In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
เทรนด์ของการเลี้ยงลูก

พ่อแม่สมัยใหม่นิยมมีลูกน้อยๆ เช่น 1-2 คน เท่านั้น แทนที่จะเป็น 6-10 คนต่อครอบครัวเหมือนสมัยก่อน

 

เหตุผลใหญ่ๆ น่าจะเป็นเพราะ ครอบครัวสมัยนี้มักหารายได้นอกบ้านกันทั้งสามีและภรรยา ค่าเสียโอกาสของผู้หญิงในการตั้งครรภ์และเลี้ยงดูลูกอ่อนจึงสูงขึ้น (เพราะทำให้ขาดรายได้ของครัวเรือนในช่วงที่ตั้งครรภ์และเด็กยังเล็กอยู่) และอีกปัจจัยหนึ่งที่มาประกอบก็คือ อัตราการตายของเด็กที่ลดลงมากเนื่องจากการแพทย์สมัยใหม่ที่ดีขึ้น ทำให้พ่อแม่มีความจำเป็นน้อยลงที่จะต้องมีลูกหลายๆ คนไว้ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีลูกสืบสกุลอย่างแน่นอนเหมือนอย่างเช่นคนสมัยก่อน

สิ่งที่ตามมาทันทีก็คือ พ่อแม่สมัยใหม่จะมีทรัพยากรสำหรับทุ่มเทให้กับลูกแต่ละคนได้มากขึ้นด้วย พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ พ่อแม่สมัยนี้สามารถเลี้ยงลูกแต่ละคนได้แบบ "จัดเต็ม" มากยิ่งขึ้น เพราะคนหารายได้มีสองคนแต่ช่วยกันเลี้ยงลูกแค่คนเดียวหรืออย่างมากก็สองคนเท่านั้น ตรงข้ามกับพ่อแม่สมัยก่อนที่พ่อคนเดียวจะต้องรับหน้าที่หารายได้เลี้ยงลูกเป็นสิบชีวิต ทำให้ต้องเกลี่ยรายได้ที่หามาได้ออกเป็นส่วนๆ มากเกินไปจนทำให้ลูกแต่ละคนไม่ได้ถูกเลี้ยงดูแบบเต็มที่

ปรากฏการณ์นี้ส่งผลดีในต่อประเทศในระดับมหภาคด้วย เพราะเมื่อทุกบ้านเลี้ยงลูกได้ดีขึ้นกันหมด คุณภาพของประชากรโดยรวมที่ถูกผลิตขึ้นมา ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย เขาถึงบอกว่ามีลูกมากจะยากจน มีสถิติที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประเทศที่คนมีรายได้ต่อหัวสูงๆ มักจะมีลูกกันน้อยๆ

จะสังเกตเห็นว่า พ่อแม่สมัยนี้กล้าจ่ายเงินเพื่อลูกมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวของชนชั้นกลาง เพราะนอกจากพ่อแม่จะมีงบประมาณมากขึ้นแล้ว พ่อแม่ก็ยังต้องการจะแน่ใจด้วยว่า ลูกจะถูกเลี้ยงมาอย่างดีที่สุด เพราะมีลูกแค่ไม่กี่คน จะพลาดไม่ได้เลย พ่อแม่หลายคู่ถึงขั้นประหยัดอย่างมากในเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนตัว เพื่อจะได้มีเงินมาจ่ายในเรื่องของลูกแบบไม่เสียดายเงิน

บางคนคิดว่าในอนาคตธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กไม่น่าจะดีเพราะอัตราการเกิดลดลง แต่ที่จริงแล้วอาจเป็นตรงกันข้ามเลยก็ได้ เพราะพ่อแม่มีลูกน้อยคนลงก็จริง แต่ยินดีจ่ายเพื่อลูกต่อคนกันมากขึ้น รวมๆ แล้วรายจ่ายอาจจะเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กอาจเป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าดึงดูดมากในอนาคต เพราะเป็นหนึ่งในธุรกิจเพียงไม่กี่อย่างที่คนสมัยใหม่ยินดีจ่ายเงินซื้อแบบไม่เกี่ยงราคา แต่เน้นคุณภาพมากกว่า ตัวอย่างของธุรกิจเกี่ยวกับเด็กที่น่าสนใจก็เช่น โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนทักษะพิเศษอย่างอื่น ซัมเมอร์คอร์ส หนังสือและสื่อสำหรับเด็ก ของเล่นเด็ก อาหารเสริมสำหรับเด็ก สถานที่รับดูแลเด็ก เป็นต้น

แนวโน้มอีกอย่างหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับเทรนด์ของการเลี้ยงลูกของพ่อแม่สมัยนี้ก็คือ การลงทุนให้กับลูกอย่างเต็มที่ในเรื่องของการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการส่งลูกให้เรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง การพาลูกไปเรียนพิเศษและกวดวิชาอย่างหนัก รวมทั้งการให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนสองภาษาหรือโรงเรียนนานาชาติ พ่อแม่ชนชั้นกลางสมัยนี้ต่างแข่งขันกันอย่างหนักเพื่อให้ลูกของตัวเองได้เปรียบหรือเหนือกว่าคนอื่นในเรื่องของโอกาสในการทำงานในอนาคต โดยทุกคนมองว่า การลงทุนเรื่องการศึกษาคือสิ่งที่ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้มากที่สุด

การที่ทุกคนจบสูงขึ้นเพราะค่านิยมนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องดี เพียงแต่ผมก็ยังไม่ค่อยแน่ใจนักว่า แค่การให้ลูกได้เรียนจบให้สูงที่สุดเท่าที่จะสูงได้ จะช่วยตอบโจทย์ได้ทั้งหมดจริงรึเปล่า ลองสังเกตดูบางประเทศในเวลานี้ เช่น อินเดีย หรือฟิลิปปินส์ ประเทศเหล่านี้ล้วนมีมหาวิทยาลัยดีๆ มากมายและผลิตบัณฑิตออกมาเป็นจำนวนมากมายมหาศาล แต่รายได้ของคนในประเทศเหล่านี้ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะโอกาสในการทำงานไม่ได้เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับจำนวนบัณฑิตที่ผลิตออกมาด้วย สุดท้ายแล้วการที่ทุกคนเสียเงินแข่งขันกันเรียนมากขึ้น แต่เงินเดือนกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามเพราะว่างานที่มีอยู่ในตลาดก็ยังคงเป็นงานแบบเดิมๆ อยู่ สุดท้ายแล้ว คนที่เรียนมาสูงๆ ในประเทศนี้ก็ต้องดิ้นรนออกไปหางานทำนอกประเทศ เพราะมีอัตราเงินเดือนและลักษณะของงานที่ตรงกับที่เรียนมามากกว่า

ในขณะที่ ถ้าเราลองมองประเทศที่พัฒนาแล้วดูบ้าง ที่จริงแล้วคนในประเทศเหล่านี้กลับไม่ได้แข่งขันกับเรียนจบสูงๆ มากมายเท่ากับประเทศที่กำลังพัฒนา แต่พวกเขากลับมีระดับรายได้ที่สูงกว่ามาก เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นเจ้าตลาดของอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงๆ ซึ่งสามารถจ้างคนที่มีคุณภาพได้ด้วยเงินเดือนที่สูงๆ ได้ เพราะมีตำแหน่งงานที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงๆ ได้รองรับประชากร

เช่นนี้แล้ว การเน้นพัฒนาแต่ซัพพลายคือ ให้คนเรียนจบสูงๆ มากขึ้นอย่างเดียว อาจไม่ใช่คำตอบที่ช่วยยกระดับรายได้ของคนในประเทศเลยก็ได้ เพราะดีมานด์ในตลาดไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องตาม สุดท้ายแล้วอาจจะกลายเป็นการแข่งขันกันเรียนสูงๆ เพื่อออกมาแย่งงานที่มีตำแหน่งงานเท่าเดิม ในขณะที่งานระดับล่างกลับขาดแคลน เพราะทุกคน overqualified กันหมด

ประเทศเราเองต้องหันมาทำสิ่งที่มีมูลค่าเพิ่มสูงๆ ให้สอดคล้องกันด้วย การพัฒนาการศึกษาของประชากรถึงจะมีประโยชน์ครับ

เหตุผลใหญ่ๆ น่าจะเป็นเพราะ ครอบครัวสมัยนี้มักหารายได้นอกบ้านกันทั้งสามีและภรรยา ค่าเสียโอกาสของผู้หญิงในการตั้งครรภ์และเลี้ยงดูลูกอ่อนจึงสูงขึ้น (เพราะทำให้ขาดรายได้ของครัวเรือนในช่วงที่ตั้งครรภ์และเด็กยังเล็กอยู่) และอีกปัจจัยหนึ่งที่มาประกอบก็คือ อัตราการตายของเด็กที่ลดลงมากเนื่องจากการแพทย์สมัยใหม่ที่ดีขึ้น ทำให้พ่อแม่มีความจำเป็นน้อยลงที่จะต้องมีลูกหลายๆ คนไว้ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีลูกสืบสกุลอย่างแน่นอนเหมือนอย่างเช่นคนสมัยก่อน

สิ่งที่ตามมาทันทีก็คือ พ่อแม่สมัยใหม่จะมีทรัพยากรสำหรับทุ่มเทให้กับลูกแต่ละคนได้มากขึ้นด้วย พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ พ่อแม่สมัยนี้สามารถเลี้ยงลูกแต่ละคนได้แบบ "จัดเต็ม" มากยิ่งขึ้น เพราะคนหารายได้มีสองคนแต่ช่วยกันเลี้ยงลูกแค่คนเดียวหรืออย่างมากก็สองคนเท่านั้น ตรงข้ามกับพ่อแม่สมัยก่อนที่พ่อคนเดียวจะต้องรับหน้าที่หารายได้เลี้ยงลูกเป็นสิบชีวิต ทำให้ต้องเกลี่ยรายได้ที่หามาได้ออกเป็นส่วนๆ มากเกินไปจนทำให้ลูกแต่ละคนไม่ได้ถูกเลี้ยงดูแบบเต็มที่

ปรากฏการณ์นี้ส่งผลดีในต่อประเทศในระดับมหภาคด้วย เพราะเมื่อทุกบ้านเลี้ยงลูกได้ดีขึ้นกันหมด คุณภาพของประชากรโดยรวมที่ถูกผลิตขึ้นมา ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย เขาถึงบอกว่ามีลูกมากจะยากจน มีสถิติที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประเทศที่คนมีรายได้ต่อหัวสูงๆ มักจะมีลูกกันน้อยๆ

จะสังเกตเห็นว่า พ่อแม่สมัยนี้กล้าจ่ายเงินเพื่อลูกมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวของชนชั้นกลาง เพราะนอกจากพ่อแม่จะมีงบประมาณมากขึ้นแล้ว พ่อแม่ก็ยังต้องการจะแน่ใจด้วยว่า ลูกจะถูกเลี้ยงมาอย่างดีที่สุด เพราะมีลูกแค่ไม่กี่คน จะพลาดไม่ได้เลย พ่อแม่หลายคู่ถึงขั้นประหยัดอย่างมากในเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนตัว เพื่อจะได้มีเงินมาจ่ายในเรื่องของลูกแบบไม่เสียดายเงิน

บางคนคิดว่าในอนาคตธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กไม่น่าจะดีเพราะอัตราการเกิดลดลง แต่ที่จริงแล้วอาจเป็นตรงกันข้ามเลยก็ได้ เพราะพ่อแม่มีลูกน้อยคนลงก็จริง แต่ยินดีจ่ายเพื่อลูกต่อคนกันมากขึ้น รวมๆ แล้วรายจ่ายอาจจะเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กอาจเป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าดึงดูดมากในอนาคต เพราะเป็นหนึ่งในธุรกิจเพียงไม่กี่อย่างที่คนสมัยใหม่ยินดีจ่ายเงินซื้อแบบไม่เกี่ยงราคา แต่เน้นคุณภาพมากกว่า ตัวอย่างของธุรกิจเกี่ยวกับเด็กที่น่าสนใจก็เช่น โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนทักษะพิเศษอย่างอื่น ซัมเมอร์คอร์ส หนังสือและสื่อสำหรับเด็ก ของเล่นเด็ก อาหารเสริมสำหรับเด็ก สถานที่รับดูแลเด็ก เป็นต้น

แนวโน้มอีกอย่างหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับเทรนด์ของการเลี้ยงลูกของพ่อแม่สมัยนี้ก็คือ การลงทุนให้กับลูกอย่างเต็มที่ในเรื่องของการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการส่งลูกให้เรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง การพาลูกไปเรียนพิเศษและกวดวิชาอย่างหนัก รวมทั้งการให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนสองภาษาหรือโรงเรียนนานาชาติ พ่อแม่ชนชั้นกลางสมัยนี้ต่างแข่งขันกันอย่างหนักเพื่อให้ลูกของตัวเองได้เปรียบหรือเหนือกว่าคนอื่นในเรื่องของโอกาสในการทำงานในอนาคต โดยทุกคนมองว่า การลงทุนเรื่องการศึกษาคือสิ่งที่ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้มากที่สุด

การที่ทุกคนจบสูงขึ้นเพราะค่านิยมนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องดี เพียงแต่ผมก็ยังไม่ค่อยแน่ใจนักว่า แค่การให้ลูกได้เรียนจบให้สูงที่สุดเท่าที่จะสูงได้ จะช่วยตอบโจทย์ได้ทั้งหมดจริงรึเปล่า ลองสังเกตดูบางประเทศในเวลานี้ เช่น อินเดีย หรือฟิลิปปินส์ ประเทศเหล่านี้ล้วนมีมหาวิทยาลัยดีๆ มากมายและผลิตบัณฑิตออกมาเป็นจำนวนมากมายมหาศาล แต่รายได้ของคนในประเทศเหล่านี้ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะโอกาสในการทำงานไม่ได้เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับจำนวนบัณฑิตที่ผลิตออกมาด้วย สุดท้ายแล้วการที่ทุกคนเสียเงินแข่งขันกันเรียนมากขึ้น แต่เงินเดือนกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามเพราะว่างานที่มีอยู่ในตลาดก็ยังคงเป็นงานแบบเดิมๆ อยู่ สุดท้ายแล้ว คนที่เรียนมาสูงๆ ในประเทศนี้ก็ต้องดิ้นรนออกไปหางานทำนอกประเทศ เพราะมีอัตราเงินเดือนและลักษณะของงานที่ตรงกับที่เรียนมามากกว่า

ในขณะที่ ถ้าเราลองมองประเทศที่พัฒนาแล้วดูบ้าง ที่จริงแล้วคนในประเทศเหล่านี้กลับไม่ได้แข่งขันกับเรียนจบสูงๆ มากมายเท่ากับประเทศที่กำลังพัฒนา แต่พวกเขากลับมีระดับรายได้ที่สูงกว่ามาก เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นเจ้าตลาดของอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงๆ ซึ่งสามารถจ้างคนที่มีคุณภาพได้ด้วยเงินเดือนที่สูงๆ ได้ เพราะมีตำแหน่งงานที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงๆ ได้รองรับประชากร

เช่นนี้แล้ว การเน้นพัฒนาแต่ซัพพลายคือ ให้คนเรียนจบสูงๆ มากขึ้นอย่างเดียว อาจไม่ใช่คำตอบที่ช่วยยกระดับรายได้ของคนในประเทศเลยก็ได้ เพราะดีมานด์ในตลาดไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องตาม สุดท้ายแล้วอาจจะกลายเป็นการแข่งขันกันเรียนสูงๆ เพื่อออกมาแย่งงานที่มีตำแหน่งงานเท่าเดิม ในขณะที่งานระดับล่างกลับขาดแคลน เพราะทุกคน overqualified กันหมด

ประเทศเราเองต้องหันมาทำสิ่งที่มีมูลค่าเพิ่มสูงๆ ให้สอดคล้องกันด้วย การพัฒนาการศึกษาของประชากรถึงจะมีประโยชน์ครับ

 

 

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์




Create Date : 29 มีนาคม 2556
Last Update : 29 มีนาคม 2556 14:13:57 น. 0 comments
Counter : 721 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.