Group Blog
 
<<
มกราคม 2561
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
8 มกราคม 2561
 
All Blogs
 

สู่ยุคหนังสือดิจิทัล นักเขียนและนักอ่านดิจิทัลในสังคมไทย



8 มกราคม 2561










ผมมีโอกาสได้ไปรับฟังการอภิปรายในหัวข้อ “สู่ยุคหนังสือดิจิทัล นักเขียนและนักอ่านดิจิทัลในสังคมไทย” ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย จัดที่ห้องเอนกประสงค์ ชั้นที่ 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ผมเห็นว่าเนื้อหาในการอภิปรายนั้นมีประโยชน์และน่าสนใจสำหรับผู้ที่ในแวดวงวรรณกรรม รวมทั้งผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวันอย่างพวกเราทุกคนด้วย ผมจึงขอนำรายละเอียดมาเขียนเล่าให้ท่านฟังกันครับ


(รายละเอียดจากการอภิปราย ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง รวมทั้งคำทับศัพท์ต่างๆ ที่ผมไม่ได้เขียนเป็นคำภาษาอังกฤษกำกับไว้ให้ ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ)










ผู้ร่วมอภิปราย คือ อาจารย์อรรถพล ปะมะโข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคุณเปรมวิทย์ ศรีชาติวงศ์ คุณปิ๊ปโป้ เจ้าของและผู้ก่อตั้ง Storylog มีผู้ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ตรีศิลป์ บุญขจร นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ผู้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานวันนี้


@@@@@@@@@@


เริ่มจากอาจารย์ตรีศิลป์ บุญขจร

-เกริ่นถึงสถานการณ์เกี่ยวกับวงการสิ่งพิมพ์ที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน การเข้ามาของสื่อดิจิทัลทำให้สื่อที่เป็นกระดาษทยอยปิดตัวกันไป ทั้งวารสาร นิตยสารและสำนักพิมพ์หนังสือ ฯลฯ

-ต้องยอมรับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกกาภิวัฒน์ ที่สื่อเทคโนโลยีต่างๆ จะมีอิทธิพลต่อการใช้ชิวิตของผู้คน การใช้อินเตอร์เน็ตจะอยู่ควบคู่กับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ทำให้เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนอ่านหนังสือ โดยต้องหันไปอ่านหนังสือในรูปแบบใหม่ ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมบ้านเรา

-การเขียนหนังสือในยุคดิจิทัลนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ภาพในการดำเนินเรื่อง หรือใช้ภาพต่างๆ ในการเล่าเรื่องราว จึงเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมการอ่านด้วยสายตาที่มาพร้อมกับสื่อสังคมโซเซียลมิเดีย










อาจารย์อรรถพล ปะมะโข

-อยากจะเล่าว่า สถานการณ์ที่อ.ตรีศิลป์เกริ่นมานั้น มันไม่ใช่ปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงผ่านสื่อที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จริงๆ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงผ่านสื่อมาตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว แต่เดิมจะเป็นการเล่าเรื่องด้วยปาก ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” คือการเล่าต่อๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมามีการนำเอากระดาษมาใช้เขียนเพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ แทน

-ตามประวัติศาสตร์ก็เคยระบุว่า โซเครตีสแอนตี้วัฒนธรรมการเขียน เพราะมองว่าจะทำให้ระบบความจำของสมองมนุษย์นั้นด้อยลง

-ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงจากสื่อสิ่งพิมพ์หรือที่เรียกว่า พรินต์เทค (print text) เปลี่ยนมาเป็นสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ นั้น ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนตามกระแส ตามยุคสมัย

-เมื่อมีการปิดตัวของสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือนิตยสารต่างๆ ก็มีแอฟลิเคชั่นในการอ่านรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมาแทน เพื่อเป็นสื่อกลางของการเล่าเรื่องจากผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน อย่างเช่นแอฟปัจจุบันที่มีอยู่ในสื่อไทย เช่น จอยลดา , ธัญวลัย , นิยายเด็กดี , Storylog , ReadAWrite เป็นต้น

-หรืออย่าง The MATTER ที่เป็นเว็บไซต์ข่าวด้านวรรณกรรม ที่ย่อยข่าวออกเป็นข่าวสั้นๆ ให้คนเข้ามาอ่านด้วยภาษาที่ง่ายๆ ถือเป็นอีกรูปแบบใหม่ของการอ่านในยุคดิจิทัลนี้

-แต่เท่าที่ลองคลิกเข้าไปอ่านดู พวกที่เป็นนวนิยายออนไลน์ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาล่อแหลม , หมิ่นเหม่ , อิโรติก หรือเป็นนิยายวาย ถือว่าไม่เป็นการปิดกั้นและเปิดเสรีในการอ่านอย่างมาก

-ที่ผ่านมาสื่อสิ่งพิมพ์จำพวกพรินต์เทค เราจำเป็นต้องซื้อมาถึงจะอ่านได้ บางเรื่องบางเล่มก็หาซื้อยากหรือหาซื้อไม่ได้ พอมีนวนิยายออนไลน์เกิดขึ้น เข้าก็สามารถเข้ามาอ่านในอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้มีผู้เข้ามาอ่านนิยายได้เยอะขึ้น

-การเขียนนวนิยายออนไลน์เป็นการตัดระบบบรรณาธิการออก ข้อดีคือนักเขียนสามารถสื่อสารกับผู้อ่านได้โดยตรง สะดวกรวดเร็ว ชอบหรือไม่ชอบอะไรก็เขียนความคิดเห็น (คอมเม้นท์)บอกนักเขียนได้เลย ข้อเสียคือไม่มีการเซ็นเซอร์หรือกลั่นกรองจากบรรณาธิการเลย

-ปัจจุบันนี้ใครก็เป็นนักเขียนได้ อยากเขียนก็เขียนออนไลน์ลงไปในแอฟต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ตได้ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่คนอยากจะเป็นนักเขียนต้องส่งเรื่องไปให้สำนักพิมพ์พิจารณา กว่าจะผ่านหลักเกณฑ์ขั้นตอนต่างๆ กว่าจะได้ตีพิมพ์เป็นเล่มต้องใช้เวลานานมาก

-ดังนั้นจึงเกิดอาชีพนักเขียนออนไลน์ขึ้น เมื่อเขาเขียนเรื่องลงอินเตอร์เน็ตแล้วมีคนอ่าน เขาก็เขียนต่อไปได้เรื่อยๆ มีแฟนคลับมาอ่านเป็นประจำเยอะ ทำให้นักเขียนออนไลน์พวกนี้มีรายได้ด้วย

-นักเขียนออนไลน์บางคนเป็นนักศึกษาอยู่ เขียนไปด้วยเรียนไปด้วย เขียนดีจนถูกใจคนอ่านในออนไลน์ก็สามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำได้






อาจารย์อรรถพล ปะมะโข




-ลักษณะพิเศษของนวนิยายออนไลน์ในยุคดิจิทัลคือ ตัดระบบบรรณาธิการออกไปเลย นักเขียนมีอิสระมากมายในการเขียน นวนิยายแต่ละบทต้องสั้น กระชับ และจบอย่างรวดเร็ว เพื่อเริ่มเขียนเรื่องใหม่ต่อไป

-เขียนให้แต่ละบทสั้น แต่ต้องเขียนให้สนุกทำให้ผู้อ่านอยากอ่านตอนต่อไปเร็วๆ เขียนอะไรสั้นๆ เพราะการอ่านในระบบออนไลน์จะไม่อ่านอะไรที่ยาวๆ เพราะในอินเตอร์เน็ตไม่มีลักษณะพิเศษที่ดึงดูดให้อ่านต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ได้ จึงกลายเป็นการอ่านแบบ “ไฮเปอร์รีดดิ้ง” คืออ่านแบบสมาธิสั้น ไม่อ่านอะไรที่ยาวๆ อ่านเปลี่ยนแบบพลิกหน้าบราวเซอร์ไปเรื่อยๆ

-ลักษณะพิเศษของนวนิยายออนไลน์อย่างหนึ่งที่สื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีคือ การมีระบบคอมเม้นท์เพื่อสื่อสารกับนักเขียนได้โดยตรงในทันทีที่อ่านจบ ชอบหรือไม่ชอบอะไรก็เขียนความคิดเห็น (คอมเม้นท์)บอกนักเขียนได้เลย ซึ่งพรินต์เทคไม่สามารถได้

-การอ่านในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้เขียนได้โดยตรงแบบนี้ เป็นวัฒนธรรมการอ่านบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า “คอร์เลคตีบ เอ็กซ์พรีเรียน” คือแต่เดิมเราอ่านหนังสือเล่มเราก็อ่านคนเดียว อ่านในใจ แต่พอเป็นการอ่านบนอินเตอร์เน็ตจะเป็นการอ่านแบบร่วมกัน แต่ละคนอ่านแล้วมีความคิดเห็นอย่างไรก็มาแชร์กันในคอมเม้นท์ เป็นประสบการณ์ร่วมที่จะสนุกสนานกับเรื่องที่อ่านด้วยกัน



@@@@@@@@@@



อาจารย์ตรีศิลป์

-มองว่าคนรุ่นใหม่มองโลกในแง่ดี มองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ดี ไม่ถือว่าเป็นการล่มสลายหรือเป็นการบ่อนทำลายที่เลวร้ายเลย

-การตัดตอนบรรณาธิการออก สิ่งที่เกิดขึ้นคือไม่มีการตรวจสอบเลยจริงหรือ? ไม่มีการกลั่นกรองเบื้องต้นเลยหรือ? จะเขียนอะไรก็เขียนได้เลยหรือ? จะโพสอะไรก็โพสได้เลยหรือ? ไม่เหลือข้อจำกัดอะไรเลยหรือ? หรือว่าบรรณาธิการจะเปลี่ยนรูปลักษณ์ไปแล้ว

-เสริมจากที่อาจารย์อรรถพลพูด มีประเด็นที่น่าสนใจคือ การอ่านแบบ “ไฮเปอร์รีดดิ้ง” หรืออ่านแบบ “สตรีมมิ่ง” คือการอ่านแบบเร็วๆ สั้นๆ นั้น อ่านแล้วอาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิด เกิดกระแสต่างๆ เนื่องจากตีความหมายผิดไป ไม่สามารถวิเคราะห์เนื้อหาที่แท้จริงได้ เนื่องจากอ่านน้อยจึงไม่มีข้อมูลมากเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ว่าเป็นความจริงหรือไม่? การอ่านในลักษณะแบบนี้ผู้อ่านควรจะต้องระมัดระวังด้วย






คุณเปรมวิทย์ ศรีชาติวงศ์ (คุณปิ๊ปโป้ แห่ง Storylog)




คุณเปรมวิทย์ ศรีชาติวงศ์ คุณปิ๊ปโป้

-ปัจจุบันคุณปิ๊ปโป้ทำเว็บไซต์แอฟพลิเคชั่นอยู่ 2 ตัว ตัวแรกคือ Storylog เป็นการแชร์เรื่องราวประสบการณ์ความคิดต่างๆ ของคน ไปเล่าไปเขียนไปอ่านกันได้ฟรี ส่วนอีกตัวคือ Fictionlog ตัวนี้เป็นนิยายออนไลน์ เป็นการขายให้ผู้อ่าน วิธีซื้อก็เติมเงินเข้าไป แล้วไปซื้ออ่านกันบทละ 3 บาท 5 บาท สำหรับคนที่เข้ามาอ่านนั้นต้องยอมรับว่าเยอะมาก จนน่าตกใจว่ามีคนอ่านเยอะขนาดนี้เลยหรือ?

-ใครที่บอกว่าคนไทยไม่อ่าน คุณปิ๊ปโป้กล้าเถียงเลยว่าไม่จริง คนไทยยังอ่านอยู่เยอะมาก โดยเฉพาะผู้ที่อ่านเยอะในระบบออนไลน์คือพวกวัยรุ่น

-จากการวิเคราะห์ข้อมูลของคนที่เข้ามาอ่านในแอฟ Fictionlog มีผู้อ่าน คนอ่าน (ยูเซอร์) อ่านอยู่ในระบบนานมากกว่า 15 นาที จากสถิตินี้ก็เชื่อว่ายังมีผู้อ่านกันอยู่

-มองว่าแอฟพลิเคชั่นพวกนี้จะมาเปลี่ยนแปลงอะไรในสังคมได้บ้าง? ผมมองว่าเรื่องใหญ่สุดเลยคือ ยุคนี้ทุกคนเป็นนักเขียนได้หมด แอฟมันช่วยตัดคนกลางออกไป ตัดบรรณาธิการออก , ตัดสำนักพิมพ์ออก , ตัดคนออกแบบปกออก ฯลฯ เหมือนกับแอฟต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยใหม่ เช่น อูเบอร์ ก็ตัดแท็กซี่ออก , แอฟจองโรงแรมก็ตัดความวุ่นวายในการจองออกไป

-ยุคนี้ทุกคนเป็นนักเขียนได้หมด ที่เรียกว่า “ยูเซอร์เจเนอร์เรดเต็ดคอนเทนต์” (UGC.) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ มีคำถามว่า บรรณาธิการต้องมีหรือไม่? เพราะเมื่อเป็นออนไลน์ ใครใคร่เขียนก็เขียน ใครใคร่อ่านก็อ่าน ต้องมีการกลั่นกรองเบื้องต้นมีการพิสูจน์อักษรหรือไม่? ดังนั้นจึงทำให้เกิดนักเขียนขึ้นมากมายเต็มไปหมด

-อย่างแอฟ “จอยลดา” เป็นนิยายแซท กลายเป็นว่าไม่ต้องมีบทบรรยาย อ่านกันแค่แซทอย่างเดียว (แซทคือการคุยกันด้วยวิธีการพิมพ์) มีสถิติบ่งบอกว่า ในจอยลดาใน 1 วันมีวัยรุ่นมาลงนิยายกัน 6 หมื่นกว่าบท (โอ้ ... แม่เจ้า เยอะมาก) เป็นการแสดงให้เห็นพลังของ UGC. พลังของการที่ทุกคนเป็นนักเขียนได้หมด

-มองว่าหนังสือคือตัวกลางอันหนึ่ง จะเป็นเล่มหรือเป็นไอแพ็ค มันก็คือภาชนะซึ่งไม่มีวันตายแน่นอน คือคุณจะเปลี่ยนภาชนะอะไรคนก็ยังอ่านอยู่เช่นเดิม คอนเทนต์จะไม่วันตายตลอด

-เริ่มทำ Fictionlog เมื่อปีที่แล้ว ตอนที่เปิดตัวครั้งแรก คุณปิ๊ปโป้ได้เรียนเชิญนักเขียนชื่อดังอาทิเช่น คุณปองวุฒิ , คุณวรรณสิงห์ ฯลฯ ซึ่งเป็นนักเขียนมืออาชีพ เอาเรื่องมาลงแต่ปรากฎว่าขายไม่ได้เลย ซึ่งเขางงมากว่านักเขียนชื่อดังขายไม่ได้ในออนไลน์ จนคุณปิ๊ปโป้มาเข้าใจว่า ผู้อ่านคือคนละกลุ่มอย่างแท้จริง

-คนที่ชอบอ่านสายวรรณกรรม วรรณคดี ก็ยังชอบอ่านในแบบที่คุ้นเคยอยู่คือเป็นหนังสือเล่ม ส่วนในออนไลน์แนววรรณกรรม แนวซีไรต์ ไม่มีใครอ่านกันเลย เพราะมีแต่วัยรุ่นซึ่งชอบอ่านงานอะไรที่ฉาบฉวยและตื่นเต้นอยู่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ออนไลน์ไม่ได้มาทำลายโลกเก่า แต่มันคืออีกโลกหนึ่งเลยที่ใหญ่มาก ที่มันเติบโตด้วยตัวมันเองได้ตลอดเวลา เป็นโลกที่ผู้ใหญ่อย่างเราอาจจะเข้าใจได้ยาก และเชื่อว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ











-สำหรับประเด็นเรื่อง “ไฮเปอร์รีดดิ้ง” จากประสบการณ์ของคุณปิ๊ปโป้ในการทำขายนิยายออนไลน์ที่ผ่านมาทำให้ได้เรียนรู้ว่า

1. นิยายขายดีกับนิยายคุณภาพมันคนละโจทย์กันเลย นิยายที่ขายดีในออนไลน์คุณปิ๊ปโป้เองเข้าไปอ่านแล้วยังงงเลยว่า มันคืออะไรว่ะ? มันเขียนอะไรเนี่ย? ดังนั้นจึงต้องบอกว่ามันคนละโจทย์กัน งานคุณภาพก็เป็นงานที่ได้รับการการันตรีอยู่แล้ว แต่งานที่ขายดีในออน์ไลน์อาจจะเป็นงานที่ไม่มีคุณภาพมากนักแต่อยู่ในความนิยมของคนอ่านก็ได้

2. เรื่องที่ทุกคนเป็นนักเขียนได้ UGC. ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับในไทย คุณเป็นนักเขียนอย่างเดียวไม่พอ คุณต้องเป็นนักขายด้วย คนที่ขายเป็นจะไปเปิดเพจเฟสบุ๊ค ทำการสื่อสารกับแฟนคลับ คนรุ่นใหม่จึงได้เปรียบ เพราะคนรุ่นใหม่เขาไวกว่ามีช่องทางมากกว่า มีทั้งเฟส ทั้งทวีตเตอร์ ทั้งไลน์ พรีเซ็นต์ตัวเองได้ตลอด

3. จากสถิติบอกว่า แบ่งบทสั้นๆ เน้นถี่ ไม่เน้นยาวเหมาะกับออนไลน์มากกว่า ลงเรื่อยๆ ให้คนติดทุกวัน เป็นในแนวนี้ทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเกาหลีหรือที่จีนก็ตาม เฉพาะในประเทศจีน ในแอฟขายนิยายออนไลน์ 1 ปี เขาขายได้ 1,600 ล้านยูเอสดอลล่าร์

4. ดีมานและซัพพลายยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการขายนิยายออนไลน์ ถ้าเขียนในแนวที่กำลังนิยมก็จะขายได้ อย่างเช่นช่วงนี้นิยม นิยายวาย , นิยายแปลจีน ฯลฯ

5. เปิดให้อ่านฟรีก่อน พออ่านไปยิ่งอ่านยิ่งสนุกจนคนอ่านติดแล้วจึงค่อยขาย ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่หนังสือเล่มทำไม่ได้ อย่างในประเทศจีนเขาเปิดให้อ่านฟรีก่อน 60 บท ถึง 100 บท ก่อนที่จะขาย อย่างนิยายจีนใน Fictionlog บางเรื่องมี 1,000 ตอน ผมขายบทละ 3-4 บาท สมมุติว่าใน 1 วันมีคนมาอ่าน 1,000 คน แสดงว่าเขาขายได้วันนี้ 40,000 บาทแล้ว

6. ความสม่ำเสมอเทียบเท่ากับคุณภาพของงานเขียนเลย คือถึงนิยายจะไม่มีคุณภาพ (นิยายห่วยมาก) แต่ถ้ามีคนอ่านต้องลงทุกวันอย่างสม่ำเสมออย่าให้ขาดเลย ต้องให้ต่อเนื่องตลอด เพราะคนอ่านในออนไลน์สมาธิสั้น พอหายไปเดือนหนึ่งคนอ่านก็ไม่ตามต่อแล้ว

7. งานเขียนสายวรรณกรรมยังขยับมาขายในออนไลน์ได้ยากด้วย 2 เหตุผลคือ 1. คนอ่านส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ที่ไม่นิยมอ่านงานวรรณกรรม 2. งานวรรณกรรมต้องใช้เวลาสรรค์สร้าง ต้องใช้เวลาเขียน ต้องใช้ความปราณีต จึงไม่เหมาะกับธรรมชาติของออนไลน์ที่ต้องการความเร็วและความถี่ จึงไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร



@@@@@@@@@@



อาจารย์ตรีศิลป์ เสริมว่า

-จากการที่ได้คุณกับนักเขียนซีไรต์คนล่าสุดทราบว่า เจ้าตัวก็เขียนนวนิยายออนไลน์ในแนวนิยายวายด้วย พร้อมกับเขียนเรื่องสั้นส่งสำนักพิมพ์ด้วย โดยเอาหัวข้ออภิปรายในชั้นเรียนปรัชญามาเขียนเป็นเรื่องสั้นแนวแฟนตาซี เธอทำทั้งสองอย่างคือเขียนออนไลน์ด้วย เขียนงานวรรณกรรมด้วย

-ดังนั้นจึงสรุปเหมือนว่าเราสามารถกินอย่างได้ทั้ง 2 ประเภท โดยเปรียบว่านิยายออนไลน์คืออาหารจานด่วน พวกฟาสฟู๊ดต่างๆ ส่วนงานวรรณกรรมเป็นอาหารระดับเมนครอสในภัตตราคารหรู ซึ่งราคาก็แตกต่างกัน และกลุ่มผู้กินก็แตกต่างกันด้วย

-ดังนั้นในปัจจุบันจะกล่าวว่า คนไทยอ่านหนังสือวันละ 8 บรรทัด 10 บรรทัด ไม่ได้แล้ว มันเป็นการมองโลกในแง่ร้ายเกินไป เพราะจริงๆ แล้วคนไทยยังอ่านอยู่ตลอดเวลา

-อ.ตรีศิลป์ ถามคุณปิ๊ปโป้ว่าก่อนจะทำ Storylog ทำอะไรมาก่อน แล้วคนที่เป็นเพล็ตฟอร์ม (แอฟพลิเคชั่น) ต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง? และเพล็ตฟอร์มคืออะไร?



@@@@@@@@@@



คุณเปรมวิทย์ ศรีชาติวงศ์ คุณปิ๊ปโป้

-คุณปิ๊ปโป้เรียนจบมาจากนิเทศศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์ เคยทำงานด้านครีเอทีฟสายบันเทิงมาก่อน ทั้งงานงานเขียนบทโฆษณาต่างๆ

-เพล็ตฟอร์มก็คือตัวกลางนั้นเอง คืออย่างที่บอกว่ายุคนี้ใครก็เป็นนักเขียนได้ ตัวเพล็ตฟอร์มคือตัวกลางที่จับคู่ระหว่างนักเขียนกับผู้อ่าน คือต้องอำนวยความสะดวกให้มากที่สุด มีความเป็นกลางให้มากที่สุด เพลตฟอร์มต่างจากสำนักพิมพ์ คือเพล็ตฟอร์มไม่ได้จัดพิมพ์ ไม่ได้มีว่าต้องแนวโรแมนติค , แนวแฟนตาซี หรือต้องเฉพาะแนวไหนเท่านั้น แต่เพล็ตฟอร์มคืออะไรก็ได้ จะแนวไหนก็ได้ ใครจะเขียนอะไรก็ได้ เป็นเหมือนเวทีสำหรับนักเขียนในยุคใหม่นี้ที่ใครจะมาปล่อยของได้

-ส่วนความยากของเพล็ตฟอร์มอยู่ที่การกลั่นกรองสิ่งที่ 1. ผิดกฎหมาย 2. ผิดจริยธรรม ในประเด็นของการกรองเรื่องผิดกฎหมายนั้นง่าย แต่ในประเด็นเรื่องจริยธรรมนั้นยาก เพราะจะใช้อะไรเป็นตัววัด? จึงจำเป็นต้องตั้งกฎขึ้นมาว่า อะไรที่รับได้ อะไรที่รับไม่ได้ ถึงแม้เราจะเป็นตลาดเสรีที่ใครจะมาขายอะไรก็ได้ แต่เราก็ไม่อยากให้ตลาดของเรามีเรื่องที่ไม่เหมาะสมอยู่ด้วย

-เมื่อมีนักอ่านและนักเขียนส่งความคิดเห็นมาบอกว่า ไม่อยากให้เพล็ตฟอร์มของเรามีแต่เรื่องที่ไม่ดี เราจึงใช้วิธีลดการแสดงผล คือถ้าเกิดมีนิยายเรื่องไหนที่ไม่ดี โฉ่งฉ่าง ล่อแหลม เราจะลดการแสดงผลลง คือเอาไปไว้ในหน้าที่ลึกๆ หน่อย ไม่เอาโชว์ในหน้าแรก เอาวางขายไว้หลังร้านเลย ถ้าคนอ่านจะเข้าถึงเรื่องนี้ได้ต้องคลิกผ่านหลายชั้นหน่อย

-สิ่งที่เพล็ตฟอร์มได้คืออะไร? เราได้ 50 – 50 จากรายได้ที่ขายเรื่องได้ (บางแห่งให้ไม่เท่ากัน) อย่างที่ Fictionlog ให้ตั้งราคาขายที่บทละ 3 – 5 บาท นักเขียนได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทางเพล็ตฟอร์มเราออกให้หมดเช่น ค่าจ่ายเปย์เม้นท์เกตเวย์ , ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต , ค่าใช้จ่ายในการเบิกเงินถอนเงินเติมเงิน ฯลฯ ถ้านักเขียนขายได้มีเงินเกิน 500 บาทสามารถถอนเงินออกไปได้เลย บางแห่งอาจจะให้นักเขียน 70% เลย แต่เป็น 70% หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว

-ดังนั้นสิ่งที่เพล็ตฟอร์มทำคือ อำนวยความสะดวกต่างๆ เหมือนเราเป็นตลาดสด อำนวยความสะดวกให้ทั้งแม่ค้าและลูกค้า จัดสถานที่ให้ขายกันได้อย่างสะดวก คนซื้อจะซื้อ(นิยายอนไลน์)ยังไง? เติมเงินยังไง? ทางเพล็ตฟอร์มจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้หมด

-ปีที่แล้ว (ประมาณ 6 เดือน) Fictionlog จ่ายเงินให้นักเขียนรวมๆ แล้วหลายล้านบาท นักเขียนบางคนขายเดือนเดียวได้เงินถึง 7 หมื่นก็มี ซึ่งคนที่ขายได้ขนาดนี้เขาต้องลงเรื่องทุกวัน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะขายได้แบบนี้ คนที่เขียนแล้วขายได้ขนาดนี้ต้องขยันมาก และเขียนได้ดีมากด้วย

-ข้อดีของนิยายออนไลน์คือ เขียนครั้งเดียวลงครั้งเดียวแล้วอยู่ได้ตลอดกาล( จนกว่าเพล็ตฟอร์มจะเจ๊ง) ไม่มีต้นทุนอีกแล้ว ไม่เหมือนหนังสือเล่มที่ต้องมีการพิมพ์ซ้ำถึงจะเอามาขายได้

-คนไทยไม่เหมือนกับคนต่างประเทศ คือคนไทยพอมีพื้นที่ให้ลงเรื่องก็เขียนๆ มาลงเรื่อยๆ ขายได้ก็ดีขายไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่นักเขียนต่างประเทศเขาเขียนแล้วจ้างบรรณธิการส่วนตัว จ้างคนพิสูจน์อักษรเอง จ้างคนทำปกเอง จึงทำให้เรื่องที่เขาเขียนมีคุณภาพและขายดี ดังนั้นจึงมองว่าในอนาคตอาชีพบรรณาธิการจะไม่ตายจากไป แต่จะเป็นการปรับตัว ตัวบรรณาธิการอาจจะไม่ได้ยึดติดอยู่กับสำนักพิมพ์ แต่จะเป็นอิสระมากขึ้น ดูแลนักเขียนได้อิสระขึ้นด้วย

-มีบรรณาธิการที่คุณปิ๊ปโป้รู้จักอยู่ 1 คน เขาคอยดูแลนักเขียนอยู่ประมาณ 10 คน คือเขาจะเป็นโค้ชให้นักเขียน คอยปั้นนักเขียนให้ขายงานได้ พอนักเขียนเอาเรื่องมาลงในออนไลน์แล้วขายได้ เขาก็จะได้ส่วนแบ่งจากยอดขายด้วย ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ของบทบาทบรรณาธิการในโลกออนไลน์

-มีผู้ฟังถามคุณปิ๊ปโป้ว่า ใน Fictionlog มีนิยายออนไลน์แนวไหนบ้างที่ขายได้ดี? คุณปิ๊ปโป้ให้ความเห็นว่าแต่ละตลาดมีของขายไม่เหมือนกัน แต่ละเพล็ตฟอร์มก็ขายเรื่องไม่เหมือนกันด้วย บางเพล็ตฟอร์มอาจจะเน้นเรื่องรักล้วนๆ แต่เพล็ตฟอร์มของ Fictionlog ตอนนี้ที่ใหญ่ที่สุดคือ นิยายแปลจีนย้อนยุค พวกกำลังภายใน รักจีนโบราณย้อนยุค รองลงมาก็เป็นแนวรักวัยรุ่น นิยายวาย และแนวแฟนตาซี

-สำหรับนิยายวาย คือนิยายแนวชายรักชายที่นักเขียนหญิงเขียน คุณปิ๊ปโป๊ให้ความเห็นว่า น่าจะมาจากวัฒนธรรมเกาหลี แนวเคป๊อป ที่พยายามเอาดาราชายต่างๆ มาจิ้นกันในจินตนาการ

-พอนิยายจีนฮิตมีคนชอบอ่านกันเยอะ ตอนนี้เลยมีคนไทยที่เขียนนิยายจีน เขียนแนวกำลังภายในกันเยอะมาก อย่างคนที่บอกว่าได้เงินเดือนละ 7 หมื่น เป็นคนไทยที่เขียนนิยายจีนกำลังภายใน มันเป็นเรื่องของดีมานซัพพลาย พอมีคนอยากอ่านนิยายกำลังภายในก็มีคนเขียนให้อ่าน

-ส่วนนิยายจีนที่แปลมาขายที่ไทยเป็นเรื่องของนักเขียนจีนรุ่นใหม่ ที่เข้าใจธรรมชาติของออนไลน์ คือเขียนแต่ละบทสั้นๆ และลงถี่ๆ ทาง Fictionlog ซื้อลิขสิทธิ์เอามาให้นักเขียนไทยแปลเพื่อขายลงออนไลน์ อย่างช่วงที่ผ่านมาในออนไลน์อาจจะเป็นช่วงที่เรื่องแนวแจ่มใสเฟื่องฟูแล้วก็ดร็อปลงมา หลังจากนั้นก็แนวแฟนตาซีเฟื่องฟู ประมาณแนว ดร.ป๊อป แล้วก็ดร็อปลงมาเช่นกัน ในตอนนี้นิยายจีนกำลังภายในกำลังกลับมาเฟื่องฟูแทน

















อาจารย์ตรีศิลป์เสริมในประเด็นที่แปลเรื่องจากจีนมาขายในออนไลน์ว่า

-อย่างนักเขียนซีไรต์คนล่าสุด เขาบอกว่าพยายามเขียนเรื่องให้คนเอาไปแปลเป็นภาษาอื่นได้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งมิติใหม่เลย ที่นักเขียนสามารถเขียนเรื่องให้ทะลุกำแพงของภาษาได้ โดยเป็นให้คำตอบว่าวรรณกรรมไทยจำเป็นต้องเขียนเฉพาะเรื่องไทยหรือไม่? ถ้าคนไทยเขียนเรื่องที่ไม่ใช่ไทยแล้วจะถือว่าเป็นวรรณกรรมไทยหรือไม่? เพราะถ้าเรื่องแปลเป็นภาษาอื่นไปแล้วจะอ่านกันได้ทั่วโลก

-ดังนั้นการเขียนออนไลน์ การขายออนไลน์ การเป็นตัวกลางตลาดออนไลน์ เป็นการตัดขั้นตอนตัวกลางออกไปหมดเลย เหลือแค่คนเขียนกับคนอ่าน แล้วมีเพล็ตฟอร์มเป็นตลาดแทน ถือว่าเป็นมิติใหม่แบบโลกาภิวัฒน์จริงๆ พูดคุยในประเด็นออนไลน์แล้วรู้สึกมีความหวัง รู้สึกไม่ห่อเหี่ยว รู้สึกว่ามันมีอนาคต แล้วโลกออนไลน์ก็ไม่ได้น่ากลัวไปเสียหมดเลย ทุกคนในธุรกิจกระดาษจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ เพราะโลกของการอ่าน โลกของหนังสือมันไม่ได้อยู่ในมิติเดิมแล้ว



@@@@@@@@@@




คุณเปรมวิทย์ ศรีชาติวงศ์ คุณปิ๊ปโป้ เสริมว่า

-ปัจจุบันมีเพล็ตฟอร์มที่เป็นนิยายออนไลน์อยู่ไทยยังไม่เยอะมาก มีไม่กี่เจ้า มี MeB , เด็กดี , ธัญวลัย , จอยลดา , Fictionlog , ห้องสมุดดอทคอม ล่าสุดแจ่มใสก็มาทำออนไลน์ น่าจะชื่อแจ่มเวิลด์ ดังนั้นทุกคนจึงต้องปรับตัวหมด เวลาที่มีเพล็ตฟอร์มเกิดใหม่ คุณปิ๊ปโป้จะรู้สึกดี เหมือนว่ามันคึกคักดี เหมือนแนวโน้มมาจะหันมาทางออนไลน์มากขึ้น

-คุณปิ๊ปโป้ได้เชิญนักเขียนชื่อดังหลายท่าน ที่เคยเขียนเรื่องอยู่ในนิตยสารแล้วเรื่องยังไม่จบแต่นิตยสารปิดตัวไปก่อน โดยเชิญให้นักเขียนเหล่านี้เอาเรื่องมาลงต่อที่ Fictionlog เพราะคนอ่านยังอยากอ่านต่อให้จบ ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 5-6 ท่าน โดยผมเรียกว่าเป็นนิยายชุดเป็นซีรีส์

-จุดแข็งของนิยายออนไลน์คือ สเกลมันใหญ่มาก ต้นทุนแทบจะเป็นศูนย์ ขายสิบหรือขายพันต้นทุนก็เท่าเดิมคือศูนย์ แล้วก็อยู่ได้ตลอด ผมเชื่อว่าในอนาคตอาจจะมีเรื่องไทยที่แปลไปขายต่างประเทศ ถ้านักเขียนไทยขอแงเราแข็งแรงพอ เราก็อยากจะส่งเสริมให้นักเขียนไทยขายผลงานออกไปต่างประเทศให้ได้ เป็นเป้าหมายที่เราอยากจะทำให้ได้ในอนาคต









อาจารย์อรรถพล ปะมะโข ถามคุณปิ๊ปโป้ว่าเรื่องที่ขายมันจะยั่งยืนไหม? ในเมื่องานเราอยู่ที่เพล็ตฟอร์มแล้ว เมื่อเพล็ดฟอร์มปิดตัวลง เรื่องของเรายังจะยอยู่ไหม? เป็นปัญหาเรื่องการจัดเก็บไหม?

คุณเปรมวิทย์ ศรีชาติวงศ์ คุณปิ๊ปโป้ตอบว่า เรื่องการจัดเก็บไม่มีปัญหา ในเชิงเทคนิคนั้นการจัดเก็บไม่แพง แต่การดึงข้อมูลมาใช้นั้นแพง ส่วนประเด็นที่ถามว่าจะยั่งยืนไหม? ตอบว่าถ้าถึงจุดที่เพล็ตฟอร์มต้องปิดตัวลงจริงๆ แล้ว เราจะนำเรื่องทุกเรื่องที่เรามีอยู่ตอนนี้ประมาณ 10,000 กว่าเรื่องมาจัดทำเป็นไฟล์พีดีเอฟ เพื่อให้ผู้ซื้อทุกคนเข้ามาโหลดได้ เชื่อว่าแต่ละที่แต่ละแห่งคงจะมีทางออกที่ไม่เหมือนกัน

มีผู้ฟังถามว่า อีบุ๊คที่ต้องอ่านด้วยเครื่องอ่าน (เครื่องคินเดิ่ล) แทนที่การพกหนังสือหลายๆ เล่ม ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเพล็ตฟอร์มไหม? คนที่อยากจะอ่านนวนิยายเก่าแก่จะมาหาอ่านในออนไลน์ ใน Fictionlog ได้ไหม?

คุณปิ๊ปโป้ ตอบว่ามีเจตนาที่จะทำ โดยอยากจะเอานวนิยายเก่าๆ ทีเขาพิมพ์ซ้ำไม่ได้มาลงใน Fictionlog แต่ในเชิงปฎิบัติแล้วทำได้ยากมาก เพราะมีความแตกต่างในเรื่องเจนเนอเรชั่นเป็นอย่างมาก และการนำเรื่องเก่านั้นมาลงในออนไลน์ จะต้องทำการพิมพ์ใหม่ทั้งหมด ซึ่งในประเด็นนี้ยังไม่มีกำลังมากพอที่จะทำได้ อีกทั้งเมื่อนำนวนิยายเก่าๆ พวกนี้มาลงในออนไลน์แล้วมันขายไม่ได้ด้วย แต่จริงๆ แล้วอยากทำมากเพราะมันมีประโยชน์ในการทำเป็นคลังสะสมนวนิยายเก่า แต่ในเชิงธุรกิจมันยังไม่ตอบโจทย์เลยยังทำไม่ได้

อาจารย์อรรถพล ปะมะโข เสริมในประเด็นนี้ว่า เท่าที่อ่านข่าวมาลักษณะนี้เขาเรียกว่า ดีสไทธ์บุ๊ค(ผมสะกดไม่ถูก) คือหนังสือที่แค่พิมพ์เป็นเล่มมาก่อน แล้วนำมาแปลงให้เป็นไฟล์ดิจิทัล ที่ขายในเว็บไซต์อะเมซอนดอทคอมช่วงแรกๆ ขายดีมาก เพราะว่ามันสะดวกโดยอ่านด้วยเครื่องคินเดิ้ล แต่สักพักหนึ่งยอดขายมันคงที่ แต่ยอดขายหนังสือเล่มกลับโตขึ้นมาแทน ในกรณีนี้มีคนอธิบายว่า ด้วยลักษณะของงานวรรณกรรมโดยปกติไม่เหมาะกับการอ่านบนหน้าจอสกรีนสักเท่าไหร่ การอ่านต้องใช้สมาธิต่อเนื่องสูง การเลื่อนเปลี่ยนหน้าบนคินเดิ้ลไม่สะดวกนัก งานวรรณกรรมจึงเหมาะสำหรับการอ่านเป็นหนังสือเล่มมากกว่า



@@@@@@@@@@



อาจารย์ตรีศิลป์ สรุปในประเด็นออนไลน์ว่า เป็นการเปลี่ยนผ่านที่น่าสนใจ มีข้อดีคือไม่สิ้นเปลือง สะดวก พกพาได้ จะอ่านที่ไหนก็ได้

มีผู้ฟังถามเรื่องลิขสิทธ์งานเขียน ที่นำลงไปในระบบออนไลน์ ว่าจะมีการป้องกันการละเมิดลิขสิทธ์ได้มากน้อยขนาดไหน?



@@@@@@@@@@


คุณปิ๊ปโป้ ตอบว่าสำหรับเรื่องอีบุ๊คจด ISBN ได้ แต่ในออนไลน์เรื่องที่ยังเขียนลงเป็นบทๆ ยังไม่จบ ยังไม่สามารถจด ISBN ได้ เคยมีคนก็อปเอางานเขียนพวกนี้ไป แต่ก็จะมีคนส่งข้อความมากบอกว่าพบเห็นมีคนละเมิดลิขสิทธ์ที่ไหน อย่างไร แล้วเขาก็จะมีกระแสสังคมในโซเวียลที่รุมประณาม รวมกันคอมเม้นท์ต่อว่าหรือว่าคอมเม้นท์รุมประชาทัณฑ์ ถือว่าเป็นการตรวจสอบกันเองในระบบออนไลน์อยู่แล้ว

มีผู้ฟังถามต่อเป็นคำถามสุดท้ายในประเด็นว่า ในช่วงหลังคนทำละครทีวีจะซื้อเรื่องจากนักเขียนที่เขียนลงในออนไลน์ เพราะถูกกว่าไปซื้อเรื่องจากนักเขียนดัง แต่ปัญหามันเกิดว่าพอเอามาเขียนบทแล้วมันเขียนไม่ได้เลย เพราะเข้าใจกันคนละเจนเนอเรชั่นเลย หรือไม่เข้าใจเหตุผลและวิธีคิดของนักเขียนออนไลน์ คือมีประเด็นดราม่าหรือมีปมขัดแย้งในเรื่อง แต่ไม่รู้ว่ามันเชื่อมโยงกันอย่างไร? หรือเชื่อมโยงมาจากไหน? คือคนเขียนเรื่องออนไลน์เขียนมั่ว เขียนเรื่องไม่มีคุณภาพ ทำให้คนเขียนบทต้องทำงานหนักมาก ในประเด็นนี้อยากทราบว่า ในเพล็ตฟอร์มต่างๆ เมื่อไม่มีบรรณาธิการแล้ว เราจะรักษามาตราฐานที่เป็นคุณภาพของงานเขียนได้อย่างไรบ้าง?

คุณปิ๊ปโป้ ตอบว่าในประเด็นของคุณภาพเป็นเรื่องควบคุมได้ยากมาก เพราะงานเขียนที่มีคุณภาพก็ขายไม่ได้ เราจึงเข้าใจว่ามันคือ “โซเซียลคิวเรท” คือในออนไลน์เขาจะมีการตัดสินกันเองว่าเรื่องไหนดี เรื่องไหนไม่ดี กลายเป็นเรื่องที่คนอ่านเขาดันกันเองว่าเรื่องไหนเขาชอบ ทางเพล็ตฟอร์มเข้าไปแทรกแซงได้ยากมาก ซึ่งปัญหาเรื่องคุณภาพนี้พบในประเทศจีนเช่นกัน

-ทาง Fictionlog มีทีมงานที่คอยสอดส่องดูว่า นักเขียนคนไหนเขียนดี มีแนวโน้มว่าจะปั้นได้ ก็จะมีทีมสนับสนุนคอยช่วยนักเขียนคนนั้น ช่วยในเรื่องการสร้างเนื้อหาที่ดี คือในเชิงธุรกิจ ถ้านักเขียนสร้างเนื้อหาที่ดี เรื่องก็ขายได้ ธุรกิจก็เติบโตเช่นกัน แต่ในอนาคตไม่แน่ว่าจะทำได้ตลอด เพราะว่าทุกวันนี้มันยังไม่เยอะก็ยังพอช่วยกันได้



@@@@@@@@@@



อาจารย์ตรีศิลป์ สรุปทิ้งทายว่าในการอภิปรายวันนี้เราได้รับรู้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย มันเป็นระลอกใหญ่มากทีเข้ามามีผลกระทบโดยตรง แล้วเราก็ได้รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร? และเป็นอย่างไร? สำหรับยุคหนังสือดิจิทัลไทยในวันนี้








 

Create Date : 08 มกราคม 2561
48 comments
Last Update : 8 มกราคม 2561 15:57:36 น.
Counter : 3772 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณTui Laksi, คุณกะว่าก๋า, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณjackfruit_k, คุณkae+aoe, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณอุ้มสี, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณruennara, คุณโอพีย์, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณRinsa Yoyolive, คุณtuk-tuk@korat, คุณJinnyTent, คุณtoor36, คุณSweet_pills, คุณเจ้าการะเกด, คุณmastana, คุณชีริว, คุณเกศสุริยง, คุณClose To Heaven, คุณsarinubia, คุณซองขาวเบอร์ 9, คุณกาบริเอล, คุณLikLi Sympathy

 

อภิปรายได้ทันยุคดิจิฯจริงๆคะ
ผู้อ่านโดยเฉพาะวัยรุ่น ชอบอ่านฟรีแบบออนไลน์หรือ อีบุ๊คกัน
ส่วนหนังสือรูปเล่มทำให้น่าสนใจ ผู้ใหญ่วัยเราก็ยอมเสียตังค์ซื้ออยู่

จขบ.เลคเชอร์ไว้เก่งมากๆคร้า ขอบคุณที่แบ่งปัน

 

โดย: Tui Laksi 8 มกราคม 2561 18:30:35 น.  

 

อ่านแล้วรู้สึกว่านักเขียนอาชีพคงต้องปรับตัวขนานใหญ่
และผมคิดว่านักเขียนรุ่นเก่า
ปรับตัวไม่ทันแล้วครับพี่
อย่างผมเป็นต้น 555

สิ่งที่เราทำได้
คือหาที่ทางเขียนงานอย่างที่ตัวเองรักไปเรื่อยๆ

จะให้ขยับเข้าไปเขียนนิยายวาย นิยายอีโรติก
ใจก็ไม่สามารถทำได้ครับ
น้องๆรุ่นใหม่คงเขียนได้สนุกกว่า

แต่อ่านแล้วได้ความรู้มากๆเลยล่ะครับ
ขอบคุณพี่อาคุงกล่องที่นำความรู้ดีดีมาแบ่งปันครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 8 มกราคม 2561 19:48:03 น.  

 

นั่งอ่าน ลงมาเรื่อย ๆ ดูแล้ว วิทยกร เล่าถึงอุปสรรค หรือ
ทางออกให้ คนที่รักจะเป็นนักเขียน ได้เรียนรู้...

ผมเคยเข้าไปอ่านอีบุ๊คฟรี.. หลายครั้ง เข้าค่อนข้างยาก คงมา
จาก เพล็ตฟอร์ม... ซับซ้อน

แต่บางแห่ง ต้องอ่านไล่ลงมาแบบบล๊อกแก๋ง... บางแห่งใช้
คลิ๊ก พลิกหน้าแบบอ่านหนีงสือ

เคยเห็นนักเขียนออนไลน์ ตีอู้.. ใช้ข้อความ แล้ว ตีบันทัด
ให้ห่าง หุ หุ...

....

นักเขียนรุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ คงจะดำรงค์ชีพได้ยาก แต่ก็ดี
บางคนที่เขียนแล้ว ขายได้..

ปัจจุบัน ผมดูอีบ๊ค แล้วขายได้ คงจะเป็นนิยาย... แบบที่
ผมเขียนไว้ใน บล๊อกก่อน ๆ

...

ผมลองพยายามหา หนังสืออีบุ๊ค แนวฟ้าเมืองไทย คสคส.
ค้นหาไม่เจอ 555 คือเป็นแนวเขียนแบบผม.. เลยปิดทาง
เขียน อีกอย่าง เพล็ตฟอร์มยากสำหรับผม 555

ไม่เหมือนหนุ่มสาวเขาใช้คล่อง...

คนที่เคยติดต่อผมให้เขียน ลงในกลุ่มเขา ก็เงียบหายไปแล้ว
คงเจอปัญหาต่าง ๆ เลยไม่เกิด หุ หุ

วันนี้มาเขียน เล่าสู่กันฟัง คุณกล่องอ่านผ่าน ๆ ก็ได้นะครับ

...

เรื่องที่ผมเขียน เรื่อง ตรวจสอบ.. ส่วนใหญ่คนเกลียดมาก
ทั้ง ที่เขาทำงานดี ส่วนคนโกง ก็เกลียดสุด ๆ

คนที่เขาทำงานดี คงจะรำคาญที่ไปจู้จี้เขานะครับ.. ผมพยายาม หนีจากงานชนิดนี้หลายปี กว่าจะพ้นได้

งั้นผมโหวตให้คุณกล่อง

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 8 มกราคม 2561 20:29:52 น.  

 

อ่านหมดเลย ดีจัง คุณกล่องเก่งจัง อ่า..คุณก๋าจะเขียนเรื่องอีโรติกหริอครับ ซิ๊ดดด...

 

โดย: ปลายแป้นพิมพ์ IP: 49.229.141.218 8 มกราคม 2561 20:59:32 น.  

 

ขออนุญาตแชร์ไปที่เพจวรรณกรรมพินิจ คมคิดวิจารณ์นะคะ

 

โดย: ครูป๋อง IP: 124.121.9.69 8 มกราคม 2561 22:36:58 น.  

 

เปิดหูเปิดตามากๆ

เดี๋ยวลองไปเซิร์ชหา storylog กับ fictionlog ดูหน่อยค่ะ

วันนี้โควต้าหมด พรุ่งนี้มาใหม่นะคะ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 9 มกราคม 2561 9:56:31 น.  

 

น่าสนใจมากๆ ค่ะ อีกหน่อยหนังสือจะหายไปไหมหนอ เป็นคำถามที่มี้เก๋แอบตั้ง เหมือนเทป ซื้อตอนนี้ ซีดีก็กำลังจะหายไป...หนังสือเรียนน้องซีเยอะมากวันหนึงขนไปเรียนหลายกิโลค่ะ มีคนเสนอว่า ร.ร. น่าจะมีการปรับปรุงเรียนทางไอแพค นี่เรามาถึงจุดนี้แล้วรึค่ะ คงต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง

 

โดย: kae+aoe 9 มกราคม 2561 16:36:01 น.  

 

พี่คงตามโลกซีกนี้ไม่ทันแล้วค่ะ คุณต่อ
อ่านจนจบแล้วเปิดหูเปิดตามากจริงๆ
แต่พี่คงอ่านมากในคอมยิ่งยากมาก
ไม่อ่านหนังสือเล่มๆมานานหลายปีมาก
นอกจากหนังสือที่ต้องอ่านเพื่อสอน

ขอบคุณที่แวะไปดูต้นไม้บ้านพี่และโหวต
ให้นะคะ บ้านพี่ที่สุขุมวิทก็ไม่มีที่ดินมาก
หรอกค่ะ ปลูกบ้านลงไปแล้วก็เหลือที่ปลูก
ต้นไม้ไม่กี่ตารางวา พี่ก็ปลูกสารพัดลงไป
จนเป็นป่าแล้วค่ะ พวกบ้าปลูกก็เป็นเช่นนี้

 

โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) 9 มกราคม 2561 17:03:52 น.  

 

จะเรียก คุณกล่อง ก็เรียก คุณต่อ
เพราะเพิ่งมาจากบ้านนั้น 55
ขออภัยนะคะ คุณกล่อง

 

โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) 9 มกราคม 2561 17:08:51 น.  

 

อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog


หมวดนี้แล้วกันนะทิดกล่อง

 

โดย: หอมกร 9 มกราคม 2561 19:52:32 น.  

 

ตรงที่คุณปี๊บโป้พูดถึงไฮเปอร์รีดดิ้ง ได้ภาพชัดเจนเข้าใจมากขึ้นเลยค่ะ

ส่วนตัวไม่เคยอ่านนิยายออนไลน์ นอกจากเพื่อนบล็อกเราเขียนแล้วแปะลงบล็อกเลยได้อ่าน

ยังชอบหนังสือเป็นเล่ม ๆ อยู่เหมือนเดิมค่ะ ถ้าชอบก็อ่านซ้ำ ไม่ชอบก็อ่านครั้งเดียวเก็บขึ้นชั้นไป ไม่ต้องสื่อสารกับคนเขียนก็ได้ ไม่ต้องคอมเมนท์คุยกันอ่านเรื่องเดียวกันเมาท์มอยกันก็ได้ คนเราจริตไม่เหมือนกันเนาะ บางคนชอบแนวนี้อ่านสนุก บางคนไม่ชอบแนวนี้ งี้ อาจจะเพราะไม่ได้เป็นวัยรุ่นมังคะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 9 มกราคม 2561 21:07:58 น.  

 

มาอีกรอบค่ะ น่าสนใจมากๆ เลยนะคะ อ่านแล้วได้หลายมุมมองเลย ขอบคุณอาคุงกล่องมากๆ ค่ะ

มองว่าหนังสือคือตัวกลางอันหนึ่ง จะเป็นเล่มหรือเป็นไอแพ็ค มันก็คือภาชนะซึ่งไม่มีวันตายแน่นอน คือคุณจะเปลี่ยนภาชนะอะไรคนก็ยังอ่านอยู่เช่นเดิม คอนเทนต์จะไม่วันตายตลอด

นั่นสินะคะ

 

โดย: kae+aoe 9 มกราคม 2561 22:12:42 น.  

 

น่าสนใจ...พี่อุ้มโหวตให้จ้า

 

โดย: อุ้มสี 9 มกราคม 2561 22:56:49 น.  

 

สวัสดี ตอนดึกจ้ะ น้องกล่อง

กว่าจะอ่านจบ เล่นเอาตาลายเลย เป็นนักจดงานจาก
การฟังได้ละเอียดยิบเลย แสดงให้เห็นว่า มีสมาธิในการฟังดีมาก
จึงสามารถจดสิ่งที่ฟังและเก็บความได้มากขนาดนี้จ้ะ
บล็อกนี้ ครูว่า ให้ประโยชน์แก่คนอ่านโดยเฉพาะ
คนสูงวัยที่โลเทค อย่างครูด้วยนะ และเห็นด้วยกับการแสดง
ความคิดเห็นของวิทยากรแต่ละคน โลกออนไลน์ในยุคนี้ ส่วน
ใหญ่ตอนนี้ เป็นโลกของวัยรุ่น นักเขียนวัยรุ่นก็มากมาย และ
เขียนในสิ่งที่วัยรุ่นชอบอ่านเป็นส่วนใหญ่ หนังสือเล่ม ๆ เริ่ม
ปิดกิจการไปก็หลายเล่มแล้ว
ส่วนที่ว่า คนไทยหรือเด็กไทยอ่านหนังสือน้อย ซึ่ง
นักเขียนบอกว่าไม่น้อย ซึ่งก็คงวัดจากการอ่านเรื่องราวในออนไลน์ ซึ่งครูคิดว่า น่าจะวัดการอ่านจาก เรื่องราวที่อ่านว่า
มีคุณภาพมากน้อยเพียงใดด้วย จ้ะ
ขอเสริม ความหมายของคำว่า วรรณกรรม และ
วรรณดคี สักเล็กน้อย
วรรณกรรม โดยความหมาย เราจะหมายถึงสิ่งใดก็ได้
ที่สามารถสื่อความหมายได้ เราเรียกว่า วรรณกรรม ทั้งนั้น

วรรณคดี คือ วรรณกรรมที่ได้รับการคัดเลือกว่า แต่งดี
ตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้

ดูเหมือน ข้อเขียนที่สรุปมานี้ คำว่า วรรณกรรม จะ
ไม่ตรงกับความหมายตามคำ จำกัดความของเดิมที่ใช้มา จ้ะ

โหวดหมวด ข่าวเด่นประเด็นดัง

 

โดย: อาจารย์สุวิมล 9 มกราคม 2561 23:13:20 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมครับ
เนื้อหาการอภิปรายน่าสนใจมากครับ สำหรับหนอน(นักซื้อ)หนังสืออย่างผม เห็นการเปลี่ยนแปลงมาบ้างเหมือนกัน ก็คงแล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล เห็นด้วยว่าบางครั้งงานที่ขายได้คุณภาพอาจไม่มากแต่คนชอบกัยเยอะ เลยขายดิบขายดี วรรณกรรมมักอ่านยากกว่าเพราะต้องตีความลึกซึ้งกว่า เด็กสมัยใหม่เคยอาจจะไม่ชอบกัน ส่วนตัวยังชอบเป็นเล่มครับ เพราะชอบจับกระดาษมันให้ความรู้สึก ให้รสสัมผัสได้ถูกใจกกว่า อ่านง่ายกว่าด้วยครับ

 

โดย: ruennara 10 มกราคม 2561 1:08:16 น.  

 

อรุณสวัสดิ์คะ

 

โดย: โอพีย์ (เมษาโชดดี ) 10 มกราคม 2561 6:34:23 น.  

 

โหวตนะคะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
คนบ้านป่า Hobby Blog ดู Blog
Close To Heaven Review Food Blog ดู Blog
Rinsa Yoyolive Review Travel Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 10 มกราคม 2561 9:12:35 น.  

 

ขอบคุณที่นำข้อมูลน่าสนใจมากแบ่งปันค่ะ

Happy New Year 2018 ค่ะคุณอาคุงกล่อง

 

โดย: Gorjai Writer 10 มกราคม 2561 12:04:05 น.  

 

ขอบคุณที่นำเนื้อหามาเล่าสู่กันฟังค่า
วันอาทิตย์ที่ 7 แอบแวะไปหอศิลป์มาเหมือนกันค่า แต่ไปเย็น ๆ หล่ะ

 

โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน 10 มกราคม 2561 12:37:32 น.  

 

เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยอ่านนิยาย หรือ วรรณกรรมสักเท่าไหร่ค่ะ
อ่านหนังสือไหม ... อ่านค่ะ
แต่เป็นเรื่องต่อยอดที่อยากรู้

มันเป็นช่วงอายุด้วยมั้งคะ
ตอนที่อ่านนิยาย คือ ตอนเด็ก - วัยรุ่น ค่ะ
ตอนที่โลกภายนอกรู้จักก็จากหนังสือ

 

โดย: tuk-tuk@korat 10 มกราคม 2561 13:49:10 น.  

 

รินอยู่ในเคสนี้ด้วยหรือป่าวคะ
เพราะเขียนงานออนไลน์ ทำงานออนไลน์
มีรายได้เข้ามาตลอดเลยค่า
ได้เที่ยวด้วย ได้ทำงานไปด้วย เขียนไปด้วย ก่อเกิดรายได้ และคอนเน็คชั่นไปด้วยค่า


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
หอมกร Movie Blog ดู Blog
ข้ามขอบฟ้า Music Blog ดู Blog
JinnyTent Travel Blog ดู Blog
คนบ้านป่า Hobby Blog ดู Blog
Close To Heaven Review Food Blog ดู Blog
ซองขาวเบอร์ 9 Food Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Music Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
ชมพร About Weblog ดู Blog
อาคุงกล่อง Literature Blog ดู Blog

 

โดย: Rinsa Yoyolive 10 มกราคม 2561 15:12:07 น.  

 

แวะมาตอบค่ะ น้องซีไม่ชอบวาดรูป แต่ชอบระบายสีค่ะ 555

 

โดย: kae+aoe 10 มกราคม 2561 15:37:21 น.  

 

สวัสดี จ้ะ น้องกล่อง

แหม รีบมาเยี่ยมบล็อกครูและโหวดเพราะมีรูปเธอ หราอยู่
ด้วยเหรอ อิอิ อ่านก็ไม่จบ ดูแต่รูป นี่ขนาดครูเขียนสั้น ๆ
ทีละเดือนแล้วนะเนี่ย ห้าห้า แต่ก็ขอบใจที่แวะไปเยี่ยมและโหวด
นะจ๊ะ

 

โดย: อาจารย์สุวิมล 10 มกราคม 2561 17:12:34 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ค่า

ตอนเห็นเม้นส์คุณกล่องที่บล็อก
ตื่นเต้นมากเลย เหมือนได้เจอเพื่อนเก่าอีกคน 5555
สบายดีนะคะ ดีใจที่ได้เจอกันอีกครั้งที่บล็อกแก๊งค์ค่ะ

แหม๋ ๆ แซวเค้า
ก็กะว่าจะอัพท่องเที่ยว นั่งเทียน เอิ่ม..น่าจะเกิด 200 บล็อกนะ 55555

ขอบคุณสำหรับคำชมมากนะคะ

จินใจหายมากเวลาได้ยินการปิดตัวของสำนักพิมพ์หลาย ๆ แห่ง
จินว่ายังไง หนังสือก็ยังมีเสน่ห์มากกว่าอ่านผ่านอุปกรณ์นะ
จริงอยู่คนอ่านไม่ไปไหน แต่อ่านผ่านอุปกรณ์
จินว่าอีกหน่อย คนม้ันต้องคืนสู่สามัญ
อะไรที่เป็นธรรมดาสามัญ จะอยู่ยงยืนนานค่ะ

การเขียนเรื่องราวลงออนไลน์
กลุ่มลูกค้ามันคนละกลุ่มกับอ่านผ่านหนังสือ
จินชอบท่องเวป ท่องบล็อก เล่นเฟช เล่นไลน์
แต่จินก็ยังชอบอ่านหนังสือ ที่เป็นหนังสือจริง ๆ ค่ะ
มันมีเสน่ห์ต่างกัน ไม่รู้สินะ อิอิ

พรุ่งนี้มาโหวตให้น๊า



 

โดย: JinnyTent 10 มกราคม 2561 20:22:12 น.  

 

ยุคสมัยเปลี่ยนไป สื่อสิ่งพิมพ์หลายสำนักทะยอยปิดตัว
โดยเฉพาะฉบับที่คุ้นเคยมานานก็ใจหายค่ะคุณอาคุง

ได้ศัพท์และเข้าใจความหมายของ "ไฮเปอร์รีดดิ้ง" แล้วค่ะ
การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นงานที่ต้องคิดสำหรับผู้ประพันธ์เลยนะคะ
หากต้องการให้ผลงานโดนใจกลุ่มเป้าหมายและขายงานได้

ขอบคุณที่เปิดมุมมองค่ะคุณอาคุง
ขอบคุณคุณอาคุงที่แวะชมขนมที่บ้านนะคะ
พรุ่งนี้แวะมาใหม่ค่ะ

 

โดย: Sweet_pills 11 มกราคม 2561 7:53:08 น.  

 

ยุคเปลี่ยนค่ะ เครื่องมือของนักเขียนก็ต้องเปลี่ยนให้ทันยุคจริงๆค่ะ

 

โดย: auau_py 11 มกราคม 2561 20:41:51 น.  

 

การมาของเทคโนโลยี ก็ย่อมทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง มันเป็นช่องทางหารายได้รูปแบบใหม่เหมือนกัน แต่ถึงยังไงผมก็ยังชอบแบบเป็นเล่มที่มันจับต้องได้ จริงอยู่อ่านบนแอปมันสะดวกไปไหนก็อ่านได้สบายๆ แต่อ่านนานๆ มันปวดตานะครับ

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 11 มกราคม 2561 23:30:17 น.  

 

สวัสดียามเช้าค่ะ

โหวตให้คุณอาคุงค่ะ

 

โดย: Sweet_pills 12 มกราคม 2561 6:06:52 น.  

 

สวัสดีอีกรอบค่าา

555 ค่ะ น่าจะมาแรงมั้งคะ อ่านจากที่อาคุงกล่องสรุปมาเค้าก็ว่างั้นเนาะ แฮร่...

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 12 มกราคม 2561 9:08:59 น.  

 

มาโหวตหนังสือให้ค่ะ

 

โดย: เจ้าการะเกด 12 มกราคม 2561 21:14:07 น.  

 

สวัสดีครับคุณอาคุงกล่อง

 

โดย: ruennara 13 มกราคม 2561 2:46:31 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณกล่อง
จะพยายามนำเพลงเพราะ ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกมานำเสนอเรื่อย ๆ ค่ะ
แต่อาจเกิดไม่ทันก็ไม่เป็นไรค่ะ
ให้ย้อนไปถึงวัยรุ่น รุ่นโน้น ถึงสังคมและความนึกคิดว่าเป็นอย่างไรนะคะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 13 มกราคม 2561 16:16:16 น.  

 

ขยันไปสัมมนาจริงๆนะคุงก่องเนี่ย short note กลับมาเรี่ยมเลยด้วย แจ่มครับแจ่ม ^^
ดิจิตัลทำเอาหลายวงการต้องรีบปรับตัวเลยครับ เทรนด์นี้แรงจริงๆ ที่โดนหนักสุดก็แบงค์ วงการหนังสือนี่ก็โดนไปมิใช่น้อย
ถึงจะดิจิไตซ์กันทั้งโลกแต่ร้านไอทีก็ซบเซาครับ ตัวคอมพิวเตอร์เองท่าจะแย่ ทุกอย่างมันไปอยู่บนสมาร์ทโฟนหมดแล้ว (แต่ก็ยังมีที่ใช้ให้ตอนทำงานจริงจังครับ มือถือมันเอาไว้อ่านมากกว่า)
ชอบการถกทางวิชาการ ประวัติศาสตร์การบันทึกไล่กันมาตั้งแต่ยุคโซเครตีสกันเลยทีเดียว พระไตรปิฎกสมัยพุทธกาลที่บอกเล่ากันมาทางวาจาก็เป็น KM ที่ไม่มีประสิทธิภาพนะครับ การบันทึกนี่แหละดีที่สุดแล้ว
วงการวรรณกรรมเปิดช่องให้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมสร้างผลงานง่ายขึ้น แนวทางของงานเขียนเลยออกไปทางเอาใจเด็กหรือตลาดแมสมากขึ้น (คือจะพูดถึงนิยายอีโรติกนั่นแหละ) มันขายง่าย
บทความต่างๆก็สั้นลงไปมากครับ ยิ่งสอนกันว่าเวลานำเสนอความสนใจจะอยู่ที่สามนาทีแรกเอย บทความไม่ควรยาวเกินแปดบรรทัดเอย ยิ่งบังคับให้คนสร้างผลงานต้องบีบสาระสำคัญลงมาอีก แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่อาจตอบโจทย์นักอ่านวิวัฒนาการใหม่ล่าสุดที่แ_งอ่านแค่หัวข้อแล้วมาวิจารณ์เป็นช็อตๆได้
ที่เหลือเป็นโฆษณาแอพซะเยอะ พวกสื่อแนวใหม่หรือแอพที่หลากหลายเปิดแนวทางใหม่ๆให้เยอะมาก แต่ต้องใช้เวลาให้อิ่มตัวและรวมเหลือ platform 1-2 อย่าง ถึงจะเป็นกระแสหลักที่ขับเคลื่อนวงการวรรณกรรมได้จริง เหมือนที่สิ่งพิมพ์, webpage, weblog หรือ facebook เคยทำนะครับ

 

โดย: ชีริว 13 มกราคม 2561 22:01:58 น.  

 

ขอบคุณที่เข้าไปทักทายและกดโหวตให้ครับ
ฝันดีราตรีสวัสดิ์ครับคุณอาคุงกล่อง

 

โดย: ruennara 14 มกราคม 2561 1:41:46 น.  

 

แวะมาส่งกำลังใจให้คุณกล่องก่อน เดี๋ยวว่างๆแวะมาตามอ่านอีกครั้งค่ะ อากาศเย็น คุณกล่องรักษาสุขภาพนะคะ

 

โดย: เกศสุริยง 14 มกราคม 2561 12:11:14 น.  

 

อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog

คนอ่านออนไลน์หลายคนก็สมาธิสั้นจริง ๆ ค่ะ
อ่านบ้าง ไม่อ่านบ้าง
พอไม่ต่อเนื่องก็หายไป จริงมาก ๆ ค่ะ

 

โดย: Close To Heaven 15 มกราคม 2561 0:13:29 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ย้อนหลังค่ะ :)
กะว่าจะเข้ามาทักทาย ขอบคุณที่จำกันได้
โห เข้ามาได้ความรู้เลยค่ะ

ส่วนตัวเราเองอยากจะเป็นนักเขียนให้ได้บ้าง
โตมากับหนังสือเล่ม แฮร์รี่ พอตเตอร์เลยค่ะ
ผ่านวัยมากับสถาพรบุ๊คส์ แจ่มใส และอีกหลายสนพ.
พอได้อ่านสรุปงานแล้วทำให้มีไฟอยากเขียนบ้างจัง
(ติดว่าขี้เกียจ งานเยอะ และร้อยแปดพันเก้า แหะๆๆ)

ตอนนี้ก็อ่านก้ำกึ่งค่ะทั้งนิยายเล่มๆ และนิยายออนไลน์
(เผลอๆจะดองนิยายเล่มที่ซื้อมาเยอะมากๆด้วยค่ะ)

 

โดย: sarinubia 15 มกราคม 2561 23:21:15 น.  

 

แม่ซองฯไม่ใช่นักอ่าน
แต่มาคิดว่าอีกหน่อยหนังสือก็จะค่อยๆหายไป
อย่างหนังสือที่ปิดตัวไปหลายเล่ม
คิดๆแล้วก็น่าเสียดายนะคะ

มายุคดิจิตัล นักเขียนก็คงมีโอกาสมากขึ้น
ไม่ต้องง้อเจ้าของ และบรรณาธิการ
มีอิสระมากขึ้น
ก็ต้องปรับตัวไปตามยุคนะคะ

 

โดย: ซองขาวเบอร์ 9 16 มกราคม 2561 19:47:46 น.  

 

เรื่องการเลี้ยงลูกเนี่ย มันเป็นเคล็ดลับค่า
เลี้ยงให้ติดพ่อเนี่ย ถือเป็นยุทธวิธีอันแยบยลของแม่บ้านเลยนะ 5555

 

โดย: JinnyTent 16 มกราคม 2561 20:20:13 น.  

 

ขอบคุณคุณอาคุงมากค่ะสำหรับกำลังใจ
เส้นแบบนี้เพิ่งนำมาทำอาหารครั้งแรกเหมือนกันค่ะ
สุข สดชื่น ตลอดวันนี้นะคะ

 

โดย: Sweet_pills 17 มกราคม 2561 6:23:12 น.  

 

สวัสดีอีกรอบค่า

ใช่ค่ะ เราก็ไม่รู้ว่ามีที่นี่ นี่ถ้าน้องไม่ชวนไป ก็คงไม่รู้ 555

มีกิจกรรมที่เพจเรานะคะ ไปเล่นได้ค่ะ เผื่อได้เวาเชอร์ไปกินน้าา

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 17 มกราคม 2561 8:49:51 น.  

 

สวัสดีอีกรอบค่าคุณกล่อง

แหะๆ ทริปอเมริกาจบ คงไม่เขียนแยกอย่างนี้แล้วค่ะ จะเขียนรวมๆ แล้ว เอาให้ทุกทริปที่ค้างๆ ไว้มันหมดซักทีค่ะ แล้วไปเขียนละเอียดๆ ที่อื่นแทนดีกว่าาา

ขอบคุณสำหรับโหวตและเมนท์นะคะ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 17 มกราคม 2561 9:27:10 น.  

 

สวัสดีค่ะอาคุงกล่อง

 

โดย: kae+aoe 19 มกราคม 2561 8:42:36 น.  

 

อรุณสวัสดิ์เช้าวันเสาร์แสนสุขครับคุณอาคุงกล่อง

 

โดย: ruennara 20 มกราคม 2561 6:20:01 น.  

 

อ่านแล้วได้อะไรกลับไปเยอะเลย
มาแอบขำที่เพิ่งรู้ว่าปรัชญาเมธีระดับ Socrates แกก็ต่อต้าน
การจดบันทึกแบบเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย จำได้แค่ว่าเจ้าตัว
จะเน้นการถกถามการวิพากษ์ ฯ อะไรทำนองนี้ ถึงว่าาาา....

มาพูดถึงงานเขียนในปัจจุบัน ฟ้ายอมรับนะว่าบางครั้ง
อิสระในการบันทึก (โดยเฉพาะผู้ไม่มีประสบการณ์เขียน)
การจะเขียนยังไงก็ได้ตามใจตัวเอง มันอาจเป็นดาบสองคม
ในแง่ของมาตรฐาน บางครั้งเราก็จะใช้ภาษาพูดตามสมัยนิยม
กันมากไป อ่านแล้วก็มีงงบ้างค่ะ อย่างเช่น สรรพนามบุรุษที่3
ที่นิยมใช้คำว่า "นาง" แทนได้ทุกเพศ 55
หรือ "เค้า" กับ สัตว์ และสิ่งของ เป็นต้น

น่าสนใจอยู่นะ ที่ต่างประเทศจะให้ความสำคัญต่อการว่าจ้าง
บรรณาธิการมาตรวจสอบงานเขียนของตนด้วย ฟังดูแล้วเขา
ให้ความสำคัญต่อคนอ่านค่อนข้างดีจริง ๆ

ยังไงก็แล้วแต่ ไม่ว่ามันจะเป็นอีบุ๊ค หรือเป็นรูปเล่ม
ก็ขอมาตรฐานในงานเขียนมันเป็นระบบระเบียบที่ดีก็แล้วกัน
(มิฉะนั้น จะพาให้ผู้อ่านจะสมาธิสั้นได้น้อ)

...

ส่วนเรื่อง hyper reading เนี่ย ก็เห็นมีอยู่บ่อยนะ
คนเขียนบล็อกอย่างเรา ๆ น่าจะรู้กันดี ฮาาา
คือจะเจอผู้อ่านบางท่านมาอ่านแบบ skimming
(มันมีแบบ skimming กับ scanning เนอะ)
อ่านหัวข้อเรื่อง จับคำสำคัญ และไล่กวาดสายตา
ไปเรื่อยจนถึงช่วงท้าย (หรืออาจทนอ่านไม่จบ 5555))
แล้วก็ลงคอมเมนต์กันแปลก ๆ ไงล่ะ อิอิ


ว่าแล้วก็ขอสวัสดีปีใหม่ย้อนหลังด้วยคนค่า

 

โดย: กาบริเอล 21 มกราคม 2561 13:29:16 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณอาคุงกล่อง แวะมาเยี่ยมค่าาา

 

โดย: Cherry iwa 23 มกราคม 2561 22:17:45 น.  

 

แก้คืนแล้วค่ะคุณกล่อง

ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ

ซีถ่ายรูปได้ แต่แม่ต้องไวค่ะ 5555 กดรัวๆ

 

โดย: kae+aoe 24 มกราคม 2561 12:48:27 น.  

 

สวัสดีครับคุณอาคุงกล่อง ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมครับ

 

โดย: ruennara 28 มกราคม 2561 0:04:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


อาคุงกล่อง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




อาคุงกล่องเป็นชายไทยนิสัยดีมีความฝัน ผู้ผันตัวมาเป็นทาสวรรณกรรมอย่างแท้จริง ใช้ชื่อกำหนดตัวตนว่า “อาคุงกล่อง” เป็นนามปากกาสร้างสรรค์ผลงานในเชิงหัสนิยาย และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี ความเรียง บทกลอน ไดอารี่เพ้อเจ้อละเมอเพ้อฝันต่างๆ ฯลฯ

ปัจจุบัน “อาคุงกล่อง” เป็นนักอ่าน นักคิดและนักเขียน รวมทั้งเป็นนักจินตนาการออกมาเป็นตัวอักษรด้วย ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คือการเป็นนักเขียนมีคุณภาพที่สรรค์สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คาดว่าในเวลาอันใกล้นี้นาม “อาคุงกล่อง” จะเกิดปรากฎชัดในโลกวรรณกรรม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่หนอนนักอ่านทั่วไทย



"ในชีวิตจริงของคนเรา มีอะไรอีกมากมายที่จะต้องรับรู้และรับผิดชอบ ในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะหัวเราะได้สักกี่ครั้ง? แต่ถ้าเราได้มีโอกาสหัวเราะเสียบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือคลายเครียด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ"

ถ้าคุณเข้ามาในบล็อคของผมแล้ว คุณสามารถอมยิ้มหรือหัวเราะได้ ผมก็คงจะดีใจแล้วครับ (กรุณาช่วยทิ้งคอมเม้นท์วิจารณ์ไว้ให้ผมด้วยนะครับ จักขอบพระคุณมากเลยครับ)

akungklong@gmail.com
Friends' blogs
[Add อาคุงกล่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.