•  Bloggang.com
  • มกราคม 2567

     
    1
    2
    3
    4
    5
    6
    7
    9
    10
    11
    12
    13
    14
    15
    16
    17
    18
    19
    20
    21
    22
    23
    24
    26
    27
    28
    29
    30
    31
     
     
    All Blog
    รีวิว "ภารกิจพิชิตดาวพลูโต" "Chasing New Horizons" โดย Alan Stern และ David Grinspoon
    ยังเป็นอีกเล่มที่เป็น Non-Fiction เพราะตายังอึดไม่พอสำหรับนิยายหลายเล่มได้
    ขอรีวิวเล่มนี้แบบสั้นๆ
    ...สนุก
    ...เจ๋ง 
    ...ดี และ 
    ...แนะนำค่ะ


    ชื่อเรื่อง: ภารกิจพิชิตดาวพลูโต Chasing New Horizons
    ผู้เขียน: Alan Stern และ David Grinspoon
    สำนักพิมพ์: สำนักพิมพ์มติชน (SUNDOGS)

    คำโปรย

    คำว่า พลูโตยังไม่ถูกสำรวจ ที่ปรากฏอยู่ในชุดแสตมป์ดาวเคราะห์ที่ระลึกซึ่งออกโดยการไปรษณีย์สหรัฐเมื่อปี 1991

    เป็นหนึ่งในเครื่องพิสูจน์ที่ว่ามนุษย์นั้นมีศักยภาพมากพอจะบรรลุเป้าหมายใดๆ ที่พวกเราไขว่คว้า

    เพราะ 24 ปีต่อมา ในที่สุดยานอวกาศไร้คนขับนามว่า นิวฮอไรซันส์ ก็ไปถึงดาวพลูโต

    ทว่า แท้จริงแล้วการเดินทางของ นิวฮอไรซันส์ ดำเนินมายาวนานกว่านั้นมาก เบื้องลึกของภารกิจเพื่อสำรวจดวงดาวอันหนาวเหน็บและห่างไกลที่สุดดวงนี้ก่อร่างขึ้นด้วยหยาดเหงื่อ หยาดน้ำตา และการอุทิศชีวิตของคนนับพันที่ต่างมีเป้าหมายเดียวกัน

    เตรียมตัวให้พร้อมไปกับการสำรวจหลังม่านภารกิจสู่ดาวดวงสุดท้ายในระบบสุริยะ ที่จะไขทุกปริศนาซึ่งเคยไร้คำตอบของดาวพลูโต


    หลังอ่าน

    สำหรับรีวิวแบบยาวๆ ขอเริ่มที่ตัวเล่มก่อน ถือว่าเป็นมิตรกับคนอ่านมาก ขนาดตัวหนังสือค่อนข้างใหญ่ กระดาษดี (แต่อาจทำให้หนังสือหนักขึ้นเล็กน้อย) อาจจะมีหลุดการพิสูจน์อักษรอยู่บ้างแหละ ถึงจะแค่สองสามจุด แต่ก็นับว่าน่าเสียดาย

    สำหรับเรื่องการแปล ที่จริงไม่เคยอ่านภาษาอังกฤษที่ใช้ศัพท์ทางดาราศาสตร์ แต่เอาเป็นว่ายินดีที่เห็นคนแปลชื่อนี้แล้วกันนะคะ ส่วนตัวเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ ตอนอ่านมันแหม่งมาก เหมือนคนแปลไม่เข้าใจ ได้แต่แปลตามตัวอักษร แล้วคนอ่านก็เลยไม่เข้าใจว่าเนื้อหาพูดอะไรอยู่ พอหาชื่อคนแปลก็พบว่าเรียนจบสายภาษาแต่ดึงตัวมาแปลเพียวฟิสิกส์จ้า

    ดังนั้น พอเห็นชื่อคนแปลจึงวางใจไปเปลาะหนึ่งว่าน่าจะไม่เจอประสบการณ์เดิมๆ อีก ซึ่งมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ

    จากรีวิวสั้นๆ ที่เห็นก็รู้ว่าอวยยศหนังสือเล่มนี้ทั้งที่เป็น non-fiction เหตุมันเกิดจากเรื่องนี้สมชื่อภาษาไทยค่ะ เป็นเรื่องของ 'ภารกิจ' นั่นเอง เพราะงั้นถึงจะเป็น Non-Fiction แต่เหมือนเรากำลังอ่านมิชชั่นของใครคนหนึ่่ง โปรเจ็กต์ใดโปรเจ็กต์หนึ่ง ที่พอทำภารกิจจุด A ได้แล้ว พอไปถึงด่าน B ก็เจออุปสรรคถูกตบกลับมา ไม่เป็นไร เอาใหม่ ตะกายใหม่ไปอีกด้านก็ได้ พอไปได้ก็มีด่าน C รออยู่ แล้วโดนบอสด่าน C ฟันใส่ได้แผล ต้องหลบมาเยียวยา พร้อมวางแผนใหม่

    แล้วเรื่องมันไม่ได้จบแค่ด่าน C แต่มันมี D E F G เต็มไปหมดที่ต้องข้ามผ่าน แล้วมันจะไม่สนุกได้ยังไง

    ทีนี้ 'ความสนุก' ที่ว่า มันอาจจะมีระดับของมันอยู่เหมือนกันค่ะ เหมือนกับคนไปที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ถ้าไปเที่ยวเฉยๆ เราก็ได้ความสนุก เห็นของสวยๆ งามๆ มันจะได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าคนที่ไปเที่ยวที่นั่นพร้อมพกความรู้ทางประวัติศาสตร์ไปบ้าง ของสวยๆ งามๆ ที่เดินผ่าน อาจจะมีความหมายมากขึ้นเมื่อเรารู้ว่าของสิ่งนี้มีความเป็นมายังไง ระดับความสนุกก็จะยิ่งเพิ่มพูน เป็นต้น

    เล่มนี้ก็เช่นกัน สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับระบบสุริยะเลย รู้แค่ว่ามีดวงอาทิตย์ มีโลกเป็นดาวเคราะห์ มีเซลเลอร์มูน เซลเลอร์มาส์ เซลเลอร์วีนัส แอนด์เดอะแกงค์ (หรือเก่ากว่านั้นก็เซนต์เซย่า) อาจจะอ่านสนุกเพราะความภารกิจในเรื่องมันชวนให้ตื่นเต้น คนเขียนปูพื้นในสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนเข้าเรื่องได้ดีอยู่ แต่หากว่าพอมีความรู้เกี่ยวกับการออกไปสำรวจอวกาศตรงระบบสุริยะชั้นนอก (คือดาวพฤหัสเป็นต้นไป) จะทำให้อินได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมค่ะ

    ที่จริงมันอาจไม่ต้องใช้ความรู้พื้นฐานมากมายที่จะอ่านเล่มนี้ให้สนุก (อย่างที่บอก หนังสือให้ข้อมูลที่พอให้เราเข้าใจว่าขีดจำกัดของภารกิจมีอะไรบ้าง แล้วตัวละครจะข้ามผ่านไปได้ยังไง) แต่ถ้ามีติดปลายนวมเพิ่มอีกนิดก็ดีค่ะ

    ในหนังสือ คนเขียนมักจะกล่าวถึงยานอวกาศแค่สามสี่ยาน โดยเฉพาะ Voyager 1 และ 2 ซึ่งยานสองลำนี้มีภารกิจไปสำรวจระบบสุริยะชั้นนอก มันเลยกลายเป็น Reference ทั้งในแง่ความยิ่งใหญ่ของโปรเจ็กต์ ทรัพยากรที่ใช้ เทคโนโลยีการสร้างยาน ที่เอาภารกิจดาวพลูโตนี้ไปเปรียบเทียบเสมอ

    มันคืออภิมหาโปรเจ็กต์เทพที่ไปตั้งใจไปบินผ่านดาวพฤหัส ไปดาวเสาร์ ไปดวงจันทร์ของดาวเสาร์ (จากเดิมที่กะว่าไปพลูโตแต่เปลี่ยนใจ) ส่วนอีกลำตอนนี้น่าจะไปขอบของระบบสุริยะแล้ว เครื่องเครา กำลังคน กำลังเงิน ลงไปกับยานที่ไปเกือบสุดขอบกาแลกซี่ได้ขนาดนี้ น่าจะทำให้พอจินตนาการความยิ่งใหญ่ได้ (วันปล่อยคือ 1977 ไม่รวมช่วงเวลาสร้าง เทคโนโลยีเมื่อ 50 ปีก่อน)

    นอกจากนี้อีกเรื่องหนึ่งที่จะช่วยให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นคือ Gravity Assist เพราะมันเป็นปัจจัยหลักในเนื้อหาว่าทำไมจึงต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดให้ได้ เหตุคือ ถ้าขืนเราใช้พลังงานที่ยัดใส่ยานทื่อๆ แล้วให้ดาวกระปุ๊กๆ ไปที่ดาวพลูโต ถ้าเชื้อเพลิงไม่หมดไปก่อน ก็เป็นคนที่คงตายไปก่อน กี่ชาติกว่าจะไปถึง

    ทีนี้เวลาส่งยานไปในอวกาศ มีการค้นพบวิธีที่ใช้แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์อื่นๆ เป็นแรงเสริมช่วยเหวี่ยงยานให้ฟิ้วไปได้เร็วโดยที่ไม่ต้องเปลืองพลังงานของยานแบบเต็มๆ

    แต่ด้วยวิธีนี้ ไม่ใช่นึกจะทำก็ทำได้ มันต้องรอดาวเคราะห์เป้าหมายเรียงตัวกันในองศาที่เหมาะสม ในที่นี้คือ ใช้โลก แล้วไปเด้งที่ดาวพฤหัส เพื่อพุ่งสู่พลูโต ทำให้ย่นระยะเวลาเหลือเพียง 9 ปี ถ้าพลาดจากองศานี้ มันยังมีองศาอื่นหลังจากนี้แหละ แต่เวลาในการเดินทางจะมากกว่านี้

    สิ่งเหล่านี้คือ ข้อจำกัดที่ อลัน (หนึ่งในคนเขียน) ซึ่งเป็นผู้ผลักดันโปรเจ็กต์ไปดาวพลูโตให้ได้ ต้องเผชิญอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภายใต้กรอบเวลาทำมุมของดาวเคราะห์ที่ถ้าพลาด อาจมีโอกาสที่ไม่ได้ไปสำรวจอีกแล้วก็เป็นได้

    หนังสือเล่าถึง การค้นพบดาวพลูโต เล่าถึงความอุตสาหะในการค้นหาดาวนี้ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัตถุต้องสงสัยว่ามันน่าจะมีอยู่ จนกระทั่งเจอ และที่มาของการตั้งชื่อดาวนี้ รวมทั้งกล่าวถึง แรงบันดาลใจของอลันที่มีต่อพลูโตว่ามาจาก ชุดสแตมป์ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ไล่มาตั้งแต่ดาวพุธ ศุกร์ โลก แต่พอมาที่ดาวพลูโต กลับเป็นเพียงภาพวาดในจินตนาการและเขียนว่ายังไม่ถูกสำรวจซะงั้น

    สิ่งนี้คือความท้าทาย และเป็นแรงผลักดันให้คนหลายคน (ไม่ใช่แค่อลัน) ให้ก้าวเข้าสู่กับเป็นนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ และอยากผลักดันให้มีโปรเจ็กต์ไปสำรวจดาวพลูโตให้ได้

    โดยส่วนตัว อ่านไปก็ลุ้นไปค่ะ เป็นเรื่องที่ทำให้รู้เลยว่าตัวละครในเล่มนี้ เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องดื้อด้าน มีแรงผลักดันเต็มเปี่ยม และไม่ยอมแพ้แบบสุดๆ โดนตบกลับมายังไงก็จะยังคงหาทางตะแบงไปหาจุดหมายให้ได้

    ยอมรับเลยว่า ตอนอ่านๆ ไป มีครั้งหนึ่งที่ถูกปฏิเสธ ไปต่อไม่ได้อีกรอบ ครั้งนั้นแวบหนึ่ง หันมามองตัวเองอยู่เหมือนกันนะว่าการปฏิเสธครั้งนี้น่าจะยากแล้วสินะ เป็นเราเราคงถอดใจแล้ว ที่ไหนได้ ย่อหน้าถัดมา พ่อเจ้าประคุณคิดหาทางใหม่ได้เรียบร้อย ไม่ไปด้วยเล่ห์ก็ด้วยกลนี่แหละ แน่นอนว่าโดนปัดตกแป้กอีกครั้ง ฮีก็ประหนึ่งแมวเก้าชีวิต ต่อให้ไม่ใช่ลูกรักแต่ก็ผลักดันโปรเจ็กต์ต่อไปไม่ให้หายไปกับสายลม รอเวลาคนเก่าไปคนใหม่มาค่อยเสนอก็ได้

    บางครั้งก็สงสัยนะ ตัวละครในนิยายของใครสักคน จะอึดได้เท่ากับอลันหรือเปล่า ปณิธานคนนี้แรงกล้าจนเหนือจินตนการ ขนาดพนักงานเซเว่นที่เสนอขนมจีบซาลาเปาแล้วลูกค้าปฏิเสธกี่ครั้งต่อวันยังให้ความรู้สึกอึดไม่เท่ากับเขาคนนี้เลย

    ส่วนตัวมองว่า คนนี้เก่งมากพอ และอึดมากพอ การสำรวจพลูโตจึงสามารถเกิดได้ในช่วงชีวิตของเขา ที่คิดแบบนี้คือ มันจะมีนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการบางคนที่พยายามผลักดันสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จในช่วงชีวิตของเขา จำต้องส่งต่อปณิธานนี้ให้แก่รุ่นถัดไปเพื่อสานมันต่อ แต่สิ่งนี้สามารถทำได้สำเร็จในวันที่อลันมีชีวิตอยู่ นี่คือสิ่งที่น่าทึ่ง

    แต่ๆๆ เรื่องบางเรื่อง เป็นเพียงความคิดเห็นของเขาเท่านั้น ซึ่งมันอาจจะมี Bias บางอย่างเช่นกัน อ่านเอาสนุกได้ แต่ใช่ว่าจะเชื่อได้ร้อยเปอร์เซนต์ เพราะอลันมีความรู้ที่จำกัดในแง่ของการตัดสินใจของผู้ใหญ่ ซึ่งเขาสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ใครจะไปรู้ว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างที่เขาคิดหรือเปล่า

    ถือเป็น Non-Fiction ที่ค่อนข้างครบรสแบบหาได้ยากค่ะ สามารถทำให้กลายเป็นหนังสือดราม่าได้เฉยเลย

    ปกติเวลาอ่านพวก Non-Fiction จะต้องใช้เวลาพอสมควร ข้อมูลค่อนข้างเยอะ แต่เล่มนี้ไม่ได้ใช้เวลามากนัก ส่วนหนึ่งอาจเพราะสนใจเรื่องการสำรวจอวกาศเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งคงเป็นเรื่องที่เล่าในแง่มุมประสบการณ์มากกว่าวิชาการ เลยทำให้มนุษย์ทั่วไปอย่างเราๆ สามารถติดตามไปกับเนื้อเรื่องได้ไม่ยากค่ะ

    แนะนำ แนะนำ และแนะนำค่ะ



    Create Date : 25 มกราคม 2567
    Last Update : 25 มกราคม 2567 21:38:22 น.
    Counter : 343 Pageviews.

    0 comments
    (โหวต blog นี้) 
    ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
    Comment :
     *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
     

    peiNing
    Location :
    กรุงเทพ  Thailand

    [ดู Profile ทั้งหมด]
     ฝากข้อความหลังไมค์
     Rss Feed
     Smember
     ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]



    เป็นเด็กกรุงเทพแท้ๆ แต่อยู่บ้านนอกของกรุงเทพน่ะนะ ไม่ได้ชอบอะไรเป็นพิเศษนอกจากแกล้งสัตว์เลี้ยงที่บ้าน นั่นคือนกฮู้ผู้มีอายุ 10 ปีได้ (นกแก่มีหนวด) (แต่ตอนนี้ในที่สุดนกฮู้ก็จากไปอย่างสงบ ไม่รู้อายุรวมเท่าไรแต่มาอยู่ที่บ้านได้ 11 ปี ขอไว้อาลัยปู่ฮู้ ขอให้ไปสู่สุขคตินะ T^T)

    ขอชี้แจงอีกอย่าง ชื่อ peiNing นี้ เป็นชื่อที่พี่กะน้องใช้ร่วมกันสองคน ดังนั้นอย่างงว่าเดี๋ยวก็แทนตัวว่ารุ้งบ้างหนิงบ้าง ก็มันคนละคนนิ (รุ้งน่ะคนพี่ หนิงน่ะคนน้อง)

    FB สำหรับคนชอบงานเขียน peiNing ค่ะ

    FB สำหรับคนชอบบทความสอนห้องเรียนนิยายค่ะ