In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 

เทรนด์ของการเลี้ยงลูก

พ่อแม่สมัยใหม่นิยมมีลูกน้อยๆ เช่น 1-2 คน เท่านั้น แทนที่จะเป็น 6-10 คนต่อครอบครัวเหมือนสมัยก่อน

 

เหตุผลใหญ่ๆ น่าจะเป็นเพราะ ครอบครัวสมัยนี้มักหารายได้นอกบ้านกันทั้งสามีและภรรยา ค่าเสียโอกาสของผู้หญิงในการตั้งครรภ์และเลี้ยงดูลูกอ่อนจึงสูงขึ้น (เพราะทำให้ขาดรายได้ของครัวเรือนในช่วงที่ตั้งครรภ์และเด็กยังเล็กอยู่) และอีกปัจจัยหนึ่งที่มาประกอบก็คือ อัตราการตายของเด็กที่ลดลงมากเนื่องจากการแพทย์สมัยใหม่ที่ดีขึ้น ทำให้พ่อแม่มีความจำเป็นน้อยลงที่จะต้องมีลูกหลายๆ คนไว้ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีลูกสืบสกุลอย่างแน่นอนเหมือนอย่างเช่นคนสมัยก่อน

สิ่งที่ตามมาทันทีก็คือ พ่อแม่สมัยใหม่จะมีทรัพยากรสำหรับทุ่มเทให้กับลูกแต่ละคนได้มากขึ้นด้วย พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ พ่อแม่สมัยนี้สามารถเลี้ยงลูกแต่ละคนได้แบบ "จัดเต็ม" มากยิ่งขึ้น เพราะคนหารายได้มีสองคนแต่ช่วยกันเลี้ยงลูกแค่คนเดียวหรืออย่างมากก็สองคนเท่านั้น ตรงข้ามกับพ่อแม่สมัยก่อนที่พ่อคนเดียวจะต้องรับหน้าที่หารายได้เลี้ยงลูกเป็นสิบชีวิต ทำให้ต้องเกลี่ยรายได้ที่หามาได้ออกเป็นส่วนๆ มากเกินไปจนทำให้ลูกแต่ละคนไม่ได้ถูกเลี้ยงดูแบบเต็มที่

ปรากฏการณ์นี้ส่งผลดีในต่อประเทศในระดับมหภาคด้วย เพราะเมื่อทุกบ้านเลี้ยงลูกได้ดีขึ้นกันหมด คุณภาพของประชากรโดยรวมที่ถูกผลิตขึ้นมา ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย เขาถึงบอกว่ามีลูกมากจะยากจน มีสถิติที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประเทศที่คนมีรายได้ต่อหัวสูงๆ มักจะมีลูกกันน้อยๆ

จะสังเกตเห็นว่า พ่อแม่สมัยนี้กล้าจ่ายเงินเพื่อลูกมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวของชนชั้นกลาง เพราะนอกจากพ่อแม่จะมีงบประมาณมากขึ้นแล้ว พ่อแม่ก็ยังต้องการจะแน่ใจด้วยว่า ลูกจะถูกเลี้ยงมาอย่างดีที่สุด เพราะมีลูกแค่ไม่กี่คน จะพลาดไม่ได้เลย พ่อแม่หลายคู่ถึงขั้นประหยัดอย่างมากในเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนตัว เพื่อจะได้มีเงินมาจ่ายในเรื่องของลูกแบบไม่เสียดายเงิน

บางคนคิดว่าในอนาคตธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กไม่น่าจะดีเพราะอัตราการเกิดลดลง แต่ที่จริงแล้วอาจเป็นตรงกันข้ามเลยก็ได้ เพราะพ่อแม่มีลูกน้อยคนลงก็จริง แต่ยินดีจ่ายเพื่อลูกต่อคนกันมากขึ้น รวมๆ แล้วรายจ่ายอาจจะเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กอาจเป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าดึงดูดมากในอนาคต เพราะเป็นหนึ่งในธุรกิจเพียงไม่กี่อย่างที่คนสมัยใหม่ยินดีจ่ายเงินซื้อแบบไม่เกี่ยงราคา แต่เน้นคุณภาพมากกว่า ตัวอย่างของธุรกิจเกี่ยวกับเด็กที่น่าสนใจก็เช่น โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนทักษะพิเศษอย่างอื่น ซัมเมอร์คอร์ส หนังสือและสื่อสำหรับเด็ก ของเล่นเด็ก อาหารเสริมสำหรับเด็ก สถานที่รับดูแลเด็ก เป็นต้น

แนวโน้มอีกอย่างหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับเทรนด์ของการเลี้ยงลูกของพ่อแม่สมัยนี้ก็คือ การลงทุนให้กับลูกอย่างเต็มที่ในเรื่องของการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการส่งลูกให้เรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง การพาลูกไปเรียนพิเศษและกวดวิชาอย่างหนัก รวมทั้งการให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนสองภาษาหรือโรงเรียนนานาชาติ พ่อแม่ชนชั้นกลางสมัยนี้ต่างแข่งขันกันอย่างหนักเพื่อให้ลูกของตัวเองได้เปรียบหรือเหนือกว่าคนอื่นในเรื่องของโอกาสในการทำงานในอนาคต โดยทุกคนมองว่า การลงทุนเรื่องการศึกษาคือสิ่งที่ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้มากที่สุด

การที่ทุกคนจบสูงขึ้นเพราะค่านิยมนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องดี เพียงแต่ผมก็ยังไม่ค่อยแน่ใจนักว่า แค่การให้ลูกได้เรียนจบให้สูงที่สุดเท่าที่จะสูงได้ จะช่วยตอบโจทย์ได้ทั้งหมดจริงรึเปล่า ลองสังเกตดูบางประเทศในเวลานี้ เช่น อินเดีย หรือฟิลิปปินส์ ประเทศเหล่านี้ล้วนมีมหาวิทยาลัยดีๆ มากมายและผลิตบัณฑิตออกมาเป็นจำนวนมากมายมหาศาล แต่รายได้ของคนในประเทศเหล่านี้ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะโอกาสในการทำงานไม่ได้เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับจำนวนบัณฑิตที่ผลิตออกมาด้วย สุดท้ายแล้วการที่ทุกคนเสียเงินแข่งขันกันเรียนมากขึ้น แต่เงินเดือนกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามเพราะว่างานที่มีอยู่ในตลาดก็ยังคงเป็นงานแบบเดิมๆ อยู่ สุดท้ายแล้ว คนที่เรียนมาสูงๆ ในประเทศนี้ก็ต้องดิ้นรนออกไปหางานทำนอกประเทศ เพราะมีอัตราเงินเดือนและลักษณะของงานที่ตรงกับที่เรียนมามากกว่า

ในขณะที่ ถ้าเราลองมองประเทศที่พัฒนาแล้วดูบ้าง ที่จริงแล้วคนในประเทศเหล่านี้กลับไม่ได้แข่งขันกับเรียนจบสูงๆ มากมายเท่ากับประเทศที่กำลังพัฒนา แต่พวกเขากลับมีระดับรายได้ที่สูงกว่ามาก เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นเจ้าตลาดของอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงๆ ซึ่งสามารถจ้างคนที่มีคุณภาพได้ด้วยเงินเดือนที่สูงๆ ได้ เพราะมีตำแหน่งงานที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงๆ ได้รองรับประชากร

เช่นนี้แล้ว การเน้นพัฒนาแต่ซัพพลายคือ ให้คนเรียนจบสูงๆ มากขึ้นอย่างเดียว อาจไม่ใช่คำตอบที่ช่วยยกระดับรายได้ของคนในประเทศเลยก็ได้ เพราะดีมานด์ในตลาดไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องตาม สุดท้ายแล้วอาจจะกลายเป็นการแข่งขันกันเรียนสูงๆ เพื่อออกมาแย่งงานที่มีตำแหน่งงานเท่าเดิม ในขณะที่งานระดับล่างกลับขาดแคลน เพราะทุกคน overqualified กันหมด

ประเทศเราเองต้องหันมาทำสิ่งที่มีมูลค่าเพิ่มสูงๆ ให้สอดคล้องกันด้วย การพัฒนาการศึกษาของประชากรถึงจะมีประโยชน์ครับ

เหตุผลใหญ่ๆ น่าจะเป็นเพราะ ครอบครัวสมัยนี้มักหารายได้นอกบ้านกันทั้งสามีและภรรยา ค่าเสียโอกาสของผู้หญิงในการตั้งครรภ์และเลี้ยงดูลูกอ่อนจึงสูงขึ้น (เพราะทำให้ขาดรายได้ของครัวเรือนในช่วงที่ตั้งครรภ์และเด็กยังเล็กอยู่) และอีกปัจจัยหนึ่งที่มาประกอบก็คือ อัตราการตายของเด็กที่ลดลงมากเนื่องจากการแพทย์สมัยใหม่ที่ดีขึ้น ทำให้พ่อแม่มีความจำเป็นน้อยลงที่จะต้องมีลูกหลายๆ คนไว้ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีลูกสืบสกุลอย่างแน่นอนเหมือนอย่างเช่นคนสมัยก่อน

สิ่งที่ตามมาทันทีก็คือ พ่อแม่สมัยใหม่จะมีทรัพยากรสำหรับทุ่มเทให้กับลูกแต่ละคนได้มากขึ้นด้วย พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ พ่อแม่สมัยนี้สามารถเลี้ยงลูกแต่ละคนได้แบบ "จัดเต็ม" มากยิ่งขึ้น เพราะคนหารายได้มีสองคนแต่ช่วยกันเลี้ยงลูกแค่คนเดียวหรืออย่างมากก็สองคนเท่านั้น ตรงข้ามกับพ่อแม่สมัยก่อนที่พ่อคนเดียวจะต้องรับหน้าที่หารายได้เลี้ยงลูกเป็นสิบชีวิต ทำให้ต้องเกลี่ยรายได้ที่หามาได้ออกเป็นส่วนๆ มากเกินไปจนทำให้ลูกแต่ละคนไม่ได้ถูกเลี้ยงดูแบบเต็มที่

ปรากฏการณ์นี้ส่งผลดีในต่อประเทศในระดับมหภาคด้วย เพราะเมื่อทุกบ้านเลี้ยงลูกได้ดีขึ้นกันหมด คุณภาพของประชากรโดยรวมที่ถูกผลิตขึ้นมา ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย เขาถึงบอกว่ามีลูกมากจะยากจน มีสถิติที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประเทศที่คนมีรายได้ต่อหัวสูงๆ มักจะมีลูกกันน้อยๆ

จะสังเกตเห็นว่า พ่อแม่สมัยนี้กล้าจ่ายเงินเพื่อลูกมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวของชนชั้นกลาง เพราะนอกจากพ่อแม่จะมีงบประมาณมากขึ้นแล้ว พ่อแม่ก็ยังต้องการจะแน่ใจด้วยว่า ลูกจะถูกเลี้ยงมาอย่างดีที่สุด เพราะมีลูกแค่ไม่กี่คน จะพลาดไม่ได้เลย พ่อแม่หลายคู่ถึงขั้นประหยัดอย่างมากในเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนตัว เพื่อจะได้มีเงินมาจ่ายในเรื่องของลูกแบบไม่เสียดายเงิน

บางคนคิดว่าในอนาคตธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กไม่น่าจะดีเพราะอัตราการเกิดลดลง แต่ที่จริงแล้วอาจเป็นตรงกันข้ามเลยก็ได้ เพราะพ่อแม่มีลูกน้อยคนลงก็จริง แต่ยินดีจ่ายเพื่อลูกต่อคนกันมากขึ้น รวมๆ แล้วรายจ่ายอาจจะเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กอาจเป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าดึงดูดมากในอนาคต เพราะเป็นหนึ่งในธุรกิจเพียงไม่กี่อย่างที่คนสมัยใหม่ยินดีจ่ายเงินซื้อแบบไม่เกี่ยงราคา แต่เน้นคุณภาพมากกว่า ตัวอย่างของธุรกิจเกี่ยวกับเด็กที่น่าสนใจก็เช่น โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนทักษะพิเศษอย่างอื่น ซัมเมอร์คอร์ส หนังสือและสื่อสำหรับเด็ก ของเล่นเด็ก อาหารเสริมสำหรับเด็ก สถานที่รับดูแลเด็ก เป็นต้น

แนวโน้มอีกอย่างหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับเทรนด์ของการเลี้ยงลูกของพ่อแม่สมัยนี้ก็คือ การลงทุนให้กับลูกอย่างเต็มที่ในเรื่องของการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการส่งลูกให้เรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง การพาลูกไปเรียนพิเศษและกวดวิชาอย่างหนัก รวมทั้งการให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนสองภาษาหรือโรงเรียนนานาชาติ พ่อแม่ชนชั้นกลางสมัยนี้ต่างแข่งขันกันอย่างหนักเพื่อให้ลูกของตัวเองได้เปรียบหรือเหนือกว่าคนอื่นในเรื่องของโอกาสในการทำงานในอนาคต โดยทุกคนมองว่า การลงทุนเรื่องการศึกษาคือสิ่งที่ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้มากที่สุด

การที่ทุกคนจบสูงขึ้นเพราะค่านิยมนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องดี เพียงแต่ผมก็ยังไม่ค่อยแน่ใจนักว่า แค่การให้ลูกได้เรียนจบให้สูงที่สุดเท่าที่จะสูงได้ จะช่วยตอบโจทย์ได้ทั้งหมดจริงรึเปล่า ลองสังเกตดูบางประเทศในเวลานี้ เช่น อินเดีย หรือฟิลิปปินส์ ประเทศเหล่านี้ล้วนมีมหาวิทยาลัยดีๆ มากมายและผลิตบัณฑิตออกมาเป็นจำนวนมากมายมหาศาล แต่รายได้ของคนในประเทศเหล่านี้ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะโอกาสในการทำงานไม่ได้เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับจำนวนบัณฑิตที่ผลิตออกมาด้วย สุดท้ายแล้วการที่ทุกคนเสียเงินแข่งขันกันเรียนมากขึ้น แต่เงินเดือนกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามเพราะว่างานที่มีอยู่ในตลาดก็ยังคงเป็นงานแบบเดิมๆ อยู่ สุดท้ายแล้ว คนที่เรียนมาสูงๆ ในประเทศนี้ก็ต้องดิ้นรนออกไปหางานทำนอกประเทศ เพราะมีอัตราเงินเดือนและลักษณะของงานที่ตรงกับที่เรียนมามากกว่า

ในขณะที่ ถ้าเราลองมองประเทศที่พัฒนาแล้วดูบ้าง ที่จริงแล้วคนในประเทศเหล่านี้กลับไม่ได้แข่งขันกับเรียนจบสูงๆ มากมายเท่ากับประเทศที่กำลังพัฒนา แต่พวกเขากลับมีระดับรายได้ที่สูงกว่ามาก เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นเจ้าตลาดของอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงๆ ซึ่งสามารถจ้างคนที่มีคุณภาพได้ด้วยเงินเดือนที่สูงๆ ได้ เพราะมีตำแหน่งงานที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงๆ ได้รองรับประชากร

เช่นนี้แล้ว การเน้นพัฒนาแต่ซัพพลายคือ ให้คนเรียนจบสูงๆ มากขึ้นอย่างเดียว อาจไม่ใช่คำตอบที่ช่วยยกระดับรายได้ของคนในประเทศเลยก็ได้ เพราะดีมานด์ในตลาดไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องตาม สุดท้ายแล้วอาจจะกลายเป็นการแข่งขันกันเรียนสูงๆ เพื่อออกมาแย่งงานที่มีตำแหน่งงานเท่าเดิม ในขณะที่งานระดับล่างกลับขาดแคลน เพราะทุกคน overqualified กันหมด

ประเทศเราเองต้องหันมาทำสิ่งที่มีมูลค่าเพิ่มสูงๆ ให้สอดคล้องกันด้วย การพัฒนาการศึกษาของประชากรถึงจะมีประโยชน์ครับ

 

 

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์




 

Create Date : 29 มีนาคม 2556    
Last Update : 29 มีนาคม 2556 14:13:57 น.
Counter : 721 Pageviews.  

ผลตอบแทนในตลาดหุ้น

เคยแอบสงสัยกันหรือไม่ว่า นักลงทุนในตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยแล้ว ได้ผลตอบแทนกันคนละเท่าไร?

Terry Odean (UC Berkeley) และ Brad M.Barber (UC Davis) เคยทำการศึกษาผลตอบแทนของนักลงทุนจำพวกที่มีการซื้อขายรายวันเป็นประจำ หรือที่เรียกว่า Day traders ในตลาดหุ้นไต้หวันจำนวนทั้งสิ้น 139,000 บัญชี โดยทำการคำนวณผลตอบแทนสุทธิในช่วงหกเดือนจากฐานข้อมูลลูกค้าของโบรกเกอร์ระหว่างปี 1995 ถึง 1999 ผลปรากฎว่า 82% ของบัญชี มีผลตอบแทนสะสมสุทธิ ที่ "ขาดทุน" หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ มีนักลงทุนในตลาดหุ้นราวๆ 8 ใน 10 คนที่มีผลตอบแทนสะสมที่ "ขาดทุน"

ผลการศึกษานี้ยังมีสถิติที่น่าสนใจอีกด้วยว่า ในจำนวนบัญชีทั้งหมดที่ทำการวิจัยนั้น หากมีคัดแยกออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สามารถทำกำไรสะสมได้หกเดือน และกลุ่มที่ขาดทุนสะสมในช่วงเวลาเดียวกัน จากนั้นทำการวัดผลตอบแทนของแต่ละกลุ่มในช่วงหกเดือนต่อไป จะพบว่า กลุ่มที่ทำกำไรสะสมได้ในช่วงหกเดือนแรกจะสามารถทำกำไรได้อีกในช่วงหกเดือนถัดมาในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มหลังอย่างชัดเจน หรือแปลว่าคนที่ได้กำไรจากการเทรดหุ้น (พวก 2 ใน 10 ของทั้งหมด) มักจะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ในขณะที่ คนที่ขาดทุน (อีก 8 ใน 10 ที่เหลือ) ก็มักเป็นนักลงทุนที่ขาดทุนซ้ำซากด้วยเช่นกัน

งานวิจัยที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งทำการคำนวณผลตอบแทนสะสมของบัญชีซื้อขายหุ้นจำนวน 66,400 บัญชีเป็นระยะเวลา 7 ปี ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พบว่า ถ้าหากจัดแยกบัญชีออกเป็นกลุ่มตามความถี่ในการซื้อขายจะพบว่า ยิ่งเป็นบัญชีมีการเคลื่อนไหวน้อยเท่าไร ผลตอบแทนสะสมเฉลี่ยก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยบัญชีกลุ่มที่มี Turnover น้อยกว่า 2% ต่อปี (ไม่ค่อยเทรดหุ้น) มีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่มี Turnover เฉลี่ย 258% ต่อปี มากถึง 50%

งานวิจัยสองชิ้นนี้บอกอะไรเราได้หลายอย่าง ประการแรก คนจำนวนมากเชื่อว่า ถ้าจะเล่นหุ้นให้ได้กำไรสูงๆ จะต้องซื้อขายบ่อยๆ เพื่อทำรอบเท่านั้น แต่ความเป็นจริงก็คือว่าการเทรดหุ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนนั้นเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ หุ้นมักจะวิ่งไปคนละทางกับที่เราคิดไว้อยู่เสมอ สุดท้ายแล้ว การเทรดหุ้นต่างหากที่เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในทางทฤษฎี ในช่วงปี 1995-1999 นั้น ตลาดหุ้นไต้หวันให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่เดย์เทรดเดอร์ในช่วงเดียวกันโดยเฉลี่ย กลับได้ผลตอบแทนติดลบ

ประการที่สอง การเทรดหุ้นนั้นไม่ใช่เรื่องของดวง คนที่เทรดหุ้นแล้วได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมักจะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ในขณะที่ คนที่เทรดหุ้นขาดทุน ก็มักจะเป็นคนหน้าเดิมๆ ด้วยเช่นกัน ถ้าหากการเทรดหุ้นเป็นเรื่องของดวงจริงๆ ผลลัพธ์จะไม่เป็นอย่างนี้ แท้จริงแล้ว การเทรดหุ้นกลับเป็นเรื่องของอุปนิสัยและ EQ แต่นักลงทุนแต่ละบุคคลมากกว่า

เช่นนี้แล้ว วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ผลตอบแทนของคนส่วนใหญ่ดีขึ้นคือ การเทรดหุ้นให้น้อยลงกว่าที่ใจเราอยากทำ เพราะการเทรดหุ้นนี่แหละคือจุดอ่อนที่สำคัญของเรา มนุษย์โดยเฉลี่ยเป็น market timer ที่แย่มาก เพียงแค่ใช้จุดอ่อนของเราให้น้อยลง ผลตอบแทนก็จะดีขึ้นได้เอง เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง (unforced errors) มีน้อยลง

เหตุที่เราเทรดหุ้นบ่อยๆ นั้นเป็นเพราะ การอยู่เฉยๆ ในตลาดหุ้นนั้น เป็นสิ่งที่ยากมาก คนเราเหมือนมีสัญชาตญาณบางอย่างที่จะต้องทำอะไรสักอย่างกับราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นและวิ่งลงอยู่ตลอดเวลา เทคนิคง่ายๆ คือ การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือกระดานหุ้นให้น้อยลง เหมือนเวลาที่ไม่อยากใช้เงินเปลืองก็อย่าไปเดินเที่ยวตลาดนัดนั่นเอง

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราเทรดหุ้นบ่อยคือ ภาวะ overconfidence หรือ ความมั่นใจที่มากเกินความเป็นจริง นักลงทุน 80% ในตลาดจะคิดว่าตัวเองน่าจะเทรดหุ้นได้ดีกว่าคนอื่นในตลาดโดยเฉลี่ย เมื่อทุกคนที่คิดอย่างนี้มาแข่งกันเองในตลาด ผลลัพธ์คือตรงกันข้าม ดังนั้นถ้าเรารู้จักสำเหนียกมากพอที่จะประมาณตน เราจะไม่ติดกับดักของการมีทัศนคติที่ไม่ตรงกับความจริง

โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ เพราะในระยะยาวไม่มีสินทรัพย์ใดให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงมากเท่ากับหุ้นสามัญ แต่การเป็น active trader ในตลาดหุ้นนั้นจะเหมาะกับแค่บางคนเท่านั้น ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยที่อุทิศตนจริงๆ คนส่วนใหญ่เหมาะกับวิธีที่ค่อนข้าง passive แล้วลงทุนระยะยาวแบบการออมเพื่อวัยเกษียณมากกว่า เพราะนอกจากมันจะทำให้คุณได้ผลตอบแทนที่ดีพอสมควรโดยไม่ต้องเก่งมากแล้ว มันยังทำให้คุณมีเวลาสำหรับด้านอื่นของชีวิต เพราะเงินทำงานให้คุณ แทนที่คุณจะต้องทำงานให้มัน

Terry Odean (UC Berkeley) และ Brad M.Barber (UC Davis) เคยทำการศึกษาผลตอบแทนของนักลงทุนจำพวกที่มีการซื้อขายรายวันเป็นประจำ หรือที่เรียกว่า Day traders ในตลาดหุ้นไต้หวันจำนวนทั้งสิ้น 139,000 บัญชี โดยทำการคำนวณผลตอบแทนสุทธิในช่วงหกเดือนจากฐานข้อมูลลูกค้าของโบรกเกอร์ระหว่างปี 1995 ถึง 1999 ผลปรากฎว่า 82% ของบัญชี มีผลตอบแทนสะสมสุทธิ ที่ "ขาดทุน" หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ มีนักลงทุนในตลาดหุ้นราวๆ 8 ใน 10 คนที่มีผลตอบแทนสะสมที่ "ขาดทุน"

ผลการศึกษานี้ยังมีสถิติที่น่าสนใจอีกด้วยว่า ในจำนวนบัญชีทั้งหมดที่ทำการวิจัยนั้น หากมีคัดแยกออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สามารถทำกำไรสะสมได้หกเดือน และกลุ่มที่ขาดทุนสะสมในช่วงเวลาเดียวกัน จากนั้นทำการวัดผลตอบแทนของแต่ละกลุ่มในช่วงหกเดือนต่อไป จะพบว่า กลุ่มที่ทำกำไรสะสมได้ในช่วงหกเดือนแรกจะสามารถทำกำไรได้อีกในช่วงหกเดือนถัดมาในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มหลังอย่างชัดเจน หรือแปลว่าคนที่ได้กำไรจากการเทรดหุ้น (พวก 2 ใน 10 ของทั้งหมด) มักจะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ในขณะที่ คนที่ขาดทุน (อีก 8 ใน 10 ที่เหลือ) ก็มักเป็นนักลงทุนที่ขาดทุนซ้ำซากด้วยเช่นกัน

งานวิจัยที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งทำการคำนวณผลตอบแทนสะสมของบัญชีซื้อขายหุ้นจำนวน 66,400 บัญชีเป็นระยะเวลา 7 ปี ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พบว่า ถ้าหากจัดแยกบัญชีออกเป็นกลุ่มตามความถี่ในการซื้อขายจะพบว่า ยิ่งเป็นบัญชีมีการเคลื่อนไหวน้อยเท่าไร ผลตอบแทนสะสมเฉลี่ยก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยบัญชีกลุ่มที่มี Turnover น้อยกว่า 2% ต่อปี (ไม่ค่อยเทรดหุ้น) มีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่มี Turnover เฉลี่ย 258% ต่อปี มากถึง 50%

งานวิจัยสองชิ้นนี้บอกอะไรเราได้หลายอย่าง ประการแรก คนจำนวนมากเชื่อว่า ถ้าจะเล่นหุ้นให้ได้กำไรสูงๆ จะต้องซื้อขายบ่อยๆ เพื่อทำรอบเท่านั้น แต่ความเป็นจริงก็คือว่าการเทรดหุ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนนั้นเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ หุ้นมักจะวิ่งไปคนละทางกับที่เราคิดไว้อยู่เสมอ สุดท้ายแล้ว การเทรดหุ้นต่างหากที่เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในทางทฤษฎี ในช่วงปี 1995-1999 นั้น ตลาดหุ้นไต้หวันให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่เดย์เทรดเดอร์ในช่วงเดียวกันโดยเฉลี่ย กลับได้ผลตอบแทนติดลบ

ประการที่สอง การเทรดหุ้นนั้นไม่ใช่เรื่องของดวง คนที่เทรดหุ้นแล้วได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมักจะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ในขณะที่ คนที่เทรดหุ้นขาดทุน ก็มักจะเป็นคนหน้าเดิมๆ ด้วยเช่นกัน ถ้าหากการเทรดหุ้นเป็นเรื่องของดวงจริงๆ ผลลัพธ์จะไม่เป็นอย่างนี้ แท้จริงแล้ว การเทรดหุ้นกลับเป็นเรื่องของอุปนิสัยและ EQ แต่นักลงทุนแต่ละบุคคลมากกว่า

เช่นนี้แล้ว วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ผลตอบแทนของคนส่วนใหญ่ดีขึ้นคือ การเทรดหุ้นให้น้อยลงกว่าที่ใจเราอยากทำ เพราะการเทรดหุ้นนี่แหละคือจุดอ่อนที่สำคัญของเรา มนุษย์โดยเฉลี่ยเป็น market timer ที่แย่มาก เพียงแค่ใช้จุดอ่อนของเราให้น้อยลง ผลตอบแทนก็จะดีขึ้นได้เอง เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง (unforced errors) มีน้อยลง

เหตุที่เราเทรดหุ้นบ่อยๆ นั้นเป็นเพราะ การอยู่เฉยๆ ในตลาดหุ้นนั้น เป็นสิ่งที่ยากมาก คนเราเหมือนมีสัญชาตญาณบางอย่างที่จะต้องทำอะไรสักอย่างกับราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นและวิ่งลงอยู่ตลอดเวลา เทคนิคง่ายๆ คือ การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือกระดานหุ้นให้น้อยลง เหมือนเวลาที่ไม่อยากใช้เงินเปลืองก็อย่าไปเดินเที่ยวตลาดนัดนั่นเอง

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราเทรดหุ้นบ่อยคือ ภาวะ overconfidence หรือ ความมั่นใจที่มากเกินความเป็นจริง นักลงทุน 80% ในตลาดจะคิดว่าตัวเองน่าจะเทรดหุ้นได้ดีกว่าคนอื่นในตลาดโดยเฉลี่ย เมื่อทุกคนที่คิดอย่างนี้มาแข่งกันเองในตลาด ผลลัพธ์คือตรงกันข้าม ดังนั้นถ้าเรารู้จักสำเหนียกมากพอที่จะประมาณตน เราจะไม่ติดกับดักของการมีทัศนคติที่ไม่ตรงกับความจริง

โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ เพราะในระยะยาวไม่มีสินทรัพย์ใดให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงมากเท่ากับหุ้นสามัญ แต่การเป็น active trader ในตลาดหุ้นนั้นจะเหมาะกับแค่บางคนเท่านั้น ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยที่อุทิศตนจริงๆ คนส่วนใหญ่เหมาะกับวิธีที่ค่อนข้าง passive แล้วลงทุนระยะยาวแบบการออมเพื่อวัยเกษียณมากกว่า เพราะนอกจากมันจะทำให้คุณได้ผลตอบแทนที่ดีพอสมควรโดยไม่ต้องเก่งมากแล้ว มันยังทำให้คุณมีเวลาสำหรับด้านอื่นของชีวิต เพราะเงินทำงานให้คุณ แทนที่คุณจะต้องทำงานให้มัน

 

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

 

ตอบโจทย์ตลาดสินค้าอาหารแดนมังกร

จีนวันนี้ได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “โรงงานโลก” มาเป็น “ตลาดผู้บริโภค” ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ที่สำคัญ ประชากรจีนมากกว่า 1.3 พันล้านคนได้ขยับขึ้นมามีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี “สูงกว่า” คนไทยเราทั้ง 66 ล้านคนแล้วนะคะ จากสถิติล่าสุด จีนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี (GDP per capita) ประมาณ 6,094 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ คนไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี เพียง 5,848 ดอลลาร์สหรัฐฯ และแน่นอนว่า คนจีนมีเงินมากขึ้น มีกำลังซื้อมากขึ้น ก็ย่อมที่จะต้องกินต้องใช้มากขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนี้ คณะผู้นำจีนรุ่นที่ 5 นำโดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิงและนายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียงได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้คนจีนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัวภายในปี 2020 และจะเบนเข็มมามุ่งเน้นกระตุ้นการบริโภคของคนจีน โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีจีนคนใหม่มีการผลักดันนโยบาย urbanization อย่างจริงจัง เพื่อปรับเปลี่ยนชนบทสู่ความเป็นเมือง ด้วยความหวังที่จะกระจายการพัฒนาเมืองและทำให้คนจีนได้อยู่ดีกินดีถ้วนหน้าให้มากขึ้น คาดว่า จะทำให้ชนชั้นกลางจีนขยายเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคน (ประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรจีนทั้งหมด) ให้เพิ่มเป็น 700 ล้านคนภายในปี 2020

ตลาดสินค้าหมวดอาหารซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันก็น่าจะได้รับอานิสงส์จากการปรับโฉมใหม่ของเศรษฐกิจจีนที่มุ่งให้ปวงชนชาวจีนได้มีเงินมีรายได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากชาวจีนทั่วไปมีค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอาหารประมาณ 1 ใน 4 ของค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคทั้งหมด

บทความตอนนี้ จึงจะมาตอบโจทย์ตลาดสินค้าอาหารแดนมังกร ซึ่งข้อมูลที่นำมาแบ่งปันในวันนี้ส่วนใหญ่มาจากงานสัมมนา “สร้างโอกาสการค้าไทย พิชิตใจแดนมังกร ตอน อาหารไทยบุกตลาดจีน” จัดโดยธนาคารกสิกรไทย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ที่ผ่านมา ดิฉันได้รับเชิญให้เป็นผู้ดำเนินรายการในงานสัมมนาและได้พูดคุยสัมภาษณ์กับผู้ร่วมเสวนาที่มีประสบการณ์ในการค้าขายและทำธุรกิจสินค้าอาหารไทยกับแผ่นดินจีน โดยเฉพาะคุณกุลเกตุ โตทับเที่ยง ผู้บริหารสาวคนเก่งทายาทปลากระป๋องปุ้มปุ้ยได้ขึ้นเวทีถ่ายทอดประสบการณ์ตรงในความพยายามอย่างหนักที่จะให้อาหารกระป๋องไทยสัญลักษณ์ปลาตัวอ้วนที่มีน้ำลาย 3 หยดได้เข้าไปทะลุทะลวงตลาดจีนให้จงได้

ขอเริ่มจากภาพรวมของ (อภิมหา) ตลาดสินค้าอาหารในแดนมังกร ซึ่งในขณะนี้ มูลค่าตลาดสินค้าอาหารของประเทศจีนสูงถึง 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมทั้งความต้องการนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากข้อมูลในปี 2011 จีนกลายเป็นผู้นำเข้าอาหารสัดส่วนร้อยละ 6.2 ของโลกเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนราว 4.7 ในปี 2008 ส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยด้านอุปสงค์ของผู้บริโภคชาวจีนที่มีรายได้สูงขึ้นและมีความต้องการคุณภาพอาหารที่มากขึ้น ประกอบกับพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรของจีนเองกลับลดลง

ในจำนวนนี้ จีนนำเข้าอาหารจากประเทศไทยในสัดส่วนประมาณร้อยละ 2.8 ของมูลค่านำเข้าอาหารทั้งหมดของจีน จากตัวเลขในปี 2011 จีนนำเข้าสินค้าหมวดอาหารจากไทยมูลค่าราว 1,838 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 ในปีก่อนหน้า หลายคนจึงมองว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารรายสำคัญของโลก น่าจะเป็นโอกาสสำหรับสินค้าไทยในการขยายฐานการส่งออกไปสู่ตลาดประเทศจีนให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ เส้นทางของสินค้าอาหารไทยในการเข้าไปพิชิตใจแดนมังกรก็ไม่ได้ง่ายดังใจหวัง โดยเฉพาะในหมวดอาหารเพื่อการบริโภค หนึ่งในปัญหาสำคัญ คือ ช่องทางในการกระจายสินค้าในประเทศจีนและการแข่งขันที่ดุเดือดเข้มข้นสมกับที่จีนได้รับการขนานนามว่า เป็น “ตลาดปราบเซียน” ดิฉันจะขอนำประสบการณ์ของปลากระป๋องปุ้มปุ้ยในการเจาะตลาดจีนมาเป็นกรณีศึกษาในบทความวันนี้ค่ะ

จากการพูดคุยสัมภาษณ์คุณกุลเกตุ โตทับเที่ยง ทำให้ทราบว่า ปลากระป๋องปุ้มปุ้ยได้เข้าไปลุยตลาดจีนมานานร่วม 20 ปี และสามารถแบ่งระยะเวลาในความพยายามบุกตลาดแดนมังกรได้ดังนี้

ระยะแรก เริ่มจากการค้าชายแดน ด้วยภาพลักษณ์และคุณภาพปลากระป๋องที่มีชื่อเสียงของไทยรายนี้ ทำให้มีคนเข้ามาซื้อสินค้าปุ้มปุ้ยเพื่อขนส่งนำไปขายต่อในประเทศจีน ในลักษณะการลัดเลาะเข้าตลาดจีนผ่านชายแดนทางมณฑลยูนนาน อย่างไรก็ดี การค้าในลักษณะนี้ค่อนข้างจะมีข้อจำกัด เนื่องจากตลาดมณฑลชายแดนจีนที่ค่อนข้างแคบ และไม่สามารถกระจายต่อเข้าไปยังมณฑลขนาดใหญ่อื่นๆ ของจีนได้โดยง่ายอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป

ระยะต่อมา ผู้บริหารปุ้มปุ้ยจึงได้ตัดสินใจเข้าไปลุยทำตลาดในประเทศจีนด้วยตัวเอง โดยการเข้าไปตั้งสำนักงานในนครเฉิงตู มณฑลเสฉวน และจ้างผู้จัดการคนไทยพร้อมทีมงานคนจีนเพื่อดูแลกิจการด้วยตัวเอง แต่ปรากฏว่า หลังจากเปิดสาขาไปได้เพียง 1-2 ปีก็ต้องประสบกับสารพัดปัญหา เช่น คู่ค้าจีนที่มาขอติดต่อด้วยยังไม่คุ้นเคยกับวิธีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ปัญหาอุปสรรคด้านภาษีนำเข้าของจีน ปัญหาเอกสารต่างๆ ที่เป็นภาษาจีนกลางและขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องดำเนินการในประเทศจีน รวมทั้งปัญหากฎระเบียบที่ปรับเปลี่ยนรวดเร็ว และที่สำคัญ คือ การแข่งขันสูงมาก ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย ในที่สุด ผู้บริหารปุ้มปุ้ยตัดสินใจที่จะถอยออกมา และปิดตัวสาขาเฉิงตูไปในที่สุด

อย่างไรก็ดี ผู้บริหารของปลากระป๋องปุ้มปุ้ยก็ไม่ย่อท้อ โดยในขณะนี้ ปุ้มปุ้ยได้ปรับกลยุทธ์และรูปแบบในการส่งออกสินค้าไปเจาะตลาดจีนโดยผ่านตัวแทนจัดจำหน่าย และคัดเลือกคู่ค้าจีนที่มีความเป็นมืออาชีพในการดูแลสินค้าปุ้มปุ้ยในจีนแผ่นดินใหญ่

หลายคนคงทราบดีว่า การจะหาคู่ค้าที่ดีหรือตัวแทนในจีนที่ไว้ใจได้ก็มิใช่เรื่องง่ายและต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ หลักการสำคัญในการเลือกเอเย่นต์หรือตัวแทนจัดจำหน่ายของปุ้มปุ้ยในจีน คือ เน้นให้ทำตลาดเจาะเฉพาะรายมณฑล และศึกษาหาข้อมูลเชิงลึก เพื่อดูว่าช่องทางในการจัดจำหน่ายของตัวแทนในจีนมีความเข้มแข็งและกว้างขวางมากพอหรือไม่ จะสามารถกระจายสินค้าได้ครอบคลุมทั่วทั้งมณฑลหรือไม่ และจะสามารถจัดการกับขั้นตอนกฎระเบียบด้านความปลอดภัยและการตรวจสินค้าที่ด่านนำเข้าของหน่วยงาน CIQ จีนได้ถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ เป็นต้น

ในหลายกรณี ฝ่ายปุ้มปุ้ยเองก็ต้องลงทุนในการเข้าไปจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายในตลาดจีน เช่น การนำสินค้าไปแจกลูกค้าจีนทดลองชิม การออกบูธในห้างฯ จีน เป็นต้น

จุดเด่นที่สำคัญของสินค้าปุ้มปุ้ย คือ การสร้างแบรนด์และการรักษาคุณภาพสินค้า รวมทั้งจุดเน้นในการเป็นสินค้าอาหารฮาลาล ทำให้สามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าชาวจีนมุสลิมได้เช่นกัน นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีฉลากสินค้าเป็นภาษาจีน และออกแบบบรรจุภัณฑ์แพคเกจจิ้งที่สวยงาม เตะตาและมีจุดเด่น กลุ่มผู้บริโภคจีนยุคใหม่เริ่มจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากรูปลักษณ์ภายนอก และด้วยกำลังซื้อที่เพิ่มมากขึ้นทำให้กลยุทธ์ด้านราคาอาจจะใช้ไม่ได้ผลในตลาดจีนอีกต่อไป

น่าเสียดายเนื้อที่หมดพอดี หากแต่ยังมีหลายประเด็นที่ต้องเรียนรู้ เช่น วิธีการชำระค่าสินค้า ขั้นตอนการขนส่งและกระจายสินค้าในตลาดจีน แต่ไม่เป็นไรค่ะ ทางธนาคารกสิกรไทยใจดี เพราะได้เตรียมเอกสารข้อมูลรายละเอียดที่จะช่วยตอบโจทย์สินค้าอาหารของไทยในการส่งออกไปตลาดจีนในเอกสาร "คู่มือการส่งออกสินค้าอาหารไทย สู่แดนมังกร" ทุกท่านที่สนใจสามารถติดต่อขอรับคู่มือฯ ได้ที่ศูนย์ธุรกิจไทย-จีน ธนาคารกสิกรไทย ชั้น 16 อาคารจัตุรัสจามจุรี ถ.พระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ในเวลาทำการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น. หรือโทร 02 562 7210-3 ได้เลยค่ะ

ที่สำคัญ ประชากรจีนมากกว่า 1.3 พันล้านคนได้ขยับขึ้นมามีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี “สูงกว่า” คนไทยเราทั้ง 66 ล้านคนแล้วนะคะ จากสถิติล่าสุด จีนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี (GDP per capita) ประมาณ 6,094 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ คนไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี เพียง 5,848 ดอลลาร์สหรัฐฯ และแน่นอนว่า คนจีนมีเงินมากขึ้น มีกำลังซื้อมากขึ้น ก็ย่อมที่จะต้องกินต้องใช้มากขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนี้ คณะผู้นำจีนรุ่นที่ 5 นำโดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิงและนายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียงได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้คนจีนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัวภายในปี 2020 และจะเบนเข็มมามุ่งเน้นกระตุ้นการบริโภคของคนจีน โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีจีนคนใหม่มีการผลักดันนโยบาย urbanization อย่างจริงจัง เพื่อปรับเปลี่ยนชนบทสู่ความเป็นเมือง ด้วยความหวังที่จะกระจายการพัฒนาเมืองและทำให้คนจีนได้อยู่ดีกินดีถ้วนหน้าให้มากขึ้น คาดว่า จะทำให้ชนชั้นกลางจีนขยายเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคน (ประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรจีนทั้งหมด) ให้เพิ่มเป็น 700 ล้านคนภายในปี 2020

ตลาดสินค้าหมวดอาหารซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันก็น่าจะได้รับอานิสงส์จากการปรับโฉมใหม่ของเศรษฐกิจจีนที่มุ่งให้ปวงชนชาวจีนได้มีเงินมีรายได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากชาวจีนทั่วไปมีค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอาหารประมาณ 1 ใน 4 ของค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคทั้งหมด

บทความตอนนี้ จึงจะมาตอบโจทย์ตลาดสินค้าอาหารแดนมังกร ซึ่งข้อมูลที่นำมาแบ่งปันในวันนี้ส่วนใหญ่มาจากงานสัมมนา “สร้างโอกาสการค้าไทย พิชิตใจแดนมังกร ตอน อาหารไทยบุกตลาดจีน” จัดโดยธนาคารกสิกรไทย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ที่ผ่านมา ดิฉันได้รับเชิญให้เป็นผู้ดำเนินรายการในงานสัมมนาและได้พูดคุยสัมภาษณ์กับผู้ร่วมเสวนาที่มีประสบการณ์ในการค้าขายและทำธุรกิจสินค้าอาหารไทยกับแผ่นดินจีน โดยเฉพาะคุณกุลเกตุ โตทับเที่ยง ผู้บริหารสาวคนเก่งทายาทปลากระป๋องปุ้มปุ้ยได้ขึ้นเวทีถ่ายทอดประสบการณ์ตรงในความพยายามอย่างหนักที่จะให้อาหารกระป๋องไทยสัญลักษณ์ปลาตัวอ้วนที่มีน้ำลาย 3 หยดได้เข้าไปทะลุทะลวงตลาดจีนให้จงได้

ขอเริ่มจากภาพรวมของ (อภิมหา) ตลาดสินค้าอาหารในแดนมังกร ซึ่งในขณะนี้ มูลค่าตลาดสินค้าอาหารของประเทศจีนสูงถึง 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมทั้งความต้องการนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากข้อมูลในปี 2011 จีนกลายเป็นผู้นำเข้าอาหารสัดส่วนร้อยละ 6.2 ของโลกเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนราว 4.7 ในปี 2008 ส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยด้านอุปสงค์ของผู้บริโภคชาวจีนที่มีรายได้สูงขึ้นและมีความต้องการคุณภาพอาหารที่มากขึ้น ประกอบกับพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรของจีนเองกลับลดลง

ในจำนวนนี้ จีนนำเข้าอาหารจากประเทศไทยในสัดส่วนประมาณร้อยละ 2.8 ของมูลค่านำเข้าอาหารทั้งหมดของจีน จากตัวเลขในปี 2011 จีนนำเข้าสินค้าหมวดอาหารจากไทยมูลค่าราว 1,838 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 ในปีก่อนหน้า หลายคนจึงมองว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารรายสำคัญของโลก น่าจะเป็นโอกาสสำหรับสินค้าไทยในการขยายฐานการส่งออกไปสู่ตลาดประเทศจีนให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ เส้นทางของสินค้าอาหารไทยในการเข้าไปพิชิตใจแดนมังกรก็ไม่ได้ง่ายดังใจหวัง โดยเฉพาะในหมวดอาหารเพื่อการบริโภค หนึ่งในปัญหาสำคัญ คือ ช่องทางในการกระจายสินค้าในประเทศจีนและการแข่งขันที่ดุเดือดเข้มข้นสมกับที่จีนได้รับการขนานนามว่า เป็น “ตลาดปราบเซียน” ดิฉันจะขอนำประสบการณ์ของปลากระป๋องปุ้มปุ้ยในการเจาะตลาดจีนมาเป็นกรณีศึกษาในบทความวันนี้ค่ะ

จากการพูดคุยสัมภาษณ์คุณกุลเกตุ โตทับเที่ยง ทำให้ทราบว่า ปลากระป๋องปุ้มปุ้ยได้เข้าไปลุยตลาดจีนมานานร่วม 20 ปี และสามารถแบ่งระยะเวลาในความพยายามบุกตลาดแดนมังกรได้ดังนี้

ระยะแรก เริ่มจากการค้าชายแดน ด้วยภาพลักษณ์และคุณภาพปลากระป๋องที่มีชื่อเสียงของไทยรายนี้ ทำให้มีคนเข้ามาซื้อสินค้าปุ้มปุ้ยเพื่อขนส่งนำไปขายต่อในประเทศจีน ในลักษณะการลัดเลาะเข้าตลาดจีนผ่านชายแดนทางมณฑลยูนนาน อย่างไรก็ดี การค้าในลักษณะนี้ค่อนข้างจะมีข้อจำกัด เนื่องจากตลาดมณฑลชายแดนจีนที่ค่อนข้างแคบ และไม่สามารถกระจายต่อเข้าไปยังมณฑลขนาดใหญ่อื่นๆ ของจีนได้โดยง่ายอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป

ระยะต่อมา ผู้บริหารปุ้มปุ้ยจึงได้ตัดสินใจเข้าไปลุยทำตลาดในประเทศจีนด้วยตัวเอง โดยการเข้าไปตั้งสำนักงานในนครเฉิงตู มณฑลเสฉวน และจ้างผู้จัดการคนไทยพร้อมทีมงานคนจีนเพื่อดูแลกิจการด้วยตัวเอง แต่ปรากฏว่า หลังจากเปิดสาขาไปได้เพียง 1-2 ปีก็ต้องประสบกับสารพัดปัญหา เช่น คู่ค้าจีนที่มาขอติดต่อด้วยยังไม่คุ้นเคยกับวิธีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ปัญหาอุปสรรคด้านภาษีนำเข้าของจีน ปัญหาเอกสารต่างๆ ที่เป็นภาษาจีนกลางและขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องดำเนินการในประเทศจีน รวมทั้งปัญหากฎระเบียบที่ปรับเปลี่ยนรวดเร็ว และที่สำคัญ คือ การแข่งขันสูงมาก ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย ในที่สุด ผู้บริหารปุ้มปุ้ยตัดสินใจที่จะถอยออกมา และปิดตัวสาขาเฉิงตูไปในที่สุด

อย่างไรก็ดี ผู้บริหารของปลากระป๋องปุ้มปุ้ยก็ไม่ย่อท้อ โดยในขณะนี้ ปุ้มปุ้ยได้ปรับกลยุทธ์และรูปแบบในการส่งออกสินค้าไปเจาะตลาดจีนโดยผ่านตัวแทนจัดจำหน่าย และคัดเลือกคู่ค้าจีนที่มีความเป็นมืออาชีพในการดูแลสินค้าปุ้มปุ้ยในจีนแผ่นดินใหญ่

หลายคนคงทราบดีว่า การจะหาคู่ค้าที่ดีหรือตัวแทนในจีนที่ไว้ใจได้ก็มิใช่เรื่องง่ายและต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ หลักการสำคัญในการเลือกเอเย่นต์หรือตัวแทนจัดจำหน่ายของปุ้มปุ้ยในจีน คือ เน้นให้ทำตลาดเจาะเฉพาะรายมณฑล และศึกษาหาข้อมูลเชิงลึก เพื่อดูว่าช่องทางในการจัดจำหน่ายของตัวแทนในจีนมีความเข้มแข็งและกว้างขวางมากพอหรือไม่ จะสามารถกระจายสินค้าได้ครอบคลุมทั่วทั้งมณฑลหรือไม่ และจะสามารถจัดการกับขั้นตอนกฎระเบียบด้านความปลอดภัยและการตรวจสินค้าที่ด่านนำเข้าของหน่วยงาน CIQ จีนได้ถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ เป็นต้น

ในหลายกรณี ฝ่ายปุ้มปุ้ยเองก็ต้องลงทุนในการเข้าไปจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายในตลาดจีน เช่น การนำสินค้าไปแจกลูกค้าจีนทดลองชิม การออกบูธในห้างฯ จีน เป็นต้น

จุดเด่นที่สำคัญของสินค้าปุ้มปุ้ย คือ การสร้างแบรนด์และการรักษาคุณภาพสินค้า รวมทั้งจุดเน้นในการเป็นสินค้าอาหารฮาลาล ทำให้สามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าชาวจีนมุสลิมได้เช่นกัน นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีฉลากสินค้าเป็นภาษาจีน และออกแบบบรรจุภัณฑ์แพคเกจจิ้งที่สวยงาม เตะตาและมีจุดเด่น กลุ่มผู้บริโภคจีนยุคใหม่เริ่มจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากรูปลักษณ์ภายนอก และด้วยกำลังซื้อที่เพิ่มมากขึ้นทำให้กลยุทธ์ด้านราคาอาจจะใช้ไม่ได้ผลในตลาดจีนอีกต่อไป

น่าเสียดายเนื้อที่หมดพอดี หากแต่ยังมีหลายประเด็นที่ต้องเรียนรู้ เช่น วิธีการชำระค่าสินค้า ขั้นตอนการขนส่งและกระจายสินค้าในตลาดจีน แต่ไม่เป็นไรค่ะ ทางธนาคารกสิกรไทยใจดี เพราะได้เตรียมเอกสารข้อมูลรายละเอียดที่จะช่วยตอบโจทย์สินค้าอาหารของไทยในการส่งออกไปตลาดจีนในเอกสาร "คู่มือการส่งออกสินค้าอาหารไทย สู่แดนมังกร" ทุกท่านที่สนใจสามารถติดต่อขอรับคู่มือฯ ได้ที่ศูนย์ธุรกิจไทย-จีน ธนาคารกสิกรไทย ชั้น 16 อาคารจัตุรัสจามจุรี ถ.พระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ในเวลาทำการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น. หรือโทร 02 562 7210-3 ได้เลยค่ะ

 

ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น

//www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/aksornsri/20130328/497408/ตอบโจทย์ตลาดสินค้าอาหารแดนมังกร.html




 

Create Date : 29 มีนาคม 2556    
Last Update : 29 มีนาคม 2556 13:58:27 น.
Counter : 748 Pageviews.  

ความรู้คู่ความบันเทิงแล้ว มิติใหม่ของInvestment Seminar

สรุปความโดย วรวรรณ ธาราภูมิ
CEO กองทุนบัวหลวง


พี่เคี้ยว CIO กองทุนบัวหลวง
-------------------------------

เน้นเรื่องการแสวงหาและคัดเลือกหุ้นที่เป็น Stars เป็น Growth Stocks ภายใต้ Theme การลงทุนที่เห็นข้างหน้าในอนาคต

เรื่อง QE เรื่องเงินต่างชาติที่เข้าๆ ออกๆ ซึ่งคล้ายๆ เงินร้อนจากต่างชาติทำตัวเป็นเจ้ามือตลาดหุ้นไปทั่วโลกนั้น พี่เคี้ยวบอกว่า “เจ้ามือตัวจริงคือ กำไรหุ้น ไม่ใช่เจ้ามืออย่างรัฐบาลและธนาคารกลางทั้งหลาย” หมายความว่า ผลกำไรของบริษัทที่เราลงทุนจะเป็นตัวตัดสินคุณค่าและราคาหุ้นในระยะยาว ไม่ใช่ข่าวที่จะรบกวนเราไปตลอดเส้นทางลงทุนเหมือนละครภาคดึกที่มีฉายให้ดูทุกวันอย่างเรื่องเพดานหนี้ในอเมริกา อย่างเรื่องปัญหาของยุโรป ที่จะมากวนเป็นระยะๆ

นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอกประเทศ แม้จะกระทบได้ทั้งบวกและลบในระยะสั้น แต่มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศเลย แบบว่ายังต้องขับรถส่งลูกไปโรงเรียนทุกวัน ยังต้องกิน ต้องใช้ ดังนั้น Thinking Process จึงสำคัญที่สุด เราหา Theme ลงทุน คือหาวงจรแห่งความรุ่งเรือง แล้วกำหนด Trend ของ Theme

Theme ในวันนี้คือ Urbanization ซึ่งจะได้รับผลดีจากการที่เมืองขยาย ทำให้คน ตจว. มีเงินมากขึ้น ทำให้การบริโภคภายในประเทศไปได้อีกมาก

หลังจากนั้น เราจึงไปแสวงหาบริษัทที่จะได้รับผลดีจาก Theme นั้น หรือที่เรียกว่า Bottom up ซึ่งเราหาหุ้นโดยไม่ได้วิเคราะห์เฉพาะเชิงปริมาณหรือดูแค่ตัวเลขผลการดำเนินงาน แต่เราดูคุณภาพด้วย

เราไม่ได้ซื้อเพราะแค่ดูตัวเลขสวยๆ แต่ใช้รูปแบบของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ ที่ออกไปเสาะหาข้อเท็จจริงของธุรกิจ สืบค้น พูดคุยกับแหล่งข้อมูล เช่น คู่แข่ง ซัพพลายเออร์ ลูกค้า เพื่อที่จะดูให้ลึกลงไปว่าการดำเนินงานของบริษัทที่แท้จริงแล้วมันเป็นอย่างไร

นอกจากนี้ ค่ายกองทุนบัวหลวง ไม่ได้ผูกตัวเองกับการเอาชนะตลาด ไม่ได้ตั้งเป้าเอาชนะคู่แข่ง ไม่ได้มุ่งให้ผลงานกองทุนชนะดัชนีตลาดหุ้น แต่เรามุ่งไปที่การหาหุ้นที่จะเป็นผู้ชนะ

จินตนาการที่จะบรรลุได้ ไม่ใช่แบบโบรกเกอร์ที่ขยับราคาไปเรื่อยๆ ในขณะที่เรามองไปแล้วตั้งแต่ต้น

ไวน์ชั้นดีเดิมคือไวน์จาก Old world เช่นของฝรั่งเศส แต่เดี๋ยวนี้เรามีไวน์ดีๆ จาก New World แล้ว ไทยก็มีบริษัทดีๆ ที่คล้ายๆ กับไวน์ดีๆ จาก New World ให้คนเลือกลงทุนได้ เรามอง AEC เป็นโอกาสมาก โดยต่อยอดเรื่องเดินทาง ขายของเพื่อนบ้าน Medical Tourism

เราให้ความสำคัญในเรื่อง Brand Image ของหุ้นที่เราสนใจจะลงทุน โดยเป็นบริษัทที่มีสินค้าและบริการที่ติดตลาดโดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน แต่ไม่จำกัดว่าเฉพาะอาเซียน ซึ่งเรื่องอย่างนี้ Brand Image เป็นสิ่งสำคัญ และสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีรายได้มากขึ้น ก็เลือกสินค้าและบริการที่มี Image ดีมากขึ้น

พี่เคี้ยวยกตัวอย่างว่าที่พัทยาเดิมมีป้ายภาษาไทยกับอังกฤษ เดี๋ยวนี้มึคำเตือนภาษาจีน ภาษารัสเซีย แล้ว นอกจากนี้ การท่องเที่ยวไทยยังรู้จักใช้ดาราไทยไปดึงดูดคนจีน โปรโมท สำเร็จจนไฟลท์บินเดือน ธค เต็ม

ด้านการลงทุนของต่างชาติที่เข้ามาใน Real Sectors ไทยนั้น ก็ขึ้นเยอะ เช่น ญี่ปุ่น ที่มาเร็ว มาจริง

ในปี 2555 ทีมจัดการกองทุนบัวหลวง เรียก Theme ที่ใช้ด้วยชื่อที่จำได้ง่ายๆ ว่า “บินแหลก แ_กไม่อั้น ซึ่งหมายถึงกิจการที่เกี่ยวกับการเดินทางทางอากาศ และการบริโภค

สำหรับปีนี้ เราก็ยัง “บินแหลก แ_กไม่อั้น” ต่อจากปีก่อน และเพิ่มด้วยประโยคที่ว่า “Light up your life, protect your assets.

“Light up your life” หมายถึงชีวิตที่สุขสำราญ สว่างไสว ไฟฟ้า เดินทางท่องเที่ยว ปลดปล่อย บันเทิง สวยขึ้น แต่งตัว Entertainment

ส่วน “Protect your assets” มีสองความหมาย อย่างแรกหมายถึงผู้คนจะเริ่มคิดถึงการปกป้องคุ้มครองตนและครอบครัวมากขึ้น เช่น ทำประกันชีวิต สุขภาพ รถ และในอีกแง่หนึ่งสำหรับการบริหารพอร์ตกองทุนของเรา เราจะปกป้องพอร์ตกองทุน และ Defensive มากขึ้น

สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เพียงวิชาการและตัวเลขเท่านั้นที่จะทำให้เลือกลงทุนได้สำเร็จ จินตนาการเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บรรลุได้ แต่ไม่ใช่จินตนาการลมๆ แล้งๆ ในขณะที่เรามองเห็นราคาหุ้นในอนาคตว่าน่าจะไปได้ถึงแค่ไหน เราก็ยึดเป้าหมายไว้ตรงนั้นตั้งแต่เราเริ่มลงทุน ซึ่งต่างกับโบรกเกอร์ที่ขยับราคาหุ้นไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ เรายังพบว่ามีระดับ CIO กองทุนต่างประเทศจำนวนมากที่ติดต่อขอมาพบเรา มาพบคู่แข่งเรา และไปเยี่ยมชมกิจการต่างๆ ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย นี่ยิ่งยืนยันได้ถึงกระแสตะวันออกและเอเชียมาแรง โดยเฉพาะอาเซียน เพราะเดิมนั้น ตัวใหญ่ๆ แบบนี้ไม่มีมาด้วยตนเอง ซึ่งกลุ่มนี้ไม่ใช่เงินร้อน เป็นกลุ่มที่ลงทุนได้นาน

สำหรับเงินร้อนช่วงสั้นๆ นั้น Currency War กำลังเป็น issue และจะเกิด yen carry trade ยังมี Fund flow เข้ามาลงทุนในไทยต่อเนื่อง

สำหรับการลงทุนใน AEC นั้น ทีมจัดการกองทุนของเรามีการเตรียมพร้อมไว้แล้ว รอให้ Operation ด้านชำระราคาและส่งมอบของตลาดหลักทรัพย์ฯ กับโบรกเกอร์เรียบร้อยก่อน โดยเราแบ่งนักวิจัยเราให้ดูกิจการในประเทศต่างๆ ครบถ้วน

ท้ายสุด พี่เคี้ยวบอกว่า ….

“Be bullish in bull market”

“อย่าไปกลัว แต่ให้ลงทุนอย่างระมัดระวังและรอบคอบ




พี่ฮุย CIO กรุงศรี
-------------------

ค่ายนี้บอกว่า ระยะเวลาเป็นกุญแจสำคัญสำหรับพอร์ตลูกค้า แต่กุญแจสำคัญสำหรับพอร์ตกองทนที่พี่ฮุยบริหารคือการเติบโตที่มีคุณภาพของธุรกิจที่มียุทธศาสตร์ดี มีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เขาจะดูว่าผลงานในอดีตที่ผ่านมาหลายไซเคิลนั้นทำให้บริษัทพร้อมรับมืออนาคตที่ไม่แน่นอนไหม แล้วจะปรับข้อมูลนามธรรมนั้นมาเป็นตัวเลขให้ได้ และดูด้วยว่าเป็นธุรกิจที่นอกจากจะสร้างสรรผลิตภัณฑ์และบริการแล้ว ยังสร้างสรรสังคมหรือไม่

กรุงศรี จะศึกษาบริษัทใน ตปท ด้วย โดยทำความเข้าใจบริษัทไทยๆ ที่เลือกลงทุนอย่างจริงจัง เพราะหุ้นไทยก็มีการค้าขายกับ ตปท

มีคนถามว่าตลาดเราแพงแล้ว หุ้นแพงแล้ว ยังจะให้ลงทุนเหรอ

พี่ฮุยตอบได้ดีมาก

"ลงทุนเป็นเรื่องยาว และย่อมมีความเสี่ยง ขณะนี้หุ้นดีๆ ที่ยังไม่แพงก็มี เช่น กิจการของเถ้าแก่รุ่นเก่า เถ้าแก่เป็นคนดี เป็นคนเก่ง แต่ราคาหุ้นของเถ้าแก่ยังไม่ไป อาเสี่ยลูกชายยังบ่นว่า ป๊าๆ หุ้นคนอื่นไป 100 บาทแล้ว ทำไมของเรามันแค่บาทเดียว”

พี่ฮุยบอกว่า หุ้นแบบนี้ละที่เราแสวงหา และมันยังราคาถูก

ราคาหุ้นที่ PE ปี 2557 เป็น 12 เท่า และที่ PE ปีนี้เป็น 13 เท่ายังไม่แพง หากเลือกหุ้นเป็น

พี่ฮุยให้มุมมองว่า ปีนี้ รัฐวางแนวทางให้ต้นทุนประเทศแข่งขันได้ โครงการโครงสร้างพื้นฐานจะทำให้การขนส่งถูกลง แม้ค่าแรงขึ้น เพราะต้นทุนธุรกิจทั้งหมดต้องมองรวมๆ

การที่รัฐบาลสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น จะสนับสนุนการเจริญเติบโต และต้องประมาณการอนาคตใหม่ ได้ PE ใหม่

การบริโภคภายในยังไปได้ดีในระยะยาว หุ้นจึงไม่แพง จะไปได้อีก รวมทั้งสาธารณูปโภค

อสังหาริมทรัพย์เองจะร้อนแรงได้อีกยาว เพราะด้วยมาตรฐานค่าครองชีพ ค่าแรง ที่ไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน แต่ราคารบ้าน/ที่ดิน ยังถูกเมื่อเทียบกับประเทสอื่น จึงคาดว่าอสังหาฯ ในเอเชียจะได้เงินต่างชาติ มาเลเซียได้โอกาสมาก และไทยก็มีหวัง

GDP ปีนี้ค่ายกรุงศรีมองที่ 6.7% มองสูงกว่าเพื่อน เพราะปีนี้กำลังซื้อดี โฆษณาดี โรงพยาบาลดี ส่วนระยะยาวกว่าหนึ่งปีคือ ท่องเที่ยว Hospitality

ตลาดหุ้นเราเปิดมาตั้งแต่เมษายน 2518 รวมอายุ 38 ปี หุ้นขึ้น 22 ปี หุ้นบวกเกิน 100% 3 ปี บวกเกิน 50% 6 ปี

ส่วนปีที่หุ้นลบมี 12 ปี ขาดทุน 0-5% ไป 2 ปี ขาดทุนเเกิน 20% ขึ้นไป 6 ปี และที่ลงแรงเพราะมีวิกฤติเช่นสงคราม เศรษฐกิจโลก

ดังนั้นโดยรวมแล้ว ขึ้นมากกว่าลง

พี่ฮุยสรุปท้ายว่า

“การลงทุนให้รวยนั้นไม่ยาก แต่ทำอย่างไรถึงจะรวยอย่างยืนยาว ยิ่งตลาดร้อนแรงก็ยิ่งผันผวน เกิดอะไรได้ทั้งนั้นในระยะสั้น เพราะเสี่ยงสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าลงทุนยาวเรามีโอกาสดีขึ้น”




พี่ Tod (Adithep) ค่าย Aberdeen
------------------------------------------

พี่ Tod เริ่มด้วยการตอบคำถามน้องทีน่าเรื่อง Fund Flows ตปท ว่าจะเข้าอีกไหม จะออกเมื่อไหร่ว่า ..

“ไม่รู้ เราไม่รู้อนาคต แต่นั่นไม่สำคัญไปกว่าการเลือกหุ้นที่ถูกตัว”

ค่าย Aberdeen เลือกหุ้นแบบ Bottom up เช่นกัน เลือกหุ้นดีไว้ก่อน แล้วดูที่ราคาถูกแพงทีหลังก่อนจะลงทุน

คุณภาพ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น บรรษัทภิบาล (CG) ล้วนสำคัญ การลงทุนยาวๆ ก็เหมือนแต่งงาน และค่าย Aberdeen มีข้อได้เปรียบคือมีผู้ถือหุ้น ตปท ที่หารือกันสม่ำเสมอในการลงทุน

ในการลงทุนนั้น Aberdeen ก็เป็นอีกค่ายที่ “รักแล้ว รักเลย” (อันนี้สำนวนพี่ตู่เอง) มีปรับสัดส่วนบ้าง แต่ไม่ขายทิ้ง ยกเว้นเปลี่ยนมุมมองว่ามันไม่ดี หรือแพงไป และจะถือหุ้นที่เลือกแล้วยาวนานมาก แหม ก็กว่าจะเจอของดีมันใช้เวลานี่นา

แล้วอะไรที่จะบอกได้ว่า “ดีและถูก”

ตรงนี้ พี่ Tod ให้ดูที่รายได้บริษัทว่าจะขยายเพิ่มสูงขึ้นได้ไหม มีโอกาสทางธุรกิจดีขึ้นอีกไหม

Aberdeen เน้น Consumer, Insurance, Media, Hospitality, Auto, Hotel, Food, Selective Banks แต่ไม่ชอบ Energy ไม่ชอบ Commodity และเคยเจ็บตัว (อันนี้พี่ตู่ว่าน่ารักมาก ที่เล่าตรงไปตรงมา เพราะไม่มีใครที่ไม่เคยเจ็บตัว เพียงแต่กล้ายอมรับไหม)

แต่ตอนนี้ ตัวที่เคยไม่ชอบกำลังเป็น Laggard จะลงทุนก็ได้ แต่ต้องระวัง

พี่ Tod บอกว่า ....

“อย่าไปหลงดูผลงานกองทุนเพียงปีเดียว ต้องยาวกว่านั้น เป็น 3 ปี 5 ปี โดยเฉพาะ 10 ปี และนัวนนี้ ผู้เข้าสัมมนาได้พบกับ 3 บลจ. ที่มีผลการดำเนินงานระยะยาวที่ดีในแถวหน้าของอุตสาหกรรมแล้ว”

โอ้ว .... ทั้งหล่อเข้ม และเร้าใจ





ลืมบอกความต่างกันของ 3 ค่ายนี้

โดยรวมๆ คล้ายกัน อาจต่างเรื่อง Sector กับหุ้น แล้วแต่ใครเลือก

ความต่างที่เห็นคือ Aberdeen กับ กรุงศรี จะ Fully Invset หมายถึงลงทุนหุ้นเต็มที่ ลงทุนหุ้นเต็มพอร์ตตลอดเวลา

ส่วน บัวหลวง หากมีเหตุการณ์ผิดปกติวิสัยมากๆ จนประเมินความเสี่ยงไม่ได้อย่างในปี 2008 เราก็เคยลดสัดส่วนหุ้นในพอร์ตจนเหลือ 65%-68% มาแล้ว ทำให้ปี 2008 ที่ตลาดติดลบกว่า 40% แต่ของบัวหลวงติดลบน้อยกว่า คือติดลบ กว่า 30%

ที่เป็นแบบนี้ เพราะแม้จะเชื่อในหุ้นที่ลงทุน แต่ในสถานการณ์ขณะนั้นมันผิดปกติและคาดเดาความเสี่ยงไม่ได้เลยในเรื่อง Subprime กับ CDO ดังนั้น การถอยจะปลอดภัยกว่า และหากไม่ถอย ยอมปล่อยให้ NAV ดิ่งลงไปมากๆ พอๆ กับตลาด เราจะต้องให้ตลาดฟื้นขึ้นมา 2 เท่า ถึงจะได้เท่าเดิม

So far เรายังคิดถูก และมันใช้เวลา 2-3 ปีถึง Pay off ให้เห็นชัดเจนเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม มันเห็นผลตั้งแต่ปี 2554 มาจนถึงวันนี้ค่ะ




 

Create Date : 06 มีนาคม 2556    
Last Update : 6 มีนาคม 2556 10:31:47 น.
Counter : 865 Pageviews.  

ค่าเสียโอกาส : 3G รายได้ที่มองเห็น และค่าเสียโอกาสที่มองไม่เห็น

13 ธันวาคม 2555 -     สถาบันอนาคตไทยศึกษา (สถาบันฯ”) เปิดตัวงานวิเคราะห์ฉบับใหม่ “Opportunity Cost (ค่าเสียโอกาส)”   โดยงานฉบับแรกขอนำเสนอค่าเสียโอกาสของโครงการ 3G ที่ประเทศไทยไม่ตัดสินใจเดินหน้าลงทุนเมื่อ 3 ปีก่อนว่าสร้างรายได้ที่มองเห็นให้แก่ประเทศไทยเพียงประมาณปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท ในทางกลับกัน โครงการนี้กลับก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสที่มองไม่เห็นแก่ประเทศไม่น้อยกว่า 4.8 แสนล้านบาท (หรือคิดเป็นมูลค่ากว่าปีละ 1.6 แสนล้านบาท)

ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการวิจารณ์ การวิจารณ์ส่วนใหญ่มักมาจากสิ่งที่คนมองเห็นและพูดถึง แต่ไม่ได้เป็นผู้ทำ บ่อยครั้งที่การวิจารณ์ทำให้คนไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าเดินหน้าที่จะทำในสิ่งที่คิดและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เราเรียกต้นทุนของการไม่กล้าเดินหน้านี้ว่า ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)”  ซึ่งในกรณีของโครงการขนาดใหญ่ของประเทศไทย ต้นทุนประเภทนี้อาจก่อความเสียหายให้แก่ประเทศชาติได้อย่างมหาศาลไม่น้อยไปกว่าต้นทุนที่เราเห็นกันได้อย่างชัดแจ้งเลยทีเดียว สำหรับงานวิเคราะห์ฉบับนี้ ทางสถาบันฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐจากการไม่ตัดสินใจทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งของประเทศไทย โดยจะนำเสนอตัวเลขของต้นทุนนี้ในรูปแบบที่วัดกันได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างพื้นฐานและยกระดับการวิจารณ์ของสังคมให้อยู่บนข้อมูลที่ครบถ้วน และทราบโดยทั่วกัน

ดร. นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยถึงค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากโครงการ 3G ว่า นับเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ตั้งแต่เดือนก.ย. 2552 ที่ร่างเงื่อนไขการประมูล 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHZ ของกทช. ได้ถูกคัดค้านมิให้มีการเปิดประมูล จนกระทั่งมีการประมูลจริงเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2555 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจนจบสิ้นการประมูล ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความชอบธรรมในเชิงกฎหมาย ตลอดจนผลได้ผลเสียจากการประมูล ซึ่งคิดเป็นรายได้ที่มองเห็นให้แก่ประเทศไทยมูลค่าเพียงปีละ 1.5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แต่การวิจารณ์เหล่านั้นไม่ได้กล่าวถึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสของประเทศไทยที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 4.8 แสนล้านบาท (หรือคิดเป็นมูลค่ากว่าปีละ 1.6 แสนล้านบาท) ซึ่งขาดหายไปจากการที่เราไม่ตัดสินใจเดินหน้าลงทุนในโครงการนี้ตั้งแต่ 3 ปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นค่าเสียโอกาสของภาครัฐปีละ 0.2 หมื่นล้านบาท ภาคธุรกิจปีละ 9.6 หมื่นล้านบาท และภาคประชาชนอีกปีละ 6.2 หมื่นล้านบาท

การลงทุนในโครงการ 3G  อาจทำให้รัฐสูญเสียส่วนแบ่งรายได้บนคลื่นความถี่เก่า แต่เมื่อคิดรวมรายได้จากค่าสัมปทานคลื่นความถี่ใหม่ และรายได้จากภาษีทางตรงเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีทางอ้อมเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งรัฐจะจัดเก็บเพิ่มได้จากภาคธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากการมี 3G  คาดว่ารัฐจะได้รับผลประโยชน์สุทธิเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่าปีละ 0.2 หมื่นล้านบาท ในขณะเดียวกัน ยังเอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดที่จะช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ธุรกิจไม่น้อยกว่าปีละ 3.3 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจประเทศไทยโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานเกี่ยวเนื่องกับการลงทุนในโครงการ 3G และอุตสาหกรรมปลายน้ำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่นำเอาผลประโยชน์จาก 3G ไปเป็นพื้นฐานต่อในการผลิต คิดเป็นมูลค่ารวมแล้วกว่าปีละ 6.3 หมื่นล้านบาท

ท้ายที่สุด ก็คือภาคประชาชนซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จาก 3G ถึงกว่าปีละ 6.2 หมื่นล้านบาท จากความสะดวกรวดเร็วและประหยัดเวลาในการเข้าชมเว็บไซด์บนโทรศัพท์มือถือด้วย 3G ซึ่งเร็วกว่า EDGE ถึง 30-35 เท่า และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มจากปัญหาสายหลุดขณะสนทนาเมื่อใช้คลื่นความถี่เดิม ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงต้นทุนความสะดวกสบายอื่นๆ ที่จะได้รับจากการใช้โทรศัพท์มือถือบน 3G อาทิเช่น การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารทางมือถือ (mobile banking) และการใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศฟรีผ่านระบบ VOIP เป็นต้น”  นายนิตินัย กล่าวสรุป

สำหรับท่านที่สนใจ สามารถอ่านหรือดาวน์โหลดรายงาน “Opportunity Cost (ค่าเสียโอกาส)ฉบับเต็มได้จากเว็บไซด์ของสถาบันอนาคตไทยศึกษา www.thailandfuturefoundation.org




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2555    
Last Update : 13 ธันวาคม 2555 18:14:14 น.
Counter : 1222 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.