In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 

เมื่อเงินเยนอ่อนค่า...การค้าเอเชียจะเป็นอย่างไร

ตั้งแต่ต้นปี 2556 เงินเยนอ่อนค่าลงมากถึง 8.5 % เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

การอ่อนค่าของเงินเยน ปัจจัยหลักๆ มาจากการคาดกันว่า เงินเยนจะอ่อนค่าลงในอนาคตตามแนวนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ของญี่ปุ่น ภายใต้การนำของนายชินโสะ อาเบะ ที่ทั้งนโยบายการเงินและการคลังในระยะต่อไปมีทิศทางที่จะผ่อนคลายเพิ่มขึ้น โดยจุดประสงค์หลัก คือ ต้องการให้ประเทศญี่ปุ่นหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ประเด็นดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับผู้ส่งออกและนักลงทุนทั่วไปรวมทั้งไทย ทั้งในด้านความสามารถในการแข่งขันและผลกระทบที่จะมีต่อการลงทุนในระยะต่อไป จึงมีคำถามว่าทิศทางการค้าเอเชียจะเป็นอย่างไรเมื่อเงินเยนอ่อนค่า

จากการศึกษา พบว่าการอ่อนค่าของเงินเยนจะทำให้ประเทศในเอเชียรวมทั้งไทยได้ประโยชน์ทางการค้า จาก (1) ต้นทุนการนำเข้าที่ถูกลงซึ่งจะมีส่วนช่วยลดการขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นของประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะ ฮ่องกง เกาหลี จีน ไทย และไต้หวัน โดยกลุ่มสินค้าที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดคือกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบ และเหล็กกล้า ที่มีสัดส่วนการนำเข้าจากญี่ปุ่นสูงกว่า 20-35% ของการนำเข้าทั้งหมด

(2) แม้ราคาสินค้านำเข้าในญี่ปุ่นจะสูงขึ้นจากค่าเงินเยนอ่อน แต่เอเชียจะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าจำเป็นไปญี่ปุ่นที่ไม่น่าจะลดลงแม้ราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะ สินค้าในกลุ่มเชื้อเพลิง และพลังงานที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี เพื่อทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานนิวเคลียร์หลายโรงที่ปิดไป สำหรับไทยจะได้รับประโยชน์จากการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารไปญี่ปุ่น นอกจากนี้ การส่งออกของเอเชียจะได้รับอานิสงส์จากการบริโภคและการลงทุนญี่ปุ่นที่อาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

(3) ความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นจากเงินเยนอ่อนค่าคาดว่าจะช่วยให้การส่งออกของญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกของประเทศในเอเชียส่วนใหญ่รวมถึงไทยดีขึ้น เนื่องจากประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของบริษัทญี่ปุ่น โดยเฉพาะ กลุ่มชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ การส่งออกญี่ปุ่นที่คาดว่าจะดีขึ้นก็จะส่งผลให้การส่งออกของเอเชียดีขึ้นตามไปด้วย ยกเว้นประเทศเกาหลีใต้ที่สินค้าส่งออกแข่งขันกับญี่ปุ่นชัดเจนและไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของบริษัทญี่ปุ่น และ (4) ประเทศในเอเชียไม่ได้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับญี่ปุ่น เนื่องจากมีลูกค้าคนละตลาดโดยสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นเน้นกลุ่มลูกค้าในประเทศที่มีรายได้สูง ขณะที่สินค้าส่งออกของเอเชียส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำกว่าจึงเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ระดับกลาง

นอกจากนั้น การอ่อนค่าของเงินเยนจะไม่ทำให้การลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment : FDI) จากญี่ปุ่นมายังเอเชียลดลง เนื่องจากเอเชียเป็นแหล่งลงทุนที่มีศักยภาพสำหรับญี่ปุ่น จากต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า กอปรกับตลาดในเอเชียมีอัตราการเติบโตสูงจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของประชากรชนชั้นกลาง นอกจากนี้ บริษัทญี่ปุ่นยังต้องการเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศอาเซียนเนื่องจากต้องการได้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีเมื่อมีการรวมกลุ่ม AEC สำหรับในประเด็นเงินทุนเคลื่อนย้ายในเอเชีย ยังไม่ชัดเจนว่าเงินทุนจากญี่ปุ่นจะไหลเข้าในตลาดการเงินของเอเชียเพิ่มขึ้นหรือไม่

ดังนั้น ผู้ส่งออกและนักลงทุนในเอเชียรวมทั้งชาวไทยน่าจะคลายความกังวลกับผลกระทบของการอ่อนค่าของเงินเยน ได้บ้าง เพราะประเทศในเอเชียส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์ทางการค้า ในขณะที่การลงทุนไม่ได้มีผลกระทบ ซึ่งประเด็นที่จะต้องติดตามต่อไปคือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นภายหลังจากรัฐบาลได้เริ่มดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม และทิศทางการอ่อนค่าของเงินเยนในระยะต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

การอ่อนค่าของเงินเยน ปัจจัยหลักๆ มาจากการคาดกันว่า เงินเยนจะอ่อนค่าลงในอนาคตตามแนวนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ของญี่ปุ่น ภายใต้การนำของนายชินโสะ อาเบะ ที่ทั้งนโยบายการเงินและการคลังในระยะต่อไปมีทิศทางที่จะผ่อนคลายเพิ่มขึ้น โดยจุดประสงค์หลัก คือ ต้องการให้ประเทศญี่ปุ่นหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ประเด็นดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับผู้ส่งออกและนักลงทุนทั่วไปรวมทั้งไทย ทั้งในด้านความสามารถในการแข่งขันและผลกระทบที่จะมีต่อการลงทุนในระยะต่อไป จึงมีคำถามว่าทิศทางการค้าเอเชียจะเป็นอย่างไรเมื่อเงินเยนอ่อนค่า

จากการศึกษา พบว่าการอ่อนค่าของเงินเยนจะทำให้ประเทศในเอเชียรวมทั้งไทยได้ประโยชน์ทางการค้า จาก (1) ต้นทุนการนำเข้าที่ถูกลงซึ่งจะมีส่วนช่วยลดการขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นของประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะ ฮ่องกง เกาหลี จีน ไทย และไต้หวัน โดยกลุ่มสินค้าที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดคือกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบ และเหล็กกล้า ที่มีสัดส่วนการนำเข้าจากญี่ปุ่นสูงกว่า 20-35% ของการนำเข้าทั้งหมด

(2) แม้ราคาสินค้านำเข้าในญี่ปุ่นจะสูงขึ้นจากค่าเงินเยนอ่อน แต่เอเชียจะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าจำเป็นไปญี่ปุ่นที่ไม่น่าจะลดลงแม้ราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะ สินค้าในกลุ่มเชื้อเพลิง และพลังงานที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี เพื่อทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานนิวเคลียร์หลายโรงที่ปิดไป สำหรับไทยจะได้รับประโยชน์จากการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารไปญี่ปุ่น นอกจากนี้ การส่งออกของเอเชียจะได้รับอานิสงส์จากการบริโภคและการลงทุนญี่ปุ่นที่อาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

(3) ความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นจากเงินเยนอ่อนค่าคาดว่าจะช่วยให้การส่งออกของญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกของประเทศในเอเชียส่วนใหญ่รวมถึงไทยดีขึ้น เนื่องจากประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของบริษัทญี่ปุ่น โดยเฉพาะ กลุ่มชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ การส่งออกญี่ปุ่นที่คาดว่าจะดีขึ้นก็จะส่งผลให้การส่งออกของเอเชียดีขึ้นตามไปด้วย ยกเว้นประเทศเกาหลีใต้ที่สินค้าส่งออกแข่งขันกับญี่ปุ่นชัดเจนและไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของบริษัทญี่ปุ่น และ (4) ประเทศในเอเชียไม่ได้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับญี่ปุ่น เนื่องจากมีลูกค้าคนละตลาดโดยสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นเน้นกลุ่มลูกค้าในประเทศที่มีรายได้สูง ขณะที่สินค้าส่งออกของเอเชียส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำกว่าจึงเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ระดับกลาง

นอกจากนั้น การอ่อนค่าของเงินเยนจะไม่ทำให้การลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment : FDI) จากญี่ปุ่นมายังเอเชียลดลง เนื่องจากเอเชียเป็นแหล่งลงทุนที่มีศักยภาพสำหรับญี่ปุ่น จากต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า กอปรกับตลาดในเอเชียมีอัตราการเติบโตสูงจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของประชากรชนชั้นกลาง นอกจากนี้ บริษัทญี่ปุ่นยังต้องการเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศอาเซียนเนื่องจากต้องการได้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีเมื่อมีการรวมกลุ่ม AEC สำหรับในประเด็นเงินทุนเคลื่อนย้ายในเอเชีย ยังไม่ชัดเจนว่าเงินทุนจากญี่ปุ่นจะไหลเข้าในตลาดการเงินของเอเชียเพิ่มขึ้นหรือไม่

ดังนั้น ผู้ส่งออกและนักลงทุนในเอเชียรวมทั้งชาวไทยน่าจะคลายความกังวลกับผลกระทบของการอ่อนค่าของเงินเยน ได้บ้าง เพราะประเทศในเอเชียส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์ทางการค้า ในขณะที่การลงทุนไม่ได้มีผลกระทบ ซึ่งประเด็นที่จะต้องติดตามต่อไปคือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นภายหลังจากรัฐบาลได้เริ่มดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม และทิศทางการอ่อนค่าของเงินเยนในระยะต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

 

แจงสี่เบี้ย โดย : วรันธร ภู่ทอง

//www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/jangsibia/20130402/498238/เมื่อเงินเยนอ่อนค่า...การค้าเอเชียจะเป็นอย่างไร.html




 

Create Date : 10 เมษายน 2556    
Last Update : 10 เมษายน 2556 15:58:18 น.
Counter : 1724 Pageviews.  

เกษียณในเมือง

บางคนมักคิดไว้ว่า ถ้าหากเกษียณเมื่อไร จะไปปลูกบ้านอยู่ชนบท ในที่อากาศดีๆ หลีกหนีความวุ่นวาย ใช้ชีวิตอย่างสงบและเรียบง่าย

เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนในสมัยนี้คือ คนสมัยนี้มีแนวโน้มที่จะอยู่เป็นครอบครัวเล็กๆ มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อแต่งงานก็มักแยกครอบครัวกันออกไป เมื่อมีลูกก็มีแค่ 1-2 คน แล้วลูกสมัยนี้ก็ไม่ค่อยจะได้อยู่บ้านเดียวกับพ่อแม่ตอนแก่เท่าไร เป็นไปได้ว่า อีกหน่อยคนไทยคงต้องเกษียณแบบเดียวกับพวกฝรั่งคือ อยู่กันแค่สองคนตายาย

ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ไม่แต่งงานก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ หรือแม้แต่คนที่แต่งงานแต่สุดท้ายแล้วต้องแยกกันอยู่ก็มีไม่น้อย ชีวิตคู่ในสังคมสมัยใหม่ไม่ใช่ที่เรื่องง่ายนัก ในสหรัฐอเมริกาเวลานี้ มีอัตราการหย่าร้างสูงเกิน 50% ของคู่ที่แต่งงานกันไปแล้ว โอกาสที่คนยุคต่อไปจะต้องอยู่บ้านคนเดียวกำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ

ในเมื่อคนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะต้องเกษียณคนเดียวหรือเกษียณกับคู่สมรสแค่คนเดียวตามลำพัง แนวคิดที่ว่าจะไปใช้ชีวิตอยู่ในชนบท ทำไร่ทำสวน อยู่กับธรรมชาติ จึงเริ่มกลายเป็นแนวคิดที่เป็นไปได้ยากขึ้นทุกที เพราะคนแก่ใช้ชีวิตกันเองอยู่ตามลำพังค่อนข้างลำบาก

แนวโน้มเรื่องการเกษียณในชนบทจึงน่าจะเปลี่ยนมาเป็นการเกษียณในเมืองเสียมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใจกลางเมือง ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยอย่างครบครันมากกว่าที่อยู่อาศัยในชนบท

การคมนาคมขนส่งใจกลางเมืองยังสะดวกกว่าในต่างจังหวัดมาก เพราะในเมืองมีรถไฟฟ้าและรถเมล์ ซึ่งคนแก่สามารถเดินทางได้เองตามลำพัง และระบบขนส่งเหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะติดตั้งอุปกรณ์สำหรับคนแก่มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย การที่ในเมืองใหญ่มีคนใช้สอยระบบเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ยังทำให้สามารถให้เที่ยวรถเยอะ ให้บริการได้ทั่วถึง และราคาไม่แพง อีกต่างหาก

แนวโน้มการอยู่อาศัยของโลกในปัจจุบัน ประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในเมืองมีเกิน 50% ไปแล้วและยังเป็นสัดส่วนที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ไม่ได้ลดลงเลย คนสมัยนี้จึงเริ่มเกิดและเติบโตในเมืองมาตั้งแต่เด็ก ทำให้เคยชินกับวิถีชีวิตในเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ การที่จะหันออกไปอยู่ชนบทตอนแก่จึงต้องปรับตัวอย่างมาก ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วอาจไม่สนุกอย่างที่คิด รูปแบบของที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองอย่างเช่น คอนโดมิเนียม มีความสะดวกสบายสูง มีลิฟต์ ไม่มีบริเวณบ้าน จึงไม่ต้องดูแลสวนเอง ซึ่งอาจเป็นงานที่หนักเกินไปสำหรับคนแก่ การดูแลรักษาความสะอาดที่พักก็ทำเฉพาะภายในห้องของตัวเองเท่านั้น จึงพอทำเองได้โดยที่ไม่ต้องจ้างลูกจ้างให้ปวดหัว แถมยังมีระบบรักษาความปลอดภัยส่วนกลางที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว เวลามีปัญหาอะไรถ้าหากไม่มีคนใช้ส่วนตัว ก็ยังสามารถขอความช่วยเหลือจาก รปภ.ของคอนโดได้อีกด้วย

การอยู่คอนโดใจกลางเมืองร่วมกันกับคนในวัยอื่นๆ ยังทำให้ชีวิตประจำวันของผู้เกษียณดูมีชีวิตชีวามากกว่าการออกไปอยู่กันเองตามลำพังในชนบท มีคนหนุ่มสาวในวัยทำงานที่อาศัยอยู่ในตึกเดียวกันเดินผ่านไปผ่านมา มีสโมสรให้พบปะคนในวัยเดียวกันที่ว่างในช่วงกลางวันเหมือนกัน ทำให้ไม่ต้องรู้สึกเหงา แม้ว่าจะอยู่กันเองตามลำพังก็ตาม แนวคิดที่จะสร้างที่พักอาศัยสำหรับคนแก่เองโดยเฉพาะกลับเป็นแนวคิดที่ไม่เวิร์คนัก เพราะคนแก่อาจจะอยากอยู่ร่วมกันในสังคมที่ยังมีคนวัยอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่อยู่ด้วยกันเฉพาะแต่คนแก่ๆ

ฝากไว้เป็นข้อคิดสำหรับคนที่กำลังวางแผนเพื่อวัยเกษียณนะครับ

เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนในสมัยนี้คือ คนสมัยนี้มีแนวโน้มที่จะอยู่เป็นครอบครัวเล็กๆ มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อแต่งงานก็มักแยกครอบครัวกันออกไป เมื่อมีลูกก็มีแค่ 1-2 คน แล้วลูกสมัยนี้ก็ไม่ค่อยจะได้อยู่บ้านเดียวกับพ่อแม่ตอนแก่เท่าไร เป็นไปได้ว่า อีกหน่อยคนไทยคงต้องเกษียณแบบเดียวกับพวกฝรั่งคือ อยู่กันแค่สองคนตายาย

ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ไม่แต่งงานก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ หรือแม้แต่คนที่แต่งงานแต่สุดท้ายแล้วต้องแยกกันอยู่ก็มีไม่น้อย ชีวิตคู่ในสังคมสมัยใหม่ไม่ใช่ที่เรื่องง่ายนัก ในสหรัฐอเมริกาเวลานี้ มีอัตราการหย่าร้างสูงเกิน 50% ของคู่ที่แต่งงานกันไปแล้ว โอกาสที่คนยุคต่อไปจะต้องอยู่บ้านคนเดียวกำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ

ในเมื่อคนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะต้องเกษียณคนเดียวหรือเกษียณกับคู่สมรสแค่คนเดียวตามลำพัง แนวคิดที่ว่าจะไปใช้ชีวิตอยู่ในชนบท ทำไร่ทำสวน อยู่กับธรรมชาติ จึงเริ่มกลายเป็นแนวคิดที่เป็นไปได้ยากขึ้นทุกที เพราะคนแก่ใช้ชีวิตกันเองอยู่ตามลำพังค่อนข้างลำบาก

แนวโน้มเรื่องการเกษียณในชนบทจึงน่าจะเปลี่ยนมาเป็นการเกษียณในเมืองเสียมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใจกลางเมือง ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยอย่างครบครันมากกว่าที่อยู่อาศัยในชนบท

การคมนาคมขนส่งใจกลางเมืองยังสะดวกกว่าในต่างจังหวัดมาก เพราะในเมืองมีรถไฟฟ้าและรถเมล์ ซึ่งคนแก่สามารถเดินทางได้เองตามลำพัง และระบบขนส่งเหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะติดตั้งอุปกรณ์สำหรับคนแก่มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย การที่ในเมืองใหญ่มีคนใช้สอยระบบเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ยังทำให้สามารถให้เที่ยวรถเยอะ ให้บริการได้ทั่วถึง และราคาไม่แพง อีกต่างหาก

แนวโน้มการอยู่อาศัยของโลกในปัจจุบัน ประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในเมืองมีเกิน 50% ไปแล้วและยังเป็นสัดส่วนที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ไม่ได้ลดลงเลย คนสมัยนี้จึงเริ่มเกิดและเติบโตในเมืองมาตั้งแต่เด็ก ทำให้เคยชินกับวิถีชีวิตในเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ การที่จะหันออกไปอยู่ชนบทตอนแก่จึงต้องปรับตัวอย่างมาก ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วอาจไม่สนุกอย่างที่คิด รูปแบบของที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองอย่างเช่น คอนโดมิเนียม มีความสะดวกสบายสูง มีลิฟต์ ไม่มีบริเวณบ้าน จึงไม่ต้องดูแลสวนเอง ซึ่งอาจเป็นงานที่หนักเกินไปสำหรับคนแก่ การดูแลรักษาความสะอาดที่พักก็ทำเฉพาะภายในห้องของตัวเองเท่านั้น จึงพอทำเองได้โดยที่ไม่ต้องจ้างลูกจ้างให้ปวดหัว แถมยังมีระบบรักษาความปลอดภัยส่วนกลางที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว เวลามีปัญหาอะไรถ้าหากไม่มีคนใช้ส่วนตัว ก็ยังสามารถขอความช่วยเหลือจาก รปภ.ของคอนโดได้อีกด้วย

การอยู่คอนโดใจกลางเมืองร่วมกันกับคนในวัยอื่นๆ ยังทำให้ชีวิตประจำวันของผู้เกษียณดูมีชีวิตชีวามากกว่าการออกไปอยู่กันเองตามลำพังในชนบท มีคนหนุ่มสาวในวัยทำงานที่อาศัยอยู่ในตึกเดียวกันเดินผ่านไปผ่านมา มีสโมสรให้พบปะคนในวัยเดียวกันที่ว่างในช่วงกลางวันเหมือนกัน ทำให้ไม่ต้องรู้สึกเหงา แม้ว่าจะอยู่กันเองตามลำพังก็ตาม แนวคิดที่จะสร้างที่พักอาศัยสำหรับคนแก่เองโดยเฉพาะกลับเป็นแนวคิดที่ไม่เวิร์คนัก เพราะคนแก่อาจจะอยากอยู่ร่วมกันในสังคมที่ยังมีคนวัยอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่อยู่ด้วยกันเฉพาะแต่คนแก่ๆ

ฝากไว้เป็นข้อคิดสำหรับคนที่กำลังวางแผนเพื่อวัยเกษียณนะครับ

 

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

//www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/human-eco/20130403/498482/เกษียณในเมือง.html




 

Create Date : 10 เมษายน 2556    
Last Update : 10 เมษายน 2556 15:51:35 น.
Counter : 809 Pageviews.  

ทางลัด

ตอนนี้กระแสอยากรวยเป็นกระแสที่มาแรงมากๆ

จะเห็นได้จากชั้นวางหนังสือหมวดธุรกิจตามร้านหนังสือในเวลานี้จะมีหนังสือที่มีคำว่า "รวย" อยู่ในชื่อเล่มเกินกว่าครึ่งค่อนของทั้งหมดไปแล้ว

วิธีรวยในโลกนี้นั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ไม่รู้ว่าคุณสังเกตเห็นเหมือนผมหรือเปล่าว่า วิธีรวยที่จะได้รับความนิยมในเวลานี้ทุกวิธีจะต้องมีลักษณะร่วมกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ ต้องเป็นวิธีที่ไม่ต้องออกแรงมาก ต้องไม่มีอะไรที่ยุ่งยาก และถ้าเป็นวิธีที่รวยเร็วๆ แบบชั่วข้ามคืนได้ด้วยจะยิ่งได้รับการตอบรับดี

พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องเป็นวิธี "รวยทางลัด"

เป็นต้นว่า แทนที่จะออกแรงเอง คุณควรหาคนอื่นมาทำงานแทนคุณให้ได้จำนวนมากๆ แล้วรอกินเปอร์เซ็นต์จากคนที่ทำงานแทนคุณดีกว่า งานของคุณคือการใช้วาทศิลป์ในการชักชวนคนอื่นให้มาทำงานให้คุณเท่านั้น เรียกว่าลงทุนแต่น้ำลายอย่างเดียวก็พอ

อีกแนวหนึ่งก็บอกให้คุณลาออกจากงานมานั่งซื้อขายหุ้นทั้งวัน ทำเงินจากการขึ้นของถูกมาขายที่แพงกว่าไปเรื่อยๆ แบบนี้เป็นงานสบายเพราะแค่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์กดปุ่มซื้อและขายอย่างเดียว จะไปนั่งที่ร้านกาแฟชิวๆ ทั้งวันจิบกาแฟไปด้วย เทรดหุ้นไปด้วยก็ยังได้ แม้แต่น้ำลายก็ยังไม่เปลือง

พักหลังๆ เริ่มได้ยินแนวใหม่ที่มาเกทับแนวเก่าที่เริ่มบอกว่า ให้ใช้วิธีสั่งจิตให้รวยเอาดีกว่า อันนี้ทางลัดสุดๆ เพราะแค่นั่งคิดอย่างเดียวก็รวยได้แล้ว ไม่ต้องใช้น้ำลายสักหยด หรือจ่ายเงินค่ากาแฟให้เป็นต้นทุนเลยด้วย

การที่แนวคิดแบบนี้ได้รับการตอบรับดีในปัจจุบันอาจเป็นเพราะพวกตอบโจทย์ Gen Y ซึ่งเป็นคนรุ่นที่มีอุปนิสัยมองโลกในแง่ดี แต่ไม่ชอบการรอคอย และอดทนกับอะไรนานๆ ไม่ค่อยได้

แต่โดยส่วนตัว ผมยอมรับว่าเป็นคนค่อนข้างลังเลสงสัยเวลาได้ยินวิธีการรวยทางลัดเหล่านี้ เพราะถ้ามันทำได้ง่ายเกินไป ย่อมไม่ทำให้เรามีข้อได้เปรียบคนอื่น แล้วทำไมเราต้องประสบความสำเร็จด้วย

บางทีแนวคิดเหล่านี้อาจจะใช้ได้ผลจริงๆ ในช่วงที่คนแรกๆ ที่มีคนคิดวิธีการเหล่านี้ขึ้นมาได้ แต่พอเวลาผ่านไปนานๆ วิธีการไหนที่มีคนประสบความสำเร็จก็จะเริ่มเป็นที่รับรู้กันในวงกว้าง แต่ถ้าวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายเกินไป ไม่ช้าไม่นาน มันก็จะกลายเป็นความรู้ทั่วไปที่คนทั่วไปคิดทันกันและทำกันได้หมด พอทุกคนคิดจะรวยทางลัดเหมือนกัน การแข่งขันที่รุนแรงจะทำให้โอกาสที่เคยมีอยู่นั้นหายไป

แทนที่เราจะมุ่งหาแต่วิธีการที่ช่วยให้เราไม่ต้องออกแรงอะไรเลยแต่ใครๆ ก็ทำได้ ทำไมเราไม่มุ่งหาวิธีการที่มีความยุ่งยากอะไรบางอย่างอยู่ แต่เป็นความยุ่งยากที่ตัวเราสามารถพัฒนาตัวเองให้เก่งกว่าคนทั่วไปได้ ยิ่งต้องอาศัยความอดทนในการรอคอยด้วยก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก เพราะความยุ่งยากเท่านั้นที่จะเป็นเหตุผลสำคัญที่ช่วยให้คนคนหนึ่งได้เปรียบคนอื่น และถ้ายิ่งจะต้องใช้เวลานานๆ ก็ยิ่งทำให้มีคนอยากแข่งกับเราน้อยลงไปอีก ตามความเห็นของผมนั้น คนเราไม่ควรมองหาวิธีการที่สบายที่สุด แต่เราควรเลือกวิธีที่ทำให้ตัวเรามีโอกาสสร้างข้อได้เปรียบให้ตัวเราได้มากที่สุดมากกว่า

ในหนังสือชื่อ Outliers ของ Malcolm Gladwell ได้เสนอแนวคิดว่า ถ้าเราศึกษาเส้นทางชีวิตของบุคคลที่ประสบความสำเร็จในระดับที่โดดเด่นหลายคน (หรือที่เรียกว่าพวก Outliers) เราจะพบว่า เบื้องหลังความสำเร็จคือการที่พวกเขาเหล่านั้นล้วนผ่านช่วงเวลาของการฝึกฝนทำซ้ำๆ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่พวกเขาประสบความสำเร็จนั้นอย่างน้อย 10,000 ชั่วโมงมาแล้วทั้งนั้น

ถ้าเรามอง the Beatles แบบผิวเผิน เราจะรู้สึกว่า พวกเขาคงจะเก่งเพราะมีพรสวรรค์ในการแต่งเพลงที่พระเจ้าให้พวกเขามาเลย แต่สิ่งที่พวกเราไม่ค่อยรู้กันก็คือว่า ก่อนที่ the Beatles จะโด่งดังนั้น พวกเขาต้องผ่านช่วงชีวิตของการเป็นนักดนตรีในร้านอาหารที่เมืองฮัมเบิร์กโดยต้องแสดงสดวันละ 4 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ ไม่นับเวลาที่ต้องซ้อมด้วย รวมแล้วมากกว่า 10,000 ชั่วโมงมาก่อน หรือ Bill Gates เองก็เคยผ่านช่วงเวลาที่หมกมุ่นอยู่กับการเขียนโปรแกรมตอนอยู่มัธยมและเข้ามหาวิทยาลัยรวมแล้วมากกว่า 10,000 ชั่วโมงด้วย ไม่ได้ประสบความสำเร็จทันทีเพราะว่าโชคดีที่ได้รับการเลือกจากไอบีเอ็มให้เป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการให้เครื่องพีซี

แทนที่เราจะเน้นเลือกวิธีที่เป็นทางลัด จะเป็นการดีกว่าหรือไม่ที่เราจะมุ่งพัฒนาตนเองให้มีข้อได้เปรียบไม่ว่าด้านไหนก็ตามที่เรารักหรือพบว่าเป็นสิ่งที่เราถนัด และเมื่อวันที่โอกาสนั้นมาถึง โอกาสนั้นก็จะได้เป็นของเรา เพราะว่าเรามีอะไรบางอย่างที่ทำได้ดีกว่าคนอื่น

 

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์




 

Create Date : 29 มีนาคม 2556    
Last Update : 29 มีนาคม 2556 14:19:09 น.
Counter : 688 Pageviews.  

งานแบบไหนดี

วิธีมองเส้นทางสายอาชีพที่ผมชอบที่สุดน่าจะเป็นแนวคิดของ Seth Godin เรื่อง The Dip

Godin บอกว่า งานใดๆ ที่คุณกำลังทำอยู่นั้นจะจัดอยู่ในจำพวกใดจำพวกหนึ่งในสามจำพวก คือ The Dip ทางตัน และเหว

ถ้าเป็นเหว ทุกอย่างดูดีไปหมดตั้งแต่แรกเลย ยิ่งเดินทางนี้ก็ยิ่งชอบ เพราะว่าสบาย พอสบายก็ยิ่งติดใจถล่ำลึกเข้าไปเรื่อยๆ จนถอนตัวไม่ขึ้น แต่พอวันที่รู้ว่า มันคือเหว ทุกอย่างก็สายเกินกว่าที่จะหันหลังกลับได้แล้ว ต้องก้มหน้ารับเคราะห์กรรมจากความมักง่ายที่ผ่านมาทั้งหมดของตัวเราเอง

ตัวอย่างของ เหว ก็เช่น การสูบบุหรี่ ยิ่งสูบก็ยิ่งสบาย เพราะคลายเครียด ยิ่งสบายก็ยิ่งติด ยิ่งติดก็ยิ่งสูบมากขึ้น สุดท้ายพอหมอมาบอกว่า คุณเป็นมะเร็งปอด ให้คุณเปลี่ยนตัวเองหันมาดูแลสุขภาพแค่ไหนก็ไม่ทันแล้ว ต้องก้มหน้าก้มตารับเคราะห์ไป

สำหรับทางตัน นั้นจะเป็นทางเดินที่เดินแล้วรู้สึกว่าง่ายเช่นเดียวกับเหว แต่ยิ่งเดินต่อไปก็จะยิ่งรู้สึกว่าเราไม่ได้พัฒนาอะไรขึ้นเลย (แต่ในเวลาเดียวกันก็ไม่ได้แย่ลงด้วย) เราจะค่อยๆ เสพติดกับความคิดที่ว่าอยู่เฉยๆ แบบนี้ก็ดีแล้วนี่ จะไปดิ้นรนทำไม สุดท้ายแล้ว แม้ว่าเราจะไม่ได้ถึงกับตกเหว แต่เราก็จะหยุดอยู่นิ่งกับที่ กลายเป็นคนธรรมดาที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงานอะไรเลยสักอย่างไปจนเกษียณ

คุณคงนึกตัวอย่างออกนะครับว่างานอะไรบ้างที่เป็นทางตัน เพราะงานพวกนี้พร้อมจะให้คุณเข้ามาทำได้ทุกเมื่ออยู่แล้ว ไม่ได้หายากอะไร ส่วนใหญ่มักเป็นงานที่ไม่มีใครแย่งกันทำ

แต่ถ้าเป็นทางเดินแบบสุดท้ายที่เรียกว่า Dip นั้น ให้คุณนึกถึงทางขึ้นเนินเตี้ยๆ แล้วกลายเป็นทางลงที่ลากยาวและไกลกว่าขาที่ขึ้นมา ก่อนที่จะกลับมาเป็นทางขึ้นอีกครั้งแบบขึ้นภูเขาสูงไปเลย

งานแบบ The Dip นี้ ตอนแรกๆ จะรู้สึกสนุกและได้พัฒนาตนเองเช่นกัน แต่ยิ่งเดินต่อไปเรื่อยๆ จะค่อยๆ รู้สึกว่ามันเริ่มเดินยากขึ้นๆ ทุกที คล้ายๆ กับว่าเรากำลังแย่ลง เพราะเรารู้สึกว่าทำไมมันถึงได้ยุ่งยากขนาดนี้ ตอนนี้แหละที่คนจำนวนมากที่ลองเดินทางนี้จะเริ่มตีจากไปเรื่อยๆ เพราะสัญชาตญาณที่บอกว่า อะไรที่ยากลำบาก มันน่าจะไม่ดี หรือมีอันตรายอยู่

แต่จะมีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่ยังเลือกที่จะเดินทางนี้ต่อไป ด้วยความตั้งใจจริงที่จะเป็นเลิศในเส้นทางนี้ให้ได้ และเมื่อเขาสามารถอดทนจนผ่านหุบเขาที่แทบไม่เหลือใครที่อดทนมากพอที่จะเดินตามมาได้แล้ว หลังจากนี้ไปมันคือ ทางขึ้นอย่างเดียว เพราะเขาได้กลายเป็นของหายากที่มีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่แข่งกันเขาได้ รางวัลที่เขาจะได้รับหลังจากจุดนี้ไปจะมากเกินคุ้มกับความยากลำบากที่ได้เผชิญมาทั้งหมดในตอนต้น

Godin กล่าวว่า ถ้าเราพบว่า ทางที่เรากำลังเดินอยู่เป็นเหวหรือทางตันก็ให้รีบหยุดเดินทันที (ต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยวในการหยุดด้วย) เพราะทางที่ควรเดินมากที่สุดคือทางแบบ The Dip เท่านั้น อย่าปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ไปกับทางอีกสองแบบเลยเป็นอันขาด

ตัวอย่างในชีวิตจริงของ The Dip นั้นมีอยู่มากมาย กีฬาทุกชนิดถ้าเริ่มต้นเล่นแบบขำๆ มันจะสนุกทั้งนั้น เพราะกีฬาเป็นกิจกรรมบันเทิงอย่างหนึ่ง แต่คนที่จะเล่นจนกลายเป็นนักกีฬาทีมชาติได้นั้นมีน้อยมาก เพราะมันต้องผ่านช่วงเวลาของการฝึกฝนอย่างหนัก ซึ่งไม่ใช่ของสนุกอีกต่อไป จึงมีคนจำนวนน้อยมากๆ ที่จะผ่านระดับนี้ขึ้นไปได้ และกลายเป็นเหตุผลที่ทำให้คนที่ผ่านมันไปได้สำเร็จ ย่อมได้รับผลตอบแทนเป็นทวีคูณที่มากกว่าคนอื่นๆ

วิชาชีพอย่างเช่น แพทย์ หรือผู้พิพากษา ก็เป็นตัวอย่างของ The Dip เช่นเดียวกัน ก่อนที่พวกเขาจะมีวันนี้ พวกเขาต้องผ่านการนั่งอ่านหนังสือมาอย่างมหาศาล ต้องยินดีสละเวลาในช่วงชีวิตวัยรุ่นไปส่วนหนึ่งแทนที่จะได้เที่ยวเล่นมากเท่ากับคนอื่นๆ ต้องสอบแข่งขันกับคนจำนวนมากด่านแล้วด่านเล่า กว่าจะได้เป็นหมอหรือผู้พิพากษาเต็มตัวส่วนใหญ่ก็ต้องเข้าสู่วัยที่เกินครึ่งหนึ่งของชีวิตไปแล้ว เมื่อผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดมาได้แล้ว พวกเขาจึงได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากกว่าคนทั่วไปในภายหลัง

มีการวิจัยพบว่า นักขายส่วนใหญ่มักจะล้มเลิกความพยายามเมื่อถูกปฏิเสธติดต่อกัน 4-5 ครั้ง แต่นักขายมักจะได้ออเดอร์จากลูกค้าคนที่ 7-8 การทำธุรกิจก็เช่นเดียวกัน นักธุรกิจส่วนใหญ่มักไม่ได้ประสบความสำเร็จในธุรกิจแรกสุดที่ทำ แต่มักจะต้องเคยล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง กว่าจะได้เจอโอกาสที่เหมาะกับตัวเองจริงๆ คนที่ใช้ความรู้สึกตัดสินงานทุกอย่าง อะไรที่รู้ว่ามันยากก็จะตัดสินว่ามันไม่ดี และล้มเลิกไปทันที พวกเขาจะพลาด The Dip ไปทุกๆ ครั้งที่พวกเขาได้เจอมัน เพราะว่าไม่เคยใช้ความพยายามกับเรื่องไหนมากพอที่จะถึงที่มันดีพอที่จะเริ่มต้นประสบความสำเร็จได้ และจะวนเวียนอยู่กับการเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ เพราะมัวหาแต่ทางลัดทางสบาย

ถือเป็นวิธี "เลือกงาน" ในแบบที่น่าสนใจทีเดียว

Godin บอกว่า งานใดๆ ที่คุณกำลังทำอยู่นั้นจะจัดอยู่ในจำพวกใดจำพวกหนึ่งในสามจำพวก คือ The Dip ทางตัน และเหว

ถ้าเป็นเหว ทุกอย่างดูดีไปหมดตั้งแต่แรกเลย ยิ่งเดินทางนี้ก็ยิ่งชอบ เพราะว่าสบาย พอสบายก็ยิ่งติดใจถล่ำลึกเข้าไปเรื่อยๆ จนถอนตัวไม่ขึ้น แต่พอวันที่รู้ว่า มันคือเหว ทุกอย่างก็สายเกินกว่าที่จะหันหลังกลับได้แล้ว ต้องก้มหน้ารับเคราะห์กรรมจากความมักง่ายที่ผ่านมาทั้งหมดของตัวเราเอง

ตัวอย่างของ เหว ก็เช่น การสูบบุหรี่ ยิ่งสูบก็ยิ่งสบาย เพราะคลายเครียด ยิ่งสบายก็ยิ่งติด ยิ่งติดก็ยิ่งสูบมากขึ้น สุดท้ายพอหมอมาบอกว่า คุณเป็นมะเร็งปอด ให้คุณเปลี่ยนตัวเองหันมาดูแลสุขภาพแค่ไหนก็ไม่ทันแล้ว ต้องก้มหน้าก้มตารับเคราะห์ไป

สำหรับทางตัน นั้นจะเป็นทางเดินที่เดินแล้วรู้สึกว่าง่ายเช่นเดียวกับเหว แต่ยิ่งเดินต่อไปก็จะยิ่งรู้สึกว่าเราไม่ได้พัฒนาอะไรขึ้นเลย (แต่ในเวลาเดียวกันก็ไม่ได้แย่ลงด้วย) เราจะค่อยๆ เสพติดกับความคิดที่ว่าอยู่เฉยๆ แบบนี้ก็ดีแล้วนี่ จะไปดิ้นรนทำไม สุดท้ายแล้ว แม้ว่าเราจะไม่ได้ถึงกับตกเหว แต่เราก็จะหยุดอยู่นิ่งกับที่ กลายเป็นคนธรรมดาที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงานอะไรเลยสักอย่างไปจนเกษียณ

คุณคงนึกตัวอย่างออกนะครับว่างานอะไรบ้างที่เป็นทางตัน เพราะงานพวกนี้พร้อมจะให้คุณเข้ามาทำได้ทุกเมื่ออยู่แล้ว ไม่ได้หายากอะไร ส่วนใหญ่มักเป็นงานที่ไม่มีใครแย่งกันทำ

แต่ถ้าเป็นทางเดินแบบสุดท้ายที่เรียกว่า Dip นั้น ให้คุณนึกถึงทางขึ้นเนินเตี้ยๆ แล้วกลายเป็นทางลงที่ลากยาวและไกลกว่าขาที่ขึ้นมา ก่อนที่จะกลับมาเป็นทางขึ้นอีกครั้งแบบขึ้นภูเขาสูงไปเลย

งานแบบ The Dip นี้ ตอนแรกๆ จะรู้สึกสนุกและได้พัฒนาตนเองเช่นกัน แต่ยิ่งเดินต่อไปเรื่อยๆ จะค่อยๆ รู้สึกว่ามันเริ่มเดินยากขึ้นๆ ทุกที คล้ายๆ กับว่าเรากำลังแย่ลง เพราะเรารู้สึกว่าทำไมมันถึงได้ยุ่งยากขนาดนี้ ตอนนี้แหละที่คนจำนวนมากที่ลองเดินทางนี้จะเริ่มตีจากไปเรื่อยๆ เพราะสัญชาตญาณที่บอกว่า อะไรที่ยากลำบาก มันน่าจะไม่ดี หรือมีอันตรายอยู่

แต่จะมีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่ยังเลือกที่จะเดินทางนี้ต่อไป ด้วยความตั้งใจจริงที่จะเป็นเลิศในเส้นทางนี้ให้ได้ และเมื่อเขาสามารถอดทนจนผ่านหุบเขาที่แทบไม่เหลือใครที่อดทนมากพอที่จะเดินตามมาได้แล้ว หลังจากนี้ไปมันคือ ทางขึ้นอย่างเดียว เพราะเขาได้กลายเป็นของหายากที่มีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่แข่งกันเขาได้ รางวัลที่เขาจะได้รับหลังจากจุดนี้ไปจะมากเกินคุ้มกับความยากลำบากที่ได้เผชิญมาทั้งหมดในตอนต้น

Godin กล่าวว่า ถ้าเราพบว่า ทางที่เรากำลังเดินอยู่เป็นเหวหรือทางตันก็ให้รีบหยุดเดินทันที (ต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยวในการหยุดด้วย) เพราะทางที่ควรเดินมากที่สุดคือทางแบบ The Dip เท่านั้น อย่าปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ไปกับทางอีกสองแบบเลยเป็นอันขาด

ตัวอย่างในชีวิตจริงของ The Dip นั้นมีอยู่มากมาย กีฬาทุกชนิดถ้าเริ่มต้นเล่นแบบขำๆ มันจะสนุกทั้งนั้น เพราะกีฬาเป็นกิจกรรมบันเทิงอย่างหนึ่ง แต่คนที่จะเล่นจนกลายเป็นนักกีฬาทีมชาติได้นั้นมีน้อยมาก เพราะมันต้องผ่านช่วงเวลาของการฝึกฝนอย่างหนัก ซึ่งไม่ใช่ของสนุกอีกต่อไป จึงมีคนจำนวนน้อยมากๆ ที่จะผ่านระดับนี้ขึ้นไปได้ และกลายเป็นเหตุผลที่ทำให้คนที่ผ่านมันไปได้สำเร็จ ย่อมได้รับผลตอบแทนเป็นทวีคูณที่มากกว่าคนอื่นๆ

วิชาชีพอย่างเช่น แพทย์ หรือผู้พิพากษา ก็เป็นตัวอย่างของ The Dip เช่นเดียวกัน ก่อนที่พวกเขาจะมีวันนี้ พวกเขาต้องผ่านการนั่งอ่านหนังสือมาอย่างมหาศาล ต้องยินดีสละเวลาในช่วงชีวิตวัยรุ่นไปส่วนหนึ่งแทนที่จะได้เที่ยวเล่นมากเท่ากับคนอื่นๆ ต้องสอบแข่งขันกับคนจำนวนมากด่านแล้วด่านเล่า กว่าจะได้เป็นหมอหรือผู้พิพากษาเต็มตัวส่วนใหญ่ก็ต้องเข้าสู่วัยที่เกินครึ่งหนึ่งของชีวิตไปแล้ว เมื่อผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดมาได้แล้ว พวกเขาจึงได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากกว่าคนทั่วไปในภายหลัง

มีการวิจัยพบว่า นักขายส่วนใหญ่มักจะล้มเลิกความพยายามเมื่อถูกปฏิเสธติดต่อกัน 4-5 ครั้ง แต่นักขายมักจะได้ออเดอร์จากลูกค้าคนที่ 7-8 การทำธุรกิจก็เช่นเดียวกัน นักธุรกิจส่วนใหญ่มักไม่ได้ประสบความสำเร็จในธุรกิจแรกสุดที่ทำ แต่มักจะต้องเคยล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง กว่าจะได้เจอโอกาสที่เหมาะกับตัวเองจริงๆ คนที่ใช้ความรู้สึกตัดสินงานทุกอย่าง อะไรที่รู้ว่ามันยากก็จะตัดสินว่ามันไม่ดี และล้มเลิกไปทันที พวกเขาจะพลาด The Dip ไปทุกๆ ครั้งที่พวกเขาได้เจอมัน เพราะว่าไม่เคยใช้ความพยายามกับเรื่องไหนมากพอที่จะถึงที่มันดีพอที่จะเริ่มต้นประสบความสำเร็จได้ และจะวนเวียนอยู่กับการเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ เพราะมัวหาแต่ทางลัดทางสบาย

ถือเป็นวิธี "เลือกงาน" ในแบบที่น่าสนใจทีเดียว

 

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์




 

Create Date : 29 มีนาคม 2556    
Last Update : 29 มีนาคม 2556 14:16:57 น.
Counter : 846 Pageviews.  

งานที่ใช่

คนที่รู้ตัวเองมาตั้งแต่ต้นว่าตัวเองชอบทำงานอะไรนั้น นับว่าเป็นคนส่วนน้อยมากๆ ในโลกใบนี้

ถ้าสังเกตจากคนรอบข้าง ผมพบว่า ช่วงอายุ 20-30 ปีของคนส่วนใหญ่ จะเป็นช่วง soul-searching กล่าวคือ ก็ทำงานประจำอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่นั่นแหละ แต่ลึกๆ ในใจจะสงสัยอยู่ตลอดเวลาว่า เราเหมาะกับงานที่เรากำลังทำอยู่แน่หรือ เรากำลังมาผิดทางอยู่รึเปล่า ฯลฯ

บางคนถึงขั้นเปลี่ยนงานบ่อยมากๆ ในช่วงวัยนี้ แต่ก็พบว่าไม่ว่าตัวเองจะเปลี่ยนไปทำงานไหน มันก็ยังไม่ใช่เลยสักอย่างเดียว พออายุ 30 ก็เลยยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน บางคนใช้วิธีหนีไปเรียนต่อเพื่อหลีกเลี่ยงชีวิตทำงานที่มีแต่งานที่ตัวเองไม่ได้รู้สึกว่าชอบ ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้แน่ใจด้วยว่าสายงานที่ไปเรียนต่อนั้น คือสายงานที่เราชอบจริงๆ แต่เรียนต่อเพื่อซื้อเวลาที่จะต้องตัดสินใจให้เลื่อนออกไปเรื่อยๆ เท่านั้น บางคนเรียนต่อปริญญาโทจนจบแล้วก็มาพบอีกว่า สิ่งที่เรียนไปก็ไม่ใช่อยู่ดี แต่ตอนนี้แก่กว่าเดิม กลายเป็นสถานการณ์ที่ยิ่งยากลำบากมากขึ้น

กว่าคนส่วนใหญ่จะเริ่มพอจะบอกได้ว่า ตัวเองเหมาะกับงานอะไรกันแน่ ส่วนใหญ่อายุก็จะปาไปประมาณ 30-40 ปี แต่ทว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่เริ่มมีครอบครัว หรือบางคนก็มีแล้ว ถ้าจะผันตัวเองไปสู่สายงานที่อยากทำจริงๆ เดิมพันจะเริ่มสูง อาจต้องยอมเสียเวลาเรียนต่อโทในคณะที่ตรงเพื่อเป็นใบเบิกทางให้สามารถสมัครงานในสายใหม่ที่ต้องการนั้นได้ ซึ่งต้องยอมทั้งเสียเวลาและทิ้งประวัติการทำงานในสายอาชีพเดิมไปเลย แต่ถ้าใครลังเลหรือเสียดาย career path เดิมก็อาจจะเปลี่ยน field ไม่ทันในช่วงนี้

พอเข้าวัย 40 ปี ตอนนี้ความชอบจะเริ่มไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไปแล้ว ความมั่นคงทางการเงินจะเริ่มเข้ามาเป็นประเด็นสำคัญมากกว่า คนที่เบนเข้าหาสายอาชีพที่ตัวเองชอบไม่ทันก่อนจะถึงช่วงนี้ มักต้องล้มเลิกความฝันไปเลย เพราะอายุมากขึ้น เปลี่ยนงานยากมากแล้ว ความมั่นคงของรายได้ต้องมาก่อน ตอนนี้งานอะไรก็ได้ที่มั่นคงและตอบสนองเรื่องรายได้ได้ดีที่สุดคือตัวเลือกที่ดีที่สุด ถ้างานที่ทำอยู่ไม่ได้ชอบ ก็ต้องพยายามหาเหตุผลที่จะชอบมันให้ได้ อะไรที่เคยใฝ่ฝันไว้ว่าสักวันหนึ่งจะทำก็เป็นอันสรุปได้ว่า ชีวิตนี้คงไม่ได้ทำแน่ๆ แล้ว ก้มหน้าก้มตาทำงานปัจจุบันต่อไปให้ดีที่สุดแทน

ชีวิตจริงก็เป็นแบบนี้นะครับ ไม่มีอะไร "เป๊ะ" เลยสักอย่างเดียว ออกแบบไม่ได้ ไม่มีเส้นทางง่ายๆ ให้เดินเป็นเส้นตรงแบบม้วนเดียวจบตั้งแต่เริ่มแรก

สถานการณ์แบบนี้ทำให้ผมนึกถึงคำแนะนำของ สตีฟ จ๊อบส์ มากที่สุด เค้าบอกว่า ถ้าเรามีโอกาสได้ทำอะไรก็ให้ทำๆ ไปเยอะๆ เลย สุดท้ายแล้วทุกอย่างที่เราเคยทำจะกลับมามีประโยชน์ต่อเราได้เองอย่างที่เราไม่เคยคาดคิดไว้ก่อนเมื่อเวลาของมันมาถึง

ถ้าเรามัวแต่คิดว่าเรายังตัดสินใจไม่ได้ว่าสุดท้ายแล้วเราจะทำอะไร เราก็เลยยังไม่ยอมทำอะไรเลยสักอย่างเพื่อกลัวจะผิดทาง หรือกลัวจะเปลืองแรง กลายเป็นคนที่เกี่ยงงาน สุดท้ายแล้วเราจะปล่อยช่วงเวลาทำงานในชีวิตของเราให้ผ่านไปเฉยๆ โดยไม่มีอะไรสักอย่างเดียวที่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่ถ้าเราพยายามทำงานได้มากที่สุด ไม่ปล่อยโอกาสที่เข้ามาตรงหน้าพอดีให้ผ่านเลยไปเฉยๆ สุดท้ายแล้ว ความที่เราได้ผ่านอะไรมาเยอะ มันจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เราประสบความสำเร็จได้เอง

อีกอย่างหนึ่งคือ ผมคิดว่าคนเราควรตั้งเป้าหมายอะไรสักอย่างหนึ่งไว้เสมอ ตัวอย่างเช่น อีกสามปีข้างหน้าเราจะไปอยู่ตรงไหนให้ได้ แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วเป้าหมายที่เราตั้งไว้มักจะไม่ใช่สิ่งสุดท้ายที่เราจะได้ทำ แต่ถ้าเราไม่ตั้งเป้าหมายอะไรเลย เราจะเป็นคนหลักลอย ทำงานก็ไม่เต็มที่ การตั้งเป้าหมายเป็นเพียงอุบาย ที่ช่วยให้เรามีแรงผลักดันในการทำงาน สุดท้ายถึงแม้เราไม่ได้บรรลุเป้าหมายนั้น แต่มันมักจะเป็นสิ่งที่นำพาเราไปสู่อย่างอื่นที่ใช่มากกว่าได้

ถ้าสังเกตจากคนรอบข้าง ผมพบว่า ช่วงอายุ 20-30 ปีของคนส่วนใหญ่ จะเป็นช่วง soul-searching กล่าวคือ ก็ทำงานประจำอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่นั่นแหละ แต่ลึกๆ ในใจจะสงสัยอยู่ตลอดเวลาว่า เราเหมาะกับงานที่เรากำลังทำอยู่แน่หรือ เรากำลังมาผิดทางอยู่รึเปล่า ฯลฯ

บางคนถึงขั้นเปลี่ยนงานบ่อยมากๆ ในช่วงวัยนี้ แต่ก็พบว่าไม่ว่าตัวเองจะเปลี่ยนไปทำงานไหน มันก็ยังไม่ใช่เลยสักอย่างเดียว พออายุ 30 ก็เลยยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน บางคนใช้วิธีหนีไปเรียนต่อเพื่อหลีกเลี่ยงชีวิตทำงานที่มีแต่งานที่ตัวเองไม่ได้รู้สึกว่าชอบ ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้แน่ใจด้วยว่าสายงานที่ไปเรียนต่อนั้น คือสายงานที่เราชอบจริงๆ แต่เรียนต่อเพื่อซื้อเวลาที่จะต้องตัดสินใจให้เลื่อนออกไปเรื่อยๆ เท่านั้น บางคนเรียนต่อปริญญาโทจนจบแล้วก็มาพบอีกว่า สิ่งที่เรียนไปก็ไม่ใช่อยู่ดี แต่ตอนนี้แก่กว่าเดิม กลายเป็นสถานการณ์ที่ยิ่งยากลำบากมากขึ้น

กว่าคนส่วนใหญ่จะเริ่มพอจะบอกได้ว่า ตัวเองเหมาะกับงานอะไรกันแน่ ส่วนใหญ่อายุก็จะปาไปประมาณ 30-40 ปี แต่ทว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่เริ่มมีครอบครัว หรือบางคนก็มีแล้ว ถ้าจะผันตัวเองไปสู่สายงานที่อยากทำจริงๆ เดิมพันจะเริ่มสูง อาจต้องยอมเสียเวลาเรียนต่อโทในคณะที่ตรงเพื่อเป็นใบเบิกทางให้สามารถสมัครงานในสายใหม่ที่ต้องการนั้นได้ ซึ่งต้องยอมทั้งเสียเวลาและทิ้งประวัติการทำงานในสายอาชีพเดิมไปเลย แต่ถ้าใครลังเลหรือเสียดาย career path เดิมก็อาจจะเปลี่ยน field ไม่ทันในช่วงนี้

พอเข้าวัย 40 ปี ตอนนี้ความชอบจะเริ่มไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไปแล้ว ความมั่นคงทางการเงินจะเริ่มเข้ามาเป็นประเด็นสำคัญมากกว่า คนที่เบนเข้าหาสายอาชีพที่ตัวเองชอบไม่ทันก่อนจะถึงช่วงนี้ มักต้องล้มเลิกความฝันไปเลย เพราะอายุมากขึ้น เปลี่ยนงานยากมากแล้ว ความมั่นคงของรายได้ต้องมาก่อน ตอนนี้งานอะไรก็ได้ที่มั่นคงและตอบสนองเรื่องรายได้ได้ดีที่สุดคือตัวเลือกที่ดีที่สุด ถ้างานที่ทำอยู่ไม่ได้ชอบ ก็ต้องพยายามหาเหตุผลที่จะชอบมันให้ได้ อะไรที่เคยใฝ่ฝันไว้ว่าสักวันหนึ่งจะทำก็เป็นอันสรุปได้ว่า ชีวิตนี้คงไม่ได้ทำแน่ๆ แล้ว ก้มหน้าก้มตาทำงานปัจจุบันต่อไปให้ดีที่สุดแทน

ชีวิตจริงก็เป็นแบบนี้นะครับ ไม่มีอะไร "เป๊ะ" เลยสักอย่างเดียว ออกแบบไม่ได้ ไม่มีเส้นทางง่ายๆ ให้เดินเป็นเส้นตรงแบบม้วนเดียวจบตั้งแต่เริ่มแรก

สถานการณ์แบบนี้ทำให้ผมนึกถึงคำแนะนำของ สตีฟ จ๊อบส์ มากที่สุด เค้าบอกว่า ถ้าเรามีโอกาสได้ทำอะไรก็ให้ทำๆ ไปเยอะๆ เลย สุดท้ายแล้วทุกอย่างที่เราเคยทำจะกลับมามีประโยชน์ต่อเราได้เองอย่างที่เราไม่เคยคาดคิดไว้ก่อนเมื่อเวลาของมันมาถึง

ถ้าเรามัวแต่คิดว่าเรายังตัดสินใจไม่ได้ว่าสุดท้ายแล้วเราจะทำอะไร เราก็เลยยังไม่ยอมทำอะไรเลยสักอย่างเพื่อกลัวจะผิดทาง หรือกลัวจะเปลืองแรง กลายเป็นคนที่เกี่ยงงาน สุดท้ายแล้วเราจะปล่อยช่วงเวลาทำงานในชีวิตของเราให้ผ่านไปเฉยๆ โดยไม่มีอะไรสักอย่างเดียวที่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่ถ้าเราพยายามทำงานได้มากที่สุด ไม่ปล่อยโอกาสที่เข้ามาตรงหน้าพอดีให้ผ่านเลยไปเฉยๆ สุดท้ายแล้ว ความที่เราได้ผ่านอะไรมาเยอะ มันจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เราประสบความสำเร็จได้เอง

อีกอย่างหนึ่งคือ ผมคิดว่าคนเราควรตั้งเป้าหมายอะไรสักอย่างหนึ่งไว้เสมอ ตัวอย่างเช่น อีกสามปีข้างหน้าเราจะไปอยู่ตรงไหนให้ได้ แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วเป้าหมายที่เราตั้งไว้มักจะไม่ใช่สิ่งสุดท้ายที่เราจะได้ทำ แต่ถ้าเราไม่ตั้งเป้าหมายอะไรเลย เราจะเป็นคนหลักลอย ทำงานก็ไม่เต็มที่ การตั้งเป้าหมายเป็นเพียงอุบาย ที่ช่วยให้เรามีแรงผลักดันในการทำงาน สุดท้ายถึงแม้เราไม่ได้บรรลุเป้าหมายนั้น แต่มันมักจะเป็นสิ่งที่นำพาเราไปสู่อย่างอื่นที่ใช่มากกว่าได้

 

 

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.