Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
16 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
เทคนิคการดูนกในธรรมชาติ



เทคนิคการดูนกในธรรมชาติ

★ ๑. ออกไปดูนกในเวลาเช้าตรู่ ก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้น
เพราะนกส่วนใหญ่ชอบออกหากินในเวลาเช้าตรู่ และจะหากินไปเรื่อย ๆ
จนกระทั่งเวลาประมาณ ๑๐.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป นกจะออกหากินน้อยลงและเริ่มพักผ่อน

พอเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป
นกจึงเริ่มออกหากินใหม่และจะหากินไปเรื่อย ๆ
จนกระทั่งถึงเวลาพลบค่ำซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นกกลางคืนเริ่มออกหากิน

★ ๒. พยายามหยุดทุก ๆ ๕ นาที เพื่อสำรวจดูนกรอบ ๆ ตัว รวมทั้งพยายามฟังเสียงร้อยของนกด้วย
เพื่อจะได้ทราบว่าในบริเวณรอบ ๆ ตัวเราในระยะที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า มีนกกี่ตัว กี่ชนิด ชนิดอะไรบ้าง

★ ๓. พยายามมองหานกตั้งแต่บนพื้นดิน ในกอหญ้า พุ่มไม้ ไม้ยืนต้น
ตั้งแต่ระดับโคนต้นไม้ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับยอดไม้ และในเรือนยอดทุก ๆ ระดับ รวมทั้งในท้องฟ้าด้วย

★ ๔. พยายามส่งเสียงให้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด ไอ จาม กระแอม
หรือเสียงที่เกิดจากการเหยียบใบไม้แห้ง เพราะนกจะหนีไปเสียก่อนที่จะได้เห็นตัว

๕.เมื่อเห็นนกด้วยตาเปล่า ไม่ว่านกนั้นจะอยู่ไกลเพียงใด ควรรีบส่องกล้องสองตาดูทันที
เพราะถ้าหากรอให้เข้าใกล้มากกว่านี้ นกอาจจะหนีไปเสียก่อน
ถ้าหากนกยังไม่หนีไปไหน ก็ควรเดินเข้าไปใกล้ ๆ นกให้มากขึ้น เราจะได้เห็นนกได้ชัดเจนขึ้น

★ ๖. เมื่อเห็นนกไม่ควรแย่งกันดู แต่ควรส่องกล้องสองตาดูนกในตำแหน่งที่แต่ละคนยืน หรือนั่งอยู่
แต่ถ้าไม่เห็นจริง ๆ จึงค่อยเปลี่ยนตำแหน่ง แต่จะต้องเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ

การยื่นแขนหรือมือออกไปชี้นกให้คนในกลุ่มดู
ควรยกขึ้นช้า ๆ ให้แขนแนบชิดกับลำตัว และชี้ให้คนอื่นดู หรือพูดให้เบาที่สุด

★ ๗. เมื่อเห็นนกควรจดจำรายละเอียดของนกตัวนั้นให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้
ว่ามีสีสันและลวดลายเช่นใด หากจำรายละเอียดได้มากจะช่วยในการจำแนกชนิดของนกได้ง่าย
นอกจากนี้ควรจะต้องจดจำพฤติกรรมต่าง ๆ ของนกด้วย

★ ๘. การหานกในธรรมชาติเป็นเรื่องที่จะต้องใช้การฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชำนาญ
ควรเริ่มจากการหานกที่อยู่รอบ ๆ บ้าน แล้วจึงไปดูในสวนสาธารณะ ตามชานเมือง ทุ่งนา
แล้วค่อยเข้าไปดูนกตามป่าเขาลำเนาไพร และตามชายทะเล



การเตรียมตัวไปดูนก

ข้อควรปฏิบัติสำหรับนักดูนก
เมื่อกิจกรรมดูนกแพร่หลายออกไป ก็จำเป็นต้องมีข้อปฏิบัติที่เป็นหลักเกณฑ์ไปในทางเดียวกัน
เพื่อให้นักดูนกทุกคนได้คำนึงถึงความสุขของนกมากที่สุด และต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นด้วย

▲ ๑. ความสุขของนกต้องมาก่อน การดูนก การถ่ายภาพ การอัดเสียง รวมทั้งการศึกษาทางวิชาการ
ควรคำนึงเสมอว่าต้องไม่เป็นการรบกวน หรือสร้างความลำบากให้แก่นก

▲ ๒. อนุรักษ์แหล่งอาศัยหากินของนกการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูนก
การดูนกต้องไม่เป็นการบุกรุกทำลายแหล่งอาศัยหากินของนก จนพื้นที่นั้นเสียหายหรือเสื่อมโทรมลงไป

▲ ๓. เมื่อพบนกที่หายากทำรัง ต้องคำนึงถึงการอนุรักษ์ก่อนสิ่งอื่นใด
พยายามคุ้มครองนกให้ดีที่สุด ควรบอกแต่ผู้ที่ควรจะทราบเท่านั้น ไม่ควรรีบบอกต่อไปยังนักดูนกคนอื่น ๆ
เพราะอาจทำให้นักดูนกจำนวนมากมุ่งไปดูนกที่หายากจนเป็นการรบกวนนก

▲ ๔. เมื่อพบนกย้ายถิ่นที่หายาก ต้องนึกเสมอว่าหากข่าวแพร่ออกไปต้องมีนักดูนกมาดูกันมาก
ซึ่งอาจมีผลกระทบอื่น ๆ ตามมา เช่นเป็นการรบกวนนก รวมทั้งเจ้าของพื้นที่และผู้ที่อยู่ใกล้เคียง
พื้นที่ที่นกหากินอาจเกิดความเสียหาย หรือเกิดปัญหากับเจ้าของพื้นที่หรือไม่

▲ ๕. ปฏิบัติตามกฎหมายอนุรักษ์เสมอไม่ว่าจะไปดูนกยังสถานที่ใด
เราควรเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายที่อนุรักษ์นกและพื้นที่นั้นเสมอ

▲ ๖. เคารพสิทธิของเจ้าของพื้นที่ ไม่ควรเข้าไปดูนกภายในพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
การไปทุกครั้งควรแจ้งให้เจ้าของพื้นที่ทราบล่วงหน้าเสมอ

▲ ๗. เคารพสิทธิของผู้อื่นที่ใช้สถานที่ร่วมกัน ในขณะที่ผู้อื่นดูนกอยู่ ไม่ควรทำให้นกตกใจจนบินหนีไป
ต้องคำนึงเสมอว่าผู้อื่นที่ใช้สถานที่ร่วมอยู่กับเรา และหากมีผู้อื่นที่ไม่ใช่นักดูนกอยู่ในบริเวณนั้นด้วย
ไม่ควรกระทำสิ่งใดที่เป็นการรบกวนกิจกรรมที่เขากำลังดำเนินอยู่

▲ ๘. รายงานการพบนกให้หน่วยงานที่เก็บข้อมูลและเจ้าของพื้นที่เก็บไว้
การศึกษาและอนุรักษ์นกในปัจจุบัน มีผลมาจากการรายงาน การพบนกของนักดูนกในอดีต
ดังนั้นการที่เรารายงานการพบนกในปัจจุบัน ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ จะเป็นประโยชน์ต่อการดูนก การศึกษา
และการอนุรักษ์นกในอนาคต

▲ ๙. ปฏิบัติตนเช่นเดียวกับในต่างประเทศ ไม่ว่ากฎหมายของแต่ละประเทศจะบัญญัติไว้ต่างกันเช่นไร
แต่การดูนกก็มีหลักเกณฑ์เหมือนกันทุกแห่ง นักดูนกจึงควรยึดหลักเกณฑ์ที่กล่าว มาแล้วในทุกแห่ง
เพื่อการดูนกจะได้เป็นกิจกรรมสากลในระดับนานาชาติ อันจะเป็นผลดีในการร่วมมือ กันอนุรักษ์ต่อไป



องค์กรที่จัดกิจกรรมดูนก

๑. สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (Bird Conservation Society of Thailand)
เลขที่ ๖๗/๑๒ รามอินทรา ๒๔ แขวงจรเข้บัว ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ๑๐๒๓๐
โทรศัพท์ (๐๒) ๙๓๐-๑๒๗๑, ๙๔๓-๕๙๖๕, ๕๑๙-๓๓๘๕

๒. มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย เลขที่ ๒๕๑/๘๘-๙๐ ถนนพหลโยธิน
แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ (๐๒) ๕๒๑-๓๔๓๕, ๕๕๒-๒๑๑๑

๓. บริษัทเทเลคอมเอเซียคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ (๐๒) ๖๙๙-๒๐๕๗
๔. บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ติดต่อส่วนการศึกษาและพัฒนา โทรศัพท์ (๐๒) ๓๐๑-๒๗๔๙-๕๐


ข้อมูลโดย ....การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สนับสนุนข้อมูลโดย...อนุสาร อ.ส.ท.
ที่มา : //www.trekkingthai.com



Create Date : 16 มกราคม 2553
Last Update : 16 มกราคม 2553 13:54:25 น. 0 comments
Counter : 784 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.