In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
ผลตอบแทนในตลาดหุ้น

เคยแอบสงสัยกันหรือไม่ว่า นักลงทุนในตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยแล้ว ได้ผลตอบแทนกันคนละเท่าไร?

Terry Odean (UC Berkeley) และ Brad M.Barber (UC Davis) เคยทำการศึกษาผลตอบแทนของนักลงทุนจำพวกที่มีการซื้อขายรายวันเป็นประจำ หรือที่เรียกว่า Day traders ในตลาดหุ้นไต้หวันจำนวนทั้งสิ้น 139,000 บัญชี โดยทำการคำนวณผลตอบแทนสุทธิในช่วงหกเดือนจากฐานข้อมูลลูกค้าของโบรกเกอร์ระหว่างปี 1995 ถึง 1999 ผลปรากฎว่า 82% ของบัญชี มีผลตอบแทนสะสมสุทธิ ที่ "ขาดทุน" หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ มีนักลงทุนในตลาดหุ้นราวๆ 8 ใน 10 คนที่มีผลตอบแทนสะสมที่ "ขาดทุน"

ผลการศึกษานี้ยังมีสถิติที่น่าสนใจอีกด้วยว่า ในจำนวนบัญชีทั้งหมดที่ทำการวิจัยนั้น หากมีคัดแยกออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สามารถทำกำไรสะสมได้หกเดือน และกลุ่มที่ขาดทุนสะสมในช่วงเวลาเดียวกัน จากนั้นทำการวัดผลตอบแทนของแต่ละกลุ่มในช่วงหกเดือนต่อไป จะพบว่า กลุ่มที่ทำกำไรสะสมได้ในช่วงหกเดือนแรกจะสามารถทำกำไรได้อีกในช่วงหกเดือนถัดมาในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มหลังอย่างชัดเจน หรือแปลว่าคนที่ได้กำไรจากการเทรดหุ้น (พวก 2 ใน 10 ของทั้งหมด) มักจะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ในขณะที่ คนที่ขาดทุน (อีก 8 ใน 10 ที่เหลือ) ก็มักเป็นนักลงทุนที่ขาดทุนซ้ำซากด้วยเช่นกัน

งานวิจัยที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งทำการคำนวณผลตอบแทนสะสมของบัญชีซื้อขายหุ้นจำนวน 66,400 บัญชีเป็นระยะเวลา 7 ปี ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พบว่า ถ้าหากจัดแยกบัญชีออกเป็นกลุ่มตามความถี่ในการซื้อขายจะพบว่า ยิ่งเป็นบัญชีมีการเคลื่อนไหวน้อยเท่าไร ผลตอบแทนสะสมเฉลี่ยก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยบัญชีกลุ่มที่มี Turnover น้อยกว่า 2% ต่อปี (ไม่ค่อยเทรดหุ้น) มีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่มี Turnover เฉลี่ย 258% ต่อปี มากถึง 50%

งานวิจัยสองชิ้นนี้บอกอะไรเราได้หลายอย่าง ประการแรก คนจำนวนมากเชื่อว่า ถ้าจะเล่นหุ้นให้ได้กำไรสูงๆ จะต้องซื้อขายบ่อยๆ เพื่อทำรอบเท่านั้น แต่ความเป็นจริงก็คือว่าการเทรดหุ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนนั้นเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ หุ้นมักจะวิ่งไปคนละทางกับที่เราคิดไว้อยู่เสมอ สุดท้ายแล้ว การเทรดหุ้นต่างหากที่เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในทางทฤษฎี ในช่วงปี 1995-1999 นั้น ตลาดหุ้นไต้หวันให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่เดย์เทรดเดอร์ในช่วงเดียวกันโดยเฉลี่ย กลับได้ผลตอบแทนติดลบ

ประการที่สอง การเทรดหุ้นนั้นไม่ใช่เรื่องของดวง คนที่เทรดหุ้นแล้วได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมักจะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ในขณะที่ คนที่เทรดหุ้นขาดทุน ก็มักจะเป็นคนหน้าเดิมๆ ด้วยเช่นกัน ถ้าหากการเทรดหุ้นเป็นเรื่องของดวงจริงๆ ผลลัพธ์จะไม่เป็นอย่างนี้ แท้จริงแล้ว การเทรดหุ้นกลับเป็นเรื่องของอุปนิสัยและ EQ แต่นักลงทุนแต่ละบุคคลมากกว่า

เช่นนี้แล้ว วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ผลตอบแทนของคนส่วนใหญ่ดีขึ้นคือ การเทรดหุ้นให้น้อยลงกว่าที่ใจเราอยากทำ เพราะการเทรดหุ้นนี่แหละคือจุดอ่อนที่สำคัญของเรา มนุษย์โดยเฉลี่ยเป็น market timer ที่แย่มาก เพียงแค่ใช้จุดอ่อนของเราให้น้อยลง ผลตอบแทนก็จะดีขึ้นได้เอง เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง (unforced errors) มีน้อยลง

เหตุที่เราเทรดหุ้นบ่อยๆ นั้นเป็นเพราะ การอยู่เฉยๆ ในตลาดหุ้นนั้น เป็นสิ่งที่ยากมาก คนเราเหมือนมีสัญชาตญาณบางอย่างที่จะต้องทำอะไรสักอย่างกับราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นและวิ่งลงอยู่ตลอดเวลา เทคนิคง่ายๆ คือ การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือกระดานหุ้นให้น้อยลง เหมือนเวลาที่ไม่อยากใช้เงินเปลืองก็อย่าไปเดินเที่ยวตลาดนัดนั่นเอง

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราเทรดหุ้นบ่อยคือ ภาวะ overconfidence หรือ ความมั่นใจที่มากเกินความเป็นจริง นักลงทุน 80% ในตลาดจะคิดว่าตัวเองน่าจะเทรดหุ้นได้ดีกว่าคนอื่นในตลาดโดยเฉลี่ย เมื่อทุกคนที่คิดอย่างนี้มาแข่งกันเองในตลาด ผลลัพธ์คือตรงกันข้าม ดังนั้นถ้าเรารู้จักสำเหนียกมากพอที่จะประมาณตน เราจะไม่ติดกับดักของการมีทัศนคติที่ไม่ตรงกับความจริง

โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ เพราะในระยะยาวไม่มีสินทรัพย์ใดให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงมากเท่ากับหุ้นสามัญ แต่การเป็น active trader ในตลาดหุ้นนั้นจะเหมาะกับแค่บางคนเท่านั้น ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยที่อุทิศตนจริงๆ คนส่วนใหญ่เหมาะกับวิธีที่ค่อนข้าง passive แล้วลงทุนระยะยาวแบบการออมเพื่อวัยเกษียณมากกว่า เพราะนอกจากมันจะทำให้คุณได้ผลตอบแทนที่ดีพอสมควรโดยไม่ต้องเก่งมากแล้ว มันยังทำให้คุณมีเวลาสำหรับด้านอื่นของชีวิต เพราะเงินทำงานให้คุณ แทนที่คุณจะต้องทำงานให้มัน

Terry Odean (UC Berkeley) และ Brad M.Barber (UC Davis) เคยทำการศึกษาผลตอบแทนของนักลงทุนจำพวกที่มีการซื้อขายรายวันเป็นประจำ หรือที่เรียกว่า Day traders ในตลาดหุ้นไต้หวันจำนวนทั้งสิ้น 139,000 บัญชี โดยทำการคำนวณผลตอบแทนสุทธิในช่วงหกเดือนจากฐานข้อมูลลูกค้าของโบรกเกอร์ระหว่างปี 1995 ถึง 1999 ผลปรากฎว่า 82% ของบัญชี มีผลตอบแทนสะสมสุทธิ ที่ "ขาดทุน" หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ มีนักลงทุนในตลาดหุ้นราวๆ 8 ใน 10 คนที่มีผลตอบแทนสะสมที่ "ขาดทุน"

ผลการศึกษานี้ยังมีสถิติที่น่าสนใจอีกด้วยว่า ในจำนวนบัญชีทั้งหมดที่ทำการวิจัยนั้น หากมีคัดแยกออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สามารถทำกำไรสะสมได้หกเดือน และกลุ่มที่ขาดทุนสะสมในช่วงเวลาเดียวกัน จากนั้นทำการวัดผลตอบแทนของแต่ละกลุ่มในช่วงหกเดือนต่อไป จะพบว่า กลุ่มที่ทำกำไรสะสมได้ในช่วงหกเดือนแรกจะสามารถทำกำไรได้อีกในช่วงหกเดือนถัดมาในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มหลังอย่างชัดเจน หรือแปลว่าคนที่ได้กำไรจากการเทรดหุ้น (พวก 2 ใน 10 ของทั้งหมด) มักจะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ในขณะที่ คนที่ขาดทุน (อีก 8 ใน 10 ที่เหลือ) ก็มักเป็นนักลงทุนที่ขาดทุนซ้ำซากด้วยเช่นกัน

งานวิจัยที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งทำการคำนวณผลตอบแทนสะสมของบัญชีซื้อขายหุ้นจำนวน 66,400 บัญชีเป็นระยะเวลา 7 ปี ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พบว่า ถ้าหากจัดแยกบัญชีออกเป็นกลุ่มตามความถี่ในการซื้อขายจะพบว่า ยิ่งเป็นบัญชีมีการเคลื่อนไหวน้อยเท่าไร ผลตอบแทนสะสมเฉลี่ยก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยบัญชีกลุ่มที่มี Turnover น้อยกว่า 2% ต่อปี (ไม่ค่อยเทรดหุ้น) มีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่มี Turnover เฉลี่ย 258% ต่อปี มากถึง 50%

งานวิจัยสองชิ้นนี้บอกอะไรเราได้หลายอย่าง ประการแรก คนจำนวนมากเชื่อว่า ถ้าจะเล่นหุ้นให้ได้กำไรสูงๆ จะต้องซื้อขายบ่อยๆ เพื่อทำรอบเท่านั้น แต่ความเป็นจริงก็คือว่าการเทรดหุ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนนั้นเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ หุ้นมักจะวิ่งไปคนละทางกับที่เราคิดไว้อยู่เสมอ สุดท้ายแล้ว การเทรดหุ้นต่างหากที่เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในทางทฤษฎี ในช่วงปี 1995-1999 นั้น ตลาดหุ้นไต้หวันให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่เดย์เทรดเดอร์ในช่วงเดียวกันโดยเฉลี่ย กลับได้ผลตอบแทนติดลบ

ประการที่สอง การเทรดหุ้นนั้นไม่ใช่เรื่องของดวง คนที่เทรดหุ้นแล้วได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมักจะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ในขณะที่ คนที่เทรดหุ้นขาดทุน ก็มักจะเป็นคนหน้าเดิมๆ ด้วยเช่นกัน ถ้าหากการเทรดหุ้นเป็นเรื่องของดวงจริงๆ ผลลัพธ์จะไม่เป็นอย่างนี้ แท้จริงแล้ว การเทรดหุ้นกลับเป็นเรื่องของอุปนิสัยและ EQ แต่นักลงทุนแต่ละบุคคลมากกว่า

เช่นนี้แล้ว วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ผลตอบแทนของคนส่วนใหญ่ดีขึ้นคือ การเทรดหุ้นให้น้อยลงกว่าที่ใจเราอยากทำ เพราะการเทรดหุ้นนี่แหละคือจุดอ่อนที่สำคัญของเรา มนุษย์โดยเฉลี่ยเป็น market timer ที่แย่มาก เพียงแค่ใช้จุดอ่อนของเราให้น้อยลง ผลตอบแทนก็จะดีขึ้นได้เอง เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง (unforced errors) มีน้อยลง

เหตุที่เราเทรดหุ้นบ่อยๆ นั้นเป็นเพราะ การอยู่เฉยๆ ในตลาดหุ้นนั้น เป็นสิ่งที่ยากมาก คนเราเหมือนมีสัญชาตญาณบางอย่างที่จะต้องทำอะไรสักอย่างกับราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นและวิ่งลงอยู่ตลอดเวลา เทคนิคง่ายๆ คือ การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือกระดานหุ้นให้น้อยลง เหมือนเวลาที่ไม่อยากใช้เงินเปลืองก็อย่าไปเดินเที่ยวตลาดนัดนั่นเอง

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราเทรดหุ้นบ่อยคือ ภาวะ overconfidence หรือ ความมั่นใจที่มากเกินความเป็นจริง นักลงทุน 80% ในตลาดจะคิดว่าตัวเองน่าจะเทรดหุ้นได้ดีกว่าคนอื่นในตลาดโดยเฉลี่ย เมื่อทุกคนที่คิดอย่างนี้มาแข่งกันเองในตลาด ผลลัพธ์คือตรงกันข้าม ดังนั้นถ้าเรารู้จักสำเหนียกมากพอที่จะประมาณตน เราจะไม่ติดกับดักของการมีทัศนคติที่ไม่ตรงกับความจริง

โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ เพราะในระยะยาวไม่มีสินทรัพย์ใดให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงมากเท่ากับหุ้นสามัญ แต่การเป็น active trader ในตลาดหุ้นนั้นจะเหมาะกับแค่บางคนเท่านั้น ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยที่อุทิศตนจริงๆ คนส่วนใหญ่เหมาะกับวิธีที่ค่อนข้าง passive แล้วลงทุนระยะยาวแบบการออมเพื่อวัยเกษียณมากกว่า เพราะนอกจากมันจะทำให้คุณได้ผลตอบแทนที่ดีพอสมควรโดยไม่ต้องเก่งมากแล้ว มันยังทำให้คุณมีเวลาสำหรับด้านอื่นของชีวิต เพราะเงินทำงานให้คุณ แทนที่คุณจะต้องทำงานให้มัน

 

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

 

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.