In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
Multi-domestic Industry

เวลาพูดถึง AEC เรามักจินตนาการถึงบริษัทข้ามพรมแดนที่จะใช้ประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด ผลิตสินค้าจากประเทศเดียวในภูมิภาค


เพื่อให้ได้วอลุ่มมากๆ แล้วส่งสินค้าไปขายยังทุกประเทศในอาเซียน

อันที่จริงนั่นอาจจะไม่ใช่ภาพส่วนใหญ่ที่เราจะได้เห็นหลังจากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็ได้ จะว่าไปแล้ว ภูมิภาคนี้ถือเป็นภูมิภาคที่แต่ละประเทศมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านภาษา ศาสนา ภูมิหลัง รสนิยม หรือวิธีคิดของผู้คน ฯลฯ ภาษีหรือมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ จึงเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของกำแพงเท่านั้น ส่วนใหญ่ของกำแพงยังคงอยู่เหมือนเดิม

ตอนที่ผมเรียน MBA อยู่ที่ University of Maryland ผมได้มีโอกาสเรียนวิชาเกี่ยวกับ Global Business ที่สอนโดย Professor Anil K. Gupta ผู้ที่ติดตามความเป็นไปของบริษัทข้ามชาติในโลกมาโดยตลอด

อาจารย์บอกว่า ยังมีบริษัทข้ามชาติจำนวนมากที่มีสาขาอยู่ทั่วโลกมาตั้งนานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้มีลักษณะเป็นเหมือน Global Business ในแบบที่เรานึกๆ กันเลย เพราะบริษัทเหล่านี้อยู่ใน อุตสาหกรรมที่มีเหตุผลเฉพาะในตัวของมัน ที่ทำให้บริษัทได้รับประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด การประหยัดจากขอบเขต (Economy of Scope) หรือ การถ่ายทอดโนว์ฮาวข้ามพรมแดน ไม่มากนัก

อาจเรียกธุรกิจพวกนี้ว่า Multi-Domestic Company มากกว่า Global Company เพราะแม้จะมีธุรกิจอยู่ทั่วโลกแล้ว แต่กลับยังดูเหมือนเป็นแค่ Local Business หลายๆ ประเทศ ที่เอามาผูกรวมกันไว้ให้ดูเป็นบริษัทเดียวเท่านั้น

อันที่จริงบริษัทข้ามชาติส่วนใหญ่ล้วนอยู่ตรงกลางระหว่างความเป็น Global กับ Multi-domestic ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะเอียงไปทางฝั่งไหนมากกว่ากัน

ตัวอย่างของธุรกิจที่เอียงไปทาง Global มากๆ เลย คือ ผู้ผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ อาทิเช่น อินเทล หรืออาร์ม เป็นต้น โรงงานผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยีสูงๆ นั้น ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นมหาศาลจึงต้องการยอดขายจำนวนมาก เพื่อให้คุ้มเงินลงทุน อีกทั้งไมโครโปรเซสเซอร์เองก็เป็นสินค้าที่มนุษย์ทั่วโลกใช้งานเหมือนกัน ไม่ต้องปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ไปตามวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของแต่ละประเทศ (อันนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ผลิต Device หรือ App ที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์มากกว่า) เหตุผลเหล่านี้ล้วนเอื้อต่อบริษัทที่จะได้รับประโยชน์ จากการเป็น Global บริษัทเหล่านี้จะสร้างโรงงานให้ใหญ่ที่สุดเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น เพื่อผลิตชิพที่เหมือนๆ กันป้อนตลาดทั่วโลก

อุตสาหกรรมปศุสัตว์ เป็นธุรกิจที่เอียงไปทาง Multi-Domestic มากกว่า ด้วยเหตุผลเรื่องการอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ และเรื่อง lead time ผู้ผลิตที่ต้องการขยายธุรกิจไปสู่ระดับโลกมักต้องไปตั้งฐานการผลิตในทุกประเทศ ที่ต้องการเจาะตลาด แทนที่จะผลิตจากประเทศเดียวแล้วส่งไปขายทั่วภูมิภาค หรืออย่างมากที่สุดก็ต้องแปรรูปให้เก็บได้นานขึ้น แล้วส่งไปขายแค่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเลือกประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดหรือเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญเป็นฐานการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน บริษัทระดับโลกในอุตสาหกรรมนี้ จึงดูเป็น Multi-Domestic มากกว่า

เมื่อก่อน แมคโดนัลด์เคยใช้ภาพลักษณ์ว่า "แมคโดนัลด์รสชาติเหมือนกันทั่วโลก" เป็นจุดขาย แต่เดี๋ยวนี้ แมคโดนัลด์เลือกที่จะปรับเมนูเพื่อให้ถูกปากคนแต่ละประเทศมากขึ้น อาหารประจำชาติเริ่มถูกใส่เข้าไปในเมนูของแต่ละประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลมากกว่า

ธุรกิจผลิตปูนซีเมนต์ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของธุรกิจที่เอียงไปทาง Multi-Domestic สูง เพราะค่าขนส่งปูนซีเมนต์ข้ามประเทศนั้นสูงมากเมื่อเทียบกับมูลค่าของสินค้า การผลิตปูนจากประเทศเดียวแล้วส่งไปขายทั่วโลก จึงแข่งขันเรื่องราคาไม่ได้ ผู้ผลิตในประเทศจึงยังคงไม่ได้ผลกระทบหลังจากเปิดเสรีการค้าเท่าไร อย่างมากคู่แข่งขันข้ามชาติก็ขนเงินมาลงทุนสร้างโรงงานปูนในประเทศเพื่อแข่งขันได้ง่ายขึ้น แต่นั้นก็เป็นเกมที่สูสีกันมากแล้ว

ดังนั้น จึงไม่ใช่ว่าเมื่อกำแพงภาษีและมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งหมดถูกเอาออกไป ทุกธุรกิจจะได้รับประโยชน์หรือได้รับผลกระทบเท่าเทียมกันหมด แต่จะมากน้อยต่างกันไปแล้วแต่ลักษณะเฉพาะตัวของอุตสาหกรรมนั้นๆ อุตสาหกรรมที่มีความเป็น Global มาก การเปลี่ยนแปลงจะมากและรวดเร็วกว่าอุตสาหกรรมที่มีความเป็น Multi-domestic

ในแง่กลยุทธ์ในการ "Go Inter" ก็แตกต่างกันด้วย กลยุทธ์แบบ one-size-fit-all อาจใช้ได้ผลกับอุตสาหกรรมที่มีความเป็น Global มากหน่อย แต่ถ้าเป็นอุตสาหกรรมแบบ Multi-domestic การปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและตัวธุรกิจไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศอาจเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมมากกว่า และรวมไปถึงการที่จะต้องคิดพิจารณาข้อดีข้อเสียเปรียบเทียบกันระหว่างการมีฐานการผลิตที่ประเทศเดียวแล้วกระจายสินค้าไปขายทั่วภูมิภาค หรือว่าจะต้องมีฐานการผลิตในทุกประเทศที่ไปเพื่อประหยัดค่าขนส่งและลด Lead time เรื่องพวกนี้บางทีก็ไม่มีสูตรสำเร็จที่จะฟันธงกันได้ง่ายๆ เพราะ Logistic เป็นเรื่องของการ trade off

ยุทธศาสตร์เพื่อต้อนรับ AEC มีเรื่องให้นักธุรกิจต้องขบคิดกันไม่น้อยเลยทีเดียว

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "มนุษย์เศรษฐกิจ 2.0"

//www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/human-eco/20120530/454073/Multi-domestic-Industry.html



Create Date : 31 พฤษภาคม 2555
Last Update : 31 พฤษภาคม 2555 1:38:55 น. 0 comments
Counter : 1221 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.