|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
|
|
|
|
|
เริ่มต้นจากการสร้างแก่นและโครงเรื่อง
5 มีนาคม 2561
ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมการเขียนออนไลน์ ในหัวข้อ การเขียนวนิยาย ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2561 ที่หอศิลปร่วมสมัยราชดำเนิน ผมขอจับประเด็นสำคัญที่ได้จากการอบรมในครั้งนี้ เพื่อนำมาเขียนนำเสนอให้แก่บุคคลผู้ที่สนใจ และเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์สู่สาธารณะชนด้วย
(รายละเอียดจากการอบรมในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ผมก็ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ)
สำหรับข้อหัวการอบรมในวันนี้คือ การเสวนาให้หัวข้อ เริ่มต้นจากการสร้างแก่นและโครงเรื่อง ผู้เสวนาคือ คุณอุรุดา โควินท์ นักเขียนนวนิยาย , คุณปองวุฒิ รุจิระชาคร นักเขียนนวนิยายนามปากกา ปองวุฒิ และคุณพรทิพย์ ศิริชูทรัพย์ นักเขียนนวนิยายนามปากกา เชอริณ รายละเอียดของการเสวนามีดังนี้
-พิธีกรของงานแนะนำวิทยากรทั้ง 3 ท่าน บอกว่าแต่ละท่านเขียนนวนิยายกันเยอะมาก มีผลงานนวนิยายที่ดังๆ เยอะมาก
@@@@@@@@@@@
คุณปองวุฒิ
-เกริ่นบอกว่าตัวเองอาจจะเป็นนักเขียนวนิยายที่ไมได้แม่นทฤษฎีสักเท่าไหร่ คือจริงๆ เรื่องการเขียนไม่ต้องไปสนใจทฤษฎีมากก็ได้ ใช้วิธีปรึกษากันได้ โดยอาจจะปรึกษาจากบรรณาธิการหรือเพื่อนนักเขียนด้วยกันก็ได้ เพราะประสบการณ์การเขียนจะช่วยแก้ไขข้อติดขัดในงานเขียนได้
-แก่นของเรื่องคือแกนหลักของเรื่องเพื่อบอกว่าเรื่องที่เราเขียนนั้นพูดถึงเรื่องใด หรือเกี่ยวกับอะไร
-ส่วนโครงเรื่องนั้นขยายขึ้นมาจากแก่นเรื่อง นักเขียนบางท่านจะเขียนโครงสร้างไล่ตามเหตุการณ์แต่ละฉากไปเรื่อยๆ หรือจะเรียกว่าเขียนทรีสเมนต์ของเรื่องก็ได้ โดยเขียนเป็นข้อๆ ไล่ไปตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง
-โดยการเขียนเหตุการณ์เป็นฉากๆ ไล่ไปทีละข้อแบบนี้คือการวางโครงเรื่องนั้นเอง
@@@@@@@@@@@
คุณอุรุดา
-อาจเปรียบได้ว่า แก่นเรื่องคือจุดหมายปลายทางที่เราจะไป คือสถานที่ที่จะไปให้ถึง ส่วนโครงเรื่องคือแผนที่เส้นทางที่ทำให้เราไปถึงจุดหมายที่ต้องการ
-ส่วนการเดินทางของนิยาย (การเดินเรื่อง) นั้นขึ้นอยู่กับสไตล์ของนักเขียนแต่ละคน
-อาจบอกได้ว่า แก่นเรื่องคือประโยคที่สั้นที่สุดที่นิยายเรื่องนั้นต้องการนำเสนอ โดยที่นักเขียนไม่ต้องเขียนถึงแก่นเรื่องลงไปในนวนิยายเลย แต่ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้คนอ่านรู้ถึงแก่นเรื่องได้ในตอนที่อ่านเรื่องของเราจบลง
-ยกตัวอย่างนวนิยายเรื่อง คำพิพากษา ของชาติ กอบกิตติ มีแก่นเรื่องที่สั้นๆ ว่า อย่าตัดสินใครง่ายๆ
-ส่วนโครงเรื่องควรเน้นที่ง่ายๆ สบายๆ ควรเริ่มเขียนอย่างสบายที่สุด ใช้ภาษาง่ายที่สุด ไม่ต้องไปเครียดกับโครงเรื่องมากนัก
-แต่ถ้าเขียนนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนควรจะมีโครงเรื่องที่ซับซ้อน ถ้าเขียนเรื่องรักโรแมนติดโครงเรื่องอาจจะไม่ต้องซับซ้อนมากนักก็ได้
-ในบางกรณีโครงเรื่องอาจจะยังไม่ชัดเจนสักเท่าไหร่นัก ให้เราเริ่มเขียนบทที่แรกก่อนเลย แต่ตัวละครที่เราสร้างต้องชัดเจนแล้วนะ ให้เขียนไปเรื่อยๆ แล้วโครงเรื่องมันจะเริ่มมีออกมาเอง
-เขียนแต่ละคนจะวิธีสร้างโครงเรื่องไม่เหมือนกัน แล้วแต่ความเหมาะสมของตัวนักเขียนเอง นักเขียนบางคนก็เขียนไปเรื่อยๆ ปล่อยให้โครงเรื่องเป็นไปตามอารมณ์ของตัวเองก็มี
-จริงๆ แล้วไม่มีถูกผิดสำหรับแก่นเรื่องและโครงเรื่อง แต่ต้องเขียนเรื่องให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องมากกว่า คือเรื่องที่เขียนต้องสนุก ต้องทำให้คนอ่านอ่านจนจบได้ เพราะว่านวนายเป็นเรื่องที่มีความยาวมากกว่าเรื่องสั้น นวนิยายจึงต้องสนุกเพื่อดึงดูดให้คนอ่านไปตลอดจนจบได้
-สำหรับนักเขียนบางคนโครงเรื่องอาจจะเป็นปัญหาสำหรับตัวเขาเองได้ ในกรณีที่ทางบรรณาธิการมักจะให้คนเขียนเล่าโครงเรื่องที่ตัวเองเขียน นักเขียนอาจจะเล่าไม่ได้ เพราะไม่แน่ใจในโครงเรื่องที่เขียน แต่แก่นเรื่องควรจะต้องมี ควรจะเล่าถึงตัวละครในเรื่องได้อย่างชัดเจน และควรจะเล่าได้ด้วยว่าเรื่องเริ่มอย่างไรไปถึงจบอย่างไร
-ในกรณีการเขียนนวนิยายรัก นักเขียนอาจจะเปิดตัวละครพระเอกก่อนเลยก็ได้
@@@@@@@@@@@
คุณเชอริณ
-คิดว่าแก่นเรื่องและโครงเรื่องไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัว การเขียนขึ้นอยู่กับว่านักเขียนแต่ละคนจะเขียนอย่างไร แก่นเรื่องและโครงเรื่องเหมือนเป็นสไตล์ของนักเขียน
-ถ้าให้เปรียบ คิดว่าโครงเรื่องเหมือนสไตล์ของบ้าน ว่าบ้านหลังนี้ทรงสเปน หลังนี้ทรงกอธิค หลังนี้สไตล์โคโลเนียน ฯลฯ ส่วนแก่นเรื่องเหมือนเสาหลักของตัวบ้าน
-แก่นเรื่องจะมาจากทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวนักเขียน ส่วนที่ว่าจะมาจากไหน? จะมาอย่างไร? นักเขียนแต่ละคนจะมีมาไม่เหมือนกัน
-ยกตัวอย่างนวนิยายเรื่อง รักกันพัลวัน (เป็นเรื่องที่คุณเชอริณเขียน) แก่นเรื่องที่มาได้นั้นคือ ในตอนแรกอยากจะเขียนถึงเรื่องการดำน้ำ ดังนั้นจึงต้องไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดำน้ำก่อน ซึ่งมีข้อมูลมากมายทั้งเรื่องการดำน้ำ , เรื่องสัตว์น้ำในทะเล , อาชีพนักดำน้ำต้องทำอะไรบ้าง? แก่นเรื่องจึงค่อยๆ โผล่ออกมาให้เรารู้สึกได้ จนได้แก่นเรื่องออกมาในที่สุด
-ในเรื่อง รักกันพัลวัน ตัวละครนางเอกเป็นทอม คุณเชอริณจึงต้องไปสอบถามเพื่อนที่เป็นทอมจริงๆ ว่า จะมีวิธีใดบ้างที่ทำให้ทอมเปลี่ยนใจกลับมาเป็นผู้หญิงเต็มตัว? จึงได้คำตอบว่า เมื่อทอมอกหักผิดหวังจากความรักก็เลยต้องกลับมารักผู้ชายแทน
-แก่นเรื่องจึงมาจากข้อมูลที่เรารับรู้มา อย่างเช่นเรื่อง รักนี้เจ๊จัดให้ (เป็นเรื่องที่คุณเชอริณเขียน) แก่นเรื่องคือความรักที่ต้องโกหก โดยมีเพียงนางเอกคนเดียวเท่านั้นที่ไม่โกหก
-ส่วนโครงเรื่องเราต้องฝึกเขียนบ่อยๆ ถึงจะชำนาญ นักเขียนบางคนไม่เน้นโครงเรื่อง ไม่เน้นตัวเรื่อง แต่ไปเน้นที่ตัวละครแทนก็ได้ แต่อย่างที่บอกถ้าเป็นเรื่องที่ซับซ้อน โครงเรื่องควรจะต้องมี และควรจะต้องซับซ้อนด้วยเช่นกัน
-บางครั้งนักเขียนไปเจอสถานที่ใดสักแห่งที่ตัวเองประทับใจ จนเกิดความรู้สึกอยากจะเขียนนวนิยายที่มีสถานที่นี้เป็นฉากหลัง นักเขียนจะเริ่มคิดโครงเรื่องได้ เริ่มสร้างตัวละครขึ้นในใจ เริ่มคิดฉากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดในสถานที่นั้นๆ ทุกสิ่งทุกอย่างมันจะค่อยๆ ประกอบกันขึ้นมาจนเป็นเรื่องได้
-แต่บางครั้งโครงเรื่องที่คิดได้มันก็เลือนรางเหลือเกิน ในกรณีแบบนี้นักเขียนต้องสร้างตัวละครหลักขึ้นมาให้ชัดเจน แล้วเริ่มลองเขียนดู ถ้าตัวละครมันชัดเจนและมันมีชีวิต ตัวละครจะสร้างเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมาเอง จนกระทั่งเราได้โครงเรื่องที่ชัดเจน
คุณปองวุฒิ
-บางครั้งเวลานักเขียนเอาเรื่องส่งให้สำนักพิมพ์พิจารณา ทางสำนักพิมพ์อาจจะขอดูโครงเรื่องก่อน ดูแก่นเรื่องก่อน ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาสำหรับนักเขียนได้ อาจะเป็นเหตุกดดันนักเขียนได้ ดังนั้นเราจึงควรเขียนโครงเรื่องและคิดแก่นเรื่องให้ชัดเจนก่อนเสมอ
-การเขียนนวนิยายยาวๆ ต้องใช้พลังมาก เราควรจะมีแผนที่นำทางไว้เสมอ เพื่อที่จะได้ไม่เหนือยมาก และไม่หลงทาง
-99% ของเรื่องที่เขียนไม่จบคือขาดแก่นเรื่องและโครงเรื่องนั้นเอง บางครั้งอาจจะคิดฉากแรกได้ก่อนแล้วลงมือเขียนเลย แต่พอไม่มีโครงเรื่องก็อาจจะเขียนต่อให้จบไม่ได้
@@@@@@@@@@@
คุณโป่ง ผู้เข้าอบรมที่มีอาชีพเป็นบรรณาธิการ ได้ช่วยเสริมความเห็นว่า
-การจะเขียนนวนิยายเริ่มต้นเราต้องมีแรงบันดาลใจก่อน เราถึงจะเขียนเรื่องจบได้ ส่วนตรีมของเรื่อง(แก่นเรื่อง) จะช่วยบอกว่าเรื่องของเราเล่าถึงเรื่องอะไร ตรีมของเรื่องก็เหมือนที่นิทานสรุปตอนท้ายเรื่องว่า เรื่องนี้สอนว่าอะไร?
-บางคนไม่ทำเรื่องย่อ ไม่ทำพล็อตไว้ก่อนจึงเขียนไม่จบ บางคนเข้าใจผิดว่าเหตุการณ์คือสถานการณ์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ผิดจึงทำให้เขียนเรื่องต่อไม่จบ
-เรื่องย่ออาจจะมีเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่นำมาเรียงต่อเนื่องกันได้ แต่สถานการณ์คือการเผชิญหน้าของตัวละคร ซึ่งพล็อตของเรื่องจริงๆ ก็คือสถานการณ์นั้นเอง
@@@@@@@@@@@
คุณอุรุดา
-บางคนก็คิดนะว่าจะเปิดตัวละครสำคัญตรงนี้ จะทำให้ฉากนี้สนุก แต่สุดท้ายก็ต้องมีโครงเรื่อง เพียงแต่ว่าโครงเรื่องจะชัดเจนมากนน้อยขนาดไหน
@@@@@@@@@@@
คุณเชอริณ
-บางครั้งบรรณาธิการจะเป็นคนคิดแก่นเรื่องและโครงเรื่องมาให้ก่อน แล้วให้นักเขียนเขียนตาม ในกรณีนี้นักเขียนจะทำงานไปคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมกันระหวางบรรณาธิการและนักเขียน คิดเรื่อง คิดโครงเรื่อง คิดแก่นเรื่อง คือการระดมสมองที่ต้องนั่งทำร่วมกัน
-ควรจะลองเริ่มเขียนดู เพราะถ้าไม่เริ่มก็จะไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ถ้าไม่เขียนก็จะทำไม่ได้ เริ่มเขียนเลย สร้างโครงเรื่องก่อน แล้วเขียนตามโครงเรื่องไปเรื่อยๆ
@@@@@@@@@@@
คุณอุรุดา
-การดำเนินเรื่องแต่ละตอนไม่มีสูตรสำเร็จ นวนิยายต้องน่าติดตาม ทำอย่างไรคนอ่านถึงจะอ่านจนจบได้
-บางครั้งที่เรามีโครงเรื่องไว้แล้ว แต่เราอาจจะออกนอกเส้นทางบางก็ได้ไม่ว่ากัน แต่ต้องกลับมาเข้าโครงเรื่องให้ได้ เรื่องของเราถึงจะไปข้างหน้าถึงเป้าหมาย(ตอนจบ)ที่เราตั้งไว้
-เวลาที่เราเขียนเรื่อง เราจะต้องประกอบร่างเป็นนักอ่านควบคู่กันไปด้วย เวลาเขียนต้องถามตัวเองตลอดว่าเรื่องที่กำลังเขียนมันน่าเบื่อไหม? เราต้องมีเซ้นส์(ความรู้สึก)ของนักอ่านด้วย เขียนไปอ่านไปด้วย ดูว่าเรื่องมันน่าอ่านไหม? เรื่องมันสนุกไหม?
@@@@@@@@@@@
คุณปองวุฒิ
-*วิธีที่จะช่วยดูว่างานเขียนของเราเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราอาจจะต้องหาเพื่อนมาช่วยอ่านให้ก็ได้ ให้เพื่อนอ่านแล้วช่วยวิจารณ์ให้เรา หรือเขียนแล้วลองเอาไปลงในเฟสบุ๊กดูก่อน ลองถามเพื่อนเฟสดูว่าเรื่องมันเป็นไงบ้าง? แต่ถ้าหาใครสักคนมาอ่านไม่ได้เลย เราก็ต้องกลายร่างเป็นนักอ่านเพื่อวิจารณ์งานของตัวเองให้ได้
@@@@@@@@@@@
คุณโป่ง บรรณาธิการ ช่วยเสริมว่า
-การเขียนนวนิยายเรื่องมันต้องน่าอ่าน เรื่องต้องสนุก เรื่องต้องน่าสนใจ เรื่องต้องจับความสนใจของคนอ่านให้ได้ตั้งแต่บทแรกเลย
-ก่อนจะเขียนควรจำไว้เสมอว่า ต้องปูพื้น ต้องสร้างฉาก ต้องสร้างตัวละครก่อน เริ่มเรื่องต้องน่าสนใจ ควรจะเปิดเรื่องด้วยประโยคที่น่าสนใจ
-การจบตอนก็ต้องทำให้น่าสนใจ ต้องทำให้คนอ่านอยากอ่านตอนต่อไปด้วย เรียกการจบตอนแบบนี้ว่าจบแบบครีปแฮงเกอร์ (ห้อยอยู่ที่หน้าผา) ทำให้คนอยากอ่านตอนต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปถ้าเรื่องโดยรวมของเราน่าติดตามอยู่แล้ว
-เรื่องต้องเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ต้องเขียนเรื่องให้น่าสนใจ อย่าให้เรื่องน่าเบื่อ คุณเชอริณ
-หลังจากคิดแก่นเรื่องและโครงเรื่องได้แล้ว การดำเนินเรื่องอยู่ที่สไตล์การเขียนของแต่ละคน อย่างแรกสุดต้องหามุมมองของตัวละครก่อน เลือกตัวละครที่จะทำหน้าที่เล่าเรื่อง เลือกมุมมองที่จะเล่าเรื่องให้ได้ก่อน เพราะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินเรื่อง จะเป็นการช่วนคอนโทรล(ควบคุม)เรื่องให้เป็นไปตามโครงเรื่องได้
-ต้องคิดว่าจะดำเนินเรื่องอย่างไรให้สนุก ต้องเน้นตรงไหน? เน้นที่ตัวละคร หรือเน้นที่มุมมอง? ก็แล้วแต่เรื่อง เราต้องมีสัญชาติญาณในการทำให้เรื่องสนุก เป็นสไตล์ของเรา เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
-ถ้าเราเขียนเรื่องไปได้สัก 30 หน้า แล้วเกิดมีเสียงเล็กๆ ในหัวเราบอกว่ามันน่าเบื่อมาก เราก็ควรฟังเสียงเตือนจากสัญชาติญาณของเราด้วย เราต้องพยายามปรับเปลี่ยนไม่ให้มันน่าเบื่อ ต้องทำให้มันสนุก
-พ้อยออฟวิวหรือมุมมองในการเล่าเรื่องช่วยทำให้นวนิยายสนุกขึ้นได้
-แต่ถ้าเขียนไปแล้วมันตัน มันไปต่อไม่ได้ โดยไม่ได้มีเสียงสัญชาติญาณมาเตือนบอก ถ้าเป็นอย่างนี้ให้เรากลับไปแก้ไขเรื่องของเราใหม่ อ่านเรื่องที่เขียนแล้วแก้ไขจนกว่าจะได้เรื่องที่สนุก
-การทิ้งท้ายเรื่องหรือการทิ้งทายจนตอนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้งานของเราแข่งกันกับคนอื่นได้
-ถ้าทำเป็นอีบุ๊ก เรื่องของเราอาจจะมีให้อ่านฟรีก่อนสัก 5 ตอน ซึ่งในตอนที่ 5 นี้เองที่เราต้องทำให้คนอ่านอยากอ่านตอนต่อไปให้ได้ ถ้าทำไม่ได้เรื่องของเราก็จะขายไม่ได้ ต้องพยายามคิดหาวิธีทำให้ตอนสุดท้ายที่ให้อ่านฟรีนั้นเป็นตอนที่น่าติดตามต่อมากที่สุด
-แต่จริงๆ แล้วเราควรให้ความสำคัญกับทั้งเรื่อง ถึงแม้ว่า 5 ตอนแรกที่ให้อ่านฟรีจะสำคัญจะสนุก แต่ตอนต่อๆ ไปก็ต้องดีและสนุกด้วย ต้องจบเรื่องให้ดีด้วย ต้องจบเรื่องแบบที่ทำให้คนอ่านชมเราว่าเขียนได้ดีมากด้วย
มีคนถามว่า เขียนเรื่องไปแล้วเปลี่ยนแปลงโครงเรื่องได้ไหม?
คุณปองวุฒิ
-เปลี่ยนโครงเรื่องได้ตลอด ถึงแม้ว่าโครงเรื่องของเราจะวางไว้อย่างแน่นหนาขนาดไหนก็ตาม แต่มันก็ยังมีช่องโหว่ให้เราแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ถ้าอยากจะเปลี่ยนแปลงโครงเรื่อง เราต้องรู้จักตัวละครของเราให้มากขึ้นจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงโครงเรื่องได้
-ถ้าตัวละครเราชัดเจนจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงโครงเรื่อง แต่ถ้าตัวละครเราไม่ชัดเจนเขียนแล้วเราอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงเรื่องได้
@@@@@@@@@@@
คุณอุรุดา
-เคยเขียนซีรีย์ชุดด วงร้าวในเงาน้ำ ร่วมกับคุณกนกวลี พจนปกรณ์ และคุณแขคำ ปัณณศักดิ์ เป็นนวนิยายชุดที่เขียนถึงเรื่องรักสามเศร้า พล็อตเรื่องรักสามเศร้านี้เสี่ยงมากที่จะเชย เราจึงใช้วิธีส่วนตัวว่าทำอย่างไรตัวละครเราถึงจะเด่น แต่พอเราเขียนไปเขียนมา ตัวละครมันไม่ซื่อสัตย์ต่อพล็อตเรื่อง เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงเรื่องตามไปด้วย
-บางครั้งก็ตั้งใจว่า จะให้ตัวละครต้องเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรง แต่มันไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ เราก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน
-เวลาเขียนพยายามอย่าฝืน เพราะว่าคนอ่านสามารถจับอารมณ์ตอนที่เราเขียนได้
-ในบางครั้งเราก็รู้จากนักอ่านว่า เรื่องของเรามีแก่นเรื่องคืออะไร คุณเชอริณ
-ส่วนตัวไม่ค่อยเปลี่ยนโครงเรื่อง ไม่ค่อยเปลี่ยนแก่เรื่อง แต่จะเปลี่ยนฉากมากกว่า
-และที่เปลี่ยนบ่อยๆ คือซับพล็อตมากกว่า แต่ถ้าจะเปลี่ยนแปลงโครงเรื่องแสดงว่าเราอาจจะไม่ชอบเรื่องนั้นก็ได้
@@@@@@@@@@@
คุณโป่ง บก. ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า
-ถ้าเราไม่อยากเปลี่ยนแปลงโครงเรื่อง ให้เราเขียนเพิ่มเติมลงไปในโครงเรื่องก็ได้ ถ้าไม่อยากเปลี่ยนโครงเรื่องก็เติมตัวละครเข้าไป โดยให้ตัวละครที่เพิ่มเข้าไปนั้นไปทำอย่างที่อยากจะเปลี่ยนแปลง โดยคงโครงเรื่องเดิมเอาไว้ได้
-ในบางครั้งตอนที่เราเขียนนั้นเราอาจะไม่พบแก่นเรื่องก็ได้ คืออาจจะไม่รู้ว่าแก่นเรื่องของเราคืออะไร แต่เมื่อเราเขียนจบแล้วเรากลับมาอ่านดูใหม่ เราอาจจะพบแก่นเรื่องของเราก็ได้
-เวลาที่เราจะเขียนเรื่อง เราลองหาเพื่อนที่เราไว้ใจได้สักคน แล้วเราก็ลองเล่าเรื่องที่จะเขียนให้เขาฟังก่อน เพราะตอนที่เราเล่าเรื่องสมองก็จะเริ่มคิดตามไปด้วย จะทำให้เราเล่าเรื่องได้จนจบเรื่อง หลังจากนั้นเราก็ลองเขียนตามที่เราเคยเล่าให้เพื่อนฟัง เราจะเห็นทิศทางของเรื่องได้ เราจะรู้ได้ว่าเรื่องของเราคือเรื่องอะไร
-เวลาที่เขียนต้องไปเราต้องอ่านทบทวนไปตลอดด้วย จะทำให้เราเขียนเรื่องได้สมดุลมากขึ้น เขียนไปด้วยอ่านไปด้วยพร้อมๆ กัน จะดีกว่าเขียนทีเดียวจนจบแล้วค่อยมาอ่าน
-เทคนิคในการจบตอนที่น่าสนใจคือ เวลาที่เราเขียนเราจะรู้ล่วงหน้าว่าต่อไปจะเป็นอย่างไรต่อไป เราลองเอาเรื่องที่เขียนหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนต่อไปสัก 4-5 บรรทัดเอามาใส่ไว้ในตอนจบบท จะทำให้คนอ่านรู้ว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นในตอนต่อไป จะทำให้เรื่องของเราน่าติดตามอ่านในตอนต่อไปด้วย (แต่เวลาที่เราจะรวบเล่มให้ตัดส่วนที่เป็นเทคนิคนี้ออกไปนะ) เทคนิคนี้ใช้ได้ดีสำหรับการเขียนเรื่องลงออนไลน์ที่ให้คนอ่านซื้อเรื่องอ่านเป็นตอนๆ
-บางคนเขียนฉากจบแล้วตัดตอนเลย จริงๆ แล้วควรจะเอาตอนท้ายนี้มาเขียนไว้ในตอนใหม่ด้วย คือเอาตอนท้ายบทที่แล้วมาเขียนขึ้นต้นเป็นบทใหม่ จะช่วยทำให้คนอ่านอ่านได้ต่อเนื่องมากขึ้น
*** เนื้อหาในบล็อกนี้อยู่ในหมวด Literature Blog : Blog เจ้าของงานเขียน-บทประพันธ์
Create Date : 05 มีนาคม 2561 |
|
8 comments |
Last Update : 5 มีนาคม 2561 14:28:39 น. |
Counter : 1492 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: หอมกร 5 มีนาคม 2561 15:38:31 น. |
|
|
|
| |
โดย: **mp5** 5 มีนาคม 2561 19:58:00 น. |
|
|
|
| |
โดย: auau_py 7 มีนาคม 2561 15:24:39 น. |
|
|
|
| |
โดย: คุณต่อ (toor36 ) 7 มีนาคม 2561 21:15:52 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]

|
อาคุงกล่องเป็นชายไทยนิสัยดีมีความฝัน ผู้ผันตัวมาเป็นทาสวรรณกรรมอย่างแท้จริง ใช้ชื่อกำหนดตัวตนว่า อาคุงกล่อง เป็นนามปากกาสร้างสรรค์ผลงานในเชิงหัสนิยาย และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี ความเรียง บทกลอน ไดอารี่เพ้อเจ้อละเมอเพ้อฝันต่างๆ ฯลฯ
ปัจจุบัน อาคุงกล่อง เป็นนักอ่าน นักคิดและนักเขียน รวมทั้งเป็นนักจินตนาการออกมาเป็นตัวอักษรด้วย ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คือการเป็นนักเขียนมีคุณภาพที่สรรค์สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คาดว่าในเวลาอันใกล้นี้นาม อาคุงกล่อง จะเกิดปรากฎชัดในโลกวรรณกรรม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่หนอนนักอ่านทั่วไทย
"ในชีวิตจริงของคนเรา มีอะไรอีกมากมายที่จะต้องรับรู้และรับผิดชอบ ในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะหัวเราะได้สักกี่ครั้ง? แต่ถ้าเราได้มีโอกาสหัวเราะเสียบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือคลายเครียด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ"
ถ้าคุณเข้ามาในบล็อคของผมแล้ว คุณสามารถอมยิ้มหรือหัวเราะได้ ผมก็คงจะดีใจแล้วครับ (กรุณาช่วยทิ้งคอมเม้นท์วิจารณ์ไว้ให้ผมด้วยนะครับ จักขอบพระคุณมากเลยครับ)
akungklong@gmail.com
|
|
|
|
|
|
|
|
พรุ่งนี้มาโหวตให้กันจ้า