In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
เศรษฐกิจไทยเป็นไปตาม "สายสัมพันธ์"

ก่อนอื่นใดผมต้องขอตบมือให้รองนายกฯ ไตรรงค์ ที่แสดงความคิดไม่เห็นด้วยกับการจะทำโครงการรัฐสวัสดิการโดยให้ใช้บริการฟรีถาวร

ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ และมีผลเสียมากมายที่เด็กสองคนรุ่นใหม่ ใจกล้า กล้ากำลังคิดจะทำ


แต่ก็ว่าไม่ได้ เพราะเรื่องรัฐสวัสดิการนี้ แท้จริงเกิดขึ้นในไทยตั้งแต่ยุคก่อตั้งพรรคกิจสังคม โดยเทคโนแครตพรรคเสนออาจารย์คึกฤทธิ์กับคุณบุญชู ให้ทำ ดังเรื่อง นั่งรถเมล์ฟรี เป็นต้น


ถึงยุคนี้สถานการณ์ แนวคิดกับเงื่อนไขอาจเปลี่ยนไป จึงมีบางคนที่เห็นด้วย แม้แต่จากตัวเลขาฯ สศช. ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่อง การวางแผนเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งต้องรอบคอบกว่าใครๆ


ว่าถึงเศรษฐกิจ หลายสำนักฯ ราชการบอกว่า จะดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ซึ่งผมกลับเห็นตรงข้าม โดยที่ว่าจะดีขึ้นจะเป็นไปในตัวรวมในนามประเทศไทยเท่านั้น แต่เนื้อแท้แล้ว สิ่งที่ต้องเผชิญจริงๆ ของธุรกิจไทย คือ จะแย่ลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกจะไม่ดีไปทั่ว และสินค้าไทยที่ส่งออกได้มากกว่าเดิมนั้น ส่วนมากมาจากธุรกิจของต่างชาติที่มาลงทุนในไทย ร่วมอารมณ์กันไปกับบริษัทขนาดใหญ่ของไทยในแวดวงธุรกิจการเมือง ที่จะได้อานิสงส์เข้าดำเนินการเมกะโปรเจคใหญ่ ที่เร่งผลักดันผ่านโครงการไป และแจกจ่ายกันไปทำ


แต่ธุรกิจคนไทยกลับกำลังร้องให้รัฐดูแล ว่า ธนาคารพาณิชย์ไม่ยอมปล่อยสินเชื่อ ซึ่งสะท้อนว่าสภาวะน่าต้องระวังยิ่ง และแบงก์รัฐที่ถูกสั่งให้ปล่อยตอนนี้ก็กรอบแห้งไปตามกัน ขืนบังคับให้ทำผิดธรรมชาติ ดีไม่ดีบรรดาบริษัทประเมินอาจให้คะแนนลบก็ได้ ซึ่งจะส่งผลเลวร้ายเข้าไปใหญ่


วันก่อนนี้ หลังจากบทความผมที่บอกว่า ผมคาดการณ์ด้วยประสาทสัมผัสที่ 6 ว่า ใครจะได้เป็นผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ แล้วจดชื่อใส่ลิ้นชักไว้ คอยเช็คผลดู


มีเพื่อนฝูงคนรู้จักถามว่า เป็นใคร (ซึ่งผมรักษามารยาทไม่บอกไป) แต่ที่บอกได้ คือ เกณฑ์ที่ใช้คิดและประกอบการคาดเดาว่า คืออะไร และเอาประกอบการคิดอย่างไร ซึ่งผมขอนำมาบอกให้ทราบในวันนี้


เรื่องของการคาดเดาความเป็นไปต่างๆ นั้น เกณฑ์สำคัญที่สุด คือ เรื่องของ "สายสัมพันธ์" หรือ Connections ซึ่งเป็นเครือข่ายทางสังคม หรือ Social Network ที่มีอิทธิพลสำคัญยิ่งในการออกแรงผลักดัน และขอให้พรรคพวกทำอะไรต่างๆ ไปในทิศทางเดียวกัน


แต่ Network นี้ ไม่ใช่เครือข่ายที่แข็งทื่อแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เราคุ้นกัน แต่เป็นสายสัมพันธ์ในฐานะญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อนร่วมรุ่น เช่น วปอ. ปรอ. กับคนที่มาจากพื้นเพถิ่นฐานบ้านเกิดเดียวกัน หรือที่ทำงานที่เดียวกันมาก่อน


ไม่เพียงเท่านั้น บางกรณียังโยงไปถึงสายใยความสัมพันธ์ย้อนกลับไปถิ่นฐานของบรรพบุรุษที่เมืองจีนด้วยก็มี


นอกจากการใช้เกณฑ์สายสัมพันธ์แล้ว อีก 3 ปัจจัย ที่ใช้ประกอบการคิด ก็คือ การใช้ "กฎของความสัมพันธ์" หรือ (Law of Associations) พิจารณาแง่มุมต่างๆ ของการเกี่ยวพันกันและกันของคนในกลุ่มนั้นๆ


นอกจากนี้ ที่สำคัญมาก ก็คือ "ความจำ" (memory) เพื่อใช้ดึงเอาข้อมูลและพฤติกรรมเก่าของแต่ละสิ่งและแต่ละคนที่เกี่ยวข้อง เอามาประกอบใช้คาดการณ์ สิ่งที่จะเป็นไป นั่นคือ การนำมาใช้ในการคิด (Thinking) คาดการณ์ เรื่องนั้นๆ ไปยังอนาคตข้างหน้า


โดยทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ทำให้แนวโน้มการคาดการณ์จะผิดหรือถูกมากน้อยเพียงใด แค่ไหนนั้น จะอยู่ที่ "ประสบการณ์" หรือความเขี้ยวและรอบรู้มากทั้งประสบการณ์และทฤษฎีความรู้ รวมไปถึง การมีประสบการณ์ผ่านเครือข่ายต่างๆ มากพอที่จะช่วยให้สามารถผูกโยงปัจจัยต่างๆ เข้าด้วยกัน แล้วมองไปที่ศูนย์กลางอำนาจของคนที่มีอิทธิพลเหนือต่อเครือข่ายในเรื่องนั้นๆ ว่า กำลังอยู่ในสภาวะใด กำลังต้องการอะไร กิเลสความคิด อยากมีอยากได้ มีมากแค่ไหน ประเภทใดที่ต้องการก่อนหลัง


แล้วจึงทายออกมา ซึ่งต้องขอบอกว่า ผมเคยทายหลายเรื่องที่ยากๆ ถูกต้องมาแล้ว เช่น การทำรัฐประหารที่ผ่านมา หรือใครจะมาเป็นนายกฯ ซึ่งหลายคนไม่เชื่อ แต่เมื่อถึงเวลาก็ยอมรับว่า ถูกต้อง


แม้เหตุการณ์การขัดแย้ง ปรองดอง ต่อสู้กันทางการเมืองในวันนี้ ขณะนี้ ที่กำลังเกิดขึ้นก็มีเรื่องให้ต้องคิดตามได้มากมายทุกวัน


ตัวอย่างของผู้ว่าการ ธปท. แท้จริงแล้ว ผมรู้จักผู้สมัครมากน้อยต่างกัน และไม่ทั้งหมด แต่กลับรู้จักประวัติภูมิหลังกับแนวคิดของกรรมการสรรหาส่วนใหญ่ จึงเอามาผสมผสานเดาออกมา


ทั้ง 4 ชื่อของผู้สมัคร ผมพอรู้ประวัติบ้างผิวเผิน ไม่ลึกนัก น้อยยิ่งกว่าประวัติของผู้ว่าการ ธปท.คนปัจจุบัน ที่กำลังเกษียณอายุเสียอีก


สำหรับคุณบัณฑิต นิจถาวร กับคุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผมรู้จักน้อยมาก นอกจากประวัติการทำงานจากรุ่นพี่เขาที่เป็นผู้ใหญ่แบงก์ชาติมาก่อนที่เล่าให้ผมฟัง ยิ่งคุณพิสิฐ ลี้อาธรรม ผมยิ่งไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว แต่กลับรู้จักหน่วยงานและเส้นทางที่เขาผ่านไปหลังออกจากแบงก์ชาติ กับที่นั่งอยู่ในปัจจุบัน


ที่น่าแปลกกว่า คือ ผมพอรู้จักแต่นานมาแล้วและไม่ลงลึกนัก คือ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล จาก ธ.กสิกรไทย โดยผมเห็นเขาเป็นอดีตนายก สจม. ตรงกับสมัยที่ผมเป็นที่ปรึกษาฯ การนักศึกษาของอธิการบดีที่ธรรมศาสตร์ กับอีกครั้ง ผมไปเจอคุณประสาร เป็นหัวหน้านักเรียนที่ AIT สมัยที่อดีตอธิการบดี ดร.ป๋วย นำบรรดาคณบดีไปดูที่ของธรรมศาสตร์ ที่รังสิต โดยถือโอกาสเยี่ยม และดูงานกับพบปะผู้บริหารของ AIT กับตัวแทนนักศึกษา แล้วจากนั้น ก็ทราบถึงการได้ทุนไปเรียนของนายประสาร และเส้นทางการงานของเขา ไม่มากไปกว่าที่คนทั่วไปทราบ


แต่ที่ผมมีมากเป็นทุนเดิม คือ ผมมีความเข้าใจถึงวัฒนธรรมองค์กรของแบงก์ชาติ กับเคยอยู่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ สายใยมาก มา 2 แห่ง กับรู้จักผู้คนวัยใกล้เคียงกับผมจำนวนมาก ที่กำลังเติบโตในแวดวงการเงินต่างๆ และราชการกับเอกชนในสมัยนั้น ทั้งนี้ ในบทบาทของผู้อำนวยการโครงการ MS และ MBA ได้ช่วยท่าน ศ.ดร.สุธี สิงห์เสน่ห์ กับท่าน ศจ.สังเวียน อินทรวิชัย ในการที่แสวงหาคนเก่งเรียนดีมาเป็นอาจารย์สอน ซึ่งแหล่งใหญ่ คือ คนจากแบงก์ชาติที่เป็นนักเรียนทุนจบกลับมา กระทรวงการคลังกับคนที่ "ทิสโก้" ซึ่ง Banker Trust ได้บรรจงคัดเลือกคนมาจากนอกโดยตรง กับอีกลุ่มที่เป็นพันธมิตรแบบ "เพื่อนคู่รัก พรรคคู่แค้น" กันมาก่อน คือ อาจารย์จากนิด้า ที่ได้รับทุนมูลนิธิฟอร์ดกลับมา แล้วกระจายตัวไปสู่เอกชนในระยะหลังต่อมา


โดยที่ส่วนมากจะไม่รู้ว่านอกจากผมจะรู้จักกับอาจารย์นิด้าส่วนใหญ่แล้ว ผมยังเคยเป็นอดีตนักศึกษารุ่นแรกของนิด้า แต่สอบได้ทุน ก.พ. จึงไม่ได้เรียนต่อ และก่อนหน้านั้น ผมคือ พนักงานเก่าของเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ และเป็นอดีตข้าราชการกรมประกันภัยและกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ก่อนรับทุนเรียนไปเป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์


ด้วยสายสัมพันธ์นี้เอง เวลาทายใครจะได้ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ผมจึงอ่านจากการอาศัยดูจากข้อมูลเกี่ยวกับตัวกรรมการสรรหา กับความคิดและความสัมพันธ์ของเขา กับเป้าหมายผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่มมาประกอบ


ด้วยสายสัมพันธ์นี้ ไม่น่าเชื่อว่าคนที่อ่อนซ้อม ไม่รู้จักใช้ จะไม่รู้เลยว่า ขณะที่การเมืองแบ่งสีเป็น 2 ค่าย แต่เบื้องหลังกลับปรากฏว่า ได้มีพันธมิตรธุรกิจจากคน 2 ค่ายที่จับมือกันเป็น "มิตรไมตรีคู่ใหญ่" ทำธุรกิจร่วมกันจนร่ำรวยกันยกใหญ่ โดยที่หัวหน้าค่ายคู่แข่งกลับไม่รู้


ถ้าไม่เชื่อลองย้อนกลับไปดูว่า สิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้มีข่ายศูนย์การค้าใหญ่ในลักษณะ Community Mall เกิดขึ้นทั่วกรุง โดยเป็นพันธมิตรกับสถาบันการเงินใหญ่ โดยที่ไม่ทราบกันเลยว่า เบื้องหลัง "มือวางอันดับหนึ่ง" ของกลุ่มธุรกิจนี้ คือ อดีตผู้บริหารจากคนของค่ายเสื้อแดง คนที่เป็น "หมุดเชื่อมตรงกลาง" คือ อดีตอาจารย์ธรรมศาสตร์

ธงชัย สันติวงษ์
คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "บริหารรัฐ จัดการธุรกิจ"
//www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/thongchai/20100706/341321/เศรษฐกิจไทยเป็นไปตาม-สายสัมพันธ์.html


Create Date : 06 กรกฎาคม 2553
Last Update : 6 กรกฎาคม 2553 23:38:10 น. 0 comments
Counter : 482 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.