In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
รู้ทันความเสี่ยง ลงทุนอย่างมั่นใจ

สัปดาห์ก่อนเรารู้จักความเสี่ยงที่ผู้ออกตราสารหนี้อาจผิดนัดชำระดอกเบี้ยและ/หรือเงินต้นให้แก่เรา หรือที่เรียกว่า Credit Risk

แต่การลงทุนในตราสารหนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นที่ควรให้ความสำคัญ เช่นกัน ดังนั้นเพื่อทำให้เราลงทุนอย่างมั่นใจกันมากขึ้น ก็ขอแนะนำความเสี่ยงด้านอื่นให้รู้จักกันครับ

ความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินผันผวน (Interest Rate Risk หรือ Market Risk) เมื่ออัตราดอกเบี้ยขยับตัวสูงขึ้น หรือจะขยับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (Coupon Rate) ของ ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ก็จะสูงขึ้นด้วย ดังนั้นตราสารหนี้ที่ออกมาก่อนหน้าและมีการซื้อขายในตลาดรอง ก็จะมีการซื้อขายในระดับราคา ที่ลดลง เพื่อทำให้อัตราผลตอบแทน (Yield) สูงขึ้นไปอยู่ในระดับ ที่เทียบเคียงกันกับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน ดังนั้นยิ่งตราสารหนี้ที่มีอายุยาว หรือมีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (Coupon Rate) ต่ำ ตราสารหนี้นั้นก็จะมีความเสี่ยงต่ออัตราดอกเบี้ยที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตมากขึ้นนั่นเอง

ความเสี่ยงต่อการมีอำนาจซื้อที่ลดลงในอนาคต (Purchasing Power Risk หรือ Inflation Risk) ภาวะเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่ออำนาจซื้อของผู้ลงทุน ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่คู่กันไปกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวเกินกว่า 10 ปี จึงมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อและอำนาจซื้อที่ลดลงในอนาคต เพราะดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาว จะมีจำนวนเงินที่ได้รับในแต่ละงวดเท่าเดิมตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อทำให้ราคาสิ่งของแพงขึ้น

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ลงทุนนำเอาดอกเบี้ยรายงวดที่ได้รับจากตราสารหนี้ไปลงทุนต่อในตราสารที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ลดลงจากเดิม (Reinvestment Risk) ซึ่งก็คือ อัตราดอกเบี้ยบนดอกเบี้ยรับลดลงนั่นเอง จึงทำให้อัตราผลตอบแทนโดยรวมในการลงทุนใน ตราสารหนี้ของผู้ลงทุนนั้นลดลง

ความเสี่ยงที่เกิดในกรณีที่ตราสารหนี้ที่ลงทุนไว้เดิมครบกำหนด อายุ (Rollover Risk) ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินลดลง และผู้ลงทุนต้องนำเงินต้นที่ได้รับชำระคืนจากตราสารหนี้นั้นไปลงทุนใหม่ในตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง ในกรณีเช่นนี้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนรอบใหม่จะลดลง เป็นความเสี่ยงที่มีลักษณะเหมือนกับ Reinvestment Risk แต่จะเกิดกับเงินต้นที่อ่อนตัวและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง ตราสารหนี้ระยะสั้นจะมี Rollover Risk สูงสุด แต่ในช่วงที่ตลาดเงินตึงตัวและดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ตราสารหนี้ระยะสั้นก็จะมี Rollover Risk ต่ำ และสามารถปรับตัวได้เร็วกว่าตราสารหนี้ประเภทอื่น

ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ขอชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด (Call Risk) ความเสี่ยงประเภทนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะ กับตราสารหนี้ที่มีการระบุเงื่อนไข Call Option ไว้ล่วงหน้าว่า ผู้ออกตราสารหนี้มีสิทธิที่จะจ่ายชำระคืนหนี้ได้ก่อนกำหนด ส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง และผู้ออกตราสารหนี้สามารถ หาแหล่งเงินทุนอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่ามาจ่ายคืน (Refinancing) ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทนี้จะถูกบังคับให้รับคืนเงิน และต้องนำเงิน ที่ได้รับคืนนั้นไปลงทุนใหม่ในตราสารอื่นที่มีอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเดิมที่เคยได้รับ

ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ลูกหนี้จ่ายชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนดอายุ (Perpayment Risk) เช่นเดียวกันกับ Call Risk แต่ความเสี่ยงประเภท Prepayment Risk นี้ มักจะเกิดขึ้นกับตราสารหนี้ประเภท ที่มีบัญชีลูกหนี้พร้อมหลักทรัพย์จดจำนองเป็นประกันการชำระคืนของตราสารหนี้นั้น (Mortgaged-Back Securities) หากลูกหนี้ตามสัญญาจำนองชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยก่อนกำหนด และถอนหลักทรัพย์ค้ำประกัน ตราสารหนี้นั้นก็จะต้องรับคืนเงินก่อนกำหนด และหากอยู่ในระหว่างอัตราดอกเบี้ยขาลง ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ก็จะเสียเปรียบ เช่นเดียวกับกรณีของ Reinvestment Risk

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลง (Currency Risk หรือ Exchange Risk) จะเกิดขึ้นกับกรณีของการลงทุนข้ามประเทศ เช่น เราไปลงทุนในสหรัฐ ซึ่งเราต้องใช้เงินสกุลเหรียญสหรัฐ สมมติ 40 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เมื่อเวลาผ่านไปเงินที่เราลงทุนในสหรัฐสมมติได้กำไร 8% แต่ปรากฏว่าเมื่อเราแลกกลับเป็นเงินบาท เงินบาท ณ ขณะนั้นอยู่ที่ 35 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ จะเห็นว่าเราขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 12.5% โดยสุทธิเราขาดทุน 4.5% เป็นต้น

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการขาดสภาพคล่องในการซื้อขายเปลี่ยนมือของตราสารหนี้นั้นๆ (Liquiduty Risk) มักจะเกิดขึ้นกับกรณี ที่ผู้ลงทุนลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่เป็นที่นิยม และมีปริมาณซื้อขายในตลาดรองน้อยมาก หากผู้ลงทุนประสงค์จะขายตราสารหนี้นั้น เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดในกรณีจำเป็น ผู้ลงทุนอาจจะต้องยอมลดราคาขายลงต่ำกว่าราคาตลาดโดยทั่วไป เพื่อดึงให้อัตราผลตอบแทนสูงขึ้นและดึงดูดความสนใจให้มีผู้ซื้อเข้ามาซื้อ ราคาซื้อขายดังกล่าวไม่ใช่ราคาที่ยุติธรรมต่อผู้ขายอย่างแน่นอน หรืออาจจะถึงขั้นที่เป็นราคาขาดทุนก็เป็นได้ ฉะนั้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่มีสภาพคล่อง ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สำคัญ

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อนโยบายในการดำเนินงานของผู้ออกตราสารหนี้ (Event Risk) เช่น การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลังจากการถือครอบงำกิจการ และอาจมีดุลพินิจที่ไม่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้ตราสารหนี้เดิม เช่น การประกาศเพิ่มอัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลต่อกำไร (Payout Ratio) หรือประกาศเพิ่มทุนครั้งใหญ่ ซึ่งหมายถึงกระแสเงินสดจำนวนมากที่จะต้อง จ่ายเป็นเงินปันผลประจำปี และมีผลทำให้ฐานทุนของบริษัทลด ความเข้มแข็งลง

ที่นี้คุณก็รู้มากขึ้นอีกนิดแล้วนะครับกับการลงทุน ขอให้ศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน และการลงทุนจะเป็นเรื่องสนุกครับ

รายงานโดย :สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
//www.posttoday.com/stockmarket.php?id=72567


Create Date : 22 ตุลาคม 2552
Last Update : 22 ตุลาคม 2552 14:17:13 น. 0 comments
Counter : 1051 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.