In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
วิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยตนเอง ตอนที่3: รู้ทันความเสี่ยงในการลงทุน

ความเสี่ยง คือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ใดๆ ขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบในทางลบหรือในทางที่ไม่พึงประสงค์
ความเสี่ยงในการลงทุน คือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์สูญเสียเงินจากการลงทุน หลักทรัพย์เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงซึ่งจะมีระดับสูงต่ำต่างกันไป การลงทุนในหลักทรัพย์จึงมีความเสี่ยงว่าอาจจะได้เงินกลับคืนน้อยกว่าเงินที่ลงทุนไป หรืออาจเผชิญกับความเสี่ยงที่จะไม่ได้ผลตอบแทนอย่างที่คาดไว้ นักลงทุนส่วนใหญ่มักไม่มีการประเมินความเสี่ยงเวลาลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งเราควรจะทำ ตัวอย่างเช่น เรากำลังพิจารณาหุ้นสามัญของ 2 บริษัท คือ บริษัท ก และบริษัท ข จากการวิเคราะห์จะพบว่าทั้งสองบริษัทมีโอกาสที่ราคาหุ้นสามัญจะสูงขึ้นเป็น 2 เท่า อย่างน้อยใน 1–2 ปีข้างหน้า แต่หุ้นสามัญของบริษัท ก มีความเสี่ยงเป็น 2 เท่าของหุ้นสามัญของบริษัท ข ถ้าทราบข้อมูลเช่นนี้นักลงทุนสามารถเลือกได้ง่ายขึ้น โดยเลือกบริษัท ข ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยกว่า ในบทความนี้ จะอธิบายถึงองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเสี่ยง และการประเมินความเสี่ยง ก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุน

1.ความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์

หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนจะมี ความเสี่ยงต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในด้านการดำเนินงานและความเสี่ยงทางการเงินของแต่ละบริษัท แต่ถ้าเราลงทุนในหลายๆ หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ กัน ความเสี่ยงโดยรวมจะลดลง หรือเรียกว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง (Risk Diversification) เนื่องจากความเสี่ยงที่สูงของบริษัทหนึ่งจะชดเชยด้วยความเสี่ยงที่ต่ำลงของอีกบริษัทหนึ่ง ตัวอย่างของ บริษัทจดทะเบียนในอุตสาห กรรมการบินกับ บริษัทจดทะเบียนในอุตสาห กรรมน้ำมัน เป็นกรณีที่สามารถนำมาอธิบายได้ ในกรณีที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นในอุตสาหกรรมน้ำมันจะได้รับผลดีทำให้กำไรเพิ่มขึ้น แต่ผลดังกล่าวนี้ส่งผลในทางลบต่อกำไรของธุรกิจสายการบิน เนื่องจากน้ำมันเป็นต้นทุนสำคัญของสายการบินซึ่งจะส่งผลทำให้ราคาหลัก ทรัพย์ของธุรกิจสายการบินลดลงด้วย

ถ้าเราลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งสองอุตสาห กรรมนี้ ผลบวกของธุรกิจหนึ่งจะหักล้างกับ ผลทางลบอีกธุรกิจหนึ่ง ทำให้โดยรวมของ กลุ่มหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงจากราคา หลักทรัพย์ ไม่มากนัก ซึ่งเรียกว่าความผันผวนของราคา หลักทรัพย์ในกลุ่มหลักทรัพย์ไม่เปลี่ยนแปลงมาก หรือเป็นการกระจายความเสี่ยงนั่นเอง

ดังนั้น ในการลงทุนเราจึงควรลงทุนในหลายๆ หลักทรัพย์ที่มีความแตกต่างกัน ปัญหาก็คือควรลงทุนเป็นจำนวนกี่หลักทรัพย์กันแน่ บ้างก็ว่าน่าจะมีจำนวน 12 หลักทรัพย์ บ้างก็ว่าน่าจะอยู่ในขอบเขตประมาณ 40–50 หลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า จะเพิ่มหลักทรัพย์เพื่อกระจายความเสี่ยงเท่าใดก็ตาม ควรระวังอย่าให้เม็ดเงินการลงทุนไปในอุตสาหกรรมใดเกินกว่า 15% ของเม็ดเงินการลงทุนทั้งหมดของเราในกลุ่มหลักทรัพย์

ไม่ว่าในกลุ่มหลักทรัพย์จะประกอบไปด้วยกี่หลักทรัพย์ก็ตาม ความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญประกอบไปด้วย

l ความเสี่ยงจากภาวะตลาดและอุตสาห กรรม (Market Risk)

l ความเสี่ยงเฉพาะตัวของหลักทรัพย์นั้น (Individual Risk)

2.ความเสี่ยงจากภาวะตลาดและอุตสาห กรรม

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่เลือกหลักทรัพย์ได้อย่างเก่งฉกาจเท่าใดก็ตาม คุณก็ยังคงยากที่จะทำกำไรได้ในกรณีตลาดขาลง ในขณะที่ตลาดขาขึ้นแม้จะลองผิดลองถูก โอกาสที่จะได้กำไร ก็ยังคงมี การพยากรณ์ภาวะของตลาดหลัก ทรัพย์ในอนาคตเป็นเรื่องยาก เราต้องทำความเข้าใจหลายเรื่อง เช่น ระบบเศรษฐกิจ ภาวะอัตราดอกเบี้ย แนวโน้มเงินเฟ้อ และตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ การทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย แม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีอาชีพที่เกี่ยวกับการพยากรณ์เศรษฐกิจ ก็มีโอกาสสูงที่จะทำนายไม่ถูกต้อง

การเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของภาวะตลาดและอุตสาหกรรมนี้เป็นที่มาของความเสี่ยง ที่เรียกว่า Market Risk ในที่นี้จะให้วิธีการ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Market Risk โดยพิจารณาจาก 2 คำถามต่อไปนี้

1) ตลาดตอนนี้อยู่ในภาวะราคาหลักทรัพย์ต่ำไป (Undervalued) หรือราคาหลักทรัพย์ สูงไป (Overvalued) (ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าตลาด หรือ Market Valuation)

2) ตลาดตอนนี้อยู่ในภาวะขาขึ้น (Moving Up) หรือขาลง (Moving Down) (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทางของตลาด หรือ Market Direction)

ภาวะตลาดอาจทำให้ราคาตลาดของหลักทรัพย์สูงขึ้นหรือต่ำลงกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของหลักทรัพย์ นักลงทุน จึงควรพิจารณาด้วยว่า มูลค่าที่แท้จริงที่มาจากปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์ควรมีมูลค่าเท่าใด ซึ่งมีวิธีการคำนวณหลายแบบ โดยปกตินักลงทุนสามารถใช้บริการจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ซึ่งมักจะคำนวณมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องคำนวณเองก็ได้ รู้แต่หลักการก็พอ อย่างไรก็ดี การรู้ว่าราคาตลาดของหลักทรัพย์สูงไป (จึงควรขาย) หรือต่ำไป (จึงควรซื้อ) ก็ไม่ควรผลีผลามเข้าไปทำการ ขาย หรือ ซื้อ ทันที ควรศึกษาทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาและปริมาณซื้อขายด้วย เพื่อหาจังหวะที่เหมาะสม (Market Timing) ในการเข้าขายหรือซื้อ เพื่อให้ได้ราคาขายที่สูงหรือราคาซื้อ ที่ต่ำ ซึ่งต้องอาศัยความรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) โดย ปกติบริษัทหลักทรัพย์จะมีบริการให้ความรู้ใน เรื่องนี้แก่นักลงทุนอยู่ตลอดเวลา ผู้เขียนอยากบอกว่า ความรู้ในเรื่องดังกล่าวข้างต้นไม่ได้เป็นหลักประกันว่า เวลาไปซื้อขายแล้วจะได้กำไรเสมอ แต่เป็นการทำให้เกิดความมั่นใจว่า ในการซื้อขายเราได้ตัดสินใจแบบมีเหตุผล มีหลักการซึ่งน่าจะดีกว่าการซื้อขายในแบบมั่วๆ

3.ความเสี่ยงเฉพาะตัวของหลักทรัพย์

ความเสี่ยงเฉพาะตัวของหลักทรัพย์มี ความสัมพันธ์กับแผนธุรกิจ การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไร วิธีปฏิบัติทางการบัญชี กลยุทธ์การเติบโต และปัจจัยสำคัญอื่นๆ ของบริษัทดทะเบียนของหลักทรัพย์นั้น มากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับภาวะตลาดโดยรวม ความเสี่ยงบางอย่างจากปัจจัยที่กล่าวถึงข้างต้น บางครั้งอาจรุนแรงจนทำให้เราต้องตัดหลักทรัพย์นั้นออกจากการพิจารณา ก็ได้ ต่อไปนี้จะอธิบายถึงปัจจัยบางประการที่จะมีผลต่อการพิจารณาความเสี่ยงเฉพาะตัวของหลักทรัพย์

3.1 สุขภาพทางการเงินของบริษัท (Financial Health)

การตรวจสอบฐานะทางการเงินของและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนของหลักทรัพย์เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อจะมั่นใจได้ว่าบริษัทจะยังคงประกอบกิจการ และมีการเติบโตเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้หรือไม่ ถ้าบริษัทเกิดล้มละลายขึ้นมา นั่นหมายความว่า เราจะสูญเสียเงินลงทุนในหลักทรัพย์นั้นทั้งหมดด้วย อย่าตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ใดก็ตาม โดยไม่มีการวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทนั้นก่อน

3.2 แผนธุรกิจ (Business Plan)

บางบริษัทจดทะเบียนมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุนในการเข้าไปซื้อหลักทรัพย์ เพราะมีแผนธุรกิจที่ดี เพราะสะท้อนให้เห็นว่าสามารถนำสินค้าและบริการเข้าไปสู่ตลาดและครองใจผู้บริโภคได้อย่างไร โดยใช้กลยุทธ์ต่างๆ อีกนัยหนึ่งก็สะท้อนถึงความสามารถของผู้บริหารในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ธุรกิจบางประเภทแม้จะมีการแข่งขัน ที่รุนแรงแต่การกำหนดกลยุทธ์ที่ดีเหมาะสม (ซึ่งพิจารณาได้ส่วนหนึ่งจากแผนธุรกิจ) ก็อาจนำพาให้บริษัทไปรอดและเติบโตได้

จุดสำคัญประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาในแผนธุรกิจก็คือ กลยุทธ์การเติบโตของกิจการ (Growth Strategy) บริษัทส่วนใหญ่จะเติบโตโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาด้วยว่าบริษัทมีกลยุทธ์ในการรักษาตลาดของผลิตภัณฑ์เดิมซึ่งอาจอยู่ในภาวะอิ่มตัวแล้วได้อย่างไร บ่อยครั้งที่ความสำเร็จในยุคแรกๆ ทำให้บริษัทมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงเกินไปและใช้กลยุทธ์เดิมๆ ซึ่ง อาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางลบต่อการดำเนินงานและฐานะทางการเงินจนเป็นเป้าหมายที่จะถูกครอบงำหรือถูกซื้อกิจการ เราสามารถสังเกตได้ว่าผลกระทบทางลบนี้ ส่งผลทำให้ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้ตกต่ำลงได้ และอาจอยู่ในความสนใจของนักครอบงำกิจการ ในตอนที่ 8 เราจะอธิบายเพิ่มขึ้นถึงเทคนิคในการประเมินแผนธุรกิจของกิจการ รวมทั้งกลยุทธ์สร้างการเติบโตโดยการเข้าไปซื้อกิจการอื่น

3.3 การประเมินมูลค่า (Valuation)

บางครั้งบริษัทที่ดีมีอนาคต ก็ถูกประเมินราคาอย่างไม่เหมาะสม ทำให้มีราคาสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป มูลค่าหรือราคาที่แท้จริงควรสะท้อนการเจริญเติบโตในระยะยาวของกิจการ

3.4 การทำบัญชีอย่างสร้างสรรค์ (Creation Accounting)

ความน่าเชื่อถืออีกประการหนึ่งของบริษัทจดทะเบียน ก็คือ การทำบัญชีอย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่บิดเบือน เนื่องจากมีบางบริษัท จดทะเบียน เมื่อวางแผนในแต่ละปีแล้ว ถ้าไม่ได้ผลลัพธ์ตามแผนก็อาจใช้กลวิธีทางบัญชี (ที่ไม่ถูกต้อง) ในการปรับตัวเลขรายการทางบัญชีบางประการ เช่น การรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย เพื่อให้ตัวเลขรายได้ กำไร เป็นไปตามที่ต้องการ

รายงานโดย :กฤษฏา เสกตระกูล
//www.posttoday.com/stockmarket.php?id=75529


Create Date : 25 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2552 0:44:54 น. 0 comments
Counter : 524 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.