In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
ความน่าเชื่อถือของบริษัทจัดอันดับ

นํ้าลดตอผุด เป็นคำอธิบายได้ดีสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นใน ช่วงวิกฤตสถาบันการเงินโลกครั้งนี้ แต่ที่พิเศษกว่าครั้งอื่นๆ คือ ครั้งนี้มีหลายตอผุดขึ้นมาให้เห็น

ไล่ไปตั้งแต่การดำเนินนโยบายการเงิน การควบคุมความเสี่ยงของสถาบันการเงิน ระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และที่เดินชัดคือ การทำงานของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สิ่งเหล่านี้ล้วนไม่ใช่เรื่องใหม่เคยมีผู้วิพากษ์วิจารณ์และเตือนภัยมาก่อนแล้วทั้งสิ้น แต่ไม่มีผู้ใดคาดคิดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจะรุนแรงได้ขนาดนี้

ความน่าเชื่อถือของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่ สำคัญมากในระบบตลาดเงิน ตลาดทุน แต่ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการจัดอันดับถูกสั่นคลอนครั้งแล้วครั้งเล่า โดยผลการจัดอันดับ ที่สังคมตั้งข้อสงสัย เช่น กรณี Enron และ Worldcom

ในกรณีล่าสุดคือ Lehman Brothers ซึ่งได้รับการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือที่ A2 เพียงไม่กี่วันก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย

คำถามคือ ไม่มีองค์กรใดกำกับดูแลบริษัทเหล่านี้หรืออย่างไร และหากมีทำไมจึงปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมาได้ คำตอบคือมีองค์กรที่กำกับดูแลอยู่ แต่การกำกับดูแลบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในแต่ละประเทศมีความเข้มข้นแตกต่างกันไป

ประเทศที่ดูเหมือนมีการกำกับดูแลบริษัทจัดอันดับอย่างเป็นระบบคือสหรัฐ โดยก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ลงนามใน Credit Rating Agency Reform Act of 2006 ซึ่งกำหนดให้บริษัทจัดอันดับต้องเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญต่อสาธารณะ อาทิ วิธีการและกระบวนการจัดอันดับการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ จัดอันดับ รวมถึงกระบวนการจัดการข้อมูลลับต่างๆ ไม่ให้มีการ นำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด

อย่างไรก็ตาม ทางการก็ไม่มีสิทธิเข้าไปแทรกแซงผลการจัด อันดับหรือวิธีการ กระบวนการจัดอันดับที่แต่ละสถาบันใช้อยู่ สิ่งที่ น่าพิศวงคือภายหลังกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ไม่นานก็เกิดปัญหาสถาบันการเงินขึ้นในปี 2550 โดยเริ่มต้นที่สหรัฐเอง

เพื่อที่จะค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับการทำงานของสถาบันเหล่านี้ ในเดือนก.ค. ปี 2551 คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ของสหรัฐ ได้นำเสนอรายงานผลการประเมินบริษัทจัดอันดับยักษ์ใหญ่สามแห่งคือ Fitch Ratings, Moody’s Investor Services และ Standard & Poor’ s Services โดยเน้นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการจัดอันดับตราสาร RMBS และ CDO พบว่ามีสาเหตุหลัก คือ

1.จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอที่จะรับมือตราสารที่มีความซับซ้อน และจำนวนมากขึ้น (มีเรื่องล้อเลียนซึ่งพบจากอีเมลภายในระหว่างพนักงานขององค์กรดังกล่าวว่า ถึงแม้ Risk Model ที่ใช้จะยังวัดความเสี่ยงได้ไม่ดีพอและตราสารที่ว่าอาจจัดทำขึ้นมาโดยวัว แต่เราก็จะ ยังจัดอันดับให้ตราสารนั้น!!!)

2.ไม่มีการเปิดเผยกระบวนการจัดอันดับตราสารเหล่านี้อย่างเพียงพอ
3.กระบวนการติดตามคุณภาพตราสารแต่ละตัวไม่เข้มข้นเท่ากับตอนจัดอันดับครั้งแรก

4.มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict Of Interst) เจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับเคยเข้าไปมีส่วนในการต่อรองค่าจ้างบริการกับบริษัทที่มาขอใช้บริการจัดอันดับ)

สำหรับผู้ที่สนใจผลการศึกษานี้เข้าไปดูได้ที่ //www.sec.gov/ news/studies/2008/craexmination070808.pdf

และก็เป็นไปตามธรรมเนียมเมื่อพบข้อผิดพลาดก็ต้องมีการเสนอแนวทางแก้ไข ทางด้านสหรัฐ โดย SEC เสนอให้มีการเพิ่มกฎเกณฑ์การควบคุมหลายประเด็น อาทิ ห้ามไม่ให้มีการจัดอันดับหากบริษัทจัดอันดับไม่เปิดเผยข้อมูลโครงสร้าง (Structure) ของตราสารนั้นต่อสาธารณะ (นัยว่าหากมีการเปิดเผย บริษัทจัดอันดับอื่นๆ ก็จะนำข้อมูลนี้ไปใช้ได้ด้วย เป็นการสอบทานซึ่งกันและกัน)

5.ไม่ให้ผู้ที่มีส่วนในการจัดอันดับไปมีส่วนในการต่อรองค่าจ้างบริการจัดอันดับ และอื่นๆ อีกมากมาย

หันมาทางฝั่งยุโรปซึ่งไม่เคยกำกับดูแลบริษัทเหล่านี้มาก่อนก็เพิ่งจะเริ่มตื่นตัว โดยล่าสุดในเดือนพ.ย. ปีนี้เอง European Commission ได้เสนอให้มีการกำกับดูแลบริษัทจัดอันดับ และดูเหมือนว่าแนวทางการกำกับจะเข้มกว่าทางฝั่งสหรัฐด้วยซ้ำ กฎเกณฑ์หลักๆ ที่เสนอ ได้แก่ 1.ให้บริษัทจัดอันดับจดทะเบียนกับองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับ ดูแลในแต่ละประเทศ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม EU 2.ห้ามไม่ให้ธุรกิจ Consulting 3.ให้มีกรรมการอิสระภายนอกอย่างน้อย 3 คน 3.ให้มีกรรมการ อิสระภายนอกอย่างน้อย 3 คน เพื่อลดปัญหา Conflict Of Interest

นอกจากนี้ ก็ยังมีกฎเกณฑ์อื่นๆ ที่คล้ายกับที่บังคับใช้ในสหรัฐด้วย แต่ที่มีการพูดถึงกันโดยยังไม่มีความชัดเจนออกมาคือทางยุโรป อาจจะให้อำนาจผู้กำกับดูแลในการแทรกแซงการจัดอันดับหากเป็น เช่นนั้นจริงก็ถือเป็นการล้ำเส้นมากเกินไป และอาจจะก่อปัญหาใหม่ขึ้นในอนาคต

การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ทั้งการออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การปรับกระบวนการทำงานของบริษัทเอง รวมถึงการปรับปรุงวิธีการ (Methodology) ให้เหมาะสม

ในระหว่างนี้ผู้ลงทุนเองก็จำเป็นต้องพึ่งพิงตัวเองให้มากขึ้น และก็เป็นโชคดีที่มีข้อมูลอีกหลายประเภทที่ผู้ลงทุนจะใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสารได้ อาทิ Market-Implied-Rating ที่จัดทำโดย Moody’s KMV หรือ Credit Default Swap หรือ Bond Spred

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนเองก็จำเป็นต้องติดตามข่าวสารของบริษัท ที่ตัวเองลงทุนอยู่อย่างใกล้ชิด โดยพยายามกระจายความเสี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และที่สำคัญที่สุดคืออย่าลงทุนในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้จักอย่างถ่องแท้

ในบางครั้งสิ่งง่ายๆ เหล่านี้ก็เป็นตัวช่วยให้นักลงทุนรอดจากความเสียหายที่รุนแรงได้เช่นกัน

ที่มา : POST TODAY


Create Date : 25 ธันวาคม 2551
Last Update : 25 ธันวาคม 2551 18:31:44 น. 0 comments
Counter : 689 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.