สาร creatinine, blood urea nitrogen (BUN) ซึ่งไตไม่สามารถกรอง
ออกมาได้ตามปกติ

หากไตเสื่อมลงไปอีก จนเหลือไม่ถึง 10-15% ก็จะเริ่มเกิดอาการไตวายระยะสุดท้าย
และหากแพทย์ไม่ช่วยเหลือโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือล้างของเสียผ่านทางช่องท้องตลอดชีวิต
หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยก็มักลงเอยด้วยการเสียชีวิตในที่สุด


วันไตโลกทำอะไรกัน
คงไม่มีใครที่อยากเป็นโรคไตวายเรื้อรัง และผู้ป่วยไตวายก็คงไม่อยากถูกทอดทิ้งให้ตายเพราะไม่มีเงินค่ารักษา
การป้องกันหรือการตรวจวินิจฉัยโรคไตได้ตั้งแต่เนิ่นๆ รวมทั้งการปฏิบัติตนให้รู้จักปลอดจากโรคไต โดยให้ความรู้
ความเข้าใจแก่ประชาชน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ทั้งสามารถลดงบประมาณของการรักษาลงได้อย่างมากมาย

ดังนั้น ทางองค์กรสากล สมาพันธ์มูลนิธิโรคไตนานาชาติและสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
ร่วมกับมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย และสำนักงานประกันหลักสุขภาพแห่งชาติจึงได้ร่วมกันกำหนด
ในวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมีนาคมทุกปี เป็นวันไตโลก เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงภัยของโรคไต
การดูแลตนเองเพื่อปลอดจากโรคและสุขภาพดี รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไตแก่บุคลากรทางการแพทย์และ
สาธารณสุขทั่วประเทศในรูปแบบของกิจกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ


10 วิธีห่างไกลโรคไต
เพื่อความไม่ประมาท รศ.นพ.ทวี ศิริวงศ์ ประธานคณะทำงานวันไตโลก
ได้แนะนำวิธีดูแลตัวเองแบบง่ายๆ มาฝากกัน

1.ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูง
3.ในกลุ่มคนที่เริ่มมีไตเสื่อม ต้องควบคุมอาหารประเภทโปรตีน เกลือและโคเลสเตอรอล
4.หยุดสูบบุหรี่
5.ห้ามใช้ยาเกินขนาด หรือยาที่มีพิษต่อไต เช่น ยาแก้ปวดข้อ คลายเส้น ฯลฯ
6.รักษาเรื่องโลหิตจางที่เกิดจากโรคไต
7.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทถั่วในคนที่มีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง
หรือผลไม้บางชนิดในคนที่มีระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง เช่น ขนุน ลำไย ทุเรียน
8.ป้องกันไม่ให้ทางเดินปัสสาวะติดเชื้ออักเสบบ่อยๆ
9.ใช้ยาขับปัสสาวะเท่าที่จำเป็น และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เสมอ
10.ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

อย่างที่แนะนำไปแล้ว การระวังและป้องกันแต่เนิ่นๆ ดูจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

โดย รศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์




 

Create Date : 20 มีนาคม 2552
0 comments
Last Update : 20 มีนาคม 2552 12:55:33 น.
Counter : 1300 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.